KIM Property Live มองตรงจุดที่ต้นตอปัญหาในแบบนักลงทุนด้านอสังหาริมทรัพย์

KIM Property Live มองตรงจุดที่ต้นตอปัญหาในแบบนักลงทุนด้านอสังหาริมทรัพย์

9 ก.พ. 2567

SHARE WITH:

9 ก.พ. 2567

9 ก.พ. 2567

SHARE WITH:

SHARE WITH:

KIM Property Live มองตรงจุดที่ต้นตอปัญหาในแบบนักลงทุนด้านอสังหาริมทรัพย์

“บ้านเนี่ย มันสามารถเป็นได้ทั้งเป้าหมายของความสำเร็จ หรืออีกมุมหนึ่ง บ้านก็สามารถพลิกชีวิตคนให้ตกต่ำได้เช่นกัน เพราะผ่อนไม่ไหวหรือเกิดปัญหาระหว่างทาง มันมีทั้งขาวและดำ”

คุณคิม - ชัชวาลย์ วัฒนะโชติ แห่งเพจ KIM Property Live ชี้ให้ทุกคนเห็นภาพของอสังหาริมทรัพย์แบบใกล้ตัวทุกคนสุดๆ

จากตรงนี้เราจะเห็นได้ชัดเจนเลยว่า บทบาทของบ้านมีทั้งในฐานะของภาระ(กิจ)ของชีวิต หรือในมุมของการลงทุน ขึ้นอยู่ว่าคุณมีปฏิสัมพันธ์กับบ้านหลังนั้นในรูปแบบไหน

ค้นคว้าหานิยามของบ้านจากรากฐานของชีวิต ไปถึงรากฐานของเศรษฐกิจประเทศได้จากบทสัมภาษณ์ต่อไปนี้


IIIi - บ้าน = ครอบครัว = รากฐานชีวิต = รากฐานเศรษฐกิจ

เราเลยชวนเริ่มต้นจากบ้านในมุมมองที่ใกล้ตัวทุกคนก่อน อย่างบ้านที่เป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ของการดำรงชีวิต สำหรับคิมแล้ว คำว่าบ้านไม่ใช่แค่อสังหาริมทรัพย์​ แต่คือคำว่า ‘ครอบครัว’

“ถ้าพูดถึงบ้านจะถือว่าเป็นครอบครัวใช่ไหมครับ แล้วถ้าครอบครัวมีความมั่นคงแล้ว มันจะออนท๊อปไปต่อในเรื่องของสังคมหรือการงานต่อไปได้อีก แต่อีกทางนึง ถ้าครอบครัวเรายังต้องระแวงว่าจะโดนยึดบ้านเมื่อไหร่ หรือกำลังจะโดนไล่ที่ มันก็เห็นภาพชัดเลยว่า บ้านเป็นเรื่องของการปลูกฝังเรื่องทางจิตใจ ในเรื่องความอุ่นใจหรือเสถียรภาพของชีวิตเช่นกัน”

คุณคิมตั้งคำถามชวนให้เราคิดต่อยอดออกไปอีกสเต็ปหนึ่ง “แล้วมีใครบ้างไหมที่ไม่ชอบอสังหาริมทรัพย์ ทั้งคนรวย คนทั่วไป นักลงทุน หรือนักธุรกิจ ทุกคนล้วนแต่ชอบอสังหาริมทรัพย์ทั้งนั้นแหละครับ”

