'อุ๋ย นนทรีย์' : ความหลากหลาย คือหัวใจของอุตสาหกรรมหนัง

'อุ๋ย นนทรีย์' : ความหลากหลาย คือหัวใจของอุตสาหกรรมหนัง

23 ต.ค. 2566

SHARE WITH:

23 ต.ค. 2566

23 ต.ค. 2566

SHARE WITH:

SHARE WITH:

'อุ๋ย นนทรีย์' : ความหลากหลาย คือหัวใจของอุตสาหกรรมหนัง

“ก็จะมีคนถามว่า ทำไมไม่มีนางนาก 2 นี่คือวิธีคิดที่เราคิดว่า สำหรับเรามันไม่ได้ผิดถูกหรอก แต่ถ้าเราเดินตามความสำเร็จของอะไรซักอย่าง มันก็จะเป็นการออกซ้ำ ไม่สร้างสรรค์ไม่ก้าวหน้า อย่างพอมีไทบ้าน หนังอีสานก็เต็มไปหมด พอมีสัปเหร่อ เดี๋ยวหลังจากนี้หนังผีก็จะตามมา ช่วงนี้ต่างหากที่หนังออกมา 4-5 เรื่องไม่ซ้ำกันเลย นี่คือคำว่าอุตสาหกรรม ทุกคนมีหนังดู คนอีสานมีหนังอีสาน เด็กกรุงเทพฯ มี 14 อีกครั้ง คนสูงวัยหน่อยก็มีมนต์รักนักพากย์ เราเลยบอกว่า นี่ไง อุตสาหกรรมเป็นแบบนี้”

พี่อุ๋ย - นนทรี​ย์ นิมิบุตร ชี้ให้เรามองเห็นกราฟที่กำลังพุ่งขึ้นของวงการภาพยนตร์ไทย จากความหลากหลายของภาพยนตร์ทั้งในตลาดโรงภาพยนตร์และสตรีมมิง จะบอกว่าวงจรหน้าตาแบบนี้หมุนเวียนขึ้นลงเป็นวัฏจักรเสมอ แต่ความท้าทายอยู่ที่คนทำงานในแวดวงภาพยนตร์ที่จะรักษาจุดพีคแบบนี้ต่อไปได้อย่างไร

“ในยุคสมัยก่อน อย่างหนังของเรา เป็นเอก วิศิษฏ์ ทำมันก็เป็นแบบนี้ คือทุกคนมีลายเซ็นของตัวเอง แล้วหนังไม่เหมือนกันเลยสักเรื่อง เวลาออกไปต่างประเทศทีก็จะฮือฮาว่า หนังไทยมาเป็นแพ็กเลย และเป็นแพ็กที่ไม่เหมือนกันด้วย พี่ไม่อยากใช้คำนี้เลยนะ แต่นี่มันคือ Soft Power ของจริง คือมันมีความหลากหลาย เป็นความดีที่หลากหลาย คือหนังดีทุกเรื่องเลยแต่ว่าไม่เหมือนกันเลย คนละแบบโดยสิ้นเชิง และทุกคนมีลายเซ็นที่ชัดเจน นี่แหละของจริง”

 

IIIi - รับมือกับความเปลี่ยนแปลง ด้วยความซื่อสัตย์กับตัวเอง

“พี่ว่าการเปลี่ยนแปลงมันเป็นนิรันดร์ แต่มันจะคงอยู่ได้นานแค่ไหนต่างหากที่มันน่าสนใจ” พี่อุ๋ยสะกิดให้เราเห็นว่า เขาอยู่ในยุคเปลี่ยนผ่านของภาพยนตร์มาตลอด ตั้งแต่ยุคฟิล์มสู่ดิจิทัล ยุคโรงหนังสู่สตรีมมิง

“มันมียุคที่ดีวีดีหายไปจากระบบอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทย พูดง่ายๆ ก็เงินหายไปครึ่งนึง เป็นยุคที่เราหยุดทำเพราะงบประมาณหายไป แล้วก็มาถึงยุคเปลี่ยนผ่านระหว่างฟิล์มสู่ดิจิทัล เราก็ไปเรียนหนังสือเพิ่มเพื่อไปเรียนรู้โลกดิจิทัล เอาจริงๆ เหมือนกับว่าเราเป็นคนเกือบสุดท้ายนะที่เริ่มใช้ดิจิทัล สมัยปืนใหญ่จอมสลัดเรายังใช้ฟิล์มเป็นพันๆ ม้วนอยู่เลย เพราะเราอยากถ่ายฟิล์มอยู่ แต่เขาไปดิจิทัลกันหมดแล้ว”

ลึกลงไปกว่าเทคนิคของยุคที่เปลี่ยนแปลง แต่เป็นความเชื่อและซื่อสัตย์ต่อ ‘การทำหนังแบบที่อยากดู’ อย่างไม่มีเปลี่ยนแปลง

“ทุกคนจะเซอร์ไพรส์กับหนังเรื่องนี้มาก เริ่มต้นจากบทไปได้รางวัลจากปูซานมา ได้เงินมา 5 แสนบาท ทุกคนก็จะบอกว่า อ้าว ไหนบอกว่าต้องเป็นหนังอาร์ตไง นี่หนังโคตรตลาดเลย แต่ฝั่งคนให้รางวัลเขาพูดว่า มันมีความเป็น International สูงมาก เขาก็บอกโอเค อยากสนับสนุน แล้วเซอร์ไพรส์อีกเพราะหนังไปฉายที่คานส์กับเวนิส แล้วก็ได้รับเสียงปรบมือแบบเกรียวกราว ซึ่งทุกคนก็งง เราเองก็งง”

