Kaiju Smuggler ของเล่นที่ไม่ใช่เรื่องเล่น

Kaiju Smuggler ของเล่นที่ไม่ใช่เรื่องเล่น

26 ก.ย. 2566

SHARE WITH:

26 ก.ย. 2566

26 ก.ย. 2566

SHARE WITH:

SHARE WITH:

Kaiju Smuggler ของเล่นที่ไม่ใช่เรื่องเล่น

“วิธีคิดของแบรนด์เราตรงข้ามกับในท้องตลาด เราไม่ใช่แบรนด์ที่ทำคาแรกเตอร์ออริจินัล เราต้องยอมรับว่าเราเอาคาแรกเตอร์ที่มีอยู่แล้วเป็นพันปีมาปรับเป็นสินค้า ซึ่งเป็นหนึ่งในเรื่องที่คุยกันว่าเราจะเป็น Cultural Export หรือการส่งออกวัฒนธรรม เราเป็น Toy Power”

 

พระพิฆเนศวรโพลิกอนกับเทคนิคการวัสดุเรซินที่หลากหลาย ซอฟต์ไวนิลซีรีส์ยักษ์ที่หิ้วเป็นของฝากได้แบบสะดวก งานซิกเนเจอร์ของ Kaiju Smuggler ที่ทำต่อเนื่องยาวนานตั้งแต่เริ่มต้นทำ Garage Kit หรือชุดต่อประกอบชุดแรกในปี 2014 ผ่านการลองผิดลองถูกทั้งในขั้นตอนการดีไซน์และการผลิต จากของเล่นก็เริ่มไม่ใช่เรื่องเล่นๆ แล้ว “ช่วงแรกกลัวไปหมด เพราะเราเหมือนคนขุดทางให้คนอื่นเค้า ทำอันนี้แล้วจะโดนด่าไหม อยากทำโน่นทำนี่แต่ไม่กล้าเลย”

“ตอนเด็กๆ เราโตมากับหนังเซนไต ฮีโร่ญี่ปุ่น ทุกคนชอบสัตว์ประหลาด ก็อตซิลลา อุลตราแมน ภาษาญี่ปุ่นที่เรียก Kaiju แปลว่าสัตว์ประหลาด ถ้านับจริงๆ พระพิฆเนศวรก็เป็นไทยไคจูเหมือนกัน จนออกมาเป็นพระพิฆเนศวรโพลิกอน ข้อดีก็คือเป็นงานชิ้นแรก จนถึงทุกวันนี้จะสิบปีแล้วก็ยังขายองค์นี้อยู่เลย แต่ข้อเสียคือ เป็นการทำที่ไม่รู้เรื่องที่สุด ซึ่งถูกแล้วที่คุณต้องไม่รู้เรื่อง เพราะมันเหมือนกับได้ผูกพันกับโปรดักต์จนชุดหลังที่ทำออกมา ระนาบชัดขึ้น คมขึ้น รู้แล้วว่าต้องผลิตยังไงให้ออกมาได้ดั่งใจ และพยายามพัฒนางานให้ออกมาแปลกใหม่ สนุกขึ้น”

 

จุดเริ่มต้นเกิดจากเครื่องทรีดีพรินเตอร์ตัวแรกที่ อัด - อัฏฐกาล วชิราวุฒิชัย สั่งเข้ามาผลิตงานจิเวลรี่ของครอบครัวหลังกลับจากการเรียนสายทรีดีที่แวนคูเวอร์ แคนาดา เมื่อใจรักในของเล่นทำให้เขาอยากโชว์ศักยภาพของเครื่องออกมาให้ได้มากที่สุดผ่านงานอาร์ตทอย จึงชักชวน เหรียญ - ณัฐวุฒิ ใบโพธิ์วงศ์ ที่ตอนนั้นทำงานสายภาพยนตร์เป็นหลัก และฝากฝีมือผ่านงานออกแบบสัตว์ประหลาดในภาพยนตร์ระดับฮอลลีวูด มาทำอาร์ตทอยด้วยกันในนาม Kaiju Smuggler และลากยาวมาจนถึงปัจจุบัน

 

 

IIIi - เล่นแบบลองผิดลองถูก

ชวนคุณย้อนเวลากลับไปเกือบสิบปีก่อน ตอนทรีดีพรินเตอร์ยังเป็นสัตว์ประหลาดของวงการศิลปะ “เริ่มจากแค่อยากทำ” อัดเริ่มเล่า

