ไร่ยอดดอย สวนส้ม สุรา แบรนดิ้ง

ไร่ยอดดอย สวนส้ม สุรา แบรนดิ้ง

30 มิ.ย. 2566

SHARE WITH:

30 มิ.ย. 2566

30 มิ.ย. 2566

SHARE WITH:

SHARE WITH:

ไร่ยอดดอย สวนส้ม สุรา แบรนดิ้ง

ชื่อของ ‘ไร่ยอดดอย’ เป็นกระแสขึ้นมาอีกครั้งในช่วงเดือนที่ผ่านมาจากสุราชุมชนที่เกิดจากการแปรรูปผลผลิตส้มจากสวนที่ผิวเสียผิวลายจนไม่สามารถบรรจุกล่องส่งขายได้ แต่ยังไม่ทันที่จะส้มจะเปลี่ยนเป็นขยะ ความคิดสร้างสรรค์ก็นำพาให้ผลส้มเปลี่ยนร่างกลายเป็นเครื่องดื่มที่คงบุคลิกทั้งรสชาติและความหอมของส้มเอาไว้ได้อย่างสมบูรณ์

บทความนี้จะมาแนะนำให้คุณรู้จักกับ ‘สวนส้มไร่ยอดดอย’ โดยตรงจากข้อเขียนโดย ตาม - นครินทร์ มานะบุญ นักแก้ไขปัญหาผู้เห็นคุณค่าทุกหยาดหยดของส้ม ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรที่มาจากน้ำพักน้ำแรงของเกษตรกร

_

" สวนส้มไร่ยอดดอย - raiyoddoy " ตั้งอยู่ที่ตำบลแม่อาย อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ มีพื้นที่ปลูกทั้งหมด 80 ไร่ โกกับซ้อผู้เป็นหัวเรือใหญ่ได้เริ่มปลูกสวนส้มในปี 2539 โดยเริ่มจากการปลูกสายพันธุ์สายน้ำผึ้งเป็นสายพันธุ์แรก ต่อมาในปี 2546 จึงได้ทดลองปลูกเพิ่มอีกสองสายพันธุ์ คือ โอเชี่ยน และอีกสายพันธุ์ คือ ฟรีมองต์

แต่เดิมส้มทั้งสองสายพันธุ์นี้จะมีเปลือกหนา เหนียวและไม่นิยมนำมาทานผลสดๆ จึงไม่เป็นที่นิยมมากนัก แต่หากจะเลิกปลูกทั้งสองสายพันธุ์นี้ไป ก็ดูจะเป็นเรื่องที่น่าเสียดาย ทางสวนจึงได้ค้นคว้าหาวิธีเพื่อพัฒนาส้มทั้งสองสายพันธุ์ให้สามารถนำมาทานผลสดได้ รวมถึงสายพันธุ์สายน้ำผึ้งที่มีอยู่แต่เดิม จนเกิดเป็นส้มสายพันธุ์ใหม่ทั้งสามสายพันธุ์ โดยใช้ชื่อดังต่อไปนี้ว่า "ฮันนี่โอเชี่ยน (Honey Ocean)" “รอยัลฟรีมองต์ (Royal Fremont)” และ “สายน้ำผึ้งทองคำ (Golden Honey)”

_

เหตุใดจึงเริ่มต้นทำสวนส้ม ?

พ่อของโกกับพ่อผมเป็นพี่น้องร่วมสาบานกัน พี่น้องร่วมสาบานกันแบบจีน ชนิดกรีดเลือดร่วมสาบานยกซด เหล้าไหลอาบร่างแบบนั้นเลย ผมก็เลยเป็นน้องเจ้าของสวนส้มโดยปริยาย 555