“แต่ถ้าเราลองกลับไปวิเคราะห์อีกมุมจริงๆ นะ หนังพี่ไม่เคยซ้ำกันเลย เหมือนคนบอกว่า ทำไมไม่ทำนางนากอีกล่ะ คือเราไม่ใช่คนแบบนั้น เราเบ็ดเสร็จในความคิดของเราไปแล้ว เราไม่อยากย่ำเท้าตัวเองที่ผ่านมาเป็นสิบปีแล้ว เราก็อยากลองอะไรใหม่ๆ เหมือนตอนทำ คน-โลก-จิต เราก็อยากลองวิธีการแบบที่ว่า ถ้าอยากทำแบบนี้จะเป็นยังไง หรือโอเคเบตง มันก็เหมือนได้ทดลองอีกแบบในรูปแบบที่เราไม่เคยทำ”

 

วัตถุดิบความคิดในการทำหนังของพี่อุ๋ย นอกจากข้อแรกที่จะต้องอยากดูเองก่อน ข้อต่อมาคือการคิดถึงคนดูว่า อยากให้คนรับรู้ไปพร้อมกับเราอย่างไร ขั้นตอนถัดไปจึงเป็นการทำรีเสิร์ชเพื่อวิเคราะห์และสังเคราะห์ชุดความคิดออกมาเป็นภาพยนตร์อย่างที่มันควรจะเป็น

“เวลาเราทำงานกับรีเสิร์ช เราจะมีชุดความคิดที่มาจากการค้นคว้าทั้งหมด เราไม่ได้คิดเองเขียนเองใหม่ทุกอย่าง อย่างช็อตที่นางนากห้อยหัว นั่นคือเรารีเสิร์ชมาจากหนังสือของ หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช สองบรรทัดที่ว่า ‘แม่พาไปวัดมหาบุศย์ แล้วชี้ให้ดูรอยเท้าแม่นาคพระโขนงเปื้อนโคลนติดอยู่บนเพดาน’ เท่านั้นเลยนะ ท่านพูดถึงเท่านี้เลย จากตรงนี้ รอยเท้าบนเพดานแปลว่า หัวต้องห้อยลงมา ถูกไหม นั่นคือดีไซน์ ประโยคนั้นแค่ประโยคเดียวคือภาพที่เราเห็นเป็น Visual และก็ยังไม่เคยมีเวอร์ชันไหนที่เป็นแบบนี้ ต้องขอบคุณหม่อมคึกฤทธิ์ ที่ทำให้ได้ช็อตนั้นเป็น Key Visual เลย”

หรืออย่างแรงบันดาลใจในการทำภาพยนตร์เรื่องจัน ดารา ก็มาจากในช่วงประมาณปี พ.ศ.2541 ประเทศไทยมีประเด็นข่าวในเรื่องเด็กมีเพศสัมพันธ์และท้องก่อนวัยอันควร การรีเสิร์ชพาให้พี่อุ๋ยไปพบกับเหตุและผลจนนำมาเป็นการเล่าเรื่องอย่างแยบยลผ่านภาพยนตร์

“เรากลับไปรีเสิร์ชเรื่องนี้ว่า มันเกิดอะไรขึ้นกับเด็ก ไปคุยกับเด็ก ครู หมอจิตวิทยา แล้วก็ได้ข้อสรุปมาว่า พ่อแม่ที่เป็นเจเนอเรชันเรานี่แหละทิ้งให้ลูกอยู่กับบ้านเพราะกลัวลูกลำบาก พอมีเพื่อนไปมาหาสู่ก็เกิดประเด็นขึ้น แล้วอะไรล่ะที่จะมาตอบสนองสิ่งที่อยากจะพูดในเรื่องนี้ ก็ไปนึกถึงหนังสือจัน ดารา ที่เราเคยอ่าน เรื่องนี้มันพูดเรื่องประเด็นสังคมได้แยบยลกว่า คนไทยชอบพูดอะไรอ้อมๆ หน่อย เลยหยิบเอาเรื่องนี้มาทำ”

“ทุกครั้งมันจะมาจากข่าว เรื่องอะไรที่เราสนใจ หรือบางทีอ่านนิดเดียวแล้วเอ๊ะ ก็ไปตามหาต่อว่าทำไมถึงเกิดเรื่องแบบนี้ เหมือน 2499 อันธพาลครองเมือง ที่มาจากที่เห็นตำรวจกอดคอนักเลง พออยากรู้แล้วค้นเจอก็อยากเล่าเรื่อง”

 “เพราะเรามีกฎของเราว่า หนึ่ง เราทำหนังที่เราอยากดูจริงๆ เพราะเราจะซื่อสัตย์กับมันอยู่ และสอง เราและทีมปวารณาตัวเองไว้ว่า เราจะทำยังไงก็ได้ให้นายทุนไม่ขาดทุน แล้วมันก็ Success จริงๆ ตามเป้าหมายว่า ยังไม่มีเรื่องไหนที่ขาดทุน”

 

 

IIIi - ตลาดของโลกภาพยนตร์ที่ไม่เคยหยุดเดินทาง

พี่อุ๋ยบอกกับเราว่า บนโลกของความเป็นจริงยังมีอีกหลายปัจจัยที่ทำให้หนังไม่ขาดทุน เพียงแต่เราต้องมองเป้าหมายให้ชัดเจนจากหนังที่เรากำลังทำว่า เราจะพาหนังเรื่องนี้เดินทางไปบนเส้นทางแบบไหน แบบหนังทำเงินหรือหนังรับกล่อง

