GRAYOON HOUSE เกยูรเฮ้าส์ ห้องพักบ้านคุณย่า ที่เปิดต้อนรับเพื่อนๆ ที่มาเยือนตาคลี

GRAYOON HOUSE เกยูรเฮ้าส์ ห้องพักบ้านคุณย่า ที่เปิดต้อนรับเพื่อนๆ ที่มาเยือนตาคลี

31 มี.ค. 2567

SHARE WITH:

31 มี.ค. 2567

31 มี.ค. 2567

SHARE WITH:

SHARE WITH:

GRAYOON HOUSE เกยูรเฮ้าส์ ห้องพักบ้านคุณย่า ที่เปิดต้อนรับเพื่อนๆ ที่มาเยือนตาคลี

“ผมตั้งใจว่า จะเปิดร้านอาหารเป็นของตัวเองที่บ้านเกิด แล้วรู้สึกว่า ถ้าเพื่อนเรามาบ้าน เราก็อยากมีห้องนอนให้เพื่อน”

เชฟปาร์ค - ภัทรวิทย์ จันทร์ไทย เกริ่นถึงจุดเริ่มต้นของ GRAYOON HOUSE คาเฟ่ ร้านอาหาร และโรงแรมขนาด 3 ห้อง บนผืนดินของบ้านที่เขาเกิดและเติบโตในอำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์

หลังผ่านประสบการณ์การทำงานเชฟอย่างโชกโชนในเมืองใหญ่ ถึงเวลาที่เชฟปาร์คได้กลับมาบ้าน และริเริ่มโปรเจกต์โดยใช้ชื่อของคุณย่ามาเป็นชื่อของโครงการ “ผมอยากรู้ต่อว่าเกยูรแปลว่าอะไร มันแปลว่า สร้อยข้อมือ กำไล”

พอเราตกผลึกได้ว่า เราอยากทำโรงแรมหรือบ้านเราให้รู้สึกอบอุ่น เลยกลายเป็นว่า เอาชื่อคุณย่ามาตั้งดีกว่า ให้รู้สึกเหมือนกับเป็นบ้านของคุณเกยูร ซึ่งในเกยูรเฮ้าส์จะมีอะไรข้างในบ้าง มันก็ไม่ได้ชื่อเฉพาะเจาะจงแบบ ปาร์คโฮเทล หรือปาร์คโภชนา เราอยากให้เป็นโปรเจกต์ที่รู้สึกอบอุ่น”


 เพราะเป็นพื้นที่บ้านเดิมที่เกิดและเติบโตตรงนี้ ทั้งความผูกพันกับพื้นที่ และความต้องการเปิดบ้านต้อนรับอย่างอบอุ่นจึงเป็นที่มาของโปรเจกต์ที่เป็นทั้งร้านกาแฟในช่วงกลางวัน ร้านอาหารตามใจเชฟปาร์ค และที่พักหลังอิ่มท้องอิ่มใจ

“จริงๆ โรงแรมมีเยอะนะ” เชฟปาร์คเริ่มต้นเล่าในส่วนของโรงแรมที่เกิดขึ้นจากการแก้ปัญหา “แต่แค่รู้สึกว่า ในเมื่อเราจะมีบ้านแล้ว ไหนๆ ก็ต้องทำห้องเผื่อเพื่อนมา เราก็ทำแบบที่เราชอบเลย แล้ววันไหนไม่ได้มีเพื่อนมานอน เราก็ให้คนอื่นมานอน มันก็เป็นรายได้ของเรา มันเริ่มต้นจากการคิดแค่นี้ครับ”


สไตล์ที่ชอบของเชฟปาร์คคือสไตล์ลอฟต์ ในกลิ่นอายวินเทจโมเดิร์น ที่เขาออกแบบเองทั้งหมดในส่วนของงานอินทีเรียร์ โดยได้พ่อตาที่ชอบทำงานไม้เป็นผู้สร้างสรรค์เฟอร์นิเจอร์ไม้ทุกตัวภายในคาเฟ่และโรงแรม รวมถึงประตูไม้บานหมุนบานใหญ่ที่เหมือนเป็นซิกเนเจอร์ของที่นี่ไปแล้ว “ยิ่งไม้สีดำ ต่างจังหวัดไม่ฮิต อันนี้เป็นมะค่าแต้ที่เป็นสีดำที่ไม่มีใครชอบมันเลยราคาถูก แต่โครงแพงมากนะเพราะต้องรับน้ำหนัก” เชฟปาร์คพูดติดตลก

