ZANPU: เมื่อชิ้นผ้าเหลือใช้จากการตัดเย็บ กลายเป็นแฟชั่นที่ยั่งยืน

ZANPU: เมื่อชิ้นผ้าเหลือใช้จากการตัดเย็บ กลายเป็นแฟชั่นที่ยั่งยืน

29 ก.ย. 2568

SHARE WITH:

29 ก.ย. 2568

29 ก.ย. 2568

SHARE WITH:

SHARE WITH:

ZANPU: เมื่อชิ้นผ้าเหลือใช้จากการตัดเย็บ กลายเป็นแฟชั่นที่ยั่งยืน

"ชิ้นผ้าเหลือใช้จากการตัดเย็บ"สิ่งที่คนทั่วไปมองว่าไร้ค่า กลับกลายเป็นวัตถุดิบล้ำค่าในมือขององค์กรที่ขับเคลื่อนด้วยความคิดสร้างสรรค์และวิสัยทัศน์อันกว้างไกล ZANPU (ซันปุ) แบรนด์ที่มุ่งสร้างประโยชน์สูงสุดจาก ชิ้นผ้าคุณภาพดีที่เหลือใช้จากกระบวนการตัดเย็บ ผ่านการตัดเย็บอย่างพิถีพิถัน สร้างเอกลักษณ์และภาษาการออกแบบใหม่ สู่เส้นทางความยั่งยืนที่จับต้องได้

ในยุคที่อุตสาหกรรมแฟชั่นเผชิญคำถามท้าทายเรื่องความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม หลายคนมองว่าเป็นอุตสาหกรรมที่ผลิตขยะมหาศาล เมื่อตลาดถูกครอบงำด้วยกระแส Fast Fashion และแพลตฟอร์มออนไลน์ไร้พรมแดน ท่ามกลางการแข่งขันอันดุเดือด การสร้างแบรนด์เสื้อผ้าใหม่ต้องเผชิญกับปัญหาทั้งต้นทุนการผลิตที่สูงและความยากลำบากในการเข้าถึงกลุ่มลูกค้า

เราได้มีโอกาสเข้าเยี่ยมชมโรงงานย่านศรีสมาน เพื่อพูดคุยกับคุณปลา ลลิษณัลล์ ขะมาลา กรรมการผู้จัดการ บริษัท วาย.เอ็ม.เอฟ.อินเตอร์เนชั่นแนล (ไทย) จำกัด บริษัทที่ดำเนินกิจการมา ยาวนานกว่า 35 ปี อยู่คู่กับวงการแฟชั่นไทยมาอย่างยาวนาน ผู้อยู่เบื้องหลังแบรนด์แฟชั่นชั้นนำของไทยอย่าง Shaka และ YaccoMaricard ที่ชาวไทยสายแฟชั่นคุ้นเคยมาหลายยุคสมัย

คุณปลาได้ก่อตั้งแบรนด์ ZANPU ด้วยแนวคิดสร้างสรรค์ในการ Upcycle ชิ้นผ้าคุณภาพดีที่เหลือใช้จากกระบวนการตัดเย็บของแบรนด์ YaccoMaricard เปลี่ยนสิ่งที่ถูกมองข้ามให้กลายเป็นแฟชั่นที่ทรงคุณค่าผ่านมุมมองของความยั่งยืน ในบทสัมภาษณ์นี้จะพาคุณไปรู้จักแนวคิดเบื้องหลังของแบรนด์ ZANPU ที่ต้องการแสดงให้เห็นว่าการออกแบบที่ใส่ใจสามารถเปลี่ยนมุมมองและสร้างคุณค่าใหม่ได้ โดยเชื่อมั่นว่าคุณภาพคือบทพิสูจน์สำคัญ

llli ZANPU มีจุดเริ่มต้นอย่างไร ?

"ชื่อแบรนด์ ZANPU ออกเสียงว่า 'ซันปุ' มีที่มาจากคำว่า 'Zan' ที่แปลว่า 'เหลือ' และ 'Pu' แปลว่า 'ผ้า' เป็นชื่อที่สื่อความหมายตรงไปตรงมาตามแนวคิดของแบรนด์" คุณปลาอธิบาย

"ต้องเล่าย้อนกลับไปถึงกระบวนการผลิตเสื้อผ้าของโรงงานเราก่อน เราทำแบรนด์ YaccoMaricard ซึ่งเป็นแบรนด์ของญี่ปุ่นที่บริษัทเราได้ร่วมกันทำ เบื้องหลังแนวคิดของแบรนด์คือการใช้เทคนิคการผลิตที่ทำให้ผ้ามีพื้นผิว (Surface) แบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการตีเกล็ด การกรีด เป็นวิธีการสร้างเท็กซ์เจอร์ของเนื้อผ้าขึ้นมาใหม่ และการทำเสื้อผ้าที่ผลิตด้วยด้ายสีขาวเพื่อนำไปย้อมให้เป็นสีต่างๆ ตามคอนเซ็ปต์และคอลเล็กชัน"