ตอนโกมาเรียนมัธยมปลายที่เชียงใหม่ แกก็มาพักอยู่ที่บ้านผม แต่ตอนนั้นผมยังไม่เกิดเลย มาพบกันอีกทีเมื่อประมาณ 7 ปีก่อน โกแกพยายามตามหาบ้านผม ด้วยความที่ผมย้ายบ้านแล้วก่อนหน้านั้นก็ยังไม่มีโทรศัพท์มือถือ การติดต่อก็เลยลำบากกันมาก แต่พอติดต่อกันได้ แกก็เอาส้มมาฝาก ชิมคำแรกโอ้โห โคตรอร่อย งงเลย สาบานเลยว่าเปิดโลกมากๆ อารมณ์แบบการ์ตูนญี่ปุ่นกัดคำแรกแล้วภูเขาไฟฟูจิระเบิด แบบนั้นเลยจริงๆ

จนกระทั่งเมื่อ 4 ปีก่อน ผมได้ขึ้นไปเที่ยวที่สวน เลยรู้ว่าที่สวนเองไม่ได้ทำตลาด ว่าง่ายๆ ก็คือ ส้มถูกนำไปขายเทในตลาดรวมทั้งหมด ซึ่งราคาก็อิงกับพ่อค้าคนกลาง วันไหนบอกแพงก็โชคดี วันไหนบอกถูกก็ขาดทุน ผมคิดว่าส้มอร่อยขนาดนี้น่าจะต้องทำแบรนด์ก็เลยตัดสินใจไปช่วยทำ ตอนแรกผมคิดแค่ว่าจะช่วยออกแบบโลโก้ใหม่ จับพลัดจับผลูตอนนี้เลยกลายเป็นทำทุกอย่างยกเว้นแค่ลงสวนเอง

_

แนวคิดในการทำแบรนด์

เพราะเห็นปัญหาว่าส้มอร่อยแล้ว แต่รูปลักษณ์บรรจุภัณฑ์เดิมที่เคยทำกับโลโก้รวมถึงช่องทางการตลาดที่ไม่มีเลย ผมจึงตัดสินใจมาช่วยทำแบรนด์ส้ม โดยเริ่มจากการเปลี่ยนโลโก้ก่อน แล้วตามด้วยเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์

อย่างกล่องส้มที่เราใช้กันอยู่นี้ จะเห็นได้ว่ามีลักษณะและสีสันที่แตกต่างจากกล่องส้มในความทรงจำสมัยก่อนที่หน้าตากล่องซีดๆ สีแดงก็แดงแบบสกรีนไม่เต็ม จึงตัดสินใจออกแบบใหม่ทั้งหมดให้ดูเป็นแนวคราฟต์ญี่ปุ่นมากขึ้น ปัญหาตอนนั้นเป็นเรื่องจำนวนขั้นต่ำในการลงทุนทำกล่องมีราคาแพงมาก แต่ที่กล้าตัดสินใจทำแพคเกจแบบใหม่ก็เพราะเชื่อมั่นในคุณภาพและเรื่องรสชาติที่ดีมากของผลิตภัณฑ์ส้ม ผมมีความเชื่อว่าต่อให้แพคเกจดีอย่างไร ถ้าสินค้านั้นไม่ดีก็ไม่เกิดการซื้อซ้ำ แบบซื้อรอบเดียวแล้วลาก่อน หากผลิตภัณฑ์เราดีมันก็จะเกิดการซื้อซ้ำ การจะขายอะไรคือต้องซื่อสัตย์ต่อลูกค้าและต่อตัวสินค้าของเราเอง

นอกจากปรับเรื่องบรรจุภัณฑ์แล้ว ก็เหลือเรื่องของการสื่อสารกับกลุ่มลูกค้า พวกเนื้อหาที่โพสต์ลงในหน้าโซเชียลมีเดีย ทั้ง Facebook และ IG ของสวน ล้วนแล้วแต่พูดเรื่องส้ม ในช่วงฤดูที่ขายส้มหรือช่วงฤดูที่ไม่ขายส้มก็มีข้อมูลเกี่ยวกับส้มให้ติดตามตลอด

