ชวนเทรกกิ้งที่ทุ่งสง บ้านวังไทร เดินป่าชุมชน ฟื้นป่าต้นน้ำ

ชวนเทรกกิ้งที่ทุ่งสง บ้านวังไทร เดินป่าชุมชน ฟื้นป่าต้นน้ำ

30 ก.ย. 2566

SHARE WITH:

30 ก.ย. 2566

30 ก.ย. 2566

SHARE WITH:

SHARE WITH:

ชวนเทรกกิ้งที่ทุ่งสง บ้านวังไทร เดินป่าชุมชน ฟื้นป่าต้นน้ำ

“ทุกคนไม่มีใครเคยคิดว่าภาคใต้จะแล้ง” คำนี้มาจากคำพูดของพี่ขวัญ ประธานวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยว ‘ฅนต้นน้ำบ้านวังไทร’ ต.ถ้ำใหญ่ อ.ทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช

ในเมืองฝนแปดแดดสี่อย่างภาคใต้ อยู่ดีๆ ภัยแล้งก็เข้ามาเยือนแบบไม่ทันตั้งตัวในปี 2559 เป็นเวลาถึง 5 เดือนเต็ม “ต้นหมากก็ยืนต้นตาย คลองข้างบ้านก็แห้งแล้ง” คำพูดเหมือนกับจะขัดกับความเขียวขจีและอุดมสมบูรณ์ของป่าชุมชนบ้านวังไทรอย่างที่เห็นในปัจจุบัน จนตอนนี้ป่าชุมชนภายใต้ความดูแลของชาวบ้านกลายมาเป็นรูทเทรกกิ้งที่น่าสนุกที่สุดอีกแห่งหนึ่งในทุ่งสง

บนพื้นที่ 295 ไร่ 3 งาน 22 ตารางวากับ 9 จุดมหัศจรรย์ในป่า โดยการจัดเส้นทางเดินป่าชุมชนฅนต้นน้ำบ้านวังไทร ร่วมกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 โปรแกรมตามความสะดวกของนักท่องเที่ยว มีตั้งแต่เดินป่าระยะสั้น 1.6 กิโลเมตรแบบหนึ่งวัน นอนพักในป่า 2 วัน 1 คืน หรือจะครบรูททั้ง 9 จุดมหัศจรรย์ ระยะทาง 7.14 กิโลเมตร ก็มีกิจกรรมที่เตรียมพร้อมในแต่ละฐาน สร้างประสบการณ์อันอบอุ่นและใกล้ชิดธรรมชาติในแบบฉบับโลคอล

  

IIIi - 9 จุดมหัศจรรย์กับป่าชุมชน

นิยามของคำว่า ‘ป่าชุมชน’ คือป่าที่ชาวบ้านในพื้นที่เป็นผู้ช่วยกันดูแล ทีมงานคุณภาพมีหลากหลายวัยตั้งแต่เด็กจนถึงผู้สูงอายุที่มาช่วยกันดูแลป่าไม้ตามกำลังของตน อย่างที่ป่าชุมชนบ้านวังไทรแห่งนี้จัดเป็นพื้นที่ป่าต้นน้ำ ก่อนที่น้ำจะไหลลงไปสู่ปลายน้ำที่แม่น้ำตรัง การบริหารจัดการน้ำตั้งแต่ต้นน้ำจึงเป็นเรื่องที่ทุกคนในชุมชนจึงหันมาตระหนักและลงมือทำ โดยได้รับความช่วยเหลือเรื่ององค์ความรู้และการลงมือปฏิบัติโดยเอสซีจี และสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (สสน.)

การปลูกจิตสำนึกในการรักและหวงแหนป่าภายในชุมชนของตนเองเริ่มตั้งแต่วัยเด็ก ด้วยการสร้างเครือข่ายเยาวชนเตือนภัยพิบัติชุมชน ด้วยการสอนให้เด็กรู้จักน้ำแล้ง น้ำหลาก น้ำแรง ผ่านการดูโทรมาตร สังเกตการณ์สีของน้ำตั้งแต่ต้นน้ำ และสร้างเครือข่ายร่วมกับผู้ใหญ่ในการรายงานผลเพื่อการแก้ปัญหาต่อไป