"ดังนั้นเมื่อมีการย้อม เราจึงต้องเผื่อขนาดผ้าเพื่อรองรับการหดตัวจากการย้อมให้มีขนาดที่พอดี การสร้างพื้นผิวของผ้าเราทำเป็นชิ้นส่วนๆ ไล่ตั้งแต่ด้านหน้า ด้านหลัง แขน ปก แล้วประกอบขึ้นมาเป็นตัว ในกระบวนการของการตัดผ้าจะมีชิ้นผ้าคุณภาพดีที่เหลือใช้จากกระบวนการตัดเย็บส่วนต่างๆ ซึ่งมีหลากหลายขนาด "

"ในตอนแรกเราเอาชิ้นผ้าคุณภาพดีที่เหลือใช้จากการกระบวนการตัดเย็บเหล่านี้มาทำเป็นถุงผ้าเล็กๆ เพื่อแจกให้กับลูกค้าเวลามาซื้อสินค้า เมื่อมีผ้าส่วนเกินจากการตัดเย็บมากขึ้น และม้วนผ้าในโรงงานบางส่วนก็ไม่ได้ถูกนำมาใช้ จนกระทั่งช่วงสถานการณ์โควิด-19 เราเริ่มสังเกตว่าผ้าที่เหลือจากพื้นผิวพิเศษเหล่านี้ บางชิ้นยังมีความสวยงาม บางชิ้นมีขนาดที่ใหญ่พอสมควร "เมื่อมีทรัพยากรเหล่านี้ เราจึงมอบหมายให้ดีไซเนอร์ลองไอเดียร่วมกัน จึงตั้งโจทย์ร่วมกันว่า เราจะออกแบบเป็นสินค้าสำหรับกลุ่มเป้าหมายใด? "

"ช่วงแรกเราทดลองมุ่งเน้นไปที่ลูกค้ากลุ่มคนที่อยู่บ้าน เพราะเป็นช่วงการระบาดของโควิด-19 ออกแบบสินค้าประเภทชุดนอนและสินค้าสำหรับใช้ภายในบ้าน โปรเจกต์นี้ก็ช่วยให้เราไม่ต้องเลย์ออฟพนักงานออกในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจตอนนั้น จากนั้นจึงพัฒนาแนวคิดการสร้างมูลค่าจากชิ้นผ้าคุณภาพดีที่เหลือใช้จากกระบวนการตัดเย็บ ต่อยอดไปถึงผ้าที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ แทนที่จะต้องทิ้งหรือขายไปในราคาถูก จนกลายเป็นที่มาของการก่อตั้งแบรนด์”

llli การทำสินค้า Upcycle มีข้อจำกัดอย่างไรบ้าง

"แน่นอนว่าสินค้าของเรามาจากชิ้นผ้าคุณภาพดีที่เหลือใช้จากการตัดเย็บ เราใช้ผ้าที่มาจากต่างม้วน ขนาดแต่ละชิ้นก็แตกต่างกัน ดังนั้น เราต้องเข้าใจว่าเสื้อผ้าของเราจะมีรูปแบบที่หลากหลาย ทั้งผ้าคอตตอน ผ้าไหม และอื่นๆ สิ้นค้าในกลุ่มนี้มีหลายมิติในเรื่องของการจัดการให้ได้มาตรฐาน"

"ข้อได้เปรียบของเราคือเราเป็นโรงงานที่มีองค์ความรู้ด้านกระบวนการผลิต เรามีกรรมวิธีที่ทำให้การย้อมจากแหล่งที่มาแตกต่างกันให้สีออกมาสวยงามและกลมกลืนมากที่สุด ภายใต้ข้อจำกัดเหล่านี้ รวมถึงรายละเอียดอื่นๆ เช่น ซิป กระดุม เราใช้วัสดุที่มีอยู่ในโรงงานให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยมีทีมออกแบบเข้ามาช่วยแก้ไขปัญหาเหล่านี้ เน้นที่ประโยชน์ใช้สอยเป็นหลัก"

เรื่องสำคัญที่ต้องคำนึงถึงในด้านความยั่งยืน คือ กระบวนการจัดการสิ่งแวดล้อมหลังการผลิต ถึงแม้ว่าการย้อมของเราเป็นกระบวนการทางเคมีทั้ง Reactive Dye และ Acid Dye แต่เราใช้สารเคมีที่มีคุณภาพ ผ่านการบำบัดน้ำเสียที่ได้มาตรฐานอุตสาหกรรม เรามีระบบที่ได้รับการรับรอง เนื่องจากโรงงานของเราตั้งอยู่ในย่านชุมชน มีใบประกอบกิจการโรงงานที่ถูกต้อง ทำให้โรงงานของเราไม่มีเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับการปล่อยสารเคมีลงสู่แหล่งน้ำ"


llli ส่วนสำคัญของการสร้างความยั่งยืนคือ “การสร้างวัฒนธรรมองค์กร”