“เลยไปชวนคุณเหรียญมาทำโปรเจกต์แจมๆ กันเล่น มาทำชุด Garage Kit ซึ่งก็เคยทำและก็ชอบอยู่แล้ว ในตอนนั้นคือทุกอย่างแพงมาก แต่เรามองว่ามันต้องเป็นอนาคตของการผลิตแน่ๆ ก็เลยลงทุน หลังจากนั้นก็เลยเริ่มทำจริงจังขึ้นทั้งงานออริจินัลและงานลิขสิทธิ์ ทั้งกับไทยและต่างชาติ เรียกว่างานบริษัทของเล่นไทยก็ผ่านมือเรามา 70-80% แล้ว เพราะตอนนั้นโรงงานไม่มีเลย”

แต่เพราะเป็นของใหม่ที่ไม่มีใครคุ้นเคย การจะสร้างความเข้าใจให้กับลูกค้าผลิตภัณฑ์ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเช่นกัน ด้วยมูลค่าที่สูงมากในยุคนั้น การปั้นชิ้นงานในคอมพิวเตอร์ที่ต้องทำแบบแมนวล และเทคนิคการหล่อเรซินที่ต้องเริ่มใหม่เองหมดเลย เรียกว่าสะสมประสบการณ์และชั่วโมงบินผ่านการค้นคว้า ทำงานพัง และทำงานจริงด้วยตัวเองในทุกขั้นตอน

 

อีกเรื่องที่เป็นความท้าทายของคนทำงานของเล่น คือความเข้าใจของคนไทยในตอนนั้น แต่เพราะมีคนในแวดวงที่เข้าใจและรักในศิลปะของเล่น นี่จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่นับว่าเซอร์ไพรส์ทั้งสองเช่นกัน

“จำความรู้สึกของวันแรกที่โพสต์ขายพระพิฆเนศวรได้เลย ตั้งราคา 6,435 บาท แต่ตอนนั้นอาร์ตทอยในบ้านเรามาจากสายสตรีตอาร์ตที่ส่วนใหญ่เป็นงานกราฟิตี้เสียมาก แล้วอาร์ตทอยเป็นแค่ส่วนเสริมในงาน เขาขายกันหลักร้อย แต่เราโพสต์ไปหกพันกว่า ทุกคนก็ฮือฮานะ แล้วก็หมดด้วย เลยกลายเป็นตัวเปิดในที่สุด”

งานวัสดุเป็นอีกเรื่องที่ Kaiju Smuggler ทดลองอยู่เสมอ อย่างตอนแรกที่ทำงานกับวัสดุ Soft Vinyl หลายคนอาจมองแค่ว่าเป็นพลาสติก “แต่ตอนนี้มีเดียมเริ่มไม่มีผลกับอาร์ตทอยแล้ว ขอให้คาแรกเตอร์ดี คอนเซปต์ดี วัสดุก็ควรจะเป็นแบบที่เหมาะกับมันแหละ”


ทั้งสองแบ่งหน้าที่การทำงานอย่างชัดเจนตามที่ตัวเองถนัด อย่างเหรียญที่มีพื้นฐานงานศิลปะจะเก่งในรายละเอียดที่ทำให้รู้สึกว่ามีชีวิต ทั้งเรื่องอารมณ์ การวางท่าทาง หรือแม้แต่องศาในการหันหน้า หลังจากเหรียญขึ้นสเก็ตช์มาแล้ว อัดก็จะมาสานต่อขึ้นแบบทรีดีโพลิกอนโดยยึดจากท่าทางลีลาที่วางไว้ ซึ่งก็ต้องลงรายละเอียดในแต่ละมุมลงไปอีกทั้งเรื่องความคมชัดของมุม ระนาบ การสะท้อนแสง จนกลับไปสู่การผลิตที่เหรียญเป็นคนพัฒนาเทคนิคต่างๆ ในงานวัสดุ

เราขอเรียกว่าเป็นงานคราฟต์ด้วยเครื่องมือและเทคนิคในแบบยุคใหม่

“ตอนแรกที่ทำสี Swirl สีส้ม Sunstorm ซึ่งเป็นองค์แรกที่ทำเทคนิคนี้ แล้วชอบมาก สวยมาก แต่พอโพสต์ปุ๊บไม่มีคนซื้อเลย ใช้เวลานานมากกว่าจะติดตลาด ซึ่งก็ต้องขอบคุณอินฟลูเอนเซอร์ที่ซื้อแล้วไปแชร์ ทำให้เห็นว่าอินฟลูฯ ช่วยได้จริง อย่างจอร์จที่ทำคอนเทนต์วิธีจองให้ทัน มันเลยสนุก คนที่แย่งกันจองก็เป็นเกมของเขาที่อยากสนุกเหมือนกัน”

