Food Waste Crisis

Food Waste Crisis

28 มิ.ย. 2566

SHARE WITH:

28 มิ.ย. 2566

28 มิ.ย. 2566

SHARE WITH:

SHARE WITH:

Food Waste Crisis

ลองจินตนาการดูว่าถ้าอาหารปริมาณ 1.6 พันล้านตัน ถูกเหลือทิ้งเป็นขยะในแต่ละปี จะกองใหญ่ขนาดไหน เรียกว่าใหญ่จนเดาไม่ออกเลย

จากข้อมูลประมาณการขององค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (UNFAO) นี้ ส่งสารถึงผู้คนทั้งโลกว่า อาหารที่เราบริโภคกันอยู่ในชีวิตประจำวันนั้น มีส่วนหนึ่งที่กลายเป็นเศษอาหารเหลือทิ้ง จึงได้มีการทำการศึกษาวิจัยผลกระทบพฤติกรรมเรื่องวิกฤตขยะอาหารในปี 2022 ภายใต้หัวข้อ 'Food Wastage Footprint : Impacts on Natural Resources'

'ขยะอาหาร' เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นพร้อมกันทั่วโลก ซึ่งเริ่มส่งผลเสียในเชิงสิ่งแวดล้อมหากไม่มีการจัดการที่ดี โดยปัจจัยที่ทำให้เกิดขยะอาหารที่เกินความจำเป็นนั้นเกิดขึ้นจากห่วงโซ่การผลิต ภาคการเกษตร การผลิต การขนส่ง การจัดจำหน่าย และการบริโภค

แต่ในอีกมุมหนึ่งของโลก ยังคงมีประเทศที่ด้อยพัฒนาและผู้ที่ขาดแคลนอยู่เป็นจำนวนมากที่ยังไม่เข้าถึงโอกาสทางปัญหา องค์กรสหประชาชาติจึงกำลังผลักดันนโยบายในการป้องกันและลดปริมาณขยะอย่างยั่งยืน โดยตั้งเป้าว่าในปี 2573 แต่ละประเทศจะมีขยะลดลงครึ่งหนึ่งจากห่วงโซ่ของอาหารทั้งหมด

โมเดลแห่งความยั่งยืนที่คิดว่า 'ใช่' แต่ไม่ใช่สำหรับทุกคน ?
การป้องกัน Prevention > การเพิ่มคุณประโยชน์ Optimization > การนำมาผลิตเพื่อใช้ใหม่ Recycle > การแยกกลับมาใช้ประโยชน์ด้านพลังงาน Recovery > การกำจัดทิ้ง Disposal

หากเราถอดรหัสโมเดลการกำจัดขยะอาหารตามรูปแบบดังกล่าว กลไกทั้งหมดมีความจำเป็นที่รัฐจะต้องออกมาตรการหรือกฎหมายให้การทิ้งขยะอาหารลดลงเพื่อความยั่งยืน แต่ในโลกของความเป็นจริงแล้ว ยังมีปัจจัยอีกหลายอย่างที่ต้องคำนึงถึง

ตั้งแต่เรื่องศักยภาพของผู้ประกอบการว่าสามารถรับผิดชอบตามนโยบายนี้ได้เต็มที่หรือไม่ เพราะในแต่ละขั้นตอนตลอดกระบวนการจำเป็นต้องใช้งบประมาณ และเทคโนโลยีทางอุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์มาช่วยดำเนินการให้เกิดประโยชน์สูงสุด รวมไปถึงการรายงานและการตรวจสอบย้อนกลับของภาคธุรกิจว่าเป็นไปตามนโยบายที่ตั้งไว้หรือไม่

มองภาพของประเทศไทยบ้านเรา ในส่วนของภาคธุรกิจ โรงแรม ค้าปลีก ฯลฯ เริ่มมีการออกนโยบายลดขยะอาหารตามบทบาทหน้าที่ของตัวเอง