"แต่เดิมเราเริ่มต้นทำบริษัทด้วยการทำงานแบบใกล้ชิดกับพนักงาน ให้ทุกคนในองค์กรมีส่วนร่วมตั้งแต่การเสนอแนวคิดและช่วยกันพัฒนาร่วมกัน อย่างเช่น เราเป็นโรงงานเย็บผ้า ผลิตแต่เสื้อผ้ามาตลอด แล้วถ้าวันหนึ่งเราต้องการทำกระเป๋า เราจะช่วยกันพัฒนาแนวทางการทำงานอย่างไร"

"การให้คนทำงานมีโอกาสเสนอความคิดใหม่ๆ การฝึกอบรม และการสื่อสารภายในองค์กร ทำให้พนักงานได้เห็นผลลัพธ์จากการทดลองสร้างสรรค์สิ่งใหม่ร่วมกัน จึงเกิดเป็นสินค้าที่มาจากฝีมือของคนในองค์กรอย่างแท้จริง"

"เรามีค่านิยมองค์กรที่ใช้ตัวย่อว่า ' SUKOI ' โดยตัว 'O' หมายถึง Ownership and Pride การที่ทุกคนรู้สึกเป็นเจ้าของและมีความภาคภูมิใจในงานร่วมกัน เป็นทิศทางที่เราต้องมองไปในแนวทางเดียวกันกับพนักงาน เมื่อเราสร้างแบรนด์ใหม่ขึ้นมา เราต้องเข้าใจถึงเหตุผลและคุณค่าร่วมกัน"

"แบรนด์ ZANPU เกิดจากแนวคิดสร้างสรรค์ในการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ไม่ว่าจะเป็นผ้าค้างสต็อกหรือชิ้นผ้าคุณภาพดีที่เหลือใช้จากการตัดเย็บ เรามองเห็นโอกาสในการแปรรูปวัสดุเหล่านี้ให้กลายเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณค่าต่อผู้คน

ด้วยความใส่ใจในทุกขั้นตอนการผลิตและการออกแบบที่พิถีพิถันมาอย่างสม่ำเสมอ ทำให้สินค้าของเรามีคุณภาพสูงได้มาตรฐานระดับส่งออก จนได้รับการยอมรับในตลาดที่มีมาตรฐานสูงอย่างประเทศญี่ปุ่น สะท้อนให้เห็นถึงความภาคภูมิใจในผลงานที่พนักงานทุกคนมีส่วนร่วมสร้างสรรค์

llli ความเป็นไปได้ของตลาด “สินค้ารักษ์โลก”ในอุตสาหกรรมแฟชั่นไทย

“เมื่อถามถึงความเป็นไปได้ของสินค้ารักษ์โลกในตลาดแฟชั่นไทย ในแนวคิดเรื่องความยั่งยืน (Sustainability) ในวงการแฟชั่นยังอยู่ในช่วงเริ่มต้น แต่มีแนวโน้มที่จะเติบโตมากขึ้นเรื่อยๆ เราเห็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้บริโภคที่เริ่มตระหนักถึงปัญหาสิ่งแวดล้อม เช่น การปฏิเสธถุงพลาสติก หรือการเลือกใช้วัสดุที่เป็นมิตรต่อธรรมชาติ"

"หากมองถึงความต้องการสินค้าประเภท Upcycle และ Recycle ที่ต้องใช้กระบวนการผลิตที่พิถีพิถันและมีต้นทุนสูงกว่าสินค้าทั่วไป ต้องยอมรับว่าในตลาดเสื้อผ้าของไทย ความต้องการยังอยู่ในวงจำกัด แต่เราเชื่อว่าในอนาคตอันใกล้ เมื่อผู้บริโภคมีความตระหนักเรื่องความยั่งยืนมากขึ้น ความต้องการสินค้าประเภทนี้ก็จะเพิ่มขึ้นตามไปด้วย"