_


พอเริ่มปรับทั้งโลโก้ แพคเกจและการทำการตลาดไม่ถึงปีก็เกิดปัญหาเลย พอวันที่คนได้รับแพคเกจใหม่แล้วถ่ายรูปลง กลายเป็นกระแส โอ้โห ไม่คิดว่าต้องมาขายส้มออนไลน์เยอะขนาดนี้ พิมพ์จ่าหน้ากล่อง กับแจ้งเลขพัสดุถึงตี 3 ทำกับแฟนอยู่สองคน เช้าเก้าโมงมารับออเดอร์อีก

หลังจากนั้นอีก 2 วันผมจึงลงทุนเขียนโปรแกรมสำหรับการบันทึกรายการสั่งซื้อและที่อยู่ลูกค้า พอโปรแกรมเสร็จ ชีวิตง่ายขึ้นมาก ถ้าลูกค้าเดิมก็แค่ใส่เลขโทรศัพท์มือถือ ข้อมูลที่อยู่จะแสดงขึ้นมาหมด แล้วสั่งพิมพ์ และแจ้งเลขพัสดุสินค้าโดยส่งเป็น sms เข้าเบอร์ที่ลูกค้าให้มาเลย

ถึงแม้ที่สวนจะใช้เทคโนโลยีมาช่วยในการทำงาน แต่อย่างหนึ่งคือ เราจะไม่ใช้โปรแกรมอัตโนมัติในการตอบลูกค้า เพราะผมเองก็ไม่ชอบที่จะคุยกับโปรแกรมอัตโนมัติ เลยให้แอดมินตอบ ถึงจะช้าหน่อยแต่ก็รู้สึกว่าลูกค้าได้คุยกับคนจริงๆ

_

แนวคิดเรื่องการแปรรูป

ปัญหานั้นไม่ได้มีเฉพาะการจัดการงานในสวนและการตลาด ความท้าทายของสินค้าเกษตรในบ้านเราคือยังจำเป็นต้องพึ่งฟ้าพึ่งฝน แต่ละฤดูกาลมีปัญหาแตกต่างกันไป ทำยากมากนะครับ บางวันที่เราต้องให้ปุ๋ยแต่ฝนตก ลำพังไม่ได้ตก 2 ชั่วโมง แต่ตกยับ 2 อาทิตย์ ปุ๋ยที่ให้ไปไม่เหลืออะไรเลย บางช่วงส้มสุกจัด เตรียมจะเก็บเกี่ยวก็เจอฝนอีก รสชาติจืดไปเลยเพราะต้นส้มดูดน้ำขึ้นไปที่ผล

ตัวอย่างปัญหาที่เคยประสบจริง ส้มล็อตที่กำลังจะเก็บเกี่ยวโดนฝน โอ้โห ต้องหยุดขายเลย ถ้าเราเห็นว่าคุณภาพไม่ได้คือไม่ขายเลยเด็ดขาด อย่างรอยัลฟรีมองต์ของฤดูกาลที่ผ่านมาโดนฝน 2 เดือนติดๆ ถ้าไม่ขายนี่คือไม่ขายเลยนะ ไม่อยากให้ของไปถึงมือลูกค้าแล้วไม่ประทับใจ ถึงเป็นสาเหตุที่ทำให้ผมต้องเตรียมงานเรื่องการแปรรูปรองรับไว้

_

แน่นอนว่าสินค้าเกษตรไม่สวยทั้งหมด ผมก็มีแนวคิดในเรื่องการทำแปรรูป สาเหตุที่เรามาทำเหล้าส้มเนื่องจากส้มบางลูกที่ผิวลายผิวไม่สวยไม่สามารถนำบรรจุกล่องส่งลูกค้าได้ เลยลองหาข้อมูลการทำเหล้าจากต่างประเทศ จึงไปพบว่าเมืองนอกมีการนำผลไม้มาทำเป็นเหล้าได้ เรียกว่า "โอเดอวี – Eau de vie" ซึ่งจากการหาข้อมูลแล้วยังไม่พบว่าในประเทศมีการผลิตสุราจากส้ม ทางสวนจึงตัดสินใจพัฒนาผลิตภัณฑ์นี้ขึ้นมา