ภาคชุมชนมีนโยบายการแยกขยะชิ้นส่วนภาชนะและอาหารที่เคร่งครัดขึ้น เพื่อให้ง่ายต่อการกำจัด ฟากฝั่งของโรงแรมก็มีการคำนวณอาหารในธุรกิจบุฟเฟ่ต์ พร้อมกันกับความรู้ความเข้าใจตั้งแต่ในครัว ครอบคลุมจนถึงบุคลากรทั้งหมด หรือฝั่งของค้าปลีกขนาดใหญ่เองก็เริ่มลดปริมาณลง ตั้งแต่ต้นน้ำผู้ผลิตที่เป็นคู่ค้า และเริ่มใช้ประโยชน์จากผลิตภัณฑ์เกษตรที่มีตำหนิเพิ่มขึ้นเพื่อลดขยะอาหาร

ความท้าทายใหม่ของโลกคิดแบบตรงไปตรงมาก็คือ เราจะพยายามป้องกันไม่ให้เกิดขยะอาหารเพิ่มขึ้น และจะต้องลดปริมาณลงให้ได้เพื่อความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม แต่ปัญหาก็คือ ทุกการบริหารจัดการ ต่างมีราคาและต้นทุนที่สูงขึ้นเรื่อยๆ และเป็นโจทย์ที่องค์การต่างๆ และผู้คนยังพยายามไขปริศนาและคิดค้นวิธีการเพื่อช่วยโลกของเราอยู่

ส่วนพวกเราในฐานะผู้บริโภค ก็ต้องมั่นคงในการยืนหยัดสนับสนุน และร่วมกันตอบรับนโยบายเพื่อส่งต่อโลกที่ดีขึ้นให้กับคนรุ่นหลังต่อไป

อ้างอิง
องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) และโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP) - Prevention and reduction of food and drink waste in businesses and households
(Final report) การศึกษาแนวทางการบริหารจัดการอาหารส่วนเกิน เพื่อลดปัญหาขยะอาหารที่เหมาะสมกับประเทศไทย - TDRI


ลองจินตนาการดูว่าถ้าอาหารปริมาณ 1.6 พันล้านตัน ถูกเหลือทิ้งเป็นขยะในแต่ละปี จะกองใหญ่ขนาดไหน เรียกว่าใหญ่จนเดาไม่ออกเลย

จากข้อมูลประมาณการขององค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (UNFAO) นี้ ส่งสารถึงผู้คนทั้งโลกว่า อาหารที่เราบริโภคกันอยู่ในชีวิตประจำวันนั้น มีส่วนหนึ่งที่กลายเป็นเศษอาหารเหลือทิ้ง จึงได้มีการทำการศึกษาวิจัยผลกระทบพฤติกรรมเรื่องวิกฤตขยะอาหารในปี 2022 ภายใต้หัวข้อ 'Food Wastage Footprint : Impacts on Natural Resources'

'ขยะอาหาร' เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นพร้อมกันทั่วโลก ซึ่งเริ่มส่งผลเสียในเชิงสิ่งแวดล้อมหากไม่มีการจัดการที่ดี โดยปัจจัยที่ทำให้เกิดขยะอาหารที่เกินความจำเป็นนั้นเกิดขึ้นจากห่วงโซ่การผลิต ภาคการเกษตร การผลิต การขนส่ง การจัดจำหน่าย และการบริโภค

แต่ในอีกมุมหนึ่งของโลก ยังคงมีประเทศที่ด้อยพัฒนาและผู้ที่ขาดแคลนอยู่เป็นจำนวนมากที่ยังไม่เข้าถึงโอกาสทางปัญหา องค์กรสหประชาชาติจึงกำลังผลักดันนโยบายในการป้องกันและลดปริมาณขยะอย่างยั่งยืน โดยตั้งเป้าว่าในปี 2573 แต่ละประเทศจะมีขยะลดลงครึ่งหนึ่งจากห่วงโซ่ของอาหารทั้งหมด