“เราคิดว่าการทำหนังมันก็เหมือนกึ่งธุรกิจ นายทุนลงทุนให้เสร็จแล้ว ถ้าทำหนังแล้วขาดทุนไปเรื่อยๆ ใครจะอยากทำงานให้คุณใช่ไหม แต่ถ้าเราบอกว่าเราทำบนเหตุผลที่ว่า ไม่ขาดทุนแน่ๆ จะด้วยนักแสดง เนื้อเรื่อง ความแปลกใหม่ หรืออะไรก็ตามแต่ มันจะมีเหตุผลของเราเพื่ออธิบายว่าทำไมมันจะไม่เจ๊ง เช่น โอเคเบตง ฉายที่เมืองไทยเจ๊งแน่ครับ แต่เราบอกว่าเราขายเมืองนอกได้แน่ๆ แล้วมันก็ได้ทั้งรางวัลทั้งเงินจากเมืองนอก ซึ่งมันก็ Cover กับทุนแน่นอน”

 

ในช่วงที่ภาพยนตร์ซบเซา พี่อุ๋ยบอกกับเราว่า “เราต้องเข้าใจบริบทของสิ่งที่เราอยู่” ถึงจะเป็นช่วงที่หยุดทำหนัง แต่เขาก็เขียนบทภาพยนตร์เก็บไว้ 5-6 เรื่อง เพื่อรอเวลาที่เหมาะสมกับแต่ละเรื่องจริงๆ

 “เราควรจะเป็นน้ำที่อยู่บนภาชนะอะไรก็ได้ โลกมันจะหมุนไปทางไหน เราก็หมุนตามไป เปลี่ยนไปตามนั้น แต่ว่าเราต้องรู้ที่จะอยู่ ไม่ใช่ดันทุรัง อย่างมีอยู่ช่วงนึงช่วงหลัง 2555 เป็นต้นไปที่เป็นช่วงแย่ เราก็รับทำอย่างอื่น ทำโฆษณาหาเลี้ยงตัวเอง แต่ขณะเดียวกันมันก็เราก็เขียนเรื่องที่เราอยากทำเอาไว้ด้วยแล้วก็คอยมองว่ามันเหมาะหรือยัง เราก็ไม่ดื้อที่จะต้องทำให้ได้”


ในฐานะที่คลุกคลีอยู่ในวงการภาพยนตร์มาทั้งชีวิต ตั้งแต่สมัยยังเป็นนักศึกษาศิลปากรที่พบรักผ่านการทำหนังสารคดี จนกระทั่งถึงตอนนี้ที่พูดแบบติดตลกว่า 'เราพูดเสมอกับทุกคนว่าอยากตายคากองถ่าย’ เราให้พี่อุ๋ยมองฉากทัศน์ของวงการภาพยนตร์ไทยในตอนนี้

“ถ้าพูดถึงชั่วโมงนี้เดือนนี้เลย เราก็กล้าพูดได้ว่า คนไทยยังดูหนังกันอยู่ ถ้าหนังมันดีพอ เราเห็นจากสิ่งที่เกิดขึ้น 300 ล้านของไทบ้านเนี่ย มันบอกกับเราได้เลยว่า ถึงค่าตั๋วตอนนี้จะแพงกว่าสมัยก่อนมหาศาล แต่คนก็ยังสนับสนุนหนังอยู่ ขอให้มันดีเถอะ แล้วถ้ามันดีแล้ว ก็ต้องดีอย่างต่อเนื่อง ดูเรื่องที่หนึ่งดี สองดี สามดี คนก็จะรอไลน์อัปถึงสิ้นปีจะมีอะไร มันก็จะกลับมาเป็นวงจรที่ว่า ต้องดูหนังไทยสนับสนุนช่วยกัน ตอนนี้พี่ว่าเรากำลังจะขึ้นไปถึงจุดสุดยอดกันอยู่ ถ้ารักษาให้ค้างฟ้าไว้ได้ จุดพีคก็จะยืดยาวออกไปอีกหน่อย”

 

อีกสิ่งหนึ่งที่เรามองเห็นในช่วงหลายปีให้หลังในวงการภาพยนตร์ คือการที่ผู้จัดทำภาพยนตร์กระจายศูนย์ออกไปสู่ภูมิภาคทั่วประเทศไทย (Decentralization) ซึ่งเป็นสิ่งที่พี่อุ๋ยบอกว่า นี่แหละคือสิ่งที่ยิ่งเพิ่มความหลากหลายให้กับกลุ่มผู้ชมที่แตกต่าง และเติมเต็มคำว่า ‘อุตสาหกรรมภาพยนตร์’ ให้เห็นภาพชัดเจนแบบที่ควรจะเป็น

“เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ดีมาก อุตสาหกรรมถ้ามีความหลากหลาย มาจากภูมิภาคต่างๆ หนังหลายแนว แล้วทำให้มีหนังดีต่อเนื่อง ทุกคนมีหนังดู ใครๆ ก็อยากจะดู แล้วคราวนี้แหละ คนที่ลงทุนกับหนังจะต้องเข้าใจมากกว่านี้ ไม่ใช่ไปเดินตามความสำเร็จ ปัญหาของเรายังคงเดิมที่เรามีผู้สร้างน้อยเกินไป แต่ตอนนี้ก็น่าดีใจที่มีหนังใหม่ๆ ซึ่งมันมีความเป็นปัจเจกมากขึ้น หรืออย่างหนังนอกกระแส ซึ่งก็เป็นผู้ลงทุนอีกแบบ ความหลากหลายแบบนี้แหละที่ทำให้เรียกว่า อุตสาหกรรมภาพยนตร์ ได้เต็มปาก”

 

ความท้าทายอีกอย่างคือ การรักษาอุตสาหกรรมภาพยนตร์เช่นนี้ให้ยั่งยืนต่อ พี่อุ๋ยมองเห็นพื้นที่ของคนรักหนังที่ทั้งดำรงอยู่ในรูปแบบเดิม และการเกิดขึ้นของพื้นที่รูปแบบใหม่