เมื่อก่อนคนจะมองของเล่นว่าไร้สาระ แล้วคนซื้อสมัยก่อนไม่ได้มองคุณค่าอาร์ติสต์ เขามองมูลค่าของเรซิน ตัวเล็กเรซินน้อยแต่ทำไมต้องสองพัน หรือคนมักให้คุณค่ากับของจากนอกประเทศ อย่างกาจาปองของญี่ปุ่นเหมือนกับการเก็บสะสมของคนไทยในเจนนั้น จนพัฒนาเรื่อยๆ มาเป็นอาร์ตทอย งานเยอะขึ้น มาถึงทุกวันนี้คือ เขาต้องการสะสมศิลปิน ซื้อของที่รู้สึกว่าได้เป็นส่วนหนึ่ง และศิลปินก็ได้ลืมตาอ้าปากขึ้นจากผลงาน”

 

 

IIIi - ของเล่นที่เป็นของขาย

“ตลาดของเล่น งานศิลปะ พระเครื่อง กลายเป็นตลาดเดียวกันไปแล้ว” เหรียญเล่าให้เห็นภาพกว้าง

“คนไม่ได้ซื้อไปเพื่อเก็บแล้ว หลักๆ ที่มันบูมขึ้นมาคือ ของหายากหรือของแรร์ที่มีแค่ไม่กี่ตัว คนเริ่มมีข้อมูลงานกับศิลปิน คนเก็บเหมือนเป็นการลงทุนกลายๆ โดยที่คิดหรือคาดหวังว่าอนาคตราคาจะต้องขึ้น”

 ทั้งสองมองว่า ตลาดของเล่นก็เหมือนกับตลาดของในกระแสนิยมประเภทอื่นที่มีวงรอบเป็นของตัวเอง “ผมมองว่า ถ้าไม่มีโควิด อาร์ตทอยจะบูมก่อนหน้านี้ เริ่มตั้งแต่ 2014 มาจนถึง 2016 เริ่มพีคมาก จากนั้นหัวทิ่มลงหน่อยๆ พอโควิดมาคือขาลงแบบติดพื้นเลย แล้วตอนนี้ก็กลับขึ้นมา แต่เดี๋ยวก็จะลงใหม่ เป็นกระแสแฟชั่นสไตล์ไทย” 

“แต่วงรอบนี้น่าสนใจตรงที่เป็นผู้เล่นใหม่เข้ามาเล่น ไม่ใช่ศิลปิน แต่เป็นคิวเรเตอร์หรือผู้จัดงานศิลปะเข้ามาจัดอีเวนต์ให้กับอาร์ตทอย แล้วก็จะเป็นวงรอบที่สุดท้ายคนที่เก็บงานของศิลปินจริงๆ หรือตัวจริงที่อยู่รอด จะว่าไปทุกปีก็มีคนใหม่เข้ามาตลอด เหมือนอยากมาลองซื้อหวย ผมอยากให้คนโฟกัสว่ามันคือMerchandize มากกว่าอาร์ตทอยเป็นหลัก เพราะอาร์ตทอยคือสิ่งที่ผลิตยากที่สุด แพงที่สุด วุ่นวายที่สุด กำไรน้อยที่สุด ผมคิดว่าควรขยายอย่างอื่นเพิ่มด้วย อย่าโฟกัสแค่อาร์ตทอยอย่างเดียว”

 

เราเห็นวงการรีเซลอาร์ตทอยที่ปั่นกระแสกันหนักมากในช่วงนี้ ข้อที่เป็นประโยชน์อย่างหนึ่งคือเป็นกลไกที่ทำให้ตลาดโต ศิลปินได้รับความสนใจจากผลงานที่ตัวเองทำ และขยายตลาดต่อไปได้อีก แต่ก็ตามมาด้วยความต้องการที่หลากหลาย ทั้งคนที่ซื้อเก็บจริง หรือซื้อเพราะกดยากก็กดซื้อไปก่อนแล้วค่อยปล่อยขายจนคนเก็บตัวจริงไม่มีของแล้วเลิกเก็บไปในที่สุด อย่างไรก็ตาม ที่สำคัญของคนทำงานคือ ตัวตนต้องห้ามทิ้ง ต้องอย่าลืมว่ากำลังทำอะไรอยู่

