JW Marriott Hotel Bangkok x PASAYA กับดีไซน์จากวัสดุอัปไซเคิล

JW Marriott Hotel Bangkok x PASAYA กับดีไซน์จากวัสดุอัปไซเคิล

13 ธ.ค. 2566

SHARE WITH:

13 ธ.ค. 2566

13 ธ.ค. 2566

SHARE WITH:

SHARE WITH:

JW Marriott Hotel Bangkok x PASAYA กับดีไซน์จากวัสดุอัปไซเคิล

‘หลังเลิกงานจากทริปธุรกิจกลางเมืองที่วุ่นวาย ห้องพักในโรงแรมคือพื้นที่ที่จะได้เอนกายลงพักผ่อนที่แท้จริง’ จากอินไซต์กลุ่มลูกค้าหลักของโรงแรม JW Marriott Hotel Bangkok เป็นส่วนหนึ่งที่ก่อร่างสร้างดีไซน์ของห้อง Suite 2 ห้องล่าสุดกับ 2 สไตล์ – Nature Suite กลิ่นอายธรรมชาติ และ Serenity Suite กลิ่นอายดอกไม้ ที่มอบอ้อมกอดแสนสบายบนโลเคชั่นในกลางเมือง

เราเดินผ่านประตูเข้าห้องมา พบกับดีไซน์ภายในห้องและแมทีเรียลทุกชิ้นที่ถูกออกแบบมาอย่างดีในทุกมุม ผืนผ้าตกแต่งผนังที่ถักทอเป็นลวดลายที่บิลต์บรรยากาศตั้งแต่ห้องรับแขกจนเข้าไปถึงส่วนห้องนอน โซฟานั่งสบายกับผืนพรมแสนนุ่มในสีที่เข้ากัน หรือแม้แต่ผ้าม่านกรองแสงและทึบแสงที่เติมบรรยากาศให้กับห้อง จนแทบไม่รู้เลยว่าทั้งหมดนี้คือผลงานดีไซน์จากผืนผ้าอัปไซเคิลโดยฝีมือของ PASAYA


“มันเริ่มจากที่ว่า โรงแรมของเรามีค่านิยมหลักคือ ความอบอุ่น ความตั้งใจ ความเป็นธรรมชาติ และความสุข” คุณทะยิตา ยังเจริญ ผู้ช่วยผู้อำนวยการในเครือฝ่ายอีคอมเมิร์ชและการตลาดดิจิทัล ของ JW Marriott Hotel Bangkok เริ่มต้นเล่าถึงความร่วมมือในครั้งนี้

“เราอยากให้ค่านิยมและความตั้งใจนี้ส่งต่อถึงผู้เข้าพัก แล้วทำอย่างไรล่ะให้ลูกค้าได้สัมผัสกับค่านิยมนี้? พอเราได้พบกับ PASAYA ซึ่งมีวิสัยทัศน์ที่ตรงกัน และที่สำคัญคือเป็นแบรนด์คนไทย พอมาคุยกันว่าวิสัยทัศน์ของแต่ละคนเป็นอย่างไร เราเลยได้เป็นธีมของสองห้องนี้ออกมา เพราะนี่คือความตั้งใจของเราที่อยากสร้างสรรค์แรงบันดาลใจในการใช้ชีวิตของผู้คน”

ในส่วนของ PASAYA เอง ก็จริงจังกับการทำงานด้านความยั่งยืนมาตลอด โดยเฉพาะกับปีนี้ที่โฟกัสเป็นพิเศษในเรื่องวัสดุอัปไซเคิลให้เป็นสิ่งทอที่สามารถใช้งานในบ้านได้ (Home Textile) จากวัสดุตั้งต้นขวดพลาสติก PET


“การพัฒนาผลิตภัณฑ์ของเราไม่ใช่แค่ว่าวัสดุรักษ์โลกแล้วจบ แต่เรามองไปถึงว่าใช้เสร็จแล้วจะไปทางไหนต่อ เรามองแบบเป็นวัฏจักร” คุณพิชชา ภัทรปิติตานนท์ ผู้จัดการฝ่ายการตลาด ของ PASAYA เล่าให้เราเห็นภาพชัดเจนขึ้นผ่านตัวอย่างการทำงานในห้องสวีททั้งสองห้องนี้