“ตอนนี้พี่มองว่า คนดูหนังในโรงภาพยนตร์​ ศรัทธาก็เริ่มมา ขณะเดียวกันเราก็มีสตรีมมิงมารองรับในส่วนหนึ่งซึ่งเป็นสิ่งที่นักลงทุนไทยทำไม่ได้ ด้วยงบประมาณ เวลา มาตรฐานซึ่งเป็นสิ่งที่ดีมากสำหรับการทำหนัง แล้วถ้าผู้เล่นมันไม่ได้มีเจ้าเดียว มันก็อาจจะเป็นทางเลือกให้ผู้ชม ความหลากหลายก็จะเกิดขึ้นจากคาแรกเตอร์และรสนิยมของเขานี่แหละ แล้วก็จะส่งผลกลับให้หนังมีความหลากหลายมากขึ้น และขณะเดียวกันถ้าโรงภาพยนตร์ยังยืนทรงแบบนี้ได้อยู่ด้วยความเข้าใจของคนทำงาน"

"ถ้ามีสองอันนี้คู่ขนานกันไป พี่เชื่อว่ามันจะไปได้ไกล


IIIi - เก็บตกจากหลังกอง ‘มนต์รักนักพากย์’

 ทีมงาน The Mission เข้าไปพบกับพี่อุ๋ย - นนทรีย์ ถึงออฟฟิศ ฉับพลันสายตาก็เข้าไปปะทะกับกล่องสีเขียวที่คุ้นเคย นั่นคือกล่องฉายหนังของทีมงานบริษัทขายยาโอสถเทพยดา


 

“นี่เป็นกล่องฉายหนังของจริงเลยนะ ไม่ใช่พร็อปส์” พี่อุ๋ยพูดยิ่งทำให้เราตื่นเต้นกว่าเดิม ความทรงจำจากกล่องเขียวพาเรากลับไปยังภาพยนตร์ ‘มนต์รักนักพากย์’ ที่กำลังฉายอยู่ใน Netflix ด้วยภาพของรถฉายหนังขายยาคันใหญ่ที่เห็นในตัวอย่างหนัง รถคันใหญ่ที่พาชาวคณะออกเดินทางเร่ฉายหนังตามใบสั่งของลูกค้า รถคันนี้พี่อุ๋ยเนรมิตขึ้นมาใหม่ทั้งคันจากศูนย์ ซึ่งภาพนั้นก็เป็นที่มาของภาพยนตร์เรื่องนี้

“ถ้าเราเคยเห็นภาพขาวดำรูปนึงที่มีรูปรถฉายขายยาจอดเรียงกันเป็นร้อยคัน มันบอกเราทันทีว่าตอนนั้นเป็นยุคทองของภาพยนตร์ขนาดไหน มันเป็นความเฟื่องฟูของหนังไทย 16 มม. พอเห็นรูปนั้นแล้ว ถ้าไม่ทำไม่ได้แล้ว เลยเขียนเรื่องนี้ไปก่อนโดยที่ไม่รู้เลยว่าใครจะทำ ยิ่งได้คุยกับเพื่อนมากขึ้น สัมภาษณ์คนที่อยู่ในยุคนั้นจริงๆ คนที่เป็นนักพากย์ห้าเสียงจริงๆ เราก็เลยรู้สึกสนใจมาก รวมกับเรื่องคุณมิตร ชัยบัญชา พอสองอย่างนี้ประกอบกันแล้วมันลงตัวมากสำหรับเรา เราอยากดูมันมาก” 

พี่อุ๋ยเขียนบทภาพยนตร์เรื่องนี้เสร็จสิ้นตั้งแต่ช่วงก่อนโควิด แต่การจะพาเรื่องนี้มาสู่สายตาผู้ชมก็ไม่ใช่เรื่องง่าย “ตอนแรกเผลอๆ คิดว่าเรื่องนี้จะไม่ได้ทำด้วย เพราะมันแพง อย่างสร้างรถขึ้นมาคันหนึ่งต้องใช้เงินเท่าไหร่ เรารู้ว่ามันยากมาก แต่พอเราได้คุยกับ Netflix Thailand แล้วได้ทำเรื่องนี้ซึ่งเป็นเรื่องที่อยากดูเหมือนเดิม”

 

อย่างที่พี่อุ๋ยบอกในทุกบทสัมภาษณ์ ว่าจะทำหนังในเรื่องราวที่อยากดู จนวันนี้ ‘มนต์รักนักพากย์’ ก็ได้ออกสู่สายตาผู้ชมตามที่ผู้กำกับคนนี้ตั้งใจ 

“เราเห็นภาพของนักแสดงตั้งแต่เขียนบท เห็นมานิตย์เป็นเวียร์ เห็นลุงหมานเป็นพี่สามารถ (พี่ชอบเขามากนะเวลาเสียงหลุดๆ เป็นธรรมชาติ) เห็นเก่าเป็นเก้า ส่วนเรืองแข เราอยากได้นักแสดงหญิงที่เก่งและเชี่ยวชาญเรื่องการใช้เสียงอยู่แล้ว แล้วก็มาลงตัวที่หนูนาพอดีเป๊ะ”

พี่อุ๋ยแอบเล่าเรื่องสนุกหลังกองถ่ายให้ฟัง เพราะโลเคชั่นถ่ายทำคือลพบุรี แน่นอนเราต้องคิดถึงลิงเป็นอย่างแรก “ในหนังกลัวไม่เห็นลิง เพราะมันคือลพบุรี แต่เราก็ต้องมีหน่วยสกัดลิง 5-6 คนไม่ให้เข้ามายุ่งวุ่นวายในกอง ต้องจัดพิธีเลี้ยงลิง สื่อสารอะไรให้เป็นเรื่องเป็นราวเลยนะ แต่เสียงลิงที่ได้ยินคือต้องมาใส่ทีหลังนะ เสียงลิงเต็มซีนเลยแต่ไม่มีเสียงเพราะอัดมาไม่ติด”

 

