จิตสุภา วัชรพล กับการบอกเล่าเรื่องราวของ Thairath ยุคใหม่ผ่านทาง Sustainability Report 2024

จิตสุภา วัชรพล กับการบอกเล่าเรื่องราวของ Thairath ยุคใหม่ผ่านทาง Sustainability Report 2024

19 ก.พ. 2567

SHARE WITH:

19 ก.พ. 2567

19 ก.พ. 2567

SHARE WITH:

SHARE WITH:

จิตสุภา วัชรพล กับการบอกเล่าเรื่องราวของ Thairath ยุคใหม่ผ่านทาง Sustainability Report 2024

“จริงๆ แล้วไทยรัฐทำเรื่อง 'ความยั่งยืน' มานานแล้วก่อนที่คำว่าความยั่งยืนจะถูกเอามาพูดถึง เพราะมูลนิธิไทยรัฐและโรงเรียนไทยรัฐวิทยาเกิดขึ้นมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2513” นิค – จิตสุภา วัชรพล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารร่วม ไทยรัฐทีวี และไทยรัฐออนไลน์ เล่าให้เราเห็นภาพโดยเริ่มต้นจาก ‘โรงเรียนไทยรัฐวิทยา’ ที่พวกเราคุ้นชื่อกันดี

รายงานความยั่งยืนเล่มสีฟ้าที่เราเห็นในช่วงพักโฆษณาระหว่างรายการของช่องไทยรัฐจึงเหมือนกับเป็นบันทึกการทำงานด้านสังคมที่ผ่านมาโดยตลอด และเป็นบันทึกความร่วมมือระหว่างหลายภาคส่วน

“เพราะการพัฒนาที่ยั่งยืนมันต้องช่วยกันทำไปด้วยกันเป็นองค์รวมทั้งหมด ถ้าทำคนเดียว อิมแพกต์ก็จะไม่ใหญ่มากพอ ตรงนี้จึงเป็นเหมือนการรวบรวมความตั้งใจจากต่างเรื่องราวมาไว้ที่เดียวกัน จนพัฒนาไอเดียมาเป็น Sustainability Report 2024 ซึ่งเราอยากใช้หนังสือเล่มนี้เป็นเหมือนกับสปริงบอร์ดให้คอนเทนต์ได้สะท้อนออกไปสื่อสารต่อกับวงกว้างว่า ความยั่งยืนคืออะไร มีที่มาที่ไปอย่างไร แล้วทำไมเราถึงต้องใส่ใจช่วยกันทำ”

 

IIIi - เล่าเรื่องการศึกษา ถึงคุณภาพชีวิตของทุกคน

เป้าหมายที่ 4 ของ SDGs Goal คือการสร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียม จึงเป็นงานที่ไทยรัฐทำงานมาอย่างต่อเนื่องผ่านมูลนิธิไทยรัฐ “จุดเริ่มต้นคือ คุณตาเรียนจบแค่ชั้น ป.4 และท่านก็รู้สึกว่าอยากส่งกลับคืนต่อให้กับสังคม”

โดยมูลนิธิเข้าไปช่วยจัดการศึกษาทั้งทางกายภาพอย่างการสร้างโรงเรียน ไปจนถึงการจัดการเรียนการสอน แล้วส่งมอบต่อให้กับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เป็นการกระจายโอกาสทางการศึกษาและสร้างความมั่นคงให้ชีวิตของผู้คนผ่านทางการศึกษาที่ติดตัวไปทั้งชีวิต

"จริงๆ เราไม่ได้ลุกขึ้นมาพูดตามกระแส แต่ลุกขึ้นมาพูดด้วยเหตุผลเนื่องมาจากมูลนิธิไทยรัฐที่ได้รับเงินบริจาคลดลงเรื่อยๆ ทุกปี สุดท้ายแล้วเราจึงหยิบเรื่องนี้ขึ้นมาพูดเพื่อหาเงินสนับสนุนกลับไปยังโรงเรียนไทยรัฐวิทยาต่อ นี่จึงเป็นที่มาของการเริ่มต้นลุกขึ้นพูดเรื่องความยั่งยืนอย่างจริงจัง"