“มันเลยกลายเป็นเหมือนเราไม่ได้เปิดโรงแรมเพื่อนักท่องเที่ยว เราแค่คิดว่าถ้าวันหนึ่งมีคนกลับมางานแต่ง แล้วต้องหาโรงแรมนอน ถ้ามันจะมีห้องดีๆ สำหรับพักผ่อนล่ะ มันก็ไม่ได้เป็นอะไรนี่นา เขาอาจจะไม่ได้อยากเที่ยวก็ได้ เช่นผมเป็นต้น หมายถึงว่า มีห้องดีเตียงสบาย มันอาจจะมีคนแบบนี้”

สามห้องนอน บนพื้นที่อาคารสามชั้น ทอดสายตาออกไปเห็นวิวรางรถไฟและวัดตาคลี นอกจากจะบรรยากาศดี ห้องพักยังออกแบบให้มีฟังก์ชั่นในแบบที่ตัวเองชอบ เหมือนกับใส่ความต้องการของผู้พักจริงเอาไว้ในห้องนี้ อย่างห้องใหญ่สุดที่มีอ่างจากุชชี่อยู่กลางห้อง “เพราะแฟนชอบแช่น้ำ” หรือการจัดสรรฟังก์ชั่นภายในห้อง ก็ทำให้ห้องพักนี้เป็นได้ทั้งห้องพักชั่วคราว หรือจะเป็นแบบ Long Stay อยู่ยาวก็อยู่สบาย

เชฟปาร์คยกตัวอย่างใกล้ตัวจากการใช้บริการจริง “อย่างกินอาหารแล้วดื่มไม่ขับ ก็มีห้องนอนให้ หรือลูกค้ามีอายุส่วนใหญ่ที่อยากมาไหว้พระวัดดังๆ ที่ตาคลี เขาก็อาจจะขับรถมาวันเสาร์ กินข้าวเย็น ตื่นมาวันอาทิตย์กินกาแฟกินขนม แวะไหว้พระ แล้วขับรถกลับกรุงเทพฯ​ ที่นี่เหมือนเป็นที่พักผ่อนสุดสัปดาห์”


“ในวันที่เป็นเกยูรเฮ้าส์ เราเริ่มมาจากความเป็น Homey ความอบอุ่นแบบบ้านคุณย่า โรงแรมนี้เลยบริการแบบเป็นกันเอง ง่ายๆ อบอุ่น ทุกอย่างถึงกันได้หมด เพราะถ้าสุดท้ายแล้ว ไม่มีใครมากินคาเฟ่ผมเลยสักคน ไม่มีใครมานอนโรงแรม ที่นี่ก็ยังเป็นบ้านของผมอยู่ดี ถ้ามีบ้านสวยก็ไม่เป็นไรนี่” เชฟปาร์คพูดทิ้งท้ายแบบติดตลก แต่ก็ยังอบอุ่น และพร้อมต้อนรับเพื่อนของบ้านเกยูรทุกคน

 

 

“ผมตั้งใจว่า จะเปิดร้านอาหารเป็นของตัวเองที่บ้านเกิด แล้วรู้สึกว่า ถ้าเพื่อนเรามาบ้าน เราก็อยากมีห้องนอนให้เพื่อน”

เชฟปาร์ค - ภัทรวิทย์ จันทร์ไทย เกริ่นถึงจุดเริ่มต้นของ GRAYOON HOUSE คาเฟ่ ร้านอาหาร และโรงแรมขนาด 3 ห้อง บนผืนดินของบ้านที่เขาเกิดและเติบโตในอำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์

หลังผ่านประสบการณ์การทำงานเชฟอย่างโชกโชนในเมืองใหญ่ ถึงเวลาที่เชฟปาร์คได้กลับมาบ้าน และริเริ่มโปรเจกต์โดยใช้ชื่อของคุณย่ามาเป็นชื่อของโครงการ “ผมอยากรู้ต่อว่าเกยูรแปลว่าอะไร มันแปลว่า สร้อยข้อมือ กำไล”

พอเราตกผลึกได้ว่า เราอยากทำโรงแรมหรือบ้านเราให้รู้สึกอบอุ่น เลยกลายเป็นว่า เอาชื่อคุณย่ามาตั้งดีกว่า ให้รู้สึกเหมือนกับเป็นบ้านของคุณเกยูร ซึ่งในเกยูรเฮ้าส์จะมีอะไรข้างในบ้าง มันก็ไม่ได้ชื่อเฉพาะเจาะจงแบบ ปาร์คโฮเทล หรือปาร์คโภชนา เราอยากให้เป็นโปรเจกต์ที่รู้สึกอบอุ่น”


 เพราะเป็นพื้นที่บ้านเดิมที่เกิดและเติบโตตรงนี้ ทั้งความผูกพันกับพื้นที่ และความต้องการเปิดบ้านต้อนรับอย่างอบอุ่นจึงเป็นที่มาของโปรเจกต์ที่เป็นทั้งร้านกาแฟในช่วงกลางวัน ร้านอาหารตามใจเชฟปาร์ค และที่พักหลังอิ่มท้องอิ่มใจ