“อย่าง Wall Mural หรือผ้าตกแต่งผนัง ปกติเราจะเคยชินกับวอลล์เปเปอร์ที่ลอกออกมาแล้วเป็นขยะทันที เพราะทำจากกระดาษ แต่ผ้าผืนนี้สามารถลอกออกมาแล้วคงสภาพเป็นแผ่นเท่าเดิม แล้วเอาไปทำเป็นกระเป๋าได้อีกรอบหนึ่งโดยไม่เป็นขยะเหลือทิ้ง” 

นี่เป็นแค่ตัวอย่าง เรากำลังจะพาคุณเข้าสู่โลกที่วัสดุยั่งยืนไม่จำเป็นต้องดูออกว่าเป็นของเวียนกลับมาใช้ใหม่อีกต่อไป

 

นวัตกรรมวัสดุสิ่งทอรักษ์โลกจากความร่วมมือของสองอุตสาหกรรม

“จริงๆ PASAYA แฮปปี้มากกับโปรเจกต์นี้นะ เพราะเราก็อยากให้คนรับรู้ว่าจริงๆ แล้ววัสดุอัปไซเคิลก็ทำให้สวยได้นะ” การพัฒนาผลิตภัณฑ์ครั้งนี้จึงเป็นเหมือนกับการสร้างสรรค์นวัตกรรมที่ผู้ผลิตได้พบกับอินไซต์ความต้องการของผู้ใช้งานได้โดยตรง

“ทุกวันนี้ทุกคนรับรู้แล้วว่าเราจะต้องตระหนักถึงเรื่องความยั่งยืน แต่ทุกคนยังมีทัศนคติที่ไม่ดีกับวัสดุอัปไซเคิลว่ามันทำมาจากขยะ แต่พอเขาได้เห็นวัสดุจริงๆ แล้ว มันคือเทียบเท่ากับของปกติเลย ทั้งสัมผัส ความทนทาน และความสวยงาม ทั้งสวยด้วยและยั่งยืนด้วย” คุณพิชชาเล่าในเรื่องราวของวัสดุ ก่อนจะมาพบกับความท้าทายอีกบทคือ มาตรฐานระดับนานาชาติของเครือโรงแรม Marriott ที่จะต้องรักษาให้เท่ากันทั่วทุกมุมโลก

“ลูกค้าของเราส่วนมากเป็นชาวต่างชาติเกือบ 95% เราเลยอยากเอาแบรนด์สัญชาติไทยเข้ามาอยู่ในสภาพแวดล้อมในแบบอินเตอร์ ให้ลูกค้าชาวต่างชาติได้เข้ามาสัมผัส ให้เขาได้รู้ว่าของคนไทยนี่ดีนะ มันตอบโจทย์เข้าถึงความสะดวกของเขาได้ และนั่นเป็นเหตุผลที่เราเลือกคอลแลบกับ PASAYA” คุณทะยิตาแชร์ให้ฟังในแง่ขององค์กร


“เพราะห้องนี้ไม่ได้เป็นการรีโนเวต แต่เป็นเหมือนการเปลี่ยนหน้าตาของห้องตามโครงสร้างเดิมที่มีอยู่แล้ว ทั้งหมดจึงต้องเป็นไปตามมาตรฐานของแบรนด์ ยกตัวอย่างเช่นผ้าม่าน พรม และผ้าตกแต่งผนัง จะต้องเคลือบสารกันไฟลามให้เป็นไปตามมาตรฐานด้านความปลอดภัย เพราะฉะนั้นก็มีหลายขั้นตอนที่ทาง PASAYA จะต้องทำเพิ่มขึ้น”