จากจุดเริ่มต้นของความยั่งยืนด้านการศึกษาที่ยาวนานและยังคงโฟกัสมาโดยตลอด ขยายความออกสู่การเดินทางต่อในเส้นทางสิ่งแวดล้อม “ปฏิเสธไม่ได้ว่าสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวคนมากที่สุด ไม่ว่าใครก็ได้รับผลกระทบจากภาวะโลกที่กำลังวิกฤต”

ในภาพของสิ่งแวดล้อมกับวงการสื่อของไทยรัฐ อาจแบ่งแบบเห็นภาพชัดได้ 2 พาร์ตคือ ฝั่งโรงพิมพ์ที่ยังคงต้องพิมพ์หนังสือพิมพ์ในทุกวันที่มีกระบวนการกำจัดของเสียแต่ละประเภทอยู่แล้วอย่างเป็นระบบ กับการจัดการขยะในชีวิตประจำวัน โดยเมื่อปีที่แล้วก็เริ่มมีการทำแคมเปญจัดการขยะภายในองค์กรผ่านพฤติกรรมในทุกวัน

“สำหรับเรา มองว่าสุดท้ายแล้ว ความยั่งยืนก็คือคุณค่าข้างใน เพราะยั่งยืนแปลว่าทุกคนต้องไปต่อด้วยกันได้ เพื่อนพนักงานและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมดต้องไปต่อด้วยกันได้ ซึ่งมันก็แปลว่าเราต้องมีความเป็นธรรม ไม่เอาเปรียบคนอื่น”

“และถ้าเป็นมิติของสิ่งแวดล้อม การที่เราช่วยดูแลโลกในวันนี้ ก็เพื่ออนาคตของลูกหลาน ซึ่งมันก็คือการไม่เบียดเบียนทรัพยากรสิ่งแวดล้อมของคนในรุ่นต่อไป และคุณค่าในเชิงจิตใจ ความยั่งยืนก็คืออะไรที่สามารถทำให้เราอยู่รอดมีชีวิตต่อไปได้โดยที่คนอื่นไม่เดือดร้อน”

เราจึงถามต่อถึงเรื่องความยั่งยืนในฐานะองค์กรธุรกิจบ้าง ทรรศนะของคุณนิคในฐานะผู้นำองค์กรสอดคล้องไปกับก่อนหน้าที่ว่ามา “แปลว่าธุรกิจก็ต้องเดินหน้าต่อไปโดยที่คนข้างหลังต้องไม่ลำบาก ความยั่งยืนในเชิงของการดำเนินธุรกิจจึงควรต้องอยู่ในทุกอณูของการดำเนินงาน”

“ตั้งแต่เริ่มต้นวางแผนกลยุทธ์ โมเดลธุรกิจในการหารายได้ ประสิทธิภาพระหว่างปฏิบัติงาน เพื่อให้องค์กรอยู่ได้อย่างยั่งยืน ซึ่งก็น่าจะเป็นหัวใจสำคัญในการดำเนินงานของภาคธุรกิจในทุกองค์กรที่อยากให้ธุรกิจพัฒนาเติบโตต่อไป แล้วพอเราดูแลรักษาตัวเองให้อยู่รอดได้ท่ามกลางพลวัตที่โหดร้ายรวดเร็วแบบนี้ คำถามก็คือเมื่อเราดูแลตัวเองได้แล้ว เราหันกลับช่วยคนอื่นด้วยหรือเปล่า ซึ่งถ้าช่วยได้ เราก็ควรจะช่วย”

 

IIIi - การเดินทางจากยุคหนังสือพิมพ์สู่โลกออนไลน์ที่เปลี่ยนรายวินาที

อย่างที่ทุกคนทราบกันดีว่า ไทยรัฐเริ่มต้นจากการเป็นหนังสือพิมพ์รายวัน จนถึงยุค www เริ่มต้น เวบไซต์ของไทยรัฐก็เกิดขึ้นในปี พ.ศ.2539 ก่อนที่จะเดินเครื่องจริงจังเต็มที่ในฝั่งออนไลน์เมื่อราว 15 ปีที่ผ่านมา ต่อด้วยในเดือนเมษายน 2557 กับการเริ่มต้นออกอากาศครั้งแรกของไทยรัฐทีวีหลังจากการประมูลช่องดิจิทัล ยิ่งเสริมทัพให้แพลตฟอร์มด้านข่าวสารและบันเทิงของไทยรัฐครบครันยิ่งขึ้น