หลังจากนั้นก็เลยได้เริ่มลองทำการแปรรูปตั้งแต่ประมาณเมื่อ 2 ปีก่อน โดยลองผิดลองถูกใช้ส้มจากสวนซึ่งมีทั้งหมด 3 สายพันธุ์ คั้นน้ำผสมกันไปผสมกันมา เลือกอัตราส่วนและสายพันธุ์ จนเป็นรสชาติที่เราอยากได้ โดยเหล้าขวดนึงที่ 700 ml. เราใช้ส้มประมาณ 11-12 กิโลกรัม โดย Orange Eau de vie จะมีสีใส ลื่นคอ พร้อมกลิ่นหอมของส้มอ่อนๆ ซึ่งตอนนี้มีเหล้าส้มกับเหล้าลิ้นจี่ที่ออกจำหน่ายแล้วครับ

_


บทสรุปประสบการณ์จากสวนส้ม

ผมว่าสินค้าเกษตรบ้านเรามีความหลากหลายมาก แต่ละชนิดมีจุดแข็งจุดอ่อนแตกต่างกันไป ต้องหาให้เจอ ถอยออกจากปัญหาทีละนิด เพื่อที่จะได้เห็นภาพรวมทั้งหมด ผมเป็นคนชอบแก้ไขปัญหา เห็นปัญหาตรงไหนเป็นคอขวด ผมก็จะเอาเทคโนโลยีมาจัดการหรือหาวิธีแก้ไขปัญหาไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง

นี่คือผลลัพธ์ที่ได้จากบทเรียนสวนส้ม จนกระทั่งปัจจุบันแบรนด์สวนส้มไร่ยอดดอยได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากลูกค้าผู้บริโภค หัวใจสำคัญที่เราจำเป็นต้องคำนึงถึงอยู่เสมอตลอดกระบวนการคือ การควบคุมคุณภาพ การรักษามาตรฐานและความซื่อสัตย์ต่อลูกค้า ร่วมกับการสื่อสารอย่างต่อเนื่อง เพื่อส่งมอบผลิตภัณฑ์ที่ดีที่สุดให้กับลูกค้าได้อย่างที่เราตั้งใจ

_


ชื่อของ ‘ไร่ยอดดอย’ เป็นกระแสขึ้นมาอีกครั้งในช่วงเดือนที่ผ่านมาจากสุราชุมชนที่เกิดจากการแปรรูปผลผลิตส้มจากสวนที่ผิวเสียผิวลายจนไม่สามารถบรรจุกล่องส่งขายได้ แต่ยังไม่ทันที่จะส้มจะเปลี่ยนเป็นขยะ ความคิดสร้างสรรค์ก็นำพาให้ผลส้มเปลี่ยนร่างกลายเป็นเครื่องดื่มที่คงบุคลิกทั้งรสชาติและความหอมของส้มเอาไว้ได้อย่างสมบูรณ์

บทความนี้จะมาแนะนำให้คุณรู้จักกับ ‘สวนส้มไร่ยอดดอย’ โดยตรงจากข้อเขียนโดย ตาม - นครินทร์ มานะบุญ นักแก้ไขปัญหาผู้เห็นคุณค่าทุกหยาดหยดของส้ม ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรที่มาจากน้ำพักน้ำแรงของเกษตรกร

_

" สวนส้มไร่ยอดดอย - raiyoddoy " ตั้งอยู่ที่ตำบลแม่อาย อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ มีพื้นที่ปลูกทั้งหมด 80 ไร่ โกกับซ้อผู้เป็นหัวเรือใหญ่ได้เริ่มปลูกสวนส้มในปี 2539 โดยเริ่มจากการปลูกสายพันธุ์สายน้ำผึ้งเป็นสายพันธุ์แรก ต่อมาในปี 2546 จึงได้ทดลองปลูกเพิ่มอีกสองสายพันธุ์ คือ โอเชี่ยน และอีกสายพันธุ์ คือ ฟรีมองต์