“หรือถ้าใจรักจริงๆ วันเวลากับลูกค้าก็จะเป็นตัวสกรีนให้เอง เราอาจจะอยู่ไปจนคนเห็นแล้วจำได้ มันเหมือนเปิดเพลงซ้ำๆ ไปเรื่อยๆ คนก็ชอบ ตัวนี้แรกๆ มาอาจจะไม่ฮิต แต่คุณอึดพอหรือเปล่า มันเป็นการพิสูจน์ว่าถึงแม้คุณจะไม่ได้มีเงินพอที่จะเลี้ยงตัวเอง แต่คุณชอบมันพอที่จะอึดจนคนจำตัวนี้ได้ มันเป็นวิธีคิดเดียวกับการสร้างงานศิลปะ”

 

มีปัจจัยที่น่าสนใจที่ส่งผลต่ออาร์ตทอยที่เราคาดไม่ถึง อย่างสเปซของบ้านที่ขนาดเล็กลงก็มีผลต่อไซส์ของเล่น

“อย่างลูกค้าบางคนที่ทำกับเรา เขาจะไม่ยอมทำอะไรที่มีหาง หรือไซส์อยู่ที่ 5-8 นิ้วกำลังดี เพราะชั้นวางของหน้ากว้าง 30 เซนติเมตร บ้านเล็กแบบบ้านญี่ปุ่นก็หมดสิทธิ์ซื้อของเล่นไซส์ใหญ่ แม้แต่อายุของลูกค้าหรือเศรษฐกิจก็มีผล อย่างเศรษฐกิจตกต่ำ ของมูจะยิ่งขายดี แต่ก็เข้าใจว่าเป็นความยึดมั่นทางจิตใจ”

แน่นอนว่าคำถามที่ตามมาหลังจากการขายพระพิฆเนศวรคือการปลุกเสก “สี่สิบองค์แรกที่เราขับไปส่งเอง จำภาพติดตาได้เลยว่าเค้าเปิดกล่องแล้วไหว้งานของเรา ซึ่งจริงๆ ก็มีหลายสาเหตุที่เราไม่ปลุกเสก อย่างบางคนที่อยากได้เป็นงานศิลปะจริงๆ เราจะเน้นเรื่องความรู้สึกหรือดีเทลของงาน มองแล้วกระชุ่มกระชวยจิตใจ หรือถ้าปลุกเสกแล้วบางคนอยากได้สายมืด ก็กลายเป็นว่าไม่ซื้อของเราไปอีก เราเลยขายเป็นองค์เปล่า แล้วคุณจะไปทำอะไรต่อก็แล้วแต่”

 

“ตลกมั้ยว่าคุยกันเรื่องขายของมากกว่าอาร์ตทอยคืออะไร” เหรียญพูดแบบติดตลก

“เพราะเป็นเรื่องกลไกตลาด ซึ่งถ้าจะต้องเปลี่ยนวงการ ต้องเปลี่ยนด้วยการบอกว่าแต่ละชิ้นคืองานศิลปะ เน้นไปเลยว่ามีร้อยตัวในโลก เราครีเอตเอง หล่อมาเอง เพราะฉะนั้นเราต้องตีกรอบให้กับคนที่รักงานของเราจริงๆ ต้องเก็บเขาไว้ให้ได้ แล้วศิลปินก็ต้องสร้างมูลค่าให้เขาอยากเก็บงานด้วย เหมือนศิลปินวาดภาพนั่นแหละ แค่มีเดียมที่ต่างกัน”

อย่างเมื่อก่อน จะมีคำว่า Made in Japan หรือวัสดุซอฟต์ไวนิลที่ถ้าผลิตในญี่ปุ่นก็จะมีชื่อเรียกว่า โซฟุบิ ซึ่งเพิ่มมูลค่าทางการตลาดให้กับงานไปอีก หรือการแบ่งแยกงานทรีดีปรินต์กับงานปั้นมือ แต่อนาคตกำลังจะเปลี่ยนไปอีกขั้น

“อีกหน่อยจะไม่มีแล้วงานมือหรืองานคอม มันจะเหลือแค่คำว่า Human Made กับ AI Made ซึ่งมันก็คือเครื่องมือใหม่ที่คนต้องใช้ให้เป็น จบงานให้ได้ เพราะสุดท้ายแล้วคอมพิวเตอร์ก็คือเครื่องมือ” 

“แต่ใดๆ ก็แล้วแต่ ตอนทำก็สนุกตลอดนะ จนถึงตอนนั่งขายที่คนมาซื้อแล้วชอบ ไปส่งกันเอง ได้คุยได้ฟังฟีดแบ็กตรงจากคนที่ซื้องานของเรา ชอบงานของเรา เราก็รู้สึกเติมเต็ม” อัดทิ้งท้าย