ถึงแม้ว่าแต่ละฝั่งต่างก็มีเงื่อนไขเป็นของตัวเองอยู่ แต่การเอาข้อมูลเหล่านี้มาแลกเปลี่ยนกัน นี่หัวใจของการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ “เหมือนกับเป็นนวัตกรรมทางผลิตภัณฑ์ที่ถูกพัฒนาต่อไปให้เหนือกว่าคุณภาพที่เราต้องการไปอีก” คุณทะยิตาสรุป

จนออกมาได้เป็นห้องพัก 2 สไตล์ โดยเริ่มห้องแรกจาก Nature Suite มาดเข้มที่มาจากค่านิยมของ Marriott และการสนับสนุนมูลนิธิสัตว์ป่าของ PASAYA แล้วจึงคิดต่อมาเป็นห้องที่สองที่อ่อนหวานละมุนขึ้นอีกนิดในธีมดอกไม้ จนกลายเป็นดีไซน์ของห้อง Serenity Suite

 


การทำงานเพื่อความยั่งยืนผ่านบริการของ Marriott และสินค้าของ PASAYA

เมื่อความยั่งยืนเป็นหัวเรื่องหลักของงานด้านความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและโลกในฐานะองค์กร อย่างที่บอกไปข้างต้นว่าทั้งสองต่างก็มีวิสัยทัศน์ต่อเรื่องความยั่งยืนที่ดำเนินไปในแนวทางเดียวกัน ทั้งในผลิตภัณฑ์และตลอดกระบวนการทำงาน

“เพราะเป็นโรงแรมระดับนานาชาติก็จะท้าทายไปในอีกระดับหนึ่ง” คุณทะยิตาให้เห็นภาพของนโยบายในทางปฏิบัติและประสบการณ์ของ JW Marriott Hotel Bangkok


“เราคิดว่า ผู้เข้าพักต้องได้อะไรบางอย่างจากการพักกับเรามากกว่าการได้รับความสะดวกสบายแบบลักชัวรี่ในระดับนานาชาติ เราจึงสร้างสรรค์กิจกรรมไฮไลต์เพื่อช่วงเวลาพิเศษอย่างมีคุณภาพ เช่น JW Garden สวนผักใจกลางเมืองที่กลับไปเป็นวัตถุดิบสำหรับรังสรรค์จานอาหาร, Responsible Seafood Program มาตรฐานอาหารทะเลที่ยั่งยืนโดยผู้จำหน่ายอาหารทะเลที่ได้รับการรับรอง หรือ Family by JW สำหรับครอบครัวที่เข้าพักได้ทำกิจกรรมร่วมกัน นั่นแปลว่าแต่ละโปรแกรม เราจะมีการสอดแทรกแนวทางปฏิบัติเพื่อสิ่งแวดล้อมในทุกกิจกรรม”

“อย่างแขกที่เข้ามาในห้องนี้ เขาจะได้รับรู้เรื่องราวของผลิตภัณฑ์และแนวความคิดทั้งหมดในห้องผ่านทางการสแกน QR Code ซึ่งก็เป็นเหมือนกับจุดหนึ่งที่องค์กรอย่าง JW Marriott Hotel Bangkok อยากเป็นสื่อกลางที่ช่วยให้ผลิตภัณฑ์อัปไซเคิลและกระบวนการผลิตเข้าถึงผู้คนได้ง่ายขึ้น”

 

คุณพิชชาเล่าเสริมในแง่ผลิตภัณฑ์ในห้องสวีททั้งสองนี้ที่จะสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับช่วงเวลาพักผ่อน “สิ่งที่ผู้เข้าพักห้องนี้จะได้รับกลับไปแน่นอนคือ สุขภาวะที่ดี เพราะผลิตภัณฑ์ของ PASAYA ของเราปลอดจากฟอร์มัลดีไฮด์ ที่แม้กระทั่งเด็กแรกเกิดก็ใช้งานได้ พร้อมกับประสบการณ์เข้าพักผ่านดีไซน์ที่ได้ความพิเศษในบรรยากาศที่แตกต่างออกไปจากที่อื่น”