แต่เดิมส้มทั้งสองสายพันธุ์นี้จะมีเปลือกหนา เหนียวและไม่นิยมนำมาทานผลสดๆ จึงไม่เป็นที่นิยมมากนัก แต่หากจะเลิกปลูกทั้งสองสายพันธุ์นี้ไป ก็ดูจะเป็นเรื่องที่น่าเสียดาย ทางสวนจึงได้ค้นคว้าหาวิธีเพื่อพัฒนาส้มทั้งสองสายพันธุ์ให้สามารถนำมาทานผลสดได้ รวมถึงสายพันธุ์สายน้ำผึ้งที่มีอยู่แต่เดิม จนเกิดเป็นส้มสายพันธุ์ใหม่ทั้งสามสายพันธุ์ โดยใช้ชื่อดังต่อไปนี้ว่า "ฮันนี่โอเชี่ยน (Honey Ocean)" “รอยัลฟรีมองต์ (Royal Fremont)” และ “สายน้ำผึ้งทองคำ (Golden Honey)”

_

เหตุใดจึงเริ่มต้นทำสวนส้ม ?

พ่อของโกกับพ่อผมเป็นพี่น้องร่วมสาบานกัน พี่น้องร่วมสาบานกันแบบจีน ชนิดกรีดเลือดร่วมสาบานยกซด เหล้าไหลอาบร่างแบบนั้นเลย ผมก็เลยเป็นน้องเจ้าของสวนส้มโดยปริยาย 555

ตอนโกมาเรียนมัธยมปลายที่เชียงใหม่ แกก็มาพักอยู่ที่บ้านผม แต่ตอนนั้นผมยังไม่เกิดเลย มาพบกันอีกทีเมื่อประมาณ 7 ปีก่อน โกแกพยายามตามหาบ้านผม ด้วยความที่ผมย้ายบ้านแล้วก่อนหน้านั้นก็ยังไม่มีโทรศัพท์มือถือ การติดต่อก็เลยลำบากกันมาก แต่พอติดต่อกันได้ แกก็เอาส้มมาฝาก ชิมคำแรกโอ้โห โคตรอร่อย งงเลย สาบานเลยว่าเปิดโลกมากๆ อารมณ์แบบการ์ตูนญี่ปุ่นกัดคำแรกแล้วภูเขาไฟฟูจิระเบิด แบบนั้นเลยจริงๆ

จนกระทั่งเมื่อ 4 ปีก่อน ผมได้ขึ้นไปเที่ยวที่สวน เลยรู้ว่าที่สวนเองไม่ได้ทำตลาด ว่าง่ายๆ ก็คือ ส้มถูกนำไปขายเทในตลาดรวมทั้งหมด ซึ่งราคาก็อิงกับพ่อค้าคนกลาง วันไหนบอกแพงก็โชคดี วันไหนบอกถูกก็ขาดทุน ผมคิดว่าส้มอร่อยขนาดนี้น่าจะต้องทำแบรนด์ก็เลยตัดสินใจไปช่วยทำ ตอนแรกผมคิดแค่ว่าจะช่วยออกแบบโลโก้ใหม่ จับพลัดจับผลูตอนนี้เลยกลายเป็นทำทุกอย่างยกเว้นแค่ลงสวนเอง

_

แนวคิดในการทำแบรนด์

เพราะเห็นปัญหาว่าส้มอร่อยแล้ว แต่รูปลักษณ์บรรจุภัณฑ์เดิมที่เคยทำกับโลโก้รวมถึงช่องทางการตลาดที่ไม่มีเลย ผมจึงตัดสินใจมาช่วยทำแบรนด์ส้ม โดยเริ่มจากการเปลี่ยนโลโก้ก่อน แล้วตามด้วยเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์