“อย่างเช่นคนรวยที่เขาชอบ เพราะอสังหาฯ เปรียบเสมือนภาพลักษณ์ของความสำเร็จ หน้าตาที่สวยงาม บ้านก็ทำหน้าที่เหมือนกับเป็นของสะสมทางจิตใจ ส่วนในฝั่งธุรกิจ อสังหาฯ สามารถใช้เป็นสินทรัพย์สำหรับค้ำประกัน กู้เงินเพื่อเพิ่มวงเงินทำธุรกิจ ราคาของอสังหาฯ ที่เติบโตอย่างต่อเนื่องก็เลยเป็นของชอบของนักธุรกิจเช่นกัน เพราะเหมือนกับเป็นการรักษาความมั่งคั่งท่ามกลางความผันผวนภายนอกไม่ให้จนลง นี่คือภาพรวมของคนร่ำรวยที่ชอบอสังหาฯ แต่กับคนทั่วไปจำเป็นต้องใช้เงินเก็บทั้งชีวิตเพื่อซื้อห้องได้สักห้องหนึ่ง มันอาจจะฟังดูดาร์กนิดนึงนะครับ”

“เพราะว่าอสังหาริมทรัพย์เป็นเรื่องของทุนนิยมสิ่งที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจมากมาย”

ท่ามกลางกระแสความผันผวนหรือเงินเฟ้อที่ทำให้ที่ดินหรืออสังหาฯ​ ยังคงรักษาสถานะได้ตามราคาตลาด เท่ากับว่าราคาที่ดินหรืออสังหาฯ ก็มีแต่จะสูงขึ้นทุกปี อีกคำถามที่ตามมาสำหรับเราคือ แล้วมันแพงไปหรือเปล่า?

“ต้องมองว่า หากย้อนกลับไปที่ 2542 เรายังไม่มีรถไฟฟ้าใช้กันเลยนะครับ ถ้าถามว่าอสังหาฯ บ้านเราถูกไหม ก็ถือว่าถูกนะครับ แต่ความสะดวกสบายก็ยังไม่เท่ากับทุกวันนี้ ทั้งๆ ที่ทุกวันนี้เรามีพื้นที่ขนาดเล็กที่ราคาแพงกว่า แต่มีสิ่งแวดล้อมและสิ่งอำนวยความสะดวกโดยรวมที่เอื้อกับการใช้ชีวิตมากกว่า ผมเลยอยากชวนกลับไปตั้งต้นที่คำถามว่า ‘เราซื้อบ้านเพราะอะไร?’ “

 

IIIi - เราซื้อบ้านเพราะอะไร?

“เราอยากได้บ้าน อยากได้อิฐหินปูนทราย อยากได้พื้นที่หรือเปล่า?” คุณคิมตั้งคำถามที่เหนือความคาดหมายถ้าพูดเรื่องการซื้อบ้าน

“เราอยากได้การอยู่อาศัย การใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพอย่างคุ้มค่าต่างหาก คือเป็นบ้านที่เราอยู่แล้วใช้ชีวิตได้ดี เติบโตในหน้าที่การงาน เงินไหลมาเทมา นี่คือคอนเซปต์ของการมีบ้านนะครับ ซึ่งในอดีตที่ผ่านมา บ้านราคาถูกก็จริง แต่โอกาสการสร้างชีวิต สร้างงาน หรือสิ่งแวดล้อมมันไม่เท่ากับทุกวันนี้ ที่เราทำงานแลกเปลี่ยนกันระหว่างประเทศได้ง่ายขึ้นมาก เม็ดเงินลงทุนเติบโตขึ้น การอยู่ในกรุงเทพฯ จึงเหมือนกับมีโอกาสการทำงานดีกว่าที่อื่น”

“อย่างผมเองอยู่ที่อุทัยธานี” คุณคิมกำลังยกตัวอย่างอีกแบบให้เราเห็นว่าบ้านมีผลต่อคุณภาพชีวิตได้อย่างไร

“ถ้าผมเป็นคนอยู่ต่างจังหวัด ผมจะทำงานอะไรได้บ้าง เต็มที่อาจจะเป็น SMEs หรือค้าขายทำร้านค้า แล้วแต่ละอย่างก็ต้องใช้เงินทุนด้วย ซึ่งงานบางอย่างกระจุกตัวอยู่แต่ในเมืองหลวง ทำให้ถ้าเด็กต่างจังหวัดคนนึงอยากจะเติบโตในหน้าที่การงาน ร่ำรวยขึ้นจากวิชาความรู้ที่ติดตัว หรืออยากมีชื่อเสียง ก็หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องเข้าเมือง ที่ถึงแม้จะค่าใช้จ่ายสูงก็จริง แต่เมื่อเทียบกับรายได้แล้วมันคุ้มค่า ทุกคนเลยแห่เข้ามากรุงเทพฯ มันเลยเกิดการขยายของโครงสร้างพื้นฐาน อย่างรถไฟฟ้า ซึ่งก็เป็นเหมือนกับแม่เหล็กในการทำอสังหาฯ”