นอกจากความยั่งยืนจะสอดแทรกในผลิตภัณฑ์แล้ว เบื้องหลังทำงานขององค์กรก็คำนึงถึงความยั่งยืนตลอดกระบวนการ “อุตสาหกรรมสิ่งทออย่างที่ทุกคนรู้กันว่าสร้างคาร์บอนฟุตปรินต์เยอะมาก ตั้งแต่ทำโรงงานเราจึงต้องคำนึงถึงทั้งคนและสัตว์รอบๆ โรงงาน”

“ภายในโรงงานเราจะไม่ใช้สารเคมีที่มีส่วนผสมของโลหะหนัก มีการบำบัดน้ำจากการย้อมถึง 3 ครั้งก่อนใช้เป็นน้ำที่รดต้นไม้ภายในโรงงาน และอีกแง่หนึ่งของความยั่งยืน คือเรื่องของคน เราทำโรงปลูกหม่อนเลี้ยงไหม และกับการทำงานกับวัสดุตั้งต้นชนิดใหม่ที่เป็นขยะ ซึ่งพนักงานในโรงงานก็คือคนในชุมชนรอบๆ นอกจากจะช่วยลดขยะบนโลกนี้แล้ว ยังเป็นการสร้างงานสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชนด้วย”


“หลังจากที่โปรเจกต์นี้ออกไป เราหวังว่าคนจะหันมาใช้วัสดุอัปไซเคิลกันมากขึ้น แล้วเราก็ช่วยลดขยะบนโลกนี้ได้ด้วย เหมือนกับขยะได้มีชีวิตคุ้มค่าของเขา” คุณพิชชาสรุปโดยมีคุณทะยิตาเสริม

“เพราะฉะนั้นเราคิดว่า การที่จะทำให้ผู้มาพักอยู่แล้วสบายทั้งจิตใจและร่างกาย มันคือสิ่งที่เราต้องสร้างแรงบันดาลใจให้กับแขก สร้างความสร้างสรรค์ สร้างความสบาย และสร้างแรงบันดาลใจ ให้เขาได้เอาประสบการณ์ทั้งหมดกลับไปทบทวน และสร้างสิ่งดีๆ ต่อไปให้กับโลกผ่านการใช้ชีวิตประจำวันได้”




‘หลังเลิกงานจากทริปธุรกิจกลางเมืองที่วุ่นวาย ห้องพักในโรงแรมคือพื้นที่ที่จะได้เอนกายลงพักผ่อนที่แท้จริง’ จากอินไซต์กลุ่มลูกค้าหลักของโรงแรม JW Marriott Hotel Bangkok เป็นส่วนหนึ่งที่ก่อร่างสร้างดีไซน์ของห้อง Suite 2 ห้องล่าสุดกับ 2 สไตล์ – Nature Suite กลิ่นอายธรรมชาติ และ Serenity Suite กลิ่นอายดอกไม้ ที่มอบอ้อมกอดแสนสบายบนโลเคชั่นในกลางเมือง

เราเดินผ่านประตูเข้าห้องมา พบกับดีไซน์ภายในห้องและแมทีเรียลทุกชิ้นที่ถูกออกแบบมาอย่างดีในทุกมุม ผืนผ้าตกแต่งผนังที่ถักทอเป็นลวดลายที่บิลต์บรรยากาศตั้งแต่ห้องรับแขกจนเข้าไปถึงส่วนห้องนอน โซฟานั่งสบายกับผืนพรมแสนนุ่มในสีที่เข้ากัน หรือแม้แต่ผ้าม่านกรองแสงและทึบแสงที่เติมบรรยากาศให้กับห้อง จนแทบไม่รู้เลยว่าทั้งหมดนี้คือผลงานดีไซน์จากผืนผ้าอัปไซเคิลโดยฝีมือของ PASAYA


“มันเริ่มจากที่ว่า โรงแรมของเรามีค่านิยมหลักคือ ความอบอุ่น ความตั้งใจ ความเป็นธรรมชาติ และความสุข” คุณทะยิตา ยังเจริญ ผู้ช่วยผู้อำนวยการในเครือฝ่ายอีคอมเมิร์ชและการตลาดดิจิทัล ของ JW Marriott Hotel Bangkok เริ่มต้นเล่าถึงความร่วมมือในครั้งนี้

