ฉันและน้องแมวที่ตื่นตระหนก : บทเรียนการรับมือสถานการณ์ที่ทำให้ใจสั่นไหว

ฉันและน้องแมวที่ตื่นตระหนก : บทเรียนการรับมือสถานการณ์ที่ทำให้ใจสั่นไหว

5 ม.ค. 2567

SHARE WITH:

5 ม.ค. 2567

5 ม.ค. 2567

SHARE WITH:

SHARE WITH:

ฉันและน้องแมวที่ตื่นตระหนก : บทเรียนการรับมือสถานการณ์ที่ทำให้ใจสั่นไหว

ประมาณ 2-3 วันก่อนถึงวันสิ้นปี ผมทำงานวันเป็นวันสุดท้ายของปี ด้วยความที่เสร็จงานเร็วกว่าปกติจึงตัดสินใจใช้เวลาที่มีแวะไปเดินเล่นออกกำลังและถ่ายรูปเล่นที่สะพานเขียวซึ่งเป็น Sky Walk ใกล้ ๆ ออฟฟิศ ขาเดินกลับผมเจอน้องแมวตัวหนึ่งน่าจะกำลังวัยรุ่นนอนอยู่บนทางเดิน น้องสีขาวมีลายสีเทาเป็นหย่อม ๆ หน้าตาน่ารัก และสวมปลอกคอทำให้รู้ว่าน้องมีเจ้าของดูแล ผมค่อย ๆ เดินเข้าใกล้ทีละนิดเพื่อหยั่งเชิงว่าน้องจะตื่นกลัวผมไหมซึ่งปรากฏว่าน้องดูสงบนิ่งไม่ยี่หระเลย ผมจึงถ่ายรูปน้องไปหลายต่อหลายช็อตเพื่อหามุมที่ถูกใจ

ระหว่างนั้นมีเสียงแมวหง่าว ๆ ดังขึ้น แต่หาที่มาไม่เจอ เจ้าน้องแมวก็ได้ยินเหมือนผมและดูจะให้ความสนใจมากกว่าผมเสียอีก น้องลุกขึ้นเดินผ่านผมแบบไม่ได้เว้นระยะห่างอะไร สนใจเพียงมุ่งไปที่ราวเหล็กเพื่อยืนขึ้นแล้วเกาะราวชะเง้อมองหาแหล่งที่มาของเสียงหง่าว ๆ ที่ยังคงร้องต่อเนื่อง ผมก็ยังคงถ่ายรูปน้องไปเรื่อย ๆ

น่าจะเพราะเป็นช่วงใกล้เทศกาลปีใหม่ อยู่ ๆ ก็มีพลุถูกจุดขึ้น “วี้ด.. ปั้ง!” แม้ไม่ทันตั้งตัวแต่ผมก็ไม่ได้ตกใจอะไรนัก แต่ไม่ใช่กับเจ้าน้องแมวที่กระโดดผละออกมาจากราวเหล็กที่เกาะทันทีแล้ววิ่งอ้อมหลังผมไป ผมหันไปมองน้องว่าจะเตลิดไปไกลไหมแต่ก็พบว่าน้องมาหยุดตรงข้าง ๆ ผมห่างไปสักช่วงศอกเท่านั้น พร้อมกับมองมาสบตาผมสลับกับมองไปบนฟ้าที่แสงไฟพลุเพิ่งหายไปอยู่สักพัก ผมจินตนาการเอาเองว่าราวกับน้องกำลังถามผมว่า “ไม่มีอะไรใช่มั้ย? ไม่เป็นไรใช่มั้ย?” สักพักน้องก็เดินกลับไปเกาะราวเหล็กที่จุดเดิมเพื่อส่องหาต้นเสียงหง่าวที่ตอนนี้ก็เงียบไปแล้ว


สิ่งที่เกิดขึ้นทำให้ผมฉุกคิดขึ้นมาว่า เวลาที่เราเจอกับเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดและดูจะเป็นอันตรายนั้น การตอบสนองด้วยความตื่นตระหนกเป็นเรื่องปกติมาก ๆ เพราะมันเป็นการตอบสนองตามกลไกโดยธรรมชาติ แต่เราก็สามารถกลับสู่ความสงบได้มากขึ้นจากการตั้งสติเพื่อสังเกตและประเมินว่ามันเป็นยังไงกันแน่และควรทำอะไรต่อ เจ้าน้องแมวซึ่งคงจะเห็นว่าผมไม่ได้ขยับตัวหนีตายอะไร มันจึงหยุดเพื่อประเมินสถานการณ์แล้วพบว่ามันไม่จำเป็นต้องพยายามหนีไปให้ไกลที่สุดเพื่อความปลอดภัย แล้วกลับมาทำภารกิจของตัวเองต่อไปได้ด้วยความสงบดังเดิม