สัมผัสบรรยากาศยุคทองของหนังไทย แรงบันดาลใจที่ขับเคลื่อนด้วยความรักที่มีต่อมิตร ชัยบัญชา และความรักในภาพยนตร์ ได้ที่ Netflix



“ก็จะมีคนถามว่า ทำไมไม่มีนางนาก 2 นี่คือวิธีคิดที่เราคิดว่า สำหรับเรามันไม่ได้ผิดถูกหรอก แต่ถ้าเราเดินตามความสำเร็จของอะไรซักอย่าง มันก็จะเป็นการออกซ้ำ ไม่สร้างสรรค์ไม่ก้าวหน้า อย่างพอมีไทบ้าน หนังอีสานก็เต็มไปหมด พอมีสัปเหร่อ เดี๋ยวหลังจากนี้หนังผีก็จะตามมา ช่วงนี้ต่างหากที่หนังออกมา 4-5 เรื่องไม่ซ้ำกันเลย นี่คือคำว่าอุตสาหกรรม ทุกคนมีหนังดู คนอีสานมีหนังอีสาน เด็กกรุงเทพฯ มี 14 อีกครั้ง คนสูงวัยหน่อยก็มีมนต์รักนักพากย์ เราเลยบอกว่า นี่ไง อุตสาหกรรมเป็นแบบนี้”

พี่อุ๋ย - นนทรี​ย์ นิมิบุตร ชี้ให้เรามองเห็นกราฟที่กำลังพุ่งขึ้นของวงการภาพยนตร์ไทย จากความหลากหลายของภาพยนตร์ทั้งในตลาดโรงภาพยนตร์และสตรีมมิง จะบอกว่าวงจรหน้าตาแบบนี้หมุนเวียนขึ้นลงเป็นวัฏจักรเสมอ แต่ความท้าทายอยู่ที่คนทำงานในแวดวงภาพยนตร์ที่จะรักษาจุดพีคแบบนี้ต่อไปได้อย่างไร

“ในยุคสมัยก่อน อย่างหนังของเรา เป็นเอก วิศิษฏ์ ทำมันก็เป็นแบบนี้ คือทุกคนมีลายเซ็นของตัวเอง แล้วหนังไม่เหมือนกันเลยสักเรื่อง เวลาออกไปต่างประเทศทีก็จะฮือฮาว่า หนังไทยมาเป็นแพ็กเลย และเป็นแพ็กที่ไม่เหมือนกันด้วย พี่ไม่อยากใช้คำนี้เลยนะ แต่นี่มันคือ Soft Power ของจริง คือมันมีความหลากหลาย เป็นความดีที่หลากหลาย คือหนังดีทุกเรื่องเลยแต่ว่าไม่เหมือนกันเลย คนละแบบโดยสิ้นเชิง และทุกคนมีลายเซ็นที่ชัดเจน นี่แหละของจริง”

 

IIIi - รับมือกับความเปลี่ยนแปลง ด้วยความซื่อสัตย์กับตัวเอง

“พี่ว่าการเปลี่ยนแปลงมันเป็นนิรันดร์ แต่มันจะคงอยู่ได้นานแค่ไหนต่างหากที่มันน่าสนใจ” พี่อุ๋ยสะกิดให้เราเห็นว่า เขาอยู่ในยุคเปลี่ยนผ่านของภาพยนตร์มาตลอด ตั้งแต่ยุคฟิล์มสู่ดิจิทัล ยุคโรงหนังสู่สตรีมมิง

“มันมียุคที่ดีวีดีหายไปจากระบบอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทย พูดง่ายๆ ก็เงินหายไปครึ่งนึง เป็นยุคที่เราหยุดทำเพราะงบประมาณหายไป แล้วก็มาถึงยุคเปลี่ยนผ่านระหว่างฟิล์มสู่ดิจิทัล เราก็ไปเรียนหนังสือเพิ่มเพื่อไปเรียนรู้โลกดิจิทัล เอาจริงๆ เหมือนกับว่าเราเป็นคนเกือบสุดท้ายนะที่เริ่มใช้ดิจิทัล สมัยปืนใหญ่จอมสลัดเรายังใช้ฟิล์มเป็นพันๆ ม้วนอยู่เลย เพราะเราอยากถ่ายฟิล์มอยู่ แต่เขาไปดิจิทัลกันหมดแล้ว”

ลึกลงไปกว่าเทคนิคของยุคที่เปลี่ยนแปลง แต่เป็นความเชื่อและซื่อสัตย์ต่อ ‘การทำหนังแบบที่อยากดู’ อย่างไม่มีเปลี่ยนแปลง

“ทุกคนจะเซอร์ไพรส์กับหนังเรื่องนี้มาก เริ่มต้นจากบทไปได้รางวัลจากปูซานมา ได้เงินมา 5 แสนบาท ทุกคนก็จะบอกว่า อ้าว ไหนบอกว่าต้องเป็นหนังอาร์ตไง นี่หนังโคตรตลาดเลย แต่ฝั่งคนให้รางวัลเขาพูดว่า มันมีความเป็น International สูงมาก เขาก็บอกโอเค อยากสนับสนุน แล้วเซอร์ไพรส์อีกเพราะหนังไปฉายที่คานส์กับเวนิส แล้วก็ได้รับเสียงปรบมือแบบเกรียวกราว ซึ่งทุกคนก็งง เราเองก็งง”

“แต่ถ้าเราลองกลับไปวิเคราะห์อีกมุมจริงๆ นะ หนังพี่ไม่เคยซ้ำกันเลย เหมือนคนบอกว่า ทำไมไม่ทำนางนากอีกล่ะ คือเราไม่ใช่คนแบบนั้น เราเบ็ดเสร็จในความคิดของเราไปแล้ว เราไม่อยากย่ำเท้าตัวเองที่ผ่านมาเป็นสิบปีแล้ว เราก็อยากลองอะไรใหม่ๆ เหมือนตอนทำ คน-โลก-จิต เราก็อยากลองวิธีการแบบที่ว่า ถ้าอยากทำแบบนี้จะเป็นยังไง หรือโอเคเบตง มันก็เหมือนได้ทดลองอีกแบบในรูปแบบที่เราไม่เคยทำ”