“ในช่วง 4-5 ปีให้หลังมานี้ เราเริ่มมีการแตก Sub-brand ภายใต้เครือไทยรัฐออนไลน์เพื่อให้ตอบสนองกับความต้องการของผู้บริโภคแต่ละกลุ่ม เช่น แบรนด์ MIRROR, แบรนด์ไทยรัฐพลัส และแบรนด์ไทยรัฐสปอร์ต เป็นต้น เพราะความสนใจของผู้บริโภคมันเฉพาะกลุ่มมากขึ้น และอินเตอร์เนตทำให้ผู้คนสามารถเข้าถึงเรื่องเล็กเรื่องน้อยได้ง่ายขึ้น เพราะฉะนั้นสื่อใหญ่เองก็ต้องปรับตัว หรือหาวิธีการในการทำตลาดเพื่อให้ตอบกับลูกค้าในยุคที่ทางเลือกมีมากมายหลากหลาย”

แม้รูปแบบแพลตฟอร์มที่ก้าวสู่ยุคข่าวสารในสมาร์ทโฟนจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วในระดับวินาที แต่สิ่งหนึ่งที่ทำให้ไทยรัฐยังคงอยู่ในใจของคนอ่านข่าวคือ ระบบบรรณาธิการ

“จริงๆ มันปรับเยอะมากตั้งแต่กระบวนการทำคอนเทนต์ คือยุคนี้ที่ทุกคนมีสมาร์ทโฟน สามารถทำคอนเทนต์แบบ UGC (User-generated Content: เนื้อหาที่ผู้ใช้งานสร้างขึ้นได้เอง) เพราะฉะนั้นความแตกต่างของเราคือ เราคือสื่อที่เป็นสถาบันข่าวแบบนักสื่อสารมวลชน ซึ่งสุดท้ายเวลาคุยกันมันก็จะวนกลับมาที่เรื่องของความน่าเชื่อถือ ที่สื่อสำนักใหญ่ยังต้องนำเสนอให้กับคนอ่าน”

กับอาชีพสื่อในยุคนี้ที่เปลี่ยนรูปแบบวิธีการเขียนจากบทความในหนังสือพิมพ์มาสู่การเป็นคอนเทนต์บนหน้าจอ “คนที่มาเขียนออนไลน์ก็ต้องปรับวิธีการเขียน รีสกิลอัปสกิลอีก เพราะต้องเรียนรู้ทั้งเรื่อง SEOs หรือเทคนิคต่างๆ อีกมากมาย”

“อาชีพการทำคอนเทนต์เราว่ามันเป็นทั้งงานศาสตร์และงานศิลป์ คือมันจะอาร์ตอย่างเดียวก็ไม่ได้ แล้วจะวิทยาศาสตร์อย่างเดียวโดยที่ไร้ฟีลลิ่งก็ไม่ได้ จริงๆ เราว่ามันยากนะที่จะต้องรวมทั้งสองศาสตร์เข้ามาอยู่ร่วมกันให้ได้”

“ซึ่งเราคิดว่า ทางรอดของสื่อ ไม่ใช่เฉพาะแค่ไทยรัฐ แต่คือเพื่อนสื่อทั้งหมด ก็คือเรื่องของกระบวนการในการตรวจสอบ การได้มาซึ่งข่าว และจริยธรรมในการประกอบวิชาชีพที่ยังต้องดำรงไว้ ส่วนในแง่ของผลิตภัณฑ์ก็ต้องปรับให้เข้ากับยุคสมัย และเทรนด์ผู้บริโภค อย่างเช่นทุกวันนี้ก็คือคลิปสั้น เพราะอ้างอิงจากพฤติกรรมของคนสมัยนี้ที่อยากรู้อะไรสั้นๆ เร็วๆ และชอบดูมากกว่าชอบอ่าน จึงต้องมีโปรดักต์ที่เป็นรายการวิดีโอออกมาเพื่อให้ครอบคลุมกับความต้องการของผู้คน”