แม้จะเดินออกมาจากตรงจุดนั้นแล้ว ความคิดของผมยังคงดำเนินต่อไป ผมนึกถึงสายตาที่น้องมองมาสบตาผม (สลับกับที่มองท้องฟ้า) และข้อความสื่อสารที่ผมคิดเอาเองดังที่ว่าไว้ข้างต้น มันทำให้ผมนึกถึงว่า เวลาที่ผมต้องเผชิญความหวั่นไหวในใจ โดยเฉพาะความกังวลไม่มั่นใจ การได้มีใครสักคนที่ดูหนักแน่นมั่นคงอยู่เคียงข้างก็ช่วยให้ผมคลายความตื่นเต้นกังวลลงไปได้มาก ยกตัวอย่างเช่น เวลาต้องออกไปทำงานบรรยายเนื้อหาใหม่ ๆ หรือเวลาเล่นคอนเสิร์ตที่มีเวลาเตรียมตัวน้อย เมื่อจิตใจไม่ได้ถูกรบกวนด้วยความหวั่นไหว ผมก็สามารถเป็นตัวของตัวเองและใช้ความสามารถของตัวเองเท่าที่มีได้เต็มที่


ปรากฏการณ์ระหว่างน้องแมวกับผมจึงสะท้อนถึงภาพของความสัมพันธ์ระหว่าง “บุคคลผู้ประสบเหตุ” กับ “บุคคลที่เคียงข้าง” แน่นอนว่าน้องแมวอาจจะประเมินสถานการณ์ด้วยตัวเองก็ได้แม้ผมจะไม่อยู่ตรงนั้น แต่การที่มีผมอยู่ ผมจึงเป็นปัจจัยหนึ่งที่เป็นวัตถุดิบ (Resource) ให้น้องได้เลือกใช้ในการรับมือกับความตื่นตระหนกของตัวเอง

และนี่คือจุดที่ผมจะชวนผู้อ่านได้รับรู้ว่าเราทุกคนต่างก็เป็นวัตถุดิบสำหรับใครสักคนได้เสมอ ในวันที่ใครสักคนกำลังเผชิญสิ่งที่ท้าทาย จิตใจหวั่นไหว การมีใครสักคนที่เป็นบรรยากาศของความหนักแน่นมั่นคงอาจช่วยให้เขาได้อาศัยและซึมซับบรรยากาศนี้เพื่อค่อย ๆ ปลดบรรเทาความหวั่นไหวแล้วกลับสู่ความมั่นคงได้บ้าง และเมื่อมั่นคงมากขึ้นก็จะสามารถรับมือจัดการปัญหาได้ตามศักยภาพที่มี


ในการทำงานบริการการปรึกษาเชิงจิตวิทยา ผมมักได้ยินคำบอกเล่าของผู้มาปรึกษาว่าที่เขาตัดสินใจนัดมาคุยเพราะเขาต้องการคุยกับใครสักคนที่เขาพอจะเชื่อมั่นได้ว่าจะไม่หวั่นไหวไปกับเรื่องราวปัญหาของพวกเขา โดยความหวั่นไหวที่ว่ามีหน้าตาได้หลายอย่าง อาจจะเป็นดิ่งเศร้าไปกับเขา กังวลและเป็นห่วงไปด้วย หรือเป็นความไม่เห็นด้วย ไม่พอใจ มีการตัดสิน ตำหนิติเตียน และการสั่งสอน เห็นได้ว่าเวลาที่ใครสักคน (หรือน้องแมวสักตัว) ตกอยู่ในความรู้สึกไม่มั่นคงปลอดภัย หนึ่งในปัจจัยพื้นฐานที่ต้องการอย่างเร็วที่สุดก็คือความรู้สึกปลอดภัย

บางคนอาจมีคำโต้แย้งในใจว่า “ถ้าอยากมั่นคงปลอดภัย ก็จงแก้ปัญหาสิ” ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงที่ตรงจุด เพราะถ้าปัญหาถูกแก้ ความไม่ปลอดภัยหายไป ความมั่นคงในใจก็กลับมา หากแต่ความยาก คือ การได้มาซึ่งความปลอดภัยแบบนี้มันมีความซับซ้อน มันหมายถึงการที่คน ๆ หนึ่งจะต้องลงมือทำอะไรบางอย่างทั้งที่เขายังอยู่ในภาวะที่สั่นคลอนอีกด้วย ความปลอดภัยช่างเป็นเรื่องที่เข้าถึงยากและท้าทายมากเหลือเกิน