อย่างกล่องส้มที่เราใช้กันอยู่นี้ จะเห็นได้ว่ามีลักษณะและสีสันที่แตกต่างจากกล่องส้มในความทรงจำสมัยก่อนที่หน้าตากล่องซีดๆ สีแดงก็แดงแบบสกรีนไม่เต็ม จึงตัดสินใจออกแบบใหม่ทั้งหมดให้ดูเป็นแนวคราฟต์ญี่ปุ่นมากขึ้น ปัญหาตอนนั้นเป็นเรื่องจำนวนขั้นต่ำในการลงทุนทำกล่องมีราคาแพงมาก แต่ที่กล้าตัดสินใจทำแพคเกจแบบใหม่ก็เพราะเชื่อมั่นในคุณภาพและเรื่องรสชาติที่ดีมากของผลิตภัณฑ์ส้ม ผมมีความเชื่อว่าต่อให้แพคเกจดีอย่างไร ถ้าสินค้านั้นไม่ดีก็ไม่เกิดการซื้อซ้ำ แบบซื้อรอบเดียวแล้วลาก่อน หากผลิตภัณฑ์เราดีมันก็จะเกิดการซื้อซ้ำ การจะขายอะไรคือต้องซื่อสัตย์ต่อลูกค้าและต่อตัวสินค้าของเราเอง

นอกจากปรับเรื่องบรรจุภัณฑ์แล้ว ก็เหลือเรื่องของการสื่อสารกับกลุ่มลูกค้า พวกเนื้อหาที่โพสต์ลงในหน้าโซเชียลมีเดีย ทั้ง Facebook และ IG ของสวน ล้วนแล้วแต่พูดเรื่องส้ม ในช่วงฤดูที่ขายส้มหรือช่วงฤดูที่ไม่ขายส้มก็มีข้อมูลเกี่ยวกับส้มให้ติดตามตลอด

_


พอเริ่มปรับทั้งโลโก้ แพคเกจและการทำการตลาดไม่ถึงปีก็เกิดปัญหาเลย พอวันที่คนได้รับแพคเกจใหม่แล้วถ่ายรูปลง กลายเป็นกระแส โอ้โห ไม่คิดว่าต้องมาขายส้มออนไลน์เยอะขนาดนี้ พิมพ์จ่าหน้ากล่อง กับแจ้งเลขพัสดุถึงตี 3 ทำกับแฟนอยู่สองคน เช้าเก้าโมงมารับออเดอร์อีก

หลังจากนั้นอีก 2 วันผมจึงลงทุนเขียนโปรแกรมสำหรับการบันทึกรายการสั่งซื้อและที่อยู่ลูกค้า พอโปรแกรมเสร็จ ชีวิตง่ายขึ้นมาก ถ้าลูกค้าเดิมก็แค่ใส่เลขโทรศัพท์มือถือ ข้อมูลที่อยู่จะแสดงขึ้นมาหมด แล้วสั่งพิมพ์ และแจ้งเลขพัสดุสินค้าโดยส่งเป็น sms เข้าเบอร์ที่ลูกค้าให้มาเลย

ถึงแม้ที่สวนจะใช้เทคโนโลยีมาช่วยในการทำงาน แต่อย่างหนึ่งคือ เราจะไม่ใช้โปรแกรมอัตโนมัติในการตอบลูกค้า เพราะผมเองก็ไม่ชอบที่จะคุยกับโปรแกรมอัตโนมัติ เลยให้แอดมินตอบ ถึงจะช้าหน่อยแต่ก็รู้สึกว่าลูกค้าได้คุยกับคนจริงๆ

_

แนวคิดเรื่องการแปรรูป

ปัญหานั้นไม่ได้มีเฉพาะการจัดการงานในสวนและการตลาด ความท้าทายของสินค้าเกษตรในบ้านเราคือยังจำเป็นต้องพึ่งฟ้าพึ่งฝน แต่ละฤดูกาลมีปัญหาแตกต่างกันไป ทำยากมากนะครับ บางวันที่เราต้องให้ปุ๋ยแต่ฝนตก ลำพังไม่ได้ตก 2 ชั่วโมง แต่ตกยับ 2 อาทิตย์ ปุ๋ยที่ให้ไปไม่เหลืออะไรเลย บางช่วงส้มสุกจัด เตรียมจะเก็บเกี่ยวก็เจอฝนอีก รสชาติจืดไปเลยเพราะต้นส้มดูดน้ำขึ้นไปที่ผล