“แต่ถ้ามองดีๆ อีก ตรงใจกลางเมือง รถไฟฟ้าเส้นสีเขียวยังไงก็แพง แต่พอออกไปขอบนอกก็เริ่มไม่ค่อยกำไร เพราะผู้คนจำนวนน้อย สร้างสิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐานก็ไม่คุ้มค่าเท่ากับกลางเมืองที่คนใช้งานเยอะกว่า หรือมี Sharing Economy ที่คุ้มค่ากว่าถึงแม้ว่าที่จะแพงก็ตาม”

“นี่หมายความว่า ยิ่งรวมกัน ยิ่งคุ้มค่าในการใช้งานพื้นที่มากกว่าอยู่ต่างจังหวัด เป็นเหตุผลที่ว่า ทำไมคนถึงอยากเข้ามาอยู่ในกรุงเทพฯ​ กัน”

จากเหตุผลที่เราๆ ท่านๆ ประสบกันด้วยตัวเองเช่นนี้ ก็นำมายังคำถามคิดไม่ตกสำหรับคนย้ายเข้าเมืองใหญ่ว่า ซื้อหรือเช่า แบบไหนคุ้มค่ากว่ากัน

 

 

IIIi - ซื้อบ้าน vs เช่าบ้าน

“ต้องถามว่าเราซื้อหรือเช่าไปทำอะไร?” คำถามตรงไปตรงมามากๆ แต่ก็ตามมาด้วยข้อควรรู้มากมาย

“หลายคนที่คิดว่าจะซื้อด้วยมุมมองที่ว่าเป็นทรัพย์สินที่ราคาเติบโตอย่างต่อเนื่อง ถ้าถามว่าจริงไหม ก็มีทั้งจริงและไม่จริง”

“อสังหาฯ เดี๋ยวนี้ราคาขึ้นจริงนะครับ แต่บางอันที่ไม่ขึ้น ขายยาก หรือขาดทุนก็ยังมีอยู่จริงๆ แต่ที่เรามองเห็นว่ามันขึ้นอยู่ตลอด เพราะว่ามูลค่าที่ดินเติบโตขึ้นปีละ 10-20% บางที่ไปถึง 40% ด้วยซ้ำ แล้วทำไมบางคนซื้อแล้วขาดทุนถึงยังซื้ออยู่ดี?”

 

ข้อแรกคือ อสังหาฯ เป็นสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องต่ำมาก “ต่ำมาก หมายถึง ถ้าคุณอยากจะขาย คุณต้องขายถูก ถ้าคุณอยากจะซื้อ ต้องซื้อแพง เพราะมีจำกัดที่เดียวเฉพาะตรงนี้เท่านั้น เพราะฉะนั้น ถ้าอยากได้มากต้องยอมจ่ายแพง แต่ถ้าอยากขายมากก็ต้องยอมขายให้ถูกเพื่อให้ขายออก เพราะฉะนั้นคนที่ขาดทุนจากอสังหาฯ​ คือคนที่ขาดสภาพคล่องทางการเงิน”

ข้อถัดมา เรื่องค่าใช้จ่ายที่บานปลายมากกว่าการแค่ซื้อที่ดินหรืออาคารเพียงอย่างเดียว “มีห้องก็ต้องตกแต่งอย่างที่อยากได้ บางคนแต่งหรูหราจนเวอร์ พอจะต้องขายต่อ ก็หาคนที่รสนิยมชื่นชอบการตกแต่งแบบเดียวกันค่อนข้างยาก ทำให้เกิดการต่อรองราคาขึ้น แต่ถ้าเรามองในมุมค่ามาตรฐาน คนที่เลือกอสังหาฯ เป็นก็เติบโตได้”