ดังนั้น หากเราต้องการจะช่วยเหลือหรือเป็นที่พึ่งให้กับใครสักคน เราจึงควรให้อะไรที่มันไม่ยุ่งยากซับซ้อนสำหรับเขาจนเกินไป เพื่อให้เขาค่อย ๆ กอบกู้ภาวะจิตใจที่มั่นคงของตัวเองก่อน เมื่อมั่นคงแล้วต่อไปจะรับมือจัดการปัญหาด้วยตัวเขาเองหรือจะหยิบนำข้อเสนอแนะจากเราไปใช้ก็จะเป็นเรื่องที่ง่ายขึ้นได้ แต่การจะเป็นปัจจัยที่มั่นคงและเป็นพื้นที่ ๆ ปลอดภัยแบบนี้ได้ ตัวเราเองก็ต้องเรียนรู้และฝึกฝนที่จะตระหนักถึงความสั่นไหวของใจเราด้วยเช่นกันเพื่อที่จะหาทางบรรเทา คลี่คลาย หรือระงับไม่ให้ไปกระทบคนที่เราตั้งใจจะช่วยเหลือ


ถึงตรงนี้ พอจะสรุปได้ว่าการที่จิตใจเราจะสั่นไหวเมื่อเผชิญสถานการณ์ที่ทำให้รู้สึกไม่ปลอดภัยนั้นเป็นเรื่องปกติที่เข้าใจได้ สิ่งที่เราพอจะทำได้ก็คือการรับมือด้วยการตั้งสติ สังเกตและประเมินตามข้อเท็จจริงว่ามันเป็นยังไงและเราควรทำอะไรต่อ ในการรับมือนั้นเราอาจมองหาและอาศัยปัจจัยรอบ ๆ ตัวเพื่อบรรเทาความสั่นไหวให้เรามั่นคงขึ้นได้ เพื่อเรียกคืนศักยภาพในการรับมือจัดการปัญหานั้น ๆ  และเราทุกคนต่างก็เป็นปัจจัยนั้นได้โดยเริ่มจากการตระหนักถึงความสั่นไหวของใจเราแล้วจัดการมัน


ประมาณ 2-3 วันก่อนถึงวันสิ้นปี ผมทำงานวันเป็นวันสุดท้ายของปี ด้วยความที่เสร็จงานเร็วกว่าปกติจึงตัดสินใจใช้เวลาที่มีแวะไปเดินเล่นออกกำลังและถ่ายรูปเล่นที่สะพานเขียวซึ่งเป็น Sky Walk ใกล้ ๆ ออฟฟิศ ขาเดินกลับผมเจอน้องแมวตัวหนึ่งน่าจะกำลังวัยรุ่นนอนอยู่บนทางเดิน น้องสีขาวมีลายสีเทาเป็นหย่อม ๆ หน้าตาน่ารัก และสวมปลอกคอทำให้รู้ว่าน้องมีเจ้าของดูแล ผมค่อย ๆ เดินเข้าใกล้ทีละนิดเพื่อหยั่งเชิงว่าน้องจะตื่นกลัวผมไหมซึ่งปรากฏว่าน้องดูสงบนิ่งไม่ยี่หระเลย ผมจึงถ่ายรูปน้องไปหลายต่อหลายช็อตเพื่อหามุมที่ถูกใจ

ระหว่างนั้นมีเสียงแมวหง่าว ๆ ดังขึ้น แต่หาที่มาไม่เจอ เจ้าน้องแมวก็ได้ยินเหมือนผมและดูจะให้ความสนใจมากกว่าผมเสียอีก น้องลุกขึ้นเดินผ่านผมแบบไม่ได้เว้นระยะห่างอะไร สนใจเพียงมุ่งไปที่ราวเหล็กเพื่อยืนขึ้นแล้วเกาะราวชะเง้อมองหาแหล่งที่มาของเสียงหง่าว ๆ ที่ยังคงร้องต่อเนื่อง ผมก็ยังคงถ่ายรูปน้องไปเรื่อย ๆ