นี่จึงเป็นอีกบทหนึ่งของการทำงานด้านความยั่งยืนของไทยรัฐ ในบทบาทสื่อสารมวลชนที่เดินหน้าไปพร้อมกับการรักษาคุณภาพมาตรฐานของเนื้อหา และเป็นเพื่อนผู้บอกเล่าเรื่องราวต่างๆ นานาผ่านแพลตฟอร์มหลากหลายที่เติบโตตามยุคสมัยไปด้วยกัน


“จริงๆ แล้วไทยรัฐทำเรื่อง 'ความยั่งยืน' มานานแล้วก่อนที่คำว่าความยั่งยืนจะถูกเอามาพูดถึง เพราะมูลนิธิไทยรัฐและโรงเรียนไทยรัฐวิทยาเกิดขึ้นมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2513” นิค – จิตสุภา วัชรพล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารร่วม ไทยรัฐทีวี และไทยรัฐออนไลน์ เล่าให้เราเห็นภาพโดยเริ่มต้นจาก ‘โรงเรียนไทยรัฐวิทยา’ ที่พวกเราคุ้นชื่อกันดี

รายงานความยั่งยืนเล่มสีฟ้าที่เราเห็นในช่วงพักโฆษณาระหว่างรายการของช่องไทยรัฐจึงเหมือนกับเป็นบันทึกการทำงานด้านสังคมที่ผ่านมาโดยตลอด และเป็นบันทึกความร่วมมือระหว่างหลายภาคส่วน

“เพราะการพัฒนาที่ยั่งยืนมันต้องช่วยกันทำไปด้วยกันเป็นองค์รวมทั้งหมด ถ้าทำคนเดียว อิมแพกต์ก็จะไม่ใหญ่มากพอ ตรงนี้จึงเป็นเหมือนการรวบรวมความตั้งใจจากต่างเรื่องราวมาไว้ที่เดียวกัน จนพัฒนาไอเดียมาเป็น Sustainability Report 2024 ซึ่งเราอยากใช้หนังสือเล่มนี้เป็นเหมือนกับสปริงบอร์ดให้คอนเทนต์ได้สะท้อนออกไปสื่อสารต่อกับวงกว้างว่า ความยั่งยืนคืออะไร มีที่มาที่ไปอย่างไร แล้วทำไมเราถึงต้องใส่ใจช่วยกันทำ”

 

IIIi - เล่าเรื่องการศึกษา ถึงคุณภาพชีวิตของทุกคน

เป้าหมายที่ 4 ของ SDGs Goal คือการสร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียม จึงเป็นงานที่ไทยรัฐทำงานมาอย่างต่อเนื่องผ่านมูลนิธิไทยรัฐ “จุดเริ่มต้นคือ คุณตาเรียนจบแค่ชั้น ป.4 และท่านก็รู้สึกว่าอยากส่งกลับคืนต่อให้กับสังคม”

โดยมูลนิธิเข้าไปช่วยจัดการศึกษาทั้งทางกายภาพอย่างการสร้างโรงเรียน ไปจนถึงการจัดการเรียนการสอน แล้วส่งมอบต่อให้กับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เป็นการกระจายโอกาสทางการศึกษาและสร้างความมั่นคงให้ชีวิตของผู้คนผ่านทางการศึกษาที่ติดตัวไปทั้งชีวิต

"จริงๆ เราไม่ได้ลุกขึ้นมาพูดตามกระแส แต่ลุกขึ้นมาพูดด้วยเหตุผลเนื่องมาจากมูลนิธิไทยรัฐที่ได้รับเงินบริจาคลดลงเรื่อยๆ ทุกปี สุดท้ายแล้วเราจึงหยิบเรื่องนี้ขึ้นมาพูดเพื่อหาเงินสนับสนุนกลับไปยังโรงเรียนไทยรัฐวิทยาต่อ นี่จึงเป็นที่มาของการเริ่มต้นลุกขึ้นพูดเรื่องความยั่งยืนอย่างจริงจัง"

จากจุดเริ่มต้นของความยั่งยืนด้านการศึกษาที่ยาวนานและยังคงโฟกัสมาโดยตลอด ขยายความออกสู่การเดินทางต่อในเส้นทางสิ่งแวดล้อม “ปฏิเสธไม่ได้ว่าสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวคนมากที่สุด ไม่ว่าใครก็ได้รับผลกระทบจากภาวะโลกที่กำลังวิกฤต”