"กุญแจสำคัญในการทำให้หมวดหมู่นี้น่าสนใจ คือ การออกแบบให้มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว สร้างความหลากหลาย และการเล่าเรื่องราวเบื้องหลังของวัสดุและกระบวนการผลิต แบรนด์เองต้องพร้อมสนับสนุนแนวคิดความยั่งยืนผ่านการเลือกซื้อสินค้า เพื่อสร้างกระแสความตระหนักรู้เรื่องความยั่งยืนในวงกว้างให้มากขึ้นในสังคมเพื่อเป็นการสื่อสารแบรนด์ไปในตัวด้วย"

llli ความท้าทายและจุดยืนของแบรนด์ ZANPU

"ความท้าทายของ ZANPU คือการสร้างแบรนด์เสื้อผ้าที่สวมใส่ได้ง่ายในชีวิตประจำวัน จากทรัพยากรผ้าส่วนเกินจากการตัดเย็บ เป้าหมายของการออกแบบคือความเรียบง่ายแต่มีรายละเอียดพิเศษผ่านความคิดสร้างสรรค์และความเป็นไปได้ในการผลิต"

"เรานำผ้าตีเกล็ดมาผสมผสานกับผ้าในรูปแบบอื่นๆ ใช้เทคนิคการตัดเย็บแบบ ‘Patchwork’เพื่อสร้างพื้นผิวที่หลากหลายในเสื้อผ้าแต่ละชิ้น ทำให้สินค้ามีเอกลักษณ์เฉพาะตัว โดยลดความหวือหวาในด้านแฟชั่น เพื่อให้ลูกค้าสามารถสวมใส่ในชีวิตประจำวันได้มากขึ้น และได้มีส่วนร่วมในการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า เป็นการสร้างคุณค่าร่วมระหว่างแบรนด์และผู้บริโภคในยุคที่ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมเป็นสิ่งที่เราต้องการสื่อสาร"


ภารกิจสำคัญของเราคือการพัฒนาแบรนด์ให้เป็นส่วนหนึ่งในไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคอย่างลึกซึ้ง จากประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในธุรกิจเสื้อผ้าที่สั่งสมมายาวนาน เราสามารถนำความรู้หรือทรัพยากรที่เรามีมาใช้ให้เกิดประโยชน์เต็มที่

"แม้ว่ากระบวนการผลิตของเราจะมีต้นทุนสูงกว่าการผลิตทั่วไป เราพยายามทำให้สินค้ามีราคาที่เข้าถึงได้ โดยเฉพาะสำหรับกลุ่มลูกค้า Gen Y และ Gen Z ที่ปัจจุบันมีค่านิยมตระหนักรู้เรื่องสิ่งแวดล้อมมากขึ้น"

"คุณค่าของสินค้าคุณภาพสูงที่ตัดเย็บอย่างประณีต คือการได้ใช้งานในระยะยาวและให้ความคุ้มค่า อีกทั้งยังได้มีส่วนร่วมในการสร้างความเปลี่ยนแปลงเชิงบวกต่อสิ่งแวดล้อม เป็นส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงวงการแฟชั่นให้มีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมมากขึ้น"


llli ธุรกิจแฟชั่นสามารถยั่งยืนได้จริงหรือไม่?

"ในขณะที่กระแสแฟชั่นปัจจุบันมีแนวคิดเรื่องความยั่งยืนและผู้บริโภคมีความตระหนักถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น แต่ในทางกลับกัน ผู้บริโภคก็มีกำลังซื้อที่ลดลงจากสภาพเศรษฐกิจที่ผันผวนและไม่แน่นอน ส่งผลให้แบรนด์ที่ผลิตสินค้าในปริมาณมากและราคาถูกอย่าง Fast Fashion กลับยังคงได้รับความนิยมสูงในยุคปัจจุบัน"

"ในมุมมองของเรา เรายังคงเชื่อมั่นและยึดมั่นที่จะไม่ตามกระแสนิยมเหล่านี้ แม้ว่าในบางช่วงยอดขายอาจไม่เป็นไปตามเป้าหมาย เราเลือกที่จะปรับลดปริมาณการผลิตและบริหารต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพ แทนที่จะลดทอนคุณภาพของสินค้า เรายังคงให้ความสำคัญกับทุกรายละเอียดในกระบวนการผลิตอย่างที่เราเคยทำมา เพื่อพัฒนาสินค้าที่มีคุณค่าสำหรับลูกค้า สามารถใช้งานได้ยาวนานไป 10-20 ปี"

"อย่างเช่น เสื้อผ้าของ YaccoMaricard เมื่อใช้งานเป็นเวลานาน สีอาจซีดจางตามกาลเวลา ลูกค้าสามารถนำกลับมาย้อมตามกระบวนการเดิมของเราได้ ด้วยแนวคิดด้านความยั่งยืนนี้ เรามองว่าเสื้อผ้าที่มีคุณภาพสามารถส่งต่อไปให้รุ่นลูกรุ่นหลาน นำไปใช้ต่อได้ ไม่กลายเป็นขยะหลังจากเทรนด์แฟชั่นผ่านไป"