“จริงๆ โรงแรมมีเยอะนะ” เชฟปาร์คเริ่มต้นเล่าในส่วนของโรงแรมที่เกิดขึ้นจากการแก้ปัญหา “แต่แค่รู้สึกว่า ในเมื่อเราจะมีบ้านแล้ว ไหนๆ ก็ต้องทำห้องเผื่อเพื่อนมา เราก็ทำแบบที่เราชอบเลย แล้ววันไหนไม่ได้มีเพื่อนมานอน เราก็ให้คนอื่นมานอน มันก็เป็นรายได้ของเรา มันเริ่มต้นจากการคิดแค่นี้ครับ”


สไตล์ที่ชอบของเชฟปาร์คคือสไตล์ลอฟต์ ในกลิ่นอายวินเทจโมเดิร์น ที่เขาออกแบบเองทั้งหมดในส่วนของงานอินทีเรียร์ โดยได้พ่อตาที่ชอบทำงานไม้เป็นผู้สร้างสรรค์เฟอร์นิเจอร์ไม้ทุกตัวภายในคาเฟ่และโรงแรม รวมถึงประตูไม้บานหมุนบานใหญ่ที่เหมือนเป็นซิกเนเจอร์ของที่นี่ไปแล้ว “ยิ่งไม้สีดำ ต่างจังหวัดไม่ฮิต อันนี้เป็นมะค่าแต้ที่เป็นสีดำที่ไม่มีใครชอบมันเลยราคาถูก แต่โครงแพงมากนะเพราะต้องรับน้ำหนัก” เชฟปาร์คพูดติดตลก

“มันเลยกลายเป็นเหมือนเราไม่ได้เปิดโรงแรมเพื่อนักท่องเที่ยว เราแค่คิดว่าถ้าวันหนึ่งมีคนกลับมางานแต่ง แล้วต้องหาโรงแรมนอน ถ้ามันจะมีห้องดีๆ สำหรับพักผ่อนล่ะ มันก็ไม่ได้เป็นอะไรนี่นา เขาอาจจะไม่ได้อยากเที่ยวก็ได้ เช่นผมเป็นต้น หมายถึงว่า มีห้องดีเตียงสบาย มันอาจจะมีคนแบบนี้”

สามห้องนอน บนพื้นที่อาคารสามชั้น ทอดสายตาออกไปเห็นวิวรางรถไฟและวัดตาคลี นอกจากจะบรรยากาศดี ห้องพักยังออกแบบให้มีฟังก์ชั่นในแบบที่ตัวเองชอบ เหมือนกับใส่ความต้องการของผู้พักจริงเอาไว้ในห้องนี้ อย่างห้องใหญ่สุดที่มีอ่างจากุชชี่อยู่กลางห้อง “เพราะแฟนชอบแช่น้ำ” หรือการจัดสรรฟังก์ชั่นภายในห้อง ก็ทำให้ห้องพักนี้เป็นได้ทั้งห้องพักชั่วคราว หรือจะเป็นแบบ Long Stay อยู่ยาวก็อยู่สบาย

เชฟปาร์คยกตัวอย่างใกล้ตัวจากการใช้บริการจริง “อย่างกินอาหารแล้วดื่มไม่ขับ ก็มีห้องนอนให้ หรือลูกค้ามีอายุส่วนใหญ่ที่อยากมาไหว้พระวัดดังๆ ที่ตาคลี เขาก็อาจจะขับรถมาวันเสาร์ กินข้าวเย็น ตื่นมาวันอาทิตย์กินกาแฟกินขนม แวะไหว้พระ แล้วขับรถกลับกรุงเทพฯ​ ที่นี่เหมือนเป็นที่พักผ่อนสุดสัปดาห์”


“ในวันที่เป็นเกยูรเฮ้าส์ เราเริ่มมาจากความเป็น Homey ความอบอุ่นแบบบ้านคุณย่า โรงแรมนี้เลยบริการแบบเป็นกันเอง ง่ายๆ อบอุ่น ทุกอย่างถึงกันได้หมด เพราะถ้าสุดท้ายแล้ว ไม่มีใครมากินคาเฟ่ผมเลยสักคน ไม่มีใครมานอนโรงแรม ที่นี่ก็ยังเป็นบ้านของผมอยู่ดี ถ้ามีบ้านสวยก็ไม่เป็นไรนี่” เชฟปาร์คพูดทิ้งท้ายแบบติดตลก แต่ก็ยังอบอุ่น และพร้อมต้อนรับเพื่อนของบ้านเกยูรทุกคน

 

 

Text:

Nathanich C.

Nathanich C.

PHOTO:

Chanathip K.

Chanathip K.

Related Posts