“แน่นอนว่า อสังหาฯ ก็เหมือนกับการลงทุนพวกหุ้นนั่นแหละครับ มันมีคนที่กำไรและขาดทุน ถึงแม้ว่าโดยรวมจะมีคนขาดทุนเยอะกว่า แต่โดยรวมอสังหาฯ​ ก็ยังแพงขึ้น เพราะมีคนส่วนน้อยที่ซื้อไปสร้างกำไรแบบเติบโต”

กลับมาที่คำถามว่า ถ้าแบบนั้นคนทำงานแบบพวกเราควรจะซื้อหรือเช่าดีกว่ากัน “ผมว่าการตัดสินใจว่าจะซื้อหรือเช่าเป็นเรื่องส่วนบุคคล ไม่เกี่ยวกับอสังหาฯ เลย”

“มันเกี่ยวกับเรื่องการบริหารจัดการเงินส่วนบุคคล ว่าเรามีแผนจะทำงานที่นี่ไปอีกนานเท่าไหร่ จะโยกย้ายในเร็วๆ นี้หรือไม่ หรือยังไม่มั่นใจเรื่องงาน กับการลงหลักปักฐาน หรือยังไม่อยากสร้างครอบครัว ถ้าเป็นหัวเรื่องการลงทุนก็ต้องแยกจากเรื่องส่วนบุคคลไปอีก”

“อย่างที่บอกว่า อสังหาฯ มีสภาพคล่องต่ำ ถ้าคุณเป็นคนที่ร้อนรนเมื่อไหร่ คุณขายขาดทุนทันที เพราะเกมนี้ไม่ได้ออกแบบให้คนรีบร้อน แต่เป็นเกมที่ออกแบบให้คนถือนาน วางแผนดีๆ และมองในมุมที่ว่าทำอย่างไรจึงจะเติบโต”

 

แต่ถ้าให้คุณคิมแนะนำแล้ว เขาแนะนำว่า คนที่เป็นคนเฟิร์สจ๊อบเบอร์แนะนำให้เช่าอยู่ไปก่อน เพราะเราอาจจะยังหาตัวเองไม่เจอ หรือยังไม่ลงหลักปักฐานกับทำเลการทำงาน ยังเปลี่ยนงานค่อนข้างเยอะ หรือยังอยากท่องเที่ยวโลดโผน แต่ถ้าเริ่มคิดจะวางแผนสร้างครอบครัวแล้ว เขามองว่าบ้านเป็นสิ่งที่สำคัญมากๆ เพราะบ้านเป็นรากฐานของครอบครัว ก็วนกลับไปในประเด็นแรกที่เราพูดถึง

“อย่าไปมองว่าบ้านเป็นแค่อิฐดินปูนทราย หรือว่าหน่วยการลงทุน แต่บ้านมันเป็นเรื่องของจิตใจ ความมั่นคงของครอบครัว และคุณภาพชีวิต ซึ่งสิ่งนี้อาจจะตีเป็นเงินค่อนข้างยากนะครับ”

คุณคิมยกตัวอย่างประเทศเยอรมนีในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่ความระส่ำระสายกระจัดกระจายเกิดขึ้นกับประชากร ประเทศจึงออกนโยบายสร้างบ้านให้คนมีบ้าน เพื่อเอาบ้านไปสร้างเมือง เอาเมืองไปสร้างประเทศ ต่อเป็นทอดๆ “เพราะพอคนได้สร้างบ้านของเขา เขามีความหวัง ได้กลับมาบ้านเห็นลูกภรรยามีบ้านของตัวเอง ความอุ่นใจเป็นความหวังให้คนมีแรงผลักดันในการที่จะทำงานสร้างประเทศ”