น่าจะเพราะเป็นช่วงใกล้เทศกาลปีใหม่ อยู่ ๆ ก็มีพลุถูกจุดขึ้น “วี้ด.. ปั้ง!” แม้ไม่ทันตั้งตัวแต่ผมก็ไม่ได้ตกใจอะไรนัก แต่ไม่ใช่กับเจ้าน้องแมวที่กระโดดผละออกมาจากราวเหล็กที่เกาะทันทีแล้ววิ่งอ้อมหลังผมไป ผมหันไปมองน้องว่าจะเตลิดไปไกลไหมแต่ก็พบว่าน้องมาหยุดตรงข้าง ๆ ผมห่างไปสักช่วงศอกเท่านั้น พร้อมกับมองมาสบตาผมสลับกับมองไปบนฟ้าที่แสงไฟพลุเพิ่งหายไปอยู่สักพัก ผมจินตนาการเอาเองว่าราวกับน้องกำลังถามผมว่า “ไม่มีอะไรใช่มั้ย? ไม่เป็นไรใช่มั้ย?” สักพักน้องก็เดินกลับไปเกาะราวเหล็กที่จุดเดิมเพื่อส่องหาต้นเสียงหง่าวที่ตอนนี้ก็เงียบไปแล้ว


สิ่งที่เกิดขึ้นทำให้ผมฉุกคิดขึ้นมาว่า เวลาที่เราเจอกับเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดและดูจะเป็นอันตรายนั้น การตอบสนองด้วยความตื่นตระหนกเป็นเรื่องปกติมาก ๆ เพราะมันเป็นการตอบสนองตามกลไกโดยธรรมชาติ แต่เราก็สามารถกลับสู่ความสงบได้มากขึ้นจากการตั้งสติเพื่อสังเกตและประเมินว่ามันเป็นยังไงกันแน่และควรทำอะไรต่อ เจ้าน้องแมวซึ่งคงจะเห็นว่าผมไม่ได้ขยับตัวหนีตายอะไร มันจึงหยุดเพื่อประเมินสถานการณ์แล้วพบว่ามันไม่จำเป็นต้องพยายามหนีไปให้ไกลที่สุดเพื่อความปลอดภัย แล้วกลับมาทำภารกิจของตัวเองต่อไปได้ด้วยความสงบดังเดิม

แม้จะเดินออกมาจากตรงจุดนั้นแล้ว ความคิดของผมยังคงดำเนินต่อไป ผมนึกถึงสายตาที่น้องมองมาสบตาผม (สลับกับที่มองท้องฟ้า) และข้อความสื่อสารที่ผมคิดเอาเองดังที่ว่าไว้ข้างต้น มันทำให้ผมนึกถึงว่า เวลาที่ผมต้องเผชิญความหวั่นไหวในใจ โดยเฉพาะความกังวลไม่มั่นใจ การได้มีใครสักคนที่ดูหนักแน่นมั่นคงอยู่เคียงข้างก็ช่วยให้ผมคลายความตื่นเต้นกังวลลงไปได้มาก ยกตัวอย่างเช่น เวลาต้องออกไปทำงานบรรยายเนื้อหาใหม่ ๆ หรือเวลาเล่นคอนเสิร์ตที่มีเวลาเตรียมตัวน้อย เมื่อจิตใจไม่ได้ถูกรบกวนด้วยความหวั่นไหว ผมก็สามารถเป็นตัวของตัวเองและใช้ความสามารถของตัวเองเท่าที่มีได้เต็มที่


ปรากฏการณ์ระหว่างน้องแมวกับผมจึงสะท้อนถึงภาพของความสัมพันธ์ระหว่าง “บุคคลผู้ประสบเหตุ” กับ “บุคคลที่เคียงข้าง” แน่นอนว่าน้องแมวอาจจะประเมินสถานการณ์ด้วยตัวเองก็ได้แม้ผมจะไม่อยู่ตรงนั้น แต่การที่มีผมอยู่ ผมจึงเป็นปัจจัยหนึ่งที่เป็นวัตถุดิบ (Resource) ให้น้องได้เลือกใช้ในการรับมือกับความตื่นตระหนกของตัวเอง

และนี่คือจุดที่ผมจะชวนผู้อ่านได้รับรู้ว่าเราทุกคนต่างก็เป็นวัตถุดิบสำหรับใครสักคนได้เสมอ ในวันที่ใครสักคนกำลังเผชิญสิ่งที่ท้าทาย จิตใจหวั่นไหว การมีใครสักคนที่เป็นบรรยากาศของความหนักแน่นมั่นคงอาจช่วยให้เขาได้อาศัยและซึมซับบรรยากาศนี้เพื่อค่อย ๆ ปลดบรรเทาความหวั่นไหวแล้วกลับสู่ความมั่นคงได้บ้าง และเมื่อมั่นคงมากขึ้นก็จะสามารถรับมือจัดการปัญหาได้ตามศักยภาพที่มี