ในภาพของสิ่งแวดล้อมกับวงการสื่อของไทยรัฐ อาจแบ่งแบบเห็นภาพชัดได้ 2 พาร์ตคือ ฝั่งโรงพิมพ์ที่ยังคงต้องพิมพ์หนังสือพิมพ์ในทุกวันที่มีกระบวนการกำจัดของเสียแต่ละประเภทอยู่แล้วอย่างเป็นระบบ กับการจัดการขยะในชีวิตประจำวัน โดยเมื่อปีที่แล้วก็เริ่มมีการทำแคมเปญจัดการขยะภายในองค์กรผ่านพฤติกรรมในทุกวัน

“สำหรับเรา มองว่าสุดท้ายแล้ว ความยั่งยืนก็คือคุณค่าข้างใน เพราะยั่งยืนแปลว่าทุกคนต้องไปต่อด้วยกันได้ เพื่อนพนักงานและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมดต้องไปต่อด้วยกันได้ ซึ่งมันก็แปลว่าเราต้องมีความเป็นธรรม ไม่เอาเปรียบคนอื่น”

“และถ้าเป็นมิติของสิ่งแวดล้อม การที่เราช่วยดูแลโลกในวันนี้ ก็เพื่ออนาคตของลูกหลาน ซึ่งมันก็คือการไม่เบียดเบียนทรัพยากรสิ่งแวดล้อมของคนในรุ่นต่อไป และคุณค่าในเชิงจิตใจ ความยั่งยืนก็คืออะไรที่สามารถทำให้เราอยู่รอดมีชีวิตต่อไปได้โดยที่คนอื่นไม่เดือดร้อน”

เราจึงถามต่อถึงเรื่องความยั่งยืนในฐานะองค์กรธุรกิจบ้าง ทรรศนะของคุณนิคในฐานะผู้นำองค์กรสอดคล้องไปกับก่อนหน้าที่ว่ามา “แปลว่าธุรกิจก็ต้องเดินหน้าต่อไปโดยที่คนข้างหลังต้องไม่ลำบาก ความยั่งยืนในเชิงของการดำเนินธุรกิจจึงควรต้องอยู่ในทุกอณูของการดำเนินงาน”

“ตั้งแต่เริ่มต้นวางแผนกลยุทธ์ โมเดลธุรกิจในการหารายได้ ประสิทธิภาพระหว่างปฏิบัติงาน เพื่อให้องค์กรอยู่ได้อย่างยั่งยืน ซึ่งก็น่าจะเป็นหัวใจสำคัญในการดำเนินงานของภาคธุรกิจในทุกองค์กรที่อยากให้ธุรกิจพัฒนาเติบโตต่อไป แล้วพอเราดูแลรักษาตัวเองให้อยู่รอดได้ท่ามกลางพลวัตที่โหดร้ายรวดเร็วแบบนี้ คำถามก็คือเมื่อเราดูแลตัวเองได้แล้ว เราหันกลับช่วยคนอื่นด้วยหรือเปล่า ซึ่งถ้าช่วยได้ เราก็ควรจะช่วย”

 

IIIi - การเดินทางจากยุคหนังสือพิมพ์สู่โลกออนไลน์ที่เปลี่ยนรายวินาที

อย่างที่ทุกคนทราบกันดีว่า ไทยรัฐเริ่มต้นจากการเป็นหนังสือพิมพ์รายวัน จนถึงยุค www เริ่มต้น เวบไซต์ของไทยรัฐก็เกิดขึ้นในปี พ.ศ.2539 ก่อนที่จะเดินเครื่องจริงจังเต็มที่ในฝั่งออนไลน์เมื่อราว 15 ปีที่ผ่านมา ต่อด้วยในเดือนเมษายน 2557 กับการเริ่มต้นออกอากาศครั้งแรกของไทยรัฐทีวีหลังจากการประมูลช่องดิจิทัล ยิ่งเสริมทัพให้แพลตฟอร์มด้านข่าวสารและบันเทิงของไทยรัฐครบครันยิ่งขึ้น