 

เพราะฉะนั้นแล้ว ถ้ากลับไปที่ว่าจะซื้อหรือเช่าดี คำตอบที่ดีที่สุดก็มีแต่คุณเท่านั้นที่ตอบได้


 

“บ้านเนี่ย มันสามารถเป็นได้ทั้งเป้าหมายของความสำเร็จ หรืออีกมุมหนึ่ง บ้านก็สามารถพลิกชีวิตคนให้ตกต่ำได้เช่นกัน เพราะผ่อนไม่ไหวหรือเกิดปัญหาระหว่างทาง มันมีทั้งขาวและดำ”

คุณคิม - ชัชวาลย์ วัฒนะโชติ แห่งเพจ KIM Property Live ชี้ให้ทุกคนเห็นภาพของอสังหาริมทรัพย์แบบใกล้ตัวทุกคนสุดๆ

จากตรงนี้เราจะเห็นได้ชัดเจนเลยว่า บทบาทของบ้านมีทั้งในฐานะของภาระ(กิจ)ของชีวิต หรือในมุมของการลงทุน ขึ้นอยู่ว่าคุณมีปฏิสัมพันธ์กับบ้านหลังนั้นในรูปแบบไหน

ค้นคว้าหานิยามของบ้านจากรากฐานของชีวิต ไปถึงรากฐานของเศรษฐกิจประเทศได้จากบทสัมภาษณ์ต่อไปนี้


IIIi - บ้าน = ครอบครัว = รากฐานชีวิต = รากฐานเศรษฐกิจ

เราเลยชวนเริ่มต้นจากบ้านในมุมมองที่ใกล้ตัวทุกคนก่อน อย่างบ้านที่เป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ของการดำรงชีวิต สำหรับคิมแล้ว คำว่าบ้านไม่ใช่แค่อสังหาริมทรัพย์​ แต่คือคำว่า ‘ครอบครัว’

“ถ้าพูดถึงบ้านจะถือว่าเป็นครอบครัวใช่ไหมครับ แล้วถ้าครอบครัวมีความมั่นคงแล้ว มันจะออนท๊อปไปต่อในเรื่องของสังคมหรือการงานต่อไปได้อีก แต่อีกทางนึง ถ้าครอบครัวเรายังต้องระแวงว่าจะโดนยึดบ้านเมื่อไหร่ หรือกำลังจะโดนไล่ที่ มันก็เห็นภาพชัดเลยว่า บ้านเป็นเรื่องของการปลูกฝังเรื่องทางจิตใจ ในเรื่องความอุ่นใจหรือเสถียรภาพของชีวิตเช่นกัน”

คุณคิมตั้งคำถามชวนให้เราคิดต่อยอดออกไปอีกสเต็ปหนึ่ง “แล้วมีใครบ้างไหมที่ไม่ชอบอสังหาริมทรัพย์ ทั้งคนรวย คนทั่วไป นักลงทุน หรือนักธุรกิจ ทุกคนล้วนแต่ชอบอสังหาริมทรัพย์ทั้งนั้นแหละครับ”

“อย่างเช่นคนรวยที่เขาชอบ เพราะอสังหาฯ เปรียบเสมือนภาพลักษณ์ของความสำเร็จ หน้าตาที่สวยงาม บ้านก็ทำหน้าที่เหมือนกับเป็นของสะสมทางจิตใจ ส่วนในฝั่งธุรกิจ อสังหาฯ สามารถใช้เป็นสินทรัพย์สำหรับค้ำประกัน กู้เงินเพื่อเพิ่มวงเงินทำธุรกิจ ราคาของอสังหาฯ ที่เติบโตอย่างต่อเนื่องก็เลยเป็นของชอบของนักธุรกิจเช่นกัน เพราะเหมือนกับเป็นการรักษาความมั่งคั่งท่ามกลางความผันผวนภายนอกไม่ให้จนลง นี่คือภาพรวมของคนร่ำรวยที่ชอบอสังหาฯ แต่กับคนทั่วไปจำเป็นต้องใช้เงินเก็บทั้งชีวิตเพื่อซื้อห้องได้สักห้องหนึ่ง มันอาจจะฟังดูดาร์กนิดนึงนะครับ”