ในการทำงานบริการการปรึกษาเชิงจิตวิทยา ผมมักได้ยินคำบอกเล่าของผู้มาปรึกษาว่าที่เขาตัดสินใจนัดมาคุยเพราะเขาต้องการคุยกับใครสักคนที่เขาพอจะเชื่อมั่นได้ว่าจะไม่หวั่นไหวไปกับเรื่องราวปัญหาของพวกเขา โดยความหวั่นไหวที่ว่ามีหน้าตาได้หลายอย่าง อาจจะเป็นดิ่งเศร้าไปกับเขา กังวลและเป็นห่วงไปด้วย หรือเป็นความไม่เห็นด้วย ไม่พอใจ มีการตัดสิน ตำหนิติเตียน และการสั่งสอน เห็นได้ว่าเวลาที่ใครสักคน (หรือน้องแมวสักตัว) ตกอยู่ในความรู้สึกไม่มั่นคงปลอดภัย หนึ่งในปัจจัยพื้นฐานที่ต้องการอย่างเร็วที่สุดก็คือความรู้สึกปลอดภัย

บางคนอาจมีคำโต้แย้งในใจว่า “ถ้าอยากมั่นคงปลอดภัย ก็จงแก้ปัญหาสิ” ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงที่ตรงจุด เพราะถ้าปัญหาถูกแก้ ความไม่ปลอดภัยหายไป ความมั่นคงในใจก็กลับมา หากแต่ความยาก คือ การได้มาซึ่งความปลอดภัยแบบนี้มันมีความซับซ้อน มันหมายถึงการที่คน ๆ หนึ่งจะต้องลงมือทำอะไรบางอย่างทั้งที่เขายังอยู่ในภาวะที่สั่นคลอนอีกด้วย ความปลอดภัยช่างเป็นเรื่องที่เข้าถึงยากและท้าทายมากเหลือเกิน

ดังนั้น หากเราต้องการจะช่วยเหลือหรือเป็นที่พึ่งให้กับใครสักคน เราจึงควรให้อะไรที่มันไม่ยุ่งยากซับซ้อนสำหรับเขาจนเกินไป เพื่อให้เขาค่อย ๆ กอบกู้ภาวะจิตใจที่มั่นคงของตัวเองก่อน เมื่อมั่นคงแล้วต่อไปจะรับมือจัดการปัญหาด้วยตัวเขาเองหรือจะหยิบนำข้อเสนอแนะจากเราไปใช้ก็จะเป็นเรื่องที่ง่ายขึ้นได้ แต่การจะเป็นปัจจัยที่มั่นคงและเป็นพื้นที่ ๆ ปลอดภัยแบบนี้ได้ ตัวเราเองก็ต้องเรียนรู้และฝึกฝนที่จะตระหนักถึงความสั่นไหวของใจเราด้วยเช่นกันเพื่อที่จะหาทางบรรเทา คลี่คลาย หรือระงับไม่ให้ไปกระทบคนที่เราตั้งใจจะช่วยเหลือ


ถึงตรงนี้ พอจะสรุปได้ว่าการที่จิตใจเราจะสั่นไหวเมื่อเผชิญสถานการณ์ที่ทำให้รู้สึกไม่ปลอดภัยนั้นเป็นเรื่องปกติที่เข้าใจได้ สิ่งที่เราพอจะทำได้ก็คือการรับมือด้วยการตั้งสติ สังเกตและประเมินตามข้อเท็จจริงว่ามันเป็นยังไงและเราควรทำอะไรต่อ ในการรับมือนั้นเราอาจมองหาและอาศัยปัจจัยรอบ ๆ ตัวเพื่อบรรเทาความสั่นไหวให้เรามั่นคงขึ้นได้ เพื่อเรียกคืนศักยภาพในการรับมือจัดการปัญหานั้น ๆ  และเราทุกคนต่างก็เป็นปัจจัยนั้นได้โดยเริ่มจากการตระหนักถึงความสั่นไหวของใจเราแล้วจัดการมัน


Text:

Kaweekrai M.

Kaweekrai M.

PHOTO:

Kaweekrai M.

Kaweekrai M.

Related Posts