“วิธีคิดของแบรนด์เราตรงข้ามกับในท้องตลาด เราไม่ใช่แบรนด์ที่ทำคาแรกเตอร์ออริจินัล เราต้องยอมรับว่าเราเอาคาแรกเตอร์ที่มีอยู่แล้วเป็นพันปีมาปรับเป็นสินค้า ซึ่งเป็นหนึ่งในเรื่องที่คุยกันว่าเราจะเป็น Cultural Export หรือการส่งออกวัฒนธรรม เราเป็น Toy Power”

 

พระพิฆเนศวรโพลิกอนกับเทคนิคการวัสดุเรซินที่หลากหลาย ซอฟต์ไวนิลซีรีส์ยักษ์ที่หิ้วเป็นของฝากได้แบบสะดวก งานซิกเนเจอร์ของ Kaiju Smuggler ที่ทำต่อเนื่องยาวนานตั้งแต่เริ่มต้นทำ Garage Kit หรือชุดต่อประกอบชุดแรกในปี 2014 ผ่านการลองผิดลองถูกทั้งในขั้นตอนการดีไซน์และการผลิต จากของเล่นก็เริ่มไม่ใช่เรื่องเล่นๆ แล้ว “ช่วงแรกกลัวไปหมด เพราะเราเหมือนคนขุดทางให้คนอื่นเค้า ทำอันนี้แล้วจะโดนด่าไหม อยากทำโน่นทำนี่แต่ไม่กล้าเลย”

“ตอนเด็กๆ เราโตมากับหนังเซนไต ฮีโร่ญี่ปุ่น ทุกคนชอบสัตว์ประหลาด ก็อตซิลลา อุลตราแมน ภาษาญี่ปุ่นที่เรียก Kaiju แปลว่าสัตว์ประหลาด ถ้านับจริงๆ พระพิฆเนศวรก็เป็นไทยไคจูเหมือนกัน จนออกมาเป็นพระพิฆเนศวรโพลิกอน ข้อดีก็คือเป็นงานชิ้นแรก จนถึงทุกวันนี้จะสิบปีแล้วก็ยังขายองค์นี้อยู่เลย แต่ข้อเสียคือ เป็นการทำที่ไม่รู้เรื่องที่สุด ซึ่งถูกแล้วที่คุณต้องไม่รู้เรื่อง เพราะมันเหมือนกับได้ผูกพันกับโปรดักต์จนชุดหลังที่ทำออกมา ระนาบชัดขึ้น คมขึ้น รู้แล้วว่าต้องผลิตยังไงให้ออกมาได้ดั่งใจ และพยายามพัฒนางานให้ออกมาแปลกใหม่ สนุกขึ้น”

 

จุดเริ่มต้นเกิดจากเครื่องทรีดีพรินเตอร์ตัวแรกที่ อัด - อัฏฐกาล วชิราวุฒิชัย สั่งเข้ามาผลิตงานจิเวลรี่ของครอบครัวหลังกลับจากการเรียนสายทรีดีที่แวนคูเวอร์ แคนาดา เมื่อใจรักในของเล่นทำให้เขาอยากโชว์ศักยภาพของเครื่องออกมาให้ได้มากที่สุดผ่านงานอาร์ตทอย จึงชักชวน เหรียญ - ณัฐวุฒิ ใบโพธิ์วงศ์ ที่ตอนนั้นทำงานสายภาพยนตร์เป็นหลัก และฝากฝีมือผ่านงานออกแบบสัตว์ประหลาดในภาพยนตร์ระดับฮอลลีวูด มาทำอาร์ตทอยด้วยกันในนาม Kaiju Smuggler และลากยาวมาจนถึงปัจจุบัน

 

 

IIIi - เล่นแบบลองผิดลองถูก

ชวนคุณย้อนเวลากลับไปเกือบสิบปีก่อน ตอนทรีดีพรินเตอร์ยังเป็นสัตว์ประหลาดของวงการศิลปะ “เริ่มจากแค่อยากทำ” อัดเริ่มเล่า