"สำหรับเรา ในการสร้างความยั่งยืน (Sustainable)ที่ทำได้จริง คือสร้างกระบวนการผลิตที่รับผิดชอบให้ได้ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ และนี่คือหัวใจสำคัญที่เราดำเนินธุรกิจแฟชั่นมากว่า 35 ปี



"ชิ้นผ้าเหลือใช้จากการตัดเย็บ"สิ่งที่คนทั่วไปมองว่าไร้ค่า กลับกลายเป็นวัตถุดิบล้ำค่าในมือขององค์กรที่ขับเคลื่อนด้วยความคิดสร้างสรรค์และวิสัยทัศน์อันกว้างไกล ZANPU (ซันปุ) แบรนด์ที่มุ่งสร้างประโยชน์สูงสุดจาก ชิ้นผ้าคุณภาพดีที่เหลือใช้จากกระบวนการตัดเย็บ ผ่านการตัดเย็บอย่างพิถีพิถัน สร้างเอกลักษณ์และภาษาการออกแบบใหม่ สู่เส้นทางความยั่งยืนที่จับต้องได้

ในยุคที่อุตสาหกรรมแฟชั่นเผชิญคำถามท้าทายเรื่องความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม หลายคนมองว่าเป็นอุตสาหกรรมที่ผลิตขยะมหาศาล เมื่อตลาดถูกครอบงำด้วยกระแส Fast Fashion และแพลตฟอร์มออนไลน์ไร้พรมแดน ท่ามกลางการแข่งขันอันดุเดือด การสร้างแบรนด์เสื้อผ้าใหม่ต้องเผชิญกับปัญหาทั้งต้นทุนการผลิตที่สูงและความยากลำบากในการเข้าถึงกลุ่มลูกค้า

เราได้มีโอกาสเข้าเยี่ยมชมโรงงานย่านศรีสมาน เพื่อพูดคุยกับคุณปลา ลลิษณัลล์ ขะมาลา กรรมการผู้จัดการ บริษัท วาย.เอ็ม.เอฟ.อินเตอร์เนชั่นแนล (ไทย) จำกัด บริษัทที่ดำเนินกิจการมา ยาวนานกว่า 35 ปี อยู่คู่กับวงการแฟชั่นไทยมาอย่างยาวนาน ผู้อยู่เบื้องหลังแบรนด์แฟชั่นชั้นนำของไทยอย่าง Shaka และ YaccoMaricard ที่ชาวไทยสายแฟชั่นคุ้นเคยมาหลายยุคสมัย

คุณปลาได้ก่อตั้งแบรนด์ ZANPU ด้วยแนวคิดสร้างสรรค์ในการ Upcycle ชิ้นผ้าคุณภาพดีที่เหลือใช้จากกระบวนการตัดเย็บของแบรนด์ YaccoMaricard เปลี่ยนสิ่งที่ถูกมองข้ามให้กลายเป็นแฟชั่นที่ทรงคุณค่าผ่านมุมมองของความยั่งยืน ในบทสัมภาษณ์นี้จะพาคุณไปรู้จักแนวคิดเบื้องหลังของแบรนด์ ZANPU ที่ต้องการแสดงให้เห็นว่าการออกแบบที่ใส่ใจสามารถเปลี่ยนมุมมองและสร้างคุณค่าใหม่ได้ โดยเชื่อมั่นว่าคุณภาพคือบทพิสูจน์สำคัญ

llli ZANPU มีจุดเริ่มต้นอย่างไร ?

"ชื่อแบรนด์ ZANPU ออกเสียงว่า 'ซันปุ' มีที่มาจากคำว่า 'Zan' ที่แปลว่า 'เหลือ' และ 'Pu' แปลว่า 'ผ้า' เป็นชื่อที่สื่อความหมายตรงไปตรงมาตามแนวคิดของแบรนด์" คุณปลาอธิบาย

"ต้องเล่าย้อนกลับไปถึงกระบวนการผลิตเสื้อผ้าของโรงงานเราก่อน เราทำแบรนด์ YaccoMaricard ซึ่งเป็นแบรนด์ของญี่ปุ่นที่บริษัทเราได้ร่วมกันทำ เบื้องหลังแนวคิดของแบรนด์คือการใช้เทคนิคการผลิตที่ทำให้ผ้ามีพื้นผิว (Surface) แบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการตีเกล็ด การกรีด เป็นวิธีการสร้างเท็กซ์เจอร์ของเนื้อผ้าขึ้นมาใหม่ และการทำเสื้อผ้าที่ผลิตด้วยด้ายสีขาวเพื่อนำไปย้อมให้เป็นสีต่างๆ ตามคอนเซ็ปต์และคอลเล็กชัน"