“เราอยากให้ค่านิยมและความตั้งใจนี้ส่งต่อถึงผู้เข้าพัก แล้วทำอย่างไรล่ะให้ลูกค้าได้สัมผัสกับค่านิยมนี้? พอเราได้พบกับ PASAYA ซึ่งมีวิสัยทัศน์ที่ตรงกัน และที่สำคัญคือเป็นแบรนด์คนไทย พอมาคุยกันว่าวิสัยทัศน์ของแต่ละคนเป็นอย่างไร เราเลยได้เป็นธีมของสองห้องนี้ออกมา เพราะนี่คือความตั้งใจของเราที่อยากสร้างสรรค์แรงบันดาลใจในการใช้ชีวิตของผู้คน”

ในส่วนของ PASAYA เอง ก็จริงจังกับการทำงานด้านความยั่งยืนมาตลอด โดยเฉพาะกับปีนี้ที่โฟกัสเป็นพิเศษในเรื่องวัสดุอัปไซเคิลให้เป็นสิ่งทอที่สามารถใช้งานในบ้านได้ (Home Textile) จากวัสดุตั้งต้นขวดพลาสติก PET


“การพัฒนาผลิตภัณฑ์ของเราไม่ใช่แค่ว่าวัสดุรักษ์โลกแล้วจบ แต่เรามองไปถึงว่าใช้เสร็จแล้วจะไปทางไหนต่อ เรามองแบบเป็นวัฏจักร” คุณพิชชา ภัทรปิติตานนท์ ผู้จัดการฝ่ายการตลาด ของ PASAYA เล่าให้เราเห็นภาพชัดเจนขึ้นผ่านตัวอย่างการทำงานในห้องสวีททั้งสองห้องนี้

“อย่าง Wall Mural หรือผ้าตกแต่งผนัง ปกติเราจะเคยชินกับวอลล์เปเปอร์ที่ลอกออกมาแล้วเป็นขยะทันที เพราะทำจากกระดาษ แต่ผ้าผืนนี้สามารถลอกออกมาแล้วคงสภาพเป็นแผ่นเท่าเดิม แล้วเอาไปทำเป็นกระเป๋าได้อีกรอบหนึ่งโดยไม่เป็นขยะเหลือทิ้ง” 

นี่เป็นแค่ตัวอย่าง เรากำลังจะพาคุณเข้าสู่โลกที่วัสดุยั่งยืนไม่จำเป็นต้องดูออกว่าเป็นของเวียนกลับมาใช้ใหม่อีกต่อไป

 

นวัตกรรมวัสดุสิ่งทอรักษ์โลกจากความร่วมมือของสองอุตสาหกรรม

“จริงๆ PASAYA แฮปปี้มากกับโปรเจกต์นี้นะ เพราะเราก็อยากให้คนรับรู้ว่าจริงๆ แล้ววัสดุอัปไซเคิลก็ทำให้สวยได้นะ” การพัฒนาผลิตภัณฑ์ครั้งนี้จึงเป็นเหมือนกับการสร้างสรรค์นวัตกรรมที่ผู้ผลิตได้พบกับอินไซต์ความต้องการของผู้ใช้งานได้โดยตรง

“ทุกวันนี้ทุกคนรับรู้แล้วว่าเราจะต้องตระหนักถึงเรื่องความยั่งยืน แต่ทุกคนยังมีทัศนคติที่ไม่ดีกับวัสดุอัปไซเคิลว่ามันทำมาจากขยะ แต่พอเขาได้เห็นวัสดุจริงๆ แล้ว มันคือเทียบเท่ากับของปกติเลย ทั้งสัมผัส ความทนทาน และความสวยงาม ทั้งสวยด้วยและยั่งยืนด้วย” คุณพิชชาเล่าในเรื่องราวของวัสดุ ก่อนจะมาพบกับความท้าทายอีกบทคือ มาตรฐานระดับนานาชาติของเครือโรงแรม Marriott ที่จะต้องรักษาให้เท่ากันทั่วทุกมุมโลก