“เลยไปชวนคุณเหรียญมาทำโปรเจกต์แจมๆ กันเล่น มาทำชุด Garage Kit ซึ่งก็เคยทำและก็ชอบอยู่แล้ว ในตอนนั้นคือทุกอย่างแพงมาก แต่เรามองว่ามันต้องเป็นอนาคตของการผลิตแน่ๆ ก็เลยลงทุน หลังจากนั้นก็เลยเริ่มทำจริงจังขึ้นทั้งงานออริจินัลและงานลิขสิทธิ์ ทั้งกับไทยและต่างชาติ เรียกว่างานบริษัทของเล่นไทยก็ผ่านมือเรามา 70-80% แล้ว เพราะตอนนั้นโรงงานไม่มีเลย”

แต่เพราะเป็นของใหม่ที่ไม่มีใครคุ้นเคย การจะสร้างความเข้าใจให้กับลูกค้าผลิตภัณฑ์ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเช่นกัน ด้วยมูลค่าที่สูงมากในยุคนั้น การปั้นชิ้นงานในคอมพิวเตอร์ที่ต้องทำแบบแมนวล และเทคนิคการหล่อเรซินที่ต้องเริ่มใหม่เองหมดเลย เรียกว่าสะสมประสบการณ์และชั่วโมงบินผ่านการค้นคว้า ทำงานพัง และทำงานจริงด้วยตัวเองในทุกขั้นตอน

 

อีกเรื่องที่เป็นความท้าทายของคนทำงานของเล่น คือความเข้าใจของคนไทยในตอนนั้น แต่เพราะมีคนในแวดวงที่เข้าใจและรักในศิลปะของเล่น นี่จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่นับว่าเซอร์ไพรส์ทั้งสองเช่นกัน

“จำความรู้สึกของวันแรกที่โพสต์ขายพระพิฆเนศวรได้เลย ตั้งราคา 6,435 บาท แต่ตอนนั้นอาร์ตทอยในบ้านเรามาจากสายสตรีตอาร์ตที่ส่วนใหญ่เป็นงานกราฟิตี้เสียมาก แล้วอาร์ตทอยเป็นแค่ส่วนเสริมในงาน เขาขายกันหลักร้อย แต่เราโพสต์ไปหกพันกว่า ทุกคนก็ฮือฮานะ แล้วก็หมดด้วย เลยกลายเป็นตัวเปิดในที่สุด”

งานวัสดุเป็นอีกเรื่องที่ Kaiju Smuggler ทดลองอยู่เสมอ อย่างตอนแรกที่ทำงานกับวัสดุ Soft Vinyl หลายคนอาจมองแค่ว่าเป็นพลาสติก “แต่ตอนนี้มีเดียมเริ่มไม่มีผลกับอาร์ตทอยแล้ว ขอให้คาแรกเตอร์ดี คอนเซปต์ดี วัสดุก็ควรจะเป็นแบบที่เหมาะกับมันแหละ”


ทั้งสองแบ่งหน้าที่การทำงานอย่างชัดเจนตามที่ตัวเองถนัด อย่างเหรียญที่มีพื้นฐานงานศิลปะจะเก่งในรายละเอียดที่ทำให้รู้สึกว่ามีชีวิต ทั้งเรื่องอารมณ์ การวางท่าทาง หรือแม้แต่องศาในการหันหน้า หลังจากเหรียญขึ้นสเก็ตช์มาแล้ว อัดก็จะมาสานต่อขึ้นแบบทรีดีโพลิกอนโดยยึดจากท่าทางลีลาที่วางไว้ ซึ่งก็ต้องลงรายละเอียดในแต่ละมุมลงไปอีกทั้งเรื่องความคมชัดของมุม ระนาบ การสะท้อนแสง จนกลับไปสู่การผลิตที่เหรียญเป็นคนพัฒนาเทคนิคต่างๆ ในงานวัสดุ

เราขอเรียกว่าเป็นงานคราฟต์ด้วยเครื่องมือและเทคนิคในแบบยุคใหม่

“ตอนแรกที่ทำสี Swirl สีส้ม Sunstorm ซึ่งเป็นองค์แรกที่ทำเทคนิคนี้ แล้วชอบมาก สวยมาก แต่พอโพสต์ปุ๊บไม่มีคนซื้อเลย ใช้เวลานานมากกว่าจะติดตลาด ซึ่งก็ต้องขอบคุณอินฟลูเอนเซอร์ที่ซื้อแล้วไปแชร์ ทำให้เห็นว่าอินฟลูฯ ช่วยได้จริง อย่างจอร์จที่ทำคอนเทนต์วิธีจองให้ทัน มันเลยสนุก คนที่แย่งกันจองก็เป็นเกมของเขาที่อยากสนุกเหมือนกัน”