"ดังนั้นเมื่อมีการย้อม เราจึงต้องเผื่อขนาดผ้าเพื่อรองรับการหดตัวจากการย้อมให้มีขนาดที่พอดี การสร้างพื้นผิวของผ้าเราทำเป็นชิ้นส่วนๆ ไล่ตั้งแต่ด้านหน้า ด้านหลัง แขน ปก แล้วประกอบขึ้นมาเป็นตัว ในกระบวนการของการตัดผ้าจะมีชิ้นผ้าคุณภาพดีที่เหลือใช้จากกระบวนการตัดเย็บส่วนต่างๆ ซึ่งมีหลากหลายขนาด "

"ในตอนแรกเราเอาชิ้นผ้าคุณภาพดีที่เหลือใช้จากการกระบวนการตัดเย็บเหล่านี้มาทำเป็นถุงผ้าเล็กๆ เพื่อแจกให้กับลูกค้าเวลามาซื้อสินค้า เมื่อมีผ้าส่วนเกินจากการตัดเย็บมากขึ้น และม้วนผ้าในโรงงานบางส่วนก็ไม่ได้ถูกนำมาใช้ จนกระทั่งช่วงสถานการณ์โควิด-19 เราเริ่มสังเกตว่าผ้าที่เหลือจากพื้นผิวพิเศษเหล่านี้ บางชิ้นยังมีความสวยงาม บางชิ้นมีขนาดที่ใหญ่พอสมควร "เมื่อมีทรัพยากรเหล่านี้ เราจึงมอบหมายให้ดีไซเนอร์ลองไอเดียร่วมกัน จึงตั้งโจทย์ร่วมกันว่า เราจะออกแบบเป็นสินค้าสำหรับกลุ่มเป้าหมายใด? "

"ช่วงแรกเราทดลองมุ่งเน้นไปที่ลูกค้ากลุ่มคนที่อยู่บ้าน เพราะเป็นช่วงการระบาดของโควิด-19 ออกแบบสินค้าประเภทชุดนอนและสินค้าสำหรับใช้ภายในบ้าน โปรเจกต์นี้ก็ช่วยให้เราไม่ต้องเลย์ออฟพนักงานออกในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจตอนนั้น จากนั้นจึงพัฒนาแนวคิดการสร้างมูลค่าจากชิ้นผ้าคุณภาพดีที่เหลือใช้จากกระบวนการตัดเย็บ ต่อยอดไปถึงผ้าที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ แทนที่จะต้องทิ้งหรือขายไปในราคาถูก จนกลายเป็นที่มาของการก่อตั้งแบรนด์”

llli การทำสินค้า Upcycle มีข้อจำกัดอย่างไรบ้าง

"แน่นอนว่าสินค้าของเรามาจากชิ้นผ้าคุณภาพดีที่เหลือใช้จากการตัดเย็บ เราใช้ผ้าที่มาจากต่างม้วน ขนาดแต่ละชิ้นก็แตกต่างกัน ดังนั้น เราต้องเข้าใจว่าเสื้อผ้าของเราจะมีรูปแบบที่หลากหลาย ทั้งผ้าคอตตอน ผ้าไหม และอื่นๆ สิ้นค้าในกลุ่มนี้มีหลายมิติในเรื่องของการจัดการให้ได้มาตรฐาน"

"ข้อได้เปรียบของเราคือเราเป็นโรงงานที่มีองค์ความรู้ด้านกระบวนการผลิต เรามีกรรมวิธีที่ทำให้การย้อมจากแหล่งที่มาแตกต่างกันให้สีออกมาสวยงามและกลมกลืนมากที่สุด ภายใต้ข้อจำกัดเหล่านี้ รวมถึงรายละเอียดอื่นๆ เช่น ซิป กระดุม เราใช้วัสดุที่มีอยู่ในโรงงานให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยมีทีมออกแบบเข้ามาช่วยแก้ไขปัญหาเหล่านี้ เน้นที่ประโยชน์ใช้สอยเป็นหลัก"

เรื่องสำคัญที่ต้องคำนึงถึงในด้านความยั่งยืน คือ กระบวนการจัดการสิ่งแวดล้อมหลังการผลิต ถึงแม้ว่าการย้อมของเราเป็นกระบวนการทางเคมีทั้ง Reactive Dye และ Acid Dye แต่เราใช้สารเคมีที่มีคุณภาพ ผ่านการบำบัดน้ำเสียที่ได้มาตรฐานอุตสาหกรรม เรามีระบบที่ได้รับการรับรอง เนื่องจากโรงงานของเราตั้งอยู่ในย่านชุมชน มีใบประกอบกิจการโรงงานที่ถูกต้อง ทำให้โรงงานของเราไม่มีเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับการปล่อยสารเคมีลงสู่แหล่งน้ำ"


llli ส่วนสำคัญของการสร้างความยั่งยืนคือ “การสร้างวัฒนธรรมองค์กร”