 

วัตถุดิบความคิดในการทำหนังของพี่อุ๋ย นอกจากข้อแรกที่จะต้องอยากดูเองก่อน ข้อต่อมาคือการคิดถึงคนดูว่า อยากให้คนรับรู้ไปพร้อมกับเราอย่างไร ขั้นตอนถัดไปจึงเป็นการทำรีเสิร์ชเพื่อวิเคราะห์และสังเคราะห์ชุดความคิดออกมาเป็นภาพยนตร์อย่างที่มันควรจะเป็น

“เวลาเราทำงานกับรีเสิร์ช เราจะมีชุดความคิดที่มาจากการค้นคว้าทั้งหมด เราไม่ได้คิดเองเขียนเองใหม่ทุกอย่าง อย่างช็อตที่นางนากห้อยหัว นั่นคือเรารีเสิร์ชมาจากหนังสือของ หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช สองบรรทัดที่ว่า ‘แม่พาไปวัดมหาบุศย์ แล้วชี้ให้ดูรอยเท้าแม่นาคพระโขนงเปื้อนโคลนติดอยู่บนเพดาน’ เท่านั้นเลยนะ ท่านพูดถึงเท่านี้เลย จากตรงนี้ รอยเท้าบนเพดานแปลว่า หัวต้องห้อยลงมา ถูกไหม นั่นคือดีไซน์ ประโยคนั้นแค่ประโยคเดียวคือภาพที่เราเห็นเป็น Visual และก็ยังไม่เคยมีเวอร์ชันไหนที่เป็นแบบนี้ ต้องขอบคุณหม่อมคึกฤทธิ์ ที่ทำให้ได้ช็อตนั้นเป็น Key Visual เลย”

หรืออย่างแรงบันดาลใจในการทำภาพยนตร์เรื่องจัน ดารา ก็มาจากในช่วงประมาณปี พ.ศ.2541 ประเทศไทยมีประเด็นข่าวในเรื่องเด็กมีเพศสัมพันธ์และท้องก่อนวัยอันควร การรีเสิร์ชพาให้พี่อุ๋ยไปพบกับเหตุและผลจนนำมาเป็นการเล่าเรื่องอย่างแยบยลผ่านภาพยนตร์

“เรากลับไปรีเสิร์ชเรื่องนี้ว่า มันเกิดอะไรขึ้นกับเด็ก ไปคุยกับเด็ก ครู หมอจิตวิทยา แล้วก็ได้ข้อสรุปมาว่า พ่อแม่ที่เป็นเจเนอเรชันเรานี่แหละทิ้งให้ลูกอยู่กับบ้านเพราะกลัวลูกลำบาก พอมีเพื่อนไปมาหาสู่ก็เกิดประเด็นขึ้น แล้วอะไรล่ะที่จะมาตอบสนองสิ่งที่อยากจะพูดในเรื่องนี้ ก็ไปนึกถึงหนังสือจัน ดารา ที่เราเคยอ่าน เรื่องนี้มันพูดเรื่องประเด็นสังคมได้แยบยลกว่า คนไทยชอบพูดอะไรอ้อมๆ หน่อย เลยหยิบเอาเรื่องนี้มาทำ”

“ทุกครั้งมันจะมาจากข่าว เรื่องอะไรที่เราสนใจ หรือบางทีอ่านนิดเดียวแล้วเอ๊ะ ก็ไปตามหาต่อว่าทำไมถึงเกิดเรื่องแบบนี้ เหมือน 2499 อันธพาลครองเมือง ที่มาจากที่เห็นตำรวจกอดคอนักเลง พออยากรู้แล้วค้นเจอก็อยากเล่าเรื่อง”

 “เพราะเรามีกฎของเราว่า หนึ่ง เราทำหนังที่เราอยากดูจริงๆ เพราะเราจะซื่อสัตย์กับมันอยู่ และสอง เราและทีมปวารณาตัวเองไว้ว่า เราจะทำยังไงก็ได้ให้นายทุนไม่ขาดทุน แล้วมันก็ Success จริงๆ ตามเป้าหมายว่า ยังไม่มีเรื่องไหนที่ขาดทุน”

 

 

IIIi - ตลาดของโลกภาพยนตร์ที่ไม่เคยหยุดเดินทาง

พี่อุ๋ยบอกกับเราว่า บนโลกของความเป็นจริงยังมีอีกหลายปัจจัยที่ทำให้หนังไม่ขาดทุน เพียงแต่เราต้องมองเป้าหมายให้ชัดเจนจากหนังที่เรากำลังทำว่า เราจะพาหนังเรื่องนี้เดินทางไปบนเส้นทางแบบไหน แบบหนังทำเงินหรือหนังรับกล่อง

“เราคิดว่าการทำหนังมันก็เหมือนกึ่งธุรกิจ นายทุนลงทุนให้เสร็จแล้ว ถ้าทำหนังแล้วขาดทุนไปเรื่อยๆ ใครจะอยากทำงานให้คุณใช่ไหม แต่ถ้าเราบอกว่าเราทำบนเหตุผลที่ว่า ไม่ขาดทุนแน่ๆ จะด้วยนักแสดง เนื้อเรื่อง ความแปลกใหม่ หรืออะไรก็ตามแต่ มันจะมีเหตุผลของเราเพื่ออธิบายว่าทำไมมันจะไม่เจ๊ง เช่น โอเคเบตง ฉายที่เมืองไทยเจ๊งแน่ครับ แต่เราบอกว่าเราขายเมืองนอกได้แน่ๆ แล้วมันก็ได้ทั้งรางวัลทั้งเงินจากเมืองนอก ซึ่งมันก็ Cover กับทุนแน่นอน”