“เพราะว่าอสังหาริมทรัพย์เป็นเรื่องของทุนนิยมสิ่งที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจมากมาย”

ท่ามกลางกระแสความผันผวนหรือเงินเฟ้อที่ทำให้ที่ดินหรืออสังหาฯ​ ยังคงรักษาสถานะได้ตามราคาตลาด เท่ากับว่าราคาที่ดินหรืออสังหาฯ ก็มีแต่จะสูงขึ้นทุกปี อีกคำถามที่ตามมาสำหรับเราคือ แล้วมันแพงไปหรือเปล่า?

“ต้องมองว่า หากย้อนกลับไปที่ 2542 เรายังไม่มีรถไฟฟ้าใช้กันเลยนะครับ ถ้าถามว่าอสังหาฯ บ้านเราถูกไหม ก็ถือว่าถูกนะครับ แต่ความสะดวกสบายก็ยังไม่เท่ากับทุกวันนี้ ทั้งๆ ที่ทุกวันนี้เรามีพื้นที่ขนาดเล็กที่ราคาแพงกว่า แต่มีสิ่งแวดล้อมและสิ่งอำนวยความสะดวกโดยรวมที่เอื้อกับการใช้ชีวิตมากกว่า ผมเลยอยากชวนกลับไปตั้งต้นที่คำถามว่า ‘เราซื้อบ้านเพราะอะไร?’ “

 

IIIi - เราซื้อบ้านเพราะอะไร?

“เราอยากได้บ้าน อยากได้อิฐหินปูนทราย อยากได้พื้นที่หรือเปล่า?” คุณคิมตั้งคำถามที่เหนือความคาดหมายถ้าพูดเรื่องการซื้อบ้าน

“เราอยากได้การอยู่อาศัย การใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพอย่างคุ้มค่าต่างหาก คือเป็นบ้านที่เราอยู่แล้วใช้ชีวิตได้ดี เติบโตในหน้าที่การงาน เงินไหลมาเทมา นี่คือคอนเซปต์ของการมีบ้านนะครับ ซึ่งในอดีตที่ผ่านมา บ้านราคาถูกก็จริง แต่โอกาสการสร้างชีวิต สร้างงาน หรือสิ่งแวดล้อมมันไม่เท่ากับทุกวันนี้ ที่เราทำงานแลกเปลี่ยนกันระหว่างประเทศได้ง่ายขึ้นมาก เม็ดเงินลงทุนเติบโตขึ้น การอยู่ในกรุงเทพฯ จึงเหมือนกับมีโอกาสการทำงานดีกว่าที่อื่น”

“อย่างผมเองอยู่ที่อุทัยธานี” คุณคิมกำลังยกตัวอย่างอีกแบบให้เราเห็นว่าบ้านมีผลต่อคุณภาพชีวิตได้อย่างไร

“ถ้าผมเป็นคนอยู่ต่างจังหวัด ผมจะทำงานอะไรได้บ้าง เต็มที่อาจจะเป็น SMEs หรือค้าขายทำร้านค้า แล้วแต่ละอย่างก็ต้องใช้เงินทุนด้วย ซึ่งงานบางอย่างกระจุกตัวอยู่แต่ในเมืองหลวง ทำให้ถ้าเด็กต่างจังหวัดคนนึงอยากจะเติบโตในหน้าที่การงาน ร่ำรวยขึ้นจากวิชาความรู้ที่ติดตัว หรืออยากมีชื่อเสียง ก็หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องเข้าเมือง ที่ถึงแม้จะค่าใช้จ่ายสูงก็จริง แต่เมื่อเทียบกับรายได้แล้วมันคุ้มค่า ทุกคนเลยแห่เข้ามากรุงเทพฯ มันเลยเกิดการขยายของโครงสร้างพื้นฐาน อย่างรถไฟฟ้า ซึ่งก็เป็นเหมือนกับแม่เหล็กในการทำอสังหาฯ”