โมเดลแห่งความยั่งยืนที่คิดว่า 'ใช่' แต่ไม่ใช่สำหรับทุกคน ?
การป้องกัน Prevention > การเพิ่มคุณประโยชน์ Optimization > การนำมาผลิตเพื่อใช้ใหม่ Recycle > การแยกกลับมาใช้ประโยชน์ด้านพลังงาน Recovery > การกำจัดทิ้ง Disposal

หากเราถอดรหัสโมเดลการกำจัดขยะอาหารตามรูปแบบดังกล่าว กลไกทั้งหมดมีความจำเป็นที่รัฐจะต้องออกมาตรการหรือกฎหมายให้การทิ้งขยะอาหารลดลงเพื่อความยั่งยืน แต่ในโลกของความเป็นจริงแล้ว ยังมีปัจจัยอีกหลายอย่างที่ต้องคำนึงถึง

ตั้งแต่เรื่องศักยภาพของผู้ประกอบการว่าสามารถรับผิดชอบตามนโยบายนี้ได้เต็มที่หรือไม่ เพราะในแต่ละขั้นตอนตลอดกระบวนการจำเป็นต้องใช้งบประมาณ และเทคโนโลยีทางอุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์มาช่วยดำเนินการให้เกิดประโยชน์สูงสุด รวมไปถึงการรายงานและการตรวจสอบย้อนกลับของภาคธุรกิจว่าเป็นไปตามนโยบายที่ตั้งไว้หรือไม่

มองภาพของประเทศไทยบ้านเรา ในส่วนของภาคธุรกิจ โรงแรม ค้าปลีก ฯลฯ เริ่มมีการออกนโยบายลดขยะอาหารตามบทบาทหน้าที่ของตัวเอง

ภาคชุมชนมีนโยบายการแยกขยะชิ้นส่วนภาชนะและอาหารที่เคร่งครัดขึ้น เพื่อให้ง่ายต่อการกำจัด ฟากฝั่งของโรงแรมก็มีการคำนวณอาหารในธุรกิจบุฟเฟ่ต์ พร้อมกันกับความรู้ความเข้าใจตั้งแต่ในครัว ครอบคลุมจนถึงบุคลากรทั้งหมด หรือฝั่งของค้าปลีกขนาดใหญ่เองก็เริ่มลดปริมาณลง ตั้งแต่ต้นน้ำผู้ผลิตที่เป็นคู่ค้า และเริ่มใช้ประโยชน์จากผลิตภัณฑ์เกษตรที่มีตำหนิเพิ่มขึ้นเพื่อลดขยะอาหาร

ความท้าทายใหม่ของโลกคิดแบบตรงไปตรงมาก็คือ เราจะพยายามป้องกันไม่ให้เกิดขยะอาหารเพิ่มขึ้น และจะต้องลดปริมาณลงให้ได้เพื่อความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม แต่ปัญหาก็คือ ทุกการบริหารจัดการ ต่างมีราคาและต้นทุนที่สูงขึ้นเรื่อยๆ และเป็นโจทย์ที่องค์การต่างๆ และผู้คนยังพยายามไขปริศนาและคิดค้นวิธีการเพื่อช่วยโลกของเราอยู่

ส่วนพวกเราในฐานะผู้บริโภค ก็ต้องมั่นคงในการยืนหยัดสนับสนุน และร่วมกันตอบรับนโยบายเพื่อส่งต่อโลกที่ดีขึ้นให้กับคนรุ่นหลังต่อไป

อ้างอิง
องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) และโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP) - Prevention and reduction of food and drink waste in businesses and households
(Final report) การศึกษาแนวทางการบริหารจัดการอาหารส่วนเกิน เพื่อลดปัญหาขยะอาหารที่เหมาะสมกับประเทศไทย - TDRI


Text:

Chanathip K.

Chanathip K.

PHOTO:

Chanathip K.

Chanathip K.

Related Posts