 

ในช่วงที่ภาพยนตร์ซบเซา พี่อุ๋ยบอกกับเราว่า “เราต้องเข้าใจบริบทของสิ่งที่เราอยู่” ถึงจะเป็นช่วงที่หยุดทำหนัง แต่เขาก็เขียนบทภาพยนตร์เก็บไว้ 5-6 เรื่อง เพื่อรอเวลาที่เหมาะสมกับแต่ละเรื่องจริงๆ

 “เราควรจะเป็นน้ำที่อยู่บนภาชนะอะไรก็ได้ โลกมันจะหมุนไปทางไหน เราก็หมุนตามไป เปลี่ยนไปตามนั้น แต่ว่าเราต้องรู้ที่จะอยู่ ไม่ใช่ดันทุรัง อย่างมีอยู่ช่วงนึงช่วงหลัง 2555 เป็นต้นไปที่เป็นช่วงแย่ เราก็รับทำอย่างอื่น ทำโฆษณาหาเลี้ยงตัวเอง แต่ขณะเดียวกันมันก็เราก็เขียนเรื่องที่เราอยากทำเอาไว้ด้วยแล้วก็คอยมองว่ามันเหมาะหรือยัง เราก็ไม่ดื้อที่จะต้องทำให้ได้”


ในฐานะที่คลุกคลีอยู่ในวงการภาพยนตร์มาทั้งชีวิต ตั้งแต่สมัยยังเป็นนักศึกษาศิลปากรที่พบรักผ่านการทำหนังสารคดี จนกระทั่งถึงตอนนี้ที่พูดแบบติดตลกว่า 'เราพูดเสมอกับทุกคนว่าอยากตายคากองถ่าย’ เราให้พี่อุ๋ยมองฉากทัศน์ของวงการภาพยนตร์ไทยในตอนนี้

“ถ้าพูดถึงชั่วโมงนี้เดือนนี้เลย เราก็กล้าพูดได้ว่า คนไทยยังดูหนังกันอยู่ ถ้าหนังมันดีพอ เราเห็นจากสิ่งที่เกิดขึ้น 300 ล้านของไทบ้านเนี่ย มันบอกกับเราได้เลยว่า ถึงค่าตั๋วตอนนี้จะแพงกว่าสมัยก่อนมหาศาล แต่คนก็ยังสนับสนุนหนังอยู่ ขอให้มันดีเถอะ แล้วถ้ามันดีแล้ว ก็ต้องดีอย่างต่อเนื่อง ดูเรื่องที่หนึ่งดี สองดี สามดี คนก็จะรอไลน์อัปถึงสิ้นปีจะมีอะไร มันก็จะกลับมาเป็นวงจรที่ว่า ต้องดูหนังไทยสนับสนุนช่วยกัน ตอนนี้พี่ว่าเรากำลังจะขึ้นไปถึงจุดสุดยอดกันอยู่ ถ้ารักษาให้ค้างฟ้าไว้ได้ จุดพีคก็จะยืดยาวออกไปอีกหน่อย”

 

อีกสิ่งหนึ่งที่เรามองเห็นในช่วงหลายปีให้หลังในวงการภาพยนตร์ คือการที่ผู้จัดทำภาพยนตร์กระจายศูนย์ออกไปสู่ภูมิภาคทั่วประเทศไทย (Decentralization) ซึ่งเป็นสิ่งที่พี่อุ๋ยบอกว่า นี่แหละคือสิ่งที่ยิ่งเพิ่มความหลากหลายให้กับกลุ่มผู้ชมที่แตกต่าง และเติมเต็มคำว่า ‘อุตสาหกรรมภาพยนตร์’ ให้เห็นภาพชัดเจนแบบที่ควรจะเป็น

“เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ดีมาก อุตสาหกรรมถ้ามีความหลากหลาย มาจากภูมิภาคต่างๆ หนังหลายแนว แล้วทำให้มีหนังดีต่อเนื่อง ทุกคนมีหนังดู ใครๆ ก็อยากจะดู แล้วคราวนี้แหละ คนที่ลงทุนกับหนังจะต้องเข้าใจมากกว่านี้ ไม่ใช่ไปเดินตามความสำเร็จ ปัญหาของเรายังคงเดิมที่เรามีผู้สร้างน้อยเกินไป แต่ตอนนี้ก็น่าดีใจที่มีหนังใหม่ๆ ซึ่งมันมีความเป็นปัจเจกมากขึ้น หรืออย่างหนังนอกกระแส ซึ่งก็เป็นผู้ลงทุนอีกแบบ ความหลากหลายแบบนี้แหละที่ทำให้เรียกว่า อุตสาหกรรมภาพยนตร์ ได้เต็มปาก”

 

ความท้าทายอีกอย่างคือ การรักษาอุตสาหกรรมภาพยนตร์เช่นนี้ให้ยั่งยืนต่อ พี่อุ๋ยมองเห็นพื้นที่ของคนรักหนังที่ทั้งดำรงอยู่ในรูปแบบเดิม และการเกิดขึ้นของพื้นที่รูปแบบใหม่

“ตอนนี้พี่มองว่า คนดูหนังในโรงภาพยนตร์​ ศรัทธาก็เริ่มมา ขณะเดียวกันเราก็มีสตรีมมิงมารองรับในส่วนหนึ่งซึ่งเป็นสิ่งที่นักลงทุนไทยทำไม่ได้ ด้วยงบประมาณ เวลา มาตรฐานซึ่งเป็นสิ่งที่ดีมากสำหรับการทำหนัง แล้วถ้าผู้เล่นมันไม่ได้มีเจ้าเดียว มันก็อาจจะเป็นทางเลือกให้ผู้ชม ความหลากหลายก็จะเกิดขึ้นจากคาแรกเตอร์และรสนิยมของเขานี่แหละ แล้วก็จะส่งผลกลับให้หนังมีความหลากหลายมากขึ้น และขณะเดียวกันถ้าโรงภาพยนตร์ยังยืนทรงแบบนี้ได้อยู่ด้วยความเข้าใจของคนทำงาน"