"แต่เดิมเราเริ่มต้นทำบริษัทด้วยการทำงานแบบใกล้ชิดกับพนักงาน ให้ทุกคนในองค์กรมีส่วนร่วมตั้งแต่การเสนอแนวคิดและช่วยกันพัฒนาร่วมกัน อย่างเช่น เราเป็นโรงงานเย็บผ้า ผลิตแต่เสื้อผ้ามาตลอด แล้วถ้าวันหนึ่งเราต้องการทำกระเป๋า เราจะช่วยกันพัฒนาแนวทางการทำงานอย่างไร"

"การให้คนทำงานมีโอกาสเสนอความคิดใหม่ๆ การฝึกอบรม และการสื่อสารภายในองค์กร ทำให้พนักงานได้เห็นผลลัพธ์จากการทดลองสร้างสรรค์สิ่งใหม่ร่วมกัน จึงเกิดเป็นสินค้าที่มาจากฝีมือของคนในองค์กรอย่างแท้จริง"

"เรามีค่านิยมองค์กรที่ใช้ตัวย่อว่า ' SUKOI ' โดยตัว 'O' หมายถึง Ownership and Pride การที่ทุกคนรู้สึกเป็นเจ้าของและมีความภาคภูมิใจในงานร่วมกัน เป็นทิศทางที่เราต้องมองไปในแนวทางเดียวกันกับพนักงาน เมื่อเราสร้างแบรนด์ใหม่ขึ้นมา เราต้องเข้าใจถึงเหตุผลและคุณค่าร่วมกัน"

"แบรนด์ ZANPU เกิดจากแนวคิดสร้างสรรค์ในการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ไม่ว่าจะเป็นผ้าค้างสต็อกหรือชิ้นผ้าคุณภาพดีที่เหลือใช้จากการตัดเย็บ เรามองเห็นโอกาสในการแปรรูปวัสดุเหล่านี้ให้กลายเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณค่าต่อผู้คน

ด้วยความใส่ใจในทุกขั้นตอนการผลิตและการออกแบบที่พิถีพิถันมาอย่างสม่ำเสมอ ทำให้สินค้าของเรามีคุณภาพสูงได้มาตรฐานระดับส่งออก จนได้รับการยอมรับในตลาดที่มีมาตรฐานสูงอย่างประเทศญี่ปุ่น สะท้อนให้เห็นถึงความภาคภูมิใจในผลงานที่พนักงานทุกคนมีส่วนร่วมสร้างสรรค์

llli ความเป็นไปได้ของตลาด “สินค้ารักษ์โลก”ในอุตสาหกรรมแฟชั่นไทย

“เมื่อถามถึงความเป็นไปได้ของสินค้ารักษ์โลกในตลาดแฟชั่นไทย ในแนวคิดเรื่องความยั่งยืน (Sustainability) ในวงการแฟชั่นยังอยู่ในช่วงเริ่มต้น แต่มีแนวโน้มที่จะเติบโตมากขึ้นเรื่อยๆ เราเห็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้บริโภคที่เริ่มตระหนักถึงปัญหาสิ่งแวดล้อม เช่น การปฏิเสธถุงพลาสติก หรือการเลือกใช้วัสดุที่เป็นมิตรต่อธรรมชาติ"

"หากมองถึงความต้องการสินค้าประเภท Upcycle และ Recycle ที่ต้องใช้กระบวนการผลิตที่พิถีพิถันและมีต้นทุนสูงกว่าสินค้าทั่วไป ต้องยอมรับว่าในตลาดเสื้อผ้าของไทย ความต้องการยังอยู่ในวงจำกัด แต่เราเชื่อว่าในอนาคตอันใกล้ เมื่อผู้บริโภคมีความตระหนักเรื่องความยั่งยืนมากขึ้น ความต้องการสินค้าประเภทนี้ก็จะเพิ่มขึ้นตามไปด้วย"

"กุญแจสำคัญในการทำให้หมวดหมู่นี้น่าสนใจ คือ การออกแบบให้มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว สร้างความหลากหลาย และการเล่าเรื่องราวเบื้องหลังของวัสดุและกระบวนการผลิต แบรนด์เองต้องพร้อมสนับสนุนแนวคิดความยั่งยืนผ่านการเลือกซื้อสินค้า เพื่อสร้างกระแสความตระหนักรู้เรื่องความยั่งยืนในวงกว้างให้มากขึ้นในสังคมเพื่อเป็นการสื่อสารแบรนด์ไปในตัวด้วย"

llli ความท้าทายและจุดยืนของแบรนด์ ZANPU

"ความท้าทายของ ZANPU คือการสร้างแบรนด์เสื้อผ้าที่สวมใส่ได้ง่ายในชีวิตประจำวัน จากทรัพยากรผ้าส่วนเกินจากการตัดเย็บ เป้าหมายของการออกแบบคือความเรียบง่ายแต่มีรายละเอียดพิเศษผ่านความคิดสร้างสรรค์และความเป็นไปได้ในการผลิต"