“แต่ถ้ามองดีๆ อีก ตรงใจกลางเมือง รถไฟฟ้าเส้นสีเขียวยังไงก็แพง แต่พอออกไปขอบนอกก็เริ่มไม่ค่อยกำไร เพราะผู้คนจำนวนน้อย สร้างสิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐานก็ไม่คุ้มค่าเท่ากับกลางเมืองที่คนใช้งานเยอะกว่า หรือมี Sharing Economy ที่คุ้มค่ากว่าถึงแม้ว่าที่จะแพงก็ตาม”

“นี่หมายความว่า ยิ่งรวมกัน ยิ่งคุ้มค่าในการใช้งานพื้นที่มากกว่าอยู่ต่างจังหวัด เป็นเหตุผลที่ว่า ทำไมคนถึงอยากเข้ามาอยู่ในกรุงเทพฯ​ กัน”

จากเหตุผลที่เราๆ ท่านๆ ประสบกันด้วยตัวเองเช่นนี้ ก็นำมายังคำถามคิดไม่ตกสำหรับคนย้ายเข้าเมืองใหญ่ว่า ซื้อหรือเช่า แบบไหนคุ้มค่ากว่ากัน

 

 

IIIi - ซื้อบ้าน vs เช่าบ้าน

“ต้องถามว่าเราซื้อหรือเช่าไปทำอะไร?” คำถามตรงไปตรงมามากๆ แต่ก็ตามมาด้วยข้อควรรู้มากมาย

“หลายคนที่คิดว่าจะซื้อด้วยมุมมองที่ว่าเป็นทรัพย์สินที่ราคาเติบโตอย่างต่อเนื่อง ถ้าถามว่าจริงไหม ก็มีทั้งจริงและไม่จริง”

“อสังหาฯ เดี๋ยวนี้ราคาขึ้นจริงนะครับ แต่บางอันที่ไม่ขึ้น ขายยาก หรือขาดทุนก็ยังมีอยู่จริงๆ แต่ที่เรามองเห็นว่ามันขึ้นอยู่ตลอด เพราะว่ามูลค่าที่ดินเติบโตขึ้นปีละ 10-20% บางที่ไปถึง 40% ด้วยซ้ำ แล้วทำไมบางคนซื้อแล้วขาดทุนถึงยังซื้ออยู่ดี?”

 

ข้อแรกคือ อสังหาฯ เป็นสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องต่ำมาก “ต่ำมาก หมายถึง ถ้าคุณอยากจะขาย คุณต้องขายถูก ถ้าคุณอยากจะซื้อ ต้องซื้อแพง เพราะมีจำกัดที่เดียวเฉพาะตรงนี้เท่านั้น เพราะฉะนั้น ถ้าอยากได้มากต้องยอมจ่ายแพง แต่ถ้าอยากขายมากก็ต้องยอมขายให้ถูกเพื่อให้ขายออก เพราะฉะนั้นคนที่ขาดทุนจากอสังหาฯ​ คือคนที่ขาดสภาพคล่องทางการเงิน”

ข้อถัดมา เรื่องค่าใช้จ่ายที่บานปลายมากกว่าการแค่ซื้อที่ดินหรืออาคารเพียงอย่างเดียว “มีห้องก็ต้องตกแต่งอย่างที่อยากได้ บางคนแต่งหรูหราจนเวอร์ พอจะต้องขายต่อ ก็หาคนที่รสนิยมชื่นชอบการตกแต่งแบบเดียวกันค่อนข้างยาก ทำให้เกิดการต่อรองราคาขึ้น แต่ถ้าเรามองในมุมค่ามาตรฐาน คนที่เลือกอสังหาฯ เป็นก็เติบโตได้”