ตัวอย่างผลลัพธ์ของความสามัคคีเห็นได้ชัดเจนในช่วงปี 2560 ที่การเฝ้าระวังและแจ้งเตือนทำได้อย่างแม่นยำ จนสามารถอพยพย้ายชุมชนที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบจากน้ำหลากได้ทันท่วงที ยิ่งเน้นย้ำให้ชาวบ้านเห็นความสำคัญของการบริหารจัดการน้ำและข้อมูล จนสามารถฟื้นฟูวิถีชีวิตของผู้คนและป่าไปพร้อมกัน

การเปิดป่าชุมชนให้เป็นพื้นที่ท่องเที่ยว จึงเหมือนกันเป็นการเปิดห้องเรียนขนาดใหญ่ให้ผู้คนในชุมชนรู้จักการบริหารจัดการทรัพยากร ทั้งเพื่อสร้างรายได้ให้ชุมชนเวียนกลับมาใช้ดูแลป่า และเป็นการสร้างจิตสำนึกรักป่าให้เข้าไปอยู่ในใจผู้คน ทั้ง 9 จุดมีไฮไลต์ที่สัมพันธ์กับวิถีชีวิตตลอดเส้นทาง

 

เริ่มตั้งแต่ถ้ำตามธรรมชาติอันน่าตื่นตา ดงลูกชก ผลไม้หายากที่กลายมาเป็นของดีประจำป่า ระหว่างทางคือเส้นทางผจญภัยของดิน หิน ป่า และลำธาร ก่อนพักเที่ยงหุงข้าวใบเร็ด ข้าวในกระบอกไม้ไผ่จากดงโป๊ะไผ่ธรรมชาติ กับกาแฟดริปหอมๆ เพื่อเติมพลังในการเดินทางต่อไปเจอกับต้นลำแพนใหญ่ เตยป่า และพรรณไม้ตามภูมิประเทศภาคใต้ เรียกว่าทั้งได้อาบป่าและอาบมิตรไมตรีที่ดีจากพี่ผู้นำเที่ยวคนในพื้นที่


IIIi - ป่าชุมชนที่นำมาซึ่งอาชีพ

 นอกจากป่าชุมชนจะเป็นพื้นที่สาธารณะให้กับทั้งผู้คนในท้องถิ่นและนักท่องเที่ยวผ่านเส้นทางท่องเที่ยวแล้ว การท่องเที่ยวยังนำมาซึ่งการสร้างอาชีพให้กับผู้คน ผ่านการเชื่อมโยงเครือข่ายกับผลิตผลทางการเกษตรและการแปรรูปเพื่อสร้างความยั่งยืนทางอาชีพ ด้วยการสร้างมูลค่าเพิ่มจากของรอบตัว


บ้านวังไทรมีการจัดตั้งกลุ่มสตรีในชุมชนเรียนรู้อาชีพร่วมกันกับมหาวิทยาลัย และเครือข่ายร่วมกัน 14 จังหวัด ในการช่วยเสาะหาวัตถุดิบ และจัดจำหน่าย อย่างข้าวกรอบต้มยำกุ้งที่เกิดขึ้นจากสภาวะราคาข้าวตกต่ำ หรือแยมละมุด ละมุดแช่อิ่ม ที่เป็นส่วนหนึ่งของพลังชุมชนในการแปรรูปผลิตผลทางการเกษตรให้ได้ราคาเพิ่มขึ้นกว่าเดิม

การเรียนรู้ไม่ได้มีเพียงการแปรรูปจำหน่ายเท่านั้น แต่เริ่มต้นตั้งแต่การติวเข้มการคิดต้นทุน การพัฒนาผลิตภัณฑ์ การสร้างเครือข่าย และการส่งต่อองค์ความรู้ให้กับเยาวชน โดยปัจจุบันนี้ชุมชนมีผลิตภัณฑ์เป็นของตัวเองทั้งหมด 14 ตัว และผลงานที่ผ่านมาแสดงให้เห็นผ่านการสร้างรายได้ให้กับชาวบ้านเพิ่มขึ้นถึง 3 เท่าจากเดิม

 

ความสามัคคีและพลังชุมชนแสดงให้นักท่องเที่ยวอย่างเราเห็นว่า การพัฒนาชุมชนภายใต้ความสุขโดยไม่เสียสมดุลเกิดขึ้นได้ และพร้อมเปิดแผนที่แห่งใหม่นี้ต้อนรับทุกคนที่พร้อมเดินทางค้นหาความท้าทายบทใหม่อยู่เสมอ รับรองว่าเสน่ห์เฉพาะตัวของป่าและผู้คนที่บ้านวังไทรจะทำให้คุณอบอุ่นหัวใจแน่นอน