"เรานำผ้าตีเกล็ดมาผสมผสานกับผ้าในรูปแบบอื่นๆ ใช้เทคนิคการตัดเย็บแบบ ‘Patchwork’เพื่อสร้างพื้นผิวที่หลากหลายในเสื้อผ้าแต่ละชิ้น ทำให้สินค้ามีเอกลักษณ์เฉพาะตัว โดยลดความหวือหวาในด้านแฟชั่น เพื่อให้ลูกค้าสามารถสวมใส่ในชีวิตประจำวันได้มากขึ้น และได้มีส่วนร่วมในการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า เป็นการสร้างคุณค่าร่วมระหว่างแบรนด์และผู้บริโภคในยุคที่ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมเป็นสิ่งที่เราต้องการสื่อสาร"


ภารกิจสำคัญของเราคือการพัฒนาแบรนด์ให้เป็นส่วนหนึ่งในไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคอย่างลึกซึ้ง จากประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในธุรกิจเสื้อผ้าที่สั่งสมมายาวนาน เราสามารถนำความรู้หรือทรัพยากรที่เรามีมาใช้ให้เกิดประโยชน์เต็มที่

"แม้ว่ากระบวนการผลิตของเราจะมีต้นทุนสูงกว่าการผลิตทั่วไป เราพยายามทำให้สินค้ามีราคาที่เข้าถึงได้ โดยเฉพาะสำหรับกลุ่มลูกค้า Gen Y และ Gen Z ที่ปัจจุบันมีค่านิยมตระหนักรู้เรื่องสิ่งแวดล้อมมากขึ้น"

"คุณค่าของสินค้าคุณภาพสูงที่ตัดเย็บอย่างประณีต คือการได้ใช้งานในระยะยาวและให้ความคุ้มค่า อีกทั้งยังได้มีส่วนร่วมในการสร้างความเปลี่ยนแปลงเชิงบวกต่อสิ่งแวดล้อม เป็นส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงวงการแฟชั่นให้มีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมมากขึ้น"


llli ธุรกิจแฟชั่นสามารถยั่งยืนได้จริงหรือไม่?

"ในขณะที่กระแสแฟชั่นปัจจุบันมีแนวคิดเรื่องความยั่งยืนและผู้บริโภคมีความตระหนักถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น แต่ในทางกลับกัน ผู้บริโภคก็มีกำลังซื้อที่ลดลงจากสภาพเศรษฐกิจที่ผันผวนและไม่แน่นอน ส่งผลให้แบรนด์ที่ผลิตสินค้าในปริมาณมากและราคาถูกอย่าง Fast Fashion กลับยังคงได้รับความนิยมสูงในยุคปัจจุบัน"

"ในมุมมองของเรา เรายังคงเชื่อมั่นและยึดมั่นที่จะไม่ตามกระแสนิยมเหล่านี้ แม้ว่าในบางช่วงยอดขายอาจไม่เป็นไปตามเป้าหมาย เราเลือกที่จะปรับลดปริมาณการผลิตและบริหารต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพ แทนที่จะลดทอนคุณภาพของสินค้า เรายังคงให้ความสำคัญกับทุกรายละเอียดในกระบวนการผลิตอย่างที่เราเคยทำมา เพื่อพัฒนาสินค้าที่มีคุณค่าสำหรับลูกค้า สามารถใช้งานได้ยาวนานไป 10-20 ปี"

"อย่างเช่น เสื้อผ้าของ YaccoMaricard เมื่อใช้งานเป็นเวลานาน สีอาจซีดจางตามกาลเวลา ลูกค้าสามารถนำกลับมาย้อมตามกระบวนการเดิมของเราได้ ด้วยแนวคิดด้านความยั่งยืนนี้ เรามองว่าเสื้อผ้าที่มีคุณภาพสามารถส่งต่อไปให้รุ่นลูกรุ่นหลาน นำไปใช้ต่อได้ ไม่กลายเป็นขยะหลังจากเทรนด์แฟชั่นผ่านไป"

"สำหรับเรา ในการสร้างความยั่งยืน (Sustainable)ที่ทำได้จริง คือสร้างกระบวนการผลิตที่รับผิดชอบให้ได้ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ และนี่คือหัวใจสำคัญที่เราดำเนินธุรกิจแฟชั่นมากว่า 35 ปี



Text:

Chanathip K

Chanathip K

PHOTO:

Chanathip K

Chanathip K

Related Posts