“แน่นอนว่า อสังหาฯ ก็เหมือนกับการลงทุนพวกหุ้นนั่นแหละครับ มันมีคนที่กำไรและขาดทุน ถึงแม้ว่าโดยรวมจะมีคนขาดทุนเยอะกว่า แต่โดยรวมอสังหาฯ​ ก็ยังแพงขึ้น เพราะมีคนส่วนน้อยที่ซื้อไปสร้างกำไรแบบเติบโต”

กลับมาที่คำถามว่า ถ้าแบบนั้นคนทำงานแบบพวกเราควรจะซื้อหรือเช่าดีกว่ากัน “ผมว่าการตัดสินใจว่าจะซื้อหรือเช่าเป็นเรื่องส่วนบุคคล ไม่เกี่ยวกับอสังหาฯ เลย”

“มันเกี่ยวกับเรื่องการบริหารจัดการเงินส่วนบุคคล ว่าเรามีแผนจะทำงานที่นี่ไปอีกนานเท่าไหร่ จะโยกย้ายในเร็วๆ นี้หรือไม่ หรือยังไม่มั่นใจเรื่องงาน กับการลงหลักปักฐาน หรือยังไม่อยากสร้างครอบครัว ถ้าเป็นหัวเรื่องการลงทุนก็ต้องแยกจากเรื่องส่วนบุคคลไปอีก”

“อย่างที่บอกว่า อสังหาฯ มีสภาพคล่องต่ำ ถ้าคุณเป็นคนที่ร้อนรนเมื่อไหร่ คุณขายขาดทุนทันที เพราะเกมนี้ไม่ได้ออกแบบให้คนรีบร้อน แต่เป็นเกมที่ออกแบบให้คนถือนาน วางแผนดีๆ และมองในมุมที่ว่าทำอย่างไรจึงจะเติบโต”

 

แต่ถ้าให้คุณคิมแนะนำแล้ว เขาแนะนำว่า คนที่เป็นคนเฟิร์สจ๊อบเบอร์แนะนำให้เช่าอยู่ไปก่อน เพราะเราอาจจะยังหาตัวเองไม่เจอ หรือยังไม่ลงหลักปักฐานกับทำเลการทำงาน ยังเปลี่ยนงานค่อนข้างเยอะ หรือยังอยากท่องเที่ยวโลดโผน แต่ถ้าเริ่มคิดจะวางแผนสร้างครอบครัวแล้ว เขามองว่าบ้านเป็นสิ่งที่สำคัญมากๆ เพราะบ้านเป็นรากฐานของครอบครัว ก็วนกลับไปในประเด็นแรกที่เราพูดถึง

“อย่าไปมองว่าบ้านเป็นแค่อิฐดินปูนทราย หรือว่าหน่วยการลงทุน แต่บ้านมันเป็นเรื่องของจิตใจ ความมั่นคงของครอบครัว และคุณภาพชีวิต ซึ่งสิ่งนี้อาจจะตีเป็นเงินค่อนข้างยากนะครับ”

คุณคิมยกตัวอย่างประเทศเยอรมนีในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่ความระส่ำระสายกระจัดกระจายเกิดขึ้นกับประชากร ประเทศจึงออกนโยบายสร้างบ้านให้คนมีบ้าน เพื่อเอาบ้านไปสร้างเมือง เอาเมืองไปสร้างประเทศ ต่อเป็นทอดๆ “เพราะพอคนได้สร้างบ้านของเขา เขามีความหวัง ได้กลับมาบ้านเห็นลูกภรรยามีบ้านของตัวเอง ความอุ่นใจเป็นความหวังให้คนมีแรงผลักดันในการที่จะทำงานสร้างประเทศ”

 

เพราะฉะนั้นแล้ว ถ้ากลับไปที่ว่าจะซื้อหรือเช่าดี คำตอบที่ดีที่สุดก็มีแต่คุณเท่านั้นที่ตอบได้


 

Text:

Nathanich C.

Nathanich C.

PHOTO:

Chanathip K.

Chanathip K.

Related Posts