ติดต่อสอบถามรายละเอียดการเดินป่าบ้านวังไทรได้ที่แฟนเพจ วิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยว ‘ฅนต้นน้ำบ้านวังไทร’ : https://www.facebook.com/profile.php?id=100064439842408


“ทุกคนไม่มีใครเคยคิดว่าภาคใต้จะแล้ง” คำนี้มาจากคำพูดของพี่ขวัญ ประธานวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยว ‘ฅนต้นน้ำบ้านวังไทร’ ต.ถ้ำใหญ่ อ.ทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช

ในเมืองฝนแปดแดดสี่อย่างภาคใต้ อยู่ดีๆ ภัยแล้งก็เข้ามาเยือนแบบไม่ทันตั้งตัวในปี 2559 เป็นเวลาถึง 5 เดือนเต็ม “ต้นหมากก็ยืนต้นตาย คลองข้างบ้านก็แห้งแล้ง” คำพูดเหมือนกับจะขัดกับความเขียวขจีและอุดมสมบูรณ์ของป่าชุมชนบ้านวังไทรอย่างที่เห็นในปัจจุบัน จนตอนนี้ป่าชุมชนภายใต้ความดูแลของชาวบ้านกลายมาเป็นรูทเทรกกิ้งที่น่าสนุกที่สุดอีกแห่งหนึ่งในทุ่งสง

บนพื้นที่ 295 ไร่ 3 งาน 22 ตารางวากับ 9 จุดมหัศจรรย์ในป่า โดยการจัดเส้นทางเดินป่าชุมชนฅนต้นน้ำบ้านวังไทร ร่วมกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 โปรแกรมตามความสะดวกของนักท่องเที่ยว มีตั้งแต่เดินป่าระยะสั้น 1.6 กิโลเมตรแบบหนึ่งวัน นอนพักในป่า 2 วัน 1 คืน หรือจะครบรูททั้ง 9 จุดมหัศจรรย์ ระยะทาง 7.14 กิโลเมตร ก็มีกิจกรรมที่เตรียมพร้อมในแต่ละฐาน สร้างประสบการณ์อันอบอุ่นและใกล้ชิดธรรมชาติในแบบฉบับโลคอล

  

IIIi - 9 จุดมหัศจรรย์กับป่าชุมชน

นิยามของคำว่า ‘ป่าชุมชน’ คือป่าที่ชาวบ้านในพื้นที่เป็นผู้ช่วยกันดูแล ทีมงานคุณภาพมีหลากหลายวัยตั้งแต่เด็กจนถึงผู้สูงอายุที่มาช่วยกันดูแลป่าไม้ตามกำลังของตน อย่างที่ป่าชุมชนบ้านวังไทรแห่งนี้จัดเป็นพื้นที่ป่าต้นน้ำ ก่อนที่น้ำจะไหลลงไปสู่ปลายน้ำที่แม่น้ำตรัง การบริหารจัดการน้ำตั้งแต่ต้นน้ำจึงเป็นเรื่องที่ทุกคนในชุมชนจึงหันมาตระหนักและลงมือทำ โดยได้รับความช่วยเหลือเรื่ององค์ความรู้และการลงมือปฏิบัติโดยเอสซีจี และสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (สสน.)

การปลูกจิตสำนึกในการรักและหวงแหนป่าภายในชุมชนของตนเองเริ่มตั้งแต่วัยเด็ก ด้วยการสร้างเครือข่ายเยาวชนเตือนภัยพิบัติชุมชน ด้วยการสอนให้เด็กรู้จักน้ำแล้ง น้ำหลาก น้ำแรง ผ่านการดูโทรมาตร สังเกตการณ์สีของน้ำตั้งแต่ต้นน้ำ และสร้างเครือข่ายร่วมกับผู้ใหญ่ในการรายงานผลเพื่อการแก้ปัญหาต่อไป


ตัวอย่างผลลัพธ์ของความสามัคคีเห็นได้ชัดเจนในช่วงปี 2560 ที่การเฝ้าระวังและแจ้งเตือนทำได้อย่างแม่นยำ จนสามารถอพยพย้ายชุมชนที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบจากน้ำหลากได้ทันท่วงที ยิ่งเน้นย้ำให้ชาวบ้านเห็นความสำคัญของการบริหารจัดการน้ำและข้อมูล จนสามารถฟื้นฟูวิถีชีวิตของผู้คนและป่าไปพร้อมกัน