“ในช่วง 4-5 ปีให้หลังมานี้ เราเริ่มมีการแตก Sub-brand ภายใต้เครือไทยรัฐออนไลน์เพื่อให้ตอบสนองกับความต้องการของผู้บริโภคแต่ละกลุ่ม เช่น แบรนด์ MIRROR, แบรนด์ไทยรัฐพลัส และแบรนด์ไทยรัฐสปอร์ต เป็นต้น เพราะความสนใจของผู้บริโภคมันเฉพาะกลุ่มมากขึ้น และอินเตอร์เนตทำให้ผู้คนสามารถเข้าถึงเรื่องเล็กเรื่องน้อยได้ง่ายขึ้น เพราะฉะนั้นสื่อใหญ่เองก็ต้องปรับตัว หรือหาวิธีการในการทำตลาดเพื่อให้ตอบกับลูกค้าในยุคที่ทางเลือกมีมากมายหลากหลาย”

แม้รูปแบบแพลตฟอร์มที่ก้าวสู่ยุคข่าวสารในสมาร์ทโฟนจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วในระดับวินาที แต่สิ่งหนึ่งที่ทำให้ไทยรัฐยังคงอยู่ในใจของคนอ่านข่าวคือ ระบบบรรณาธิการ

“จริงๆ มันปรับเยอะมากตั้งแต่กระบวนการทำคอนเทนต์ คือยุคนี้ที่ทุกคนมีสมาร์ทโฟน สามารถทำคอนเทนต์แบบ UGC (User-generated Content: เนื้อหาที่ผู้ใช้งานสร้างขึ้นได้เอง) เพราะฉะนั้นความแตกต่างของเราคือ เราคือสื่อที่เป็นสถาบันข่าวแบบนักสื่อสารมวลชน ซึ่งสุดท้ายเวลาคุยกันมันก็จะวนกลับมาที่เรื่องของความน่าเชื่อถือ ที่สื่อสำนักใหญ่ยังต้องนำเสนอให้กับคนอ่าน”

กับอาชีพสื่อในยุคนี้ที่เปลี่ยนรูปแบบวิธีการเขียนจากบทความในหนังสือพิมพ์มาสู่การเป็นคอนเทนต์บนหน้าจอ “คนที่มาเขียนออนไลน์ก็ต้องปรับวิธีการเขียน รีสกิลอัปสกิลอีก เพราะต้องเรียนรู้ทั้งเรื่อง SEOs หรือเทคนิคต่างๆ อีกมากมาย”

“อาชีพการทำคอนเทนต์เราว่ามันเป็นทั้งงานศาสตร์และงานศิลป์ คือมันจะอาร์ตอย่างเดียวก็ไม่ได้ แล้วจะวิทยาศาสตร์อย่างเดียวโดยที่ไร้ฟีลลิ่งก็ไม่ได้ จริงๆ เราว่ามันยากนะที่จะต้องรวมทั้งสองศาสตร์เข้ามาอยู่ร่วมกันให้ได้”

“ซึ่งเราคิดว่า ทางรอดของสื่อ ไม่ใช่เฉพาะแค่ไทยรัฐ แต่คือเพื่อนสื่อทั้งหมด ก็คือเรื่องของกระบวนการในการตรวจสอบ การได้มาซึ่งข่าว และจริยธรรมในการประกอบวิชาชีพที่ยังต้องดำรงไว้ ส่วนในแง่ของผลิตภัณฑ์ก็ต้องปรับให้เข้ากับยุคสมัย และเทรนด์ผู้บริโภค อย่างเช่นทุกวันนี้ก็คือคลิปสั้น เพราะอ้างอิงจากพฤติกรรมของคนสมัยนี้ที่อยากรู้อะไรสั้นๆ เร็วๆ และชอบดูมากกว่าชอบอ่าน จึงต้องมีโปรดักต์ที่เป็นรายการวิดีโอออกมาเพื่อให้ครอบคลุมกับความต้องการของผู้คน”


นี่จึงเป็นอีกบทหนึ่งของการทำงานด้านความยั่งยืนของไทยรัฐ ในบทบาทสื่อสารมวลชนที่เดินหน้าไปพร้อมกับการรักษาคุณภาพมาตรฐานของเนื้อหา และเป็นเพื่อนผู้บอกเล่าเรื่องราวต่างๆ นานาผ่านแพลตฟอร์มหลากหลายที่เติบโตตามยุคสมัยไปด้วยกัน


Text:

Nathanich C.

Nathanich C.

PHOTO:

Chanathip K.

Chanathip K.

Related Posts