เมื่อก่อนคนจะมองของเล่นว่าไร้สาระ แล้วคนซื้อสมัยก่อนไม่ได้มองคุณค่าอาร์ติสต์ เขามองมูลค่าของเรซิน ตัวเล็กเรซินน้อยแต่ทำไมต้องสองพัน หรือคนมักให้คุณค่ากับของจากนอกประเทศ อย่างกาจาปองของญี่ปุ่นเหมือนกับการเก็บสะสมของคนไทยในเจนนั้น จนพัฒนาเรื่อยๆ มาเป็นอาร์ตทอย งานเยอะขึ้น มาถึงทุกวันนี้คือ เขาต้องการสะสมศิลปิน ซื้อของที่รู้สึกว่าได้เป็นส่วนหนึ่ง และศิลปินก็ได้ลืมตาอ้าปากขึ้นจากผลงาน”

 

 

IIIi - ของเล่นที่เป็นของขาย

“ตลาดของเล่น งานศิลปะ พระเครื่อง กลายเป็นตลาดเดียวกันไปแล้ว” เหรียญเล่าให้เห็นภาพกว้าง

“คนไม่ได้ซื้อไปเพื่อเก็บแล้ว หลักๆ ที่มันบูมขึ้นมาคือ ของหายากหรือของแรร์ที่มีแค่ไม่กี่ตัว คนเริ่มมีข้อมูลงานกับศิลปิน คนเก็บเหมือนเป็นการลงทุนกลายๆ โดยที่คิดหรือคาดหวังว่าอนาคตราคาจะต้องขึ้น”

 ทั้งสองมองว่า ตลาดของเล่นก็เหมือนกับตลาดของในกระแสนิยมประเภทอื่นที่มีวงรอบเป็นของตัวเอง “ผมมองว่า ถ้าไม่มีโควิด อาร์ตทอยจะบูมก่อนหน้านี้ เริ่มตั้งแต่ 2014 มาจนถึง 2016 เริ่มพีคมาก จากนั้นหัวทิ่มลงหน่อยๆ พอโควิดมาคือขาลงแบบติดพื้นเลย แล้วตอนนี้ก็กลับขึ้นมา แต่เดี๋ยวก็จะลงใหม่ เป็นกระแสแฟชั่นสไตล์ไทย” 

“แต่วงรอบนี้น่าสนใจตรงที่เป็นผู้เล่นใหม่เข้ามาเล่น ไม่ใช่ศิลปิน แต่เป็นคิวเรเตอร์หรือผู้จัดงานศิลปะเข้ามาจัดอีเวนต์ให้กับอาร์ตทอย แล้วก็จะเป็นวงรอบที่สุดท้ายคนที่เก็บงานของศิลปินจริงๆ หรือตัวจริงที่อยู่รอด จะว่าไปทุกปีก็มีคนใหม่เข้ามาตลอด เหมือนอยากมาลองซื้อหวย ผมอยากให้คนโฟกัสว่ามันคือMerchandize มากกว่าอาร์ตทอยเป็นหลัก เพราะอาร์ตทอยคือสิ่งที่ผลิตยากที่สุด แพงที่สุด วุ่นวายที่สุด กำไรน้อยที่สุด ผมคิดว่าควรขยายอย่างอื่นเพิ่มด้วย อย่าโฟกัสแค่อาร์ตทอยอย่างเดียว”

 

เราเห็นวงการรีเซลอาร์ตทอยที่ปั่นกระแสกันหนักมากในช่วงนี้ ข้อที่เป็นประโยชน์อย่างหนึ่งคือเป็นกลไกที่ทำให้ตลาดโต ศิลปินได้รับความสนใจจากผลงานที่ตัวเองทำ และขยายตลาดต่อไปได้อีก แต่ก็ตามมาด้วยความต้องการที่หลากหลาย ทั้งคนที่ซื้อเก็บจริง หรือซื้อเพราะกดยากก็กดซื้อไปก่อนแล้วค่อยปล่อยขายจนคนเก็บตัวจริงไม่มีของแล้วเลิกเก็บไปในที่สุด อย่างไรก็ตาม ที่สำคัญของคนทำงานคือ ตัวตนต้องห้ามทิ้ง ต้องอย่าลืมว่ากำลังทำอะไรอยู่