"ถ้ามีสองอันนี้คู่ขนานกันไป พี่เชื่อว่ามันจะไปได้ไกล


IIIi - เก็บตกจากหลังกอง ‘มนต์รักนักพากย์’

 ทีมงาน The Mission เข้าไปพบกับพี่อุ๋ย - นนทรีย์ ถึงออฟฟิศ ฉับพลันสายตาก็เข้าไปปะทะกับกล่องสีเขียวที่คุ้นเคย นั่นคือกล่องฉายหนังของทีมงานบริษัทขายยาโอสถเทพยดา


 

“นี่เป็นกล่องฉายหนังของจริงเลยนะ ไม่ใช่พร็อปส์” พี่อุ๋ยพูดยิ่งทำให้เราตื่นเต้นกว่าเดิม ความทรงจำจากกล่องเขียวพาเรากลับไปยังภาพยนตร์ ‘มนต์รักนักพากย์’ ที่กำลังฉายอยู่ใน Netflix ด้วยภาพของรถฉายหนังขายยาคันใหญ่ที่เห็นในตัวอย่างหนัง รถคันใหญ่ที่พาชาวคณะออกเดินทางเร่ฉายหนังตามใบสั่งของลูกค้า รถคันนี้พี่อุ๋ยเนรมิตขึ้นมาใหม่ทั้งคันจากศูนย์ ซึ่งภาพนั้นก็เป็นที่มาของภาพยนตร์เรื่องนี้

“ถ้าเราเคยเห็นภาพขาวดำรูปนึงที่มีรูปรถฉายขายยาจอดเรียงกันเป็นร้อยคัน มันบอกเราทันทีว่าตอนนั้นเป็นยุคทองของภาพยนตร์ขนาดไหน มันเป็นความเฟื่องฟูของหนังไทย 16 มม. พอเห็นรูปนั้นแล้ว ถ้าไม่ทำไม่ได้แล้ว เลยเขียนเรื่องนี้ไปก่อนโดยที่ไม่รู้เลยว่าใครจะทำ ยิ่งได้คุยกับเพื่อนมากขึ้น สัมภาษณ์คนที่อยู่ในยุคนั้นจริงๆ คนที่เป็นนักพากย์ห้าเสียงจริงๆ เราก็เลยรู้สึกสนใจมาก รวมกับเรื่องคุณมิตร ชัยบัญชา พอสองอย่างนี้ประกอบกันแล้วมันลงตัวมากสำหรับเรา เราอยากดูมันมาก” 

พี่อุ๋ยเขียนบทภาพยนตร์เรื่องนี้เสร็จสิ้นตั้งแต่ช่วงก่อนโควิด แต่การจะพาเรื่องนี้มาสู่สายตาผู้ชมก็ไม่ใช่เรื่องง่าย “ตอนแรกเผลอๆ คิดว่าเรื่องนี้จะไม่ได้ทำด้วย เพราะมันแพง อย่างสร้างรถขึ้นมาคันหนึ่งต้องใช้เงินเท่าไหร่ เรารู้ว่ามันยากมาก แต่พอเราได้คุยกับ Netflix Thailand แล้วได้ทำเรื่องนี้ซึ่งเป็นเรื่องที่อยากดูเหมือนเดิม”

 

อย่างที่พี่อุ๋ยบอกในทุกบทสัมภาษณ์ ว่าจะทำหนังในเรื่องราวที่อยากดู จนวันนี้ ‘มนต์รักนักพากย์’ ก็ได้ออกสู่สายตาผู้ชมตามที่ผู้กำกับคนนี้ตั้งใจ 

“เราเห็นภาพของนักแสดงตั้งแต่เขียนบท เห็นมานิตย์เป็นเวียร์ เห็นลุงหมานเป็นพี่สามารถ (พี่ชอบเขามากนะเวลาเสียงหลุดๆ เป็นธรรมชาติ) เห็นเก่าเป็นเก้า ส่วนเรืองแข เราอยากได้นักแสดงหญิงที่เก่งและเชี่ยวชาญเรื่องการใช้เสียงอยู่แล้ว แล้วก็มาลงตัวที่หนูนาพอดีเป๊ะ”

พี่อุ๋ยแอบเล่าเรื่องสนุกหลังกองถ่ายให้ฟัง เพราะโลเคชั่นถ่ายทำคือลพบุรี แน่นอนเราต้องคิดถึงลิงเป็นอย่างแรก “ในหนังกลัวไม่เห็นลิง เพราะมันคือลพบุรี แต่เราก็ต้องมีหน่วยสกัดลิง 5-6 คนไม่ให้เข้ามายุ่งวุ่นวายในกอง ต้องจัดพิธีเลี้ยงลิง สื่อสารอะไรให้เป็นเรื่องเป็นราวเลยนะ แต่เสียงลิงที่ได้ยินคือต้องมาใส่ทีหลังนะ เสียงลิงเต็มซีนเลยแต่ไม่มีเสียงเพราะอัดมาไม่ติด”

 

สัมผัสบรรยากาศยุคทองของหนังไทย แรงบันดาลใจที่ขับเคลื่อนด้วยความรักที่มีต่อมิตร ชัยบัญชา และความรักในภาพยนตร์ ได้ที่ Netflix



Text:

Nathanich C.

Nathanich C.

PHOTO:

Chanathip K.

Chanathip K.

Related Posts