“ลูกค้าของเราส่วนมากเป็นชาวต่างชาติเกือบ 95% เราเลยอยากเอาแบรนด์สัญชาติไทยเข้ามาอยู่ในสภาพแวดล้อมในแบบอินเตอร์ ให้ลูกค้าชาวต่างชาติได้เข้ามาสัมผัส ให้เขาได้รู้ว่าของคนไทยนี่ดีนะ มันตอบโจทย์เข้าถึงความสะดวกของเขาได้ และนั่นเป็นเหตุผลที่เราเลือกคอลแลบกับ PASAYA” คุณทะยิตาแชร์ให้ฟังในแง่ขององค์กร


“เพราะห้องนี้ไม่ได้เป็นการรีโนเวต แต่เป็นเหมือนการเปลี่ยนหน้าตาของห้องตามโครงสร้างเดิมที่มีอยู่แล้ว ทั้งหมดจึงต้องเป็นไปตามมาตรฐานของแบรนด์ ยกตัวอย่างเช่นผ้าม่าน พรม และผ้าตกแต่งผนัง จะต้องเคลือบสารกันไฟลามให้เป็นไปตามมาตรฐานด้านความปลอดภัย เพราะฉะนั้นก็มีหลายขั้นตอนที่ทาง PASAYA จะต้องทำเพิ่มขึ้น”

ถึงแม้ว่าแต่ละฝั่งต่างก็มีเงื่อนไขเป็นของตัวเองอยู่ แต่การเอาข้อมูลเหล่านี้มาแลกเปลี่ยนกัน นี่หัวใจของการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ “เหมือนกับเป็นนวัตกรรมทางผลิตภัณฑ์ที่ถูกพัฒนาต่อไปให้เหนือกว่าคุณภาพที่เราต้องการไปอีก” คุณทะยิตาสรุป

จนออกมาได้เป็นห้องพัก 2 สไตล์ โดยเริ่มห้องแรกจาก Nature Suite มาดเข้มที่มาจากค่านิยมของ Marriott และการสนับสนุนมูลนิธิสัตว์ป่าของ PASAYA แล้วจึงคิดต่อมาเป็นห้องที่สองที่อ่อนหวานละมุนขึ้นอีกนิดในธีมดอกไม้ จนกลายเป็นดีไซน์ของห้อง Serenity Suite

 


การทำงานเพื่อความยั่งยืนผ่านบริการของ Marriott และสินค้าของ PASAYA

เมื่อความยั่งยืนเป็นหัวเรื่องหลักของงานด้านความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและโลกในฐานะองค์กร อย่างที่บอกไปข้างต้นว่าทั้งสองต่างก็มีวิสัยทัศน์ต่อเรื่องความยั่งยืนที่ดำเนินไปในแนวทางเดียวกัน ทั้งในผลิตภัณฑ์และตลอดกระบวนการทำงาน

“เพราะเป็นโรงแรมระดับนานาชาติก็จะท้าทายไปในอีกระดับหนึ่ง” คุณทะยิตาให้เห็นภาพของนโยบายในทางปฏิบัติและประสบการณ์ของ JW Marriott Hotel Bangkok


“เราคิดว่า ผู้เข้าพักต้องได้อะไรบางอย่างจากการพักกับเรามากกว่าการได้รับความสะดวกสบายแบบลักชัวรี่ในระดับนานาชาติ เราจึงสร้างสรรค์กิจกรรมไฮไลต์เพื่อช่วงเวลาพิเศษอย่างมีคุณภาพ เช่น JW Garden สวนผักใจกลางเมืองที่กลับไปเป็นวัตถุดิบสำหรับรังสรรค์จานอาหาร, Responsible Seafood Program มาตรฐานอาหารทะเลที่ยั่งยืนโดยผู้จำหน่ายอาหารทะเลที่ได้รับการรับรอง หรือ Family by JW สำหรับครอบครัวที่เข้าพักได้ทำกิจกรรมร่วมกัน นั่นแปลว่าแต่ละโปรแกรม เราจะมีการสอดแทรกแนวทางปฏิบัติเพื่อสิ่งแวดล้อมในทุกกิจกรรม”