ตัวอย่างปัญหาที่เคยประสบจริง ส้มล็อตที่กำลังจะเก็บเกี่ยวโดนฝน โอ้โห ต้องหยุดขายเลย ถ้าเราเห็นว่าคุณภาพไม่ได้คือไม่ขายเลยเด็ดขาด อย่างรอยัลฟรีมองต์ของฤดูกาลที่ผ่านมาโดนฝน 2 เดือนติดๆ ถ้าไม่ขายนี่คือไม่ขายเลยนะ ไม่อยากให้ของไปถึงมือลูกค้าแล้วไม่ประทับใจ ถึงเป็นสาเหตุที่ทำให้ผมต้องเตรียมงานเรื่องการแปรรูปรองรับไว้

_

แน่นอนว่าสินค้าเกษตรไม่สวยทั้งหมด ผมก็มีแนวคิดในเรื่องการทำแปรรูป สาเหตุที่เรามาทำเหล้าส้มเนื่องจากส้มบางลูกที่ผิวลายผิวไม่สวยไม่สามารถนำบรรจุกล่องส่งลูกค้าได้ เลยลองหาข้อมูลการทำเหล้าจากต่างประเทศ จึงไปพบว่าเมืองนอกมีการนำผลไม้มาทำเป็นเหล้าได้ เรียกว่า "โอเดอวี – Eau de vie" ซึ่งจากการหาข้อมูลแล้วยังไม่พบว่าในประเทศมีการผลิตสุราจากส้ม ทางสวนจึงตัดสินใจพัฒนาผลิตภัณฑ์นี้ขึ้นมา

หลังจากนั้นก็เลยได้เริ่มลองทำการแปรรูปตั้งแต่ประมาณเมื่อ 2 ปีก่อน โดยลองผิดลองถูกใช้ส้มจากสวนซึ่งมีทั้งหมด 3 สายพันธุ์ คั้นน้ำผสมกันไปผสมกันมา เลือกอัตราส่วนและสายพันธุ์ จนเป็นรสชาติที่เราอยากได้ โดยเหล้าขวดนึงที่ 700 ml. เราใช้ส้มประมาณ 11-12 กิโลกรัม โดย Orange Eau de vie จะมีสีใส ลื่นคอ พร้อมกลิ่นหอมของส้มอ่อนๆ ซึ่งตอนนี้มีเหล้าส้มกับเหล้าลิ้นจี่ที่ออกจำหน่ายแล้วครับ

_


บทสรุปประสบการณ์จากสวนส้ม

ผมว่าสินค้าเกษตรบ้านเรามีความหลากหลายมาก แต่ละชนิดมีจุดแข็งจุดอ่อนแตกต่างกันไป ต้องหาให้เจอ ถอยออกจากปัญหาทีละนิด เพื่อที่จะได้เห็นภาพรวมทั้งหมด ผมเป็นคนชอบแก้ไขปัญหา เห็นปัญหาตรงไหนเป็นคอขวด ผมก็จะเอาเทคโนโลยีมาจัดการหรือหาวิธีแก้ไขปัญหาไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง

นี่คือผลลัพธ์ที่ได้จากบทเรียนสวนส้ม จนกระทั่งปัจจุบันแบรนด์สวนส้มไร่ยอดดอยได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากลูกค้าผู้บริโภค หัวใจสำคัญที่เราจำเป็นต้องคำนึงถึงอยู่เสมอตลอดกระบวนการคือ การควบคุมคุณภาพ การรักษามาตรฐานและความซื่อสัตย์ต่อลูกค้า ร่วมกับการสื่อสารอย่างต่อเนื่อง เพื่อส่งมอบผลิตภัณฑ์ที่ดีที่สุดให้กับลูกค้าได้อย่างที่เราตั้งใจ

_


Text:

Nakarin M.

Nakarin M.

PHOTO:

Nakarin M.

Nakarin M.

Related Posts