การเปิดป่าชุมชนให้เป็นพื้นที่ท่องเที่ยว จึงเหมือนกันเป็นการเปิดห้องเรียนขนาดใหญ่ให้ผู้คนในชุมชนรู้จักการบริหารจัดการทรัพยากร ทั้งเพื่อสร้างรายได้ให้ชุมชนเวียนกลับมาใช้ดูแลป่า และเป็นการสร้างจิตสำนึกรักป่าให้เข้าไปอยู่ในใจผู้คน ทั้ง 9 จุดมีไฮไลต์ที่สัมพันธ์กับวิถีชีวิตตลอดเส้นทาง

 

เริ่มตั้งแต่ถ้ำตามธรรมชาติอันน่าตื่นตา ดงลูกชก ผลไม้หายากที่กลายมาเป็นของดีประจำป่า ระหว่างทางคือเส้นทางผจญภัยของดิน หิน ป่า และลำธาร ก่อนพักเที่ยงหุงข้าวใบเร็ด ข้าวในกระบอกไม้ไผ่จากดงโป๊ะไผ่ธรรมชาติ กับกาแฟดริปหอมๆ เพื่อเติมพลังในการเดินทางต่อไปเจอกับต้นลำแพนใหญ่ เตยป่า และพรรณไม้ตามภูมิประเทศภาคใต้ เรียกว่าทั้งได้อาบป่าและอาบมิตรไมตรีที่ดีจากพี่ผู้นำเที่ยวคนในพื้นที่


IIIi - ป่าชุมชนที่นำมาซึ่งอาชีพ

 นอกจากป่าชุมชนจะเป็นพื้นที่สาธารณะให้กับทั้งผู้คนในท้องถิ่นและนักท่องเที่ยวผ่านเส้นทางท่องเที่ยวแล้ว การท่องเที่ยวยังนำมาซึ่งการสร้างอาชีพให้กับผู้คน ผ่านการเชื่อมโยงเครือข่ายกับผลิตผลทางการเกษตรและการแปรรูปเพื่อสร้างความยั่งยืนทางอาชีพ ด้วยการสร้างมูลค่าเพิ่มจากของรอบตัว


บ้านวังไทรมีการจัดตั้งกลุ่มสตรีในชุมชนเรียนรู้อาชีพร่วมกันกับมหาวิทยาลัย และเครือข่ายร่วมกัน 14 จังหวัด ในการช่วยเสาะหาวัตถุดิบ และจัดจำหน่าย อย่างข้าวกรอบต้มยำกุ้งที่เกิดขึ้นจากสภาวะราคาข้าวตกต่ำ หรือแยมละมุด ละมุดแช่อิ่ม ที่เป็นส่วนหนึ่งของพลังชุมชนในการแปรรูปผลิตผลทางการเกษตรให้ได้ราคาเพิ่มขึ้นกว่าเดิม

การเรียนรู้ไม่ได้มีเพียงการแปรรูปจำหน่ายเท่านั้น แต่เริ่มต้นตั้งแต่การติวเข้มการคิดต้นทุน การพัฒนาผลิตภัณฑ์ การสร้างเครือข่าย และการส่งต่อองค์ความรู้ให้กับเยาวชน โดยปัจจุบันนี้ชุมชนมีผลิตภัณฑ์เป็นของตัวเองทั้งหมด 14 ตัว และผลงานที่ผ่านมาแสดงให้เห็นผ่านการสร้างรายได้ให้กับชาวบ้านเพิ่มขึ้นถึง 3 เท่าจากเดิม

 

ความสามัคคีและพลังชุมชนแสดงให้นักท่องเที่ยวอย่างเราเห็นว่า การพัฒนาชุมชนภายใต้ความสุขโดยไม่เสียสมดุลเกิดขึ้นได้ และพร้อมเปิดแผนที่แห่งใหม่นี้ต้อนรับทุกคนที่พร้อมเดินทางค้นหาความท้าทายบทใหม่อยู่เสมอ รับรองว่าเสน่ห์เฉพาะตัวของป่าและผู้คนที่บ้านวังไทรจะทำให้คุณอบอุ่นหัวใจแน่นอน

ติดต่อสอบถามรายละเอียดการเดินป่าบ้านวังไทรได้ที่แฟนเพจ วิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยว ‘ฅนต้นน้ำบ้านวังไทร’ : https://www.facebook.com/profile.php?id=100064439842408


Text:

Nathanich C.

Nathanich C.

PHOTO:

Related Posts