“อย่างแขกที่เข้ามาในห้องนี้ เขาจะได้รับรู้เรื่องราวของผลิตภัณฑ์และแนวความคิดทั้งหมดในห้องผ่านทางการสแกน QR Code ซึ่งก็เป็นเหมือนกับจุดหนึ่งที่องค์กรอย่าง JW Marriott Hotel Bangkok อยากเป็นสื่อกลางที่ช่วยให้ผลิตภัณฑ์อัปไซเคิลและกระบวนการผลิตเข้าถึงผู้คนได้ง่ายขึ้น”

 

คุณพิชชาเล่าเสริมในแง่ผลิตภัณฑ์ในห้องสวีททั้งสองนี้ที่จะสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับช่วงเวลาพักผ่อน “สิ่งที่ผู้เข้าพักห้องนี้จะได้รับกลับไปแน่นอนคือ สุขภาวะที่ดี เพราะผลิตภัณฑ์ของ PASAYA ของเราปลอดจากฟอร์มัลดีไฮด์ ที่แม้กระทั่งเด็กแรกเกิดก็ใช้งานได้ พร้อมกับประสบการณ์เข้าพักผ่านดีไซน์ที่ได้ความพิเศษในบรรยากาศที่แตกต่างออกไปจากที่อื่น”

นอกจากความยั่งยืนจะสอดแทรกในผลิตภัณฑ์แล้ว เบื้องหลังทำงานขององค์กรก็คำนึงถึงความยั่งยืนตลอดกระบวนการ “อุตสาหกรรมสิ่งทออย่างที่ทุกคนรู้กันว่าสร้างคาร์บอนฟุตปรินต์เยอะมาก ตั้งแต่ทำโรงงานเราจึงต้องคำนึงถึงทั้งคนและสัตว์รอบๆ โรงงาน”

“ภายในโรงงานเราจะไม่ใช้สารเคมีที่มีส่วนผสมของโลหะหนัก มีการบำบัดน้ำจากการย้อมถึง 3 ครั้งก่อนใช้เป็นน้ำที่รดต้นไม้ภายในโรงงาน และอีกแง่หนึ่งของความยั่งยืน คือเรื่องของคน เราทำโรงปลูกหม่อนเลี้ยงไหม และกับการทำงานกับวัสดุตั้งต้นชนิดใหม่ที่เป็นขยะ ซึ่งพนักงานในโรงงานก็คือคนในชุมชนรอบๆ นอกจากจะช่วยลดขยะบนโลกนี้แล้ว ยังเป็นการสร้างงานสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชนด้วย”


“หลังจากที่โปรเจกต์นี้ออกไป เราหวังว่าคนจะหันมาใช้วัสดุอัปไซเคิลกันมากขึ้น แล้วเราก็ช่วยลดขยะบนโลกนี้ได้ด้วย เหมือนกับขยะได้มีชีวิตคุ้มค่าของเขา” คุณพิชชาสรุปโดยมีคุณทะยิตาเสริม

“เพราะฉะนั้นเราคิดว่า การที่จะทำให้ผู้มาพักอยู่แล้วสบายทั้งจิตใจและร่างกาย มันคือสิ่งที่เราต้องสร้างแรงบันดาลใจให้กับแขก สร้างความสร้างสรรค์ สร้างความสบาย และสร้างแรงบันดาลใจ ให้เขาได้เอาประสบการณ์ทั้งหมดกลับไปทบทวน และสร้างสิ่งดีๆ ต่อไปให้กับโลกผ่านการใช้ชีวิตประจำวันได้”




Text:

Nathanich C.

Nathanich C.

PHOTO:

Krit P.

Krit P.

Related Posts