“หรือถ้าใจรักจริงๆ วันเวลากับลูกค้าก็จะเป็นตัวสกรีนให้เอง เราอาจจะอยู่ไปจนคนเห็นแล้วจำได้ มันเหมือนเปิดเพลงซ้ำๆ ไปเรื่อยๆ คนก็ชอบ ตัวนี้แรกๆ มาอาจจะไม่ฮิต แต่คุณอึดพอหรือเปล่า มันเป็นการพิสูจน์ว่าถึงแม้คุณจะไม่ได้มีเงินพอที่จะเลี้ยงตัวเอง แต่คุณชอบมันพอที่จะอึดจนคนจำตัวนี้ได้ มันเป็นวิธีคิดเดียวกับการสร้างงานศิลปะ”

 

มีปัจจัยที่น่าสนใจที่ส่งผลต่ออาร์ตทอยที่เราคาดไม่ถึง อย่างสเปซของบ้านที่ขนาดเล็กลงก็มีผลต่อไซส์ของเล่น

“อย่างลูกค้าบางคนที่ทำกับเรา เขาจะไม่ยอมทำอะไรที่มีหาง หรือไซส์อยู่ที่ 5-8 นิ้วกำลังดี เพราะชั้นวางของหน้ากว้าง 30 เซนติเมตร บ้านเล็กแบบบ้านญี่ปุ่นก็หมดสิทธิ์ซื้อของเล่นไซส์ใหญ่ แม้แต่อายุของลูกค้าหรือเศรษฐกิจก็มีผล อย่างเศรษฐกิจตกต่ำ ของมูจะยิ่งขายดี แต่ก็เข้าใจว่าเป็นความยึดมั่นทางจิตใจ”

แน่นอนว่าคำถามที่ตามมาหลังจากการขายพระพิฆเนศวรคือการปลุกเสก “สี่สิบองค์แรกที่เราขับไปส่งเอง จำภาพติดตาได้เลยว่าเค้าเปิดกล่องแล้วไหว้งานของเรา ซึ่งจริงๆ ก็มีหลายสาเหตุที่เราไม่ปลุกเสก อย่างบางคนที่อยากได้เป็นงานศิลปะจริงๆ เราจะเน้นเรื่องความรู้สึกหรือดีเทลของงาน มองแล้วกระชุ่มกระชวยจิตใจ หรือถ้าปลุกเสกแล้วบางคนอยากได้สายมืด ก็กลายเป็นว่าไม่ซื้อของเราไปอีก เราเลยขายเป็นองค์เปล่า แล้วคุณจะไปทำอะไรต่อก็แล้วแต่”

 

“ตลกมั้ยว่าคุยกันเรื่องขายของมากกว่าอาร์ตทอยคืออะไร” เหรียญพูดแบบติดตลก

“เพราะเป็นเรื่องกลไกตลาด ซึ่งถ้าจะต้องเปลี่ยนวงการ ต้องเปลี่ยนด้วยการบอกว่าแต่ละชิ้นคืองานศิลปะ เน้นไปเลยว่ามีร้อยตัวในโลก เราครีเอตเอง หล่อมาเอง เพราะฉะนั้นเราต้องตีกรอบให้กับคนที่รักงานของเราจริงๆ ต้องเก็บเขาไว้ให้ได้ แล้วศิลปินก็ต้องสร้างมูลค่าให้เขาอยากเก็บงานด้วย เหมือนศิลปินวาดภาพนั่นแหละ แค่มีเดียมที่ต่างกัน”

อย่างเมื่อก่อน จะมีคำว่า Made in Japan หรือวัสดุซอฟต์ไวนิลที่ถ้าผลิตในญี่ปุ่นก็จะมีชื่อเรียกว่า โซฟุบิ ซึ่งเพิ่มมูลค่าทางการตลาดให้กับงานไปอีก หรือการแบ่งแยกงานทรีดีปรินต์กับงานปั้นมือ แต่อนาคตกำลังจะเปลี่ยนไปอีกขั้น

“อีกหน่อยจะไม่มีแล้วงานมือหรืองานคอม มันจะเหลือแค่คำว่า Human Made กับ AI Made ซึ่งมันก็คือเครื่องมือใหม่ที่คนต้องใช้ให้เป็น จบงานให้ได้ เพราะสุดท้ายแล้วคอมพิวเตอร์ก็คือเครื่องมือ” 

“แต่ใดๆ ก็แล้วแต่ ตอนทำก็สนุกตลอดนะ จนถึงตอนนั่งขายที่คนมาซื้อแล้วชอบ ไปส่งกันเอง ได้คุยได้ฟังฟีดแบ็กตรงจากคนที่ซื้องานของเรา ชอบงานของเรา เราก็รู้สึกเติมเต็ม” อัดทิ้งท้าย



Text:

Nathanich C.

Nathanich C.

PHOTO:

Chanathip K.

Chanathip K.

Related Posts