Fit Design Prime ฟิตเนสที่ชวนรักตัวเองผ่านการออกกำลังกาย

Fit Design Prime ฟิตเนสที่ชวนรักตัวเองผ่านการออกกำลังกาย

15 ก.ย. 2566

SHARE WITH:

15 ก.ย. 2566

15 ก.ย. 2566

SHARE WITH:

SHARE WITH:

Fit Design Prime ฟิตเนสที่ชวนรักตัวเองผ่านการออกกำลังกาย

จากภาพจำของการเดินเข้าฟิตเนสที่ได้ยินเสียงเหล็กกระทบกันสลับกับเสียงดนตรีจังหวะเร่งเร้า แต่ที่ Fit Design Prime เรากลับรู้สึกถึงความสงบและสบายใจเป็นความประทับใจแรก

 เราพบกับหุ้นส่วนทั้งสาม ตั้ม - เจสดา นันทชัยพร, ฮัทชิ่ว - ชวรัตน์ แจ้งวัฒนาถาวร และ แบงค์ - ชัชชัย โต้ตอบ รอต้อนรับอยู่ที่ส่วนนั่งเล่นของฟิตเนส ในตู้เย็นมีทั้งอาหารคลีนและเครื่องดื่มบริการสำหรับลูกค้าผู้ใช้งาน กลิ่นหอมจากเครื่องหอมเคล้ากับเสียงดนตรีบรรเลงเบาๆ ทั้งสามพาเราเดินชมโดยรอบยิ่งทำให้เราได้สัมผัสถึงประสบการณ์ภายในพื้นที่ที่เป็นมิตรกับทั้งลูกค้าและเทรนเนอร์

จุดเริ่มต้นการโคจรมาพบกันของทั้งสามเริ่มต้นที่ฮัทชิ่วซึ่งเป็นเทรนเนอร์ส่วนตัวให้กับตั้มและแบงค์ ทั้งสามชักชวนกันมาร่วมหุ้นเปิด Fit Design Fitness แห่งแรกในย่านพหลโยธิน 8 ที่ซึ่งเป็นเหมือนกับแซนด์บอกซ์ สนามทดลองเปลี่ยนแปลงนิยามของฟิตเนสแบบเดิมๆ บนพื้นที่ไม่ถึง 100 ตารางเมตร ภายใต้คอนเซปต์การออกกำลังกายแบบ Body Transformation หรือเน้นการเปลี่ยนแปลงรูปร่าง


 “ตอนนั้นมันคือธุรกิจที่เรายังไม่รู้เลยว่ามันจะไปได้หรือไม่ได้ มันเหมือนกับเป็นการทดลองว่า ฟิตเนสไซส์นี้จะสร้างให้เกิดอะไรได้บ้าง ซึ่งมันคือความไพรเวต คนมาหาเราเพราะความเป็นส่วนตัว เขาไม่ได้สนว่า รอบข้างจะเป็นร้านอาหารหรือเป็นอะไร แต่เขาสนแค่ว่าในบริเวณตรงนี้ สามารถทำอะไรให้เขาได้บ้าง”

 จากไพรเวตยิมขนาดกะทัดรัดขยายขนาดมาสู่ยิมขนาดใหญ่กว่า 800 ตารางเมตร บนพื้นที่ใหม่ใน 33 Space อาคาร 55A ซอยประดิพัทธ์ 17 จากแนวความคิดของตั้มที่เล็งเห็นความเป็นไปได้ของธุรกิจยิมที่น่าจะไปต่อได้ในแบบไพรเวตยิม โดยยังคงพื้นฐานที่การทำความเข้าใจลูกค้าและสร้างคอมมิวนิตี้ของคนรักการออกกำลังกาย


IIIi - พลิกนิยามฟิตเนสแบบเดิม สู่การออกกำลังกายตอบความต้องการทั้งรูปร่างและจิตใจ

 Body Transformation ซึ่งเป็นนิยามของที่นี่ เป็นแนวความคิดหลักที่ต้องการเข้าไปแก้ปัญหาของลูกค้าเฉพาะบุคคลให้เกิดผลลัพธ์ปลายทางอย่างที่ต้องการ อย่างการลดน้ำหนัก การสร้างกล้ามเนื้อ หรือเปลี่ยนแปลงรูปร่างไปในทางที่ดีขึ้น เมื่อจับคู่กับความไพรเวตแล้ว ทั้งสองคือสิ่งที่ลูกค้าของเขากำลังตามหา

 “ส่วนใหญ่ฟิตเนสใหญ่จะโดนผูกมัดด้วยค่าเมมเบอร์ ของเราคือไม่มีค่าเมมเบอร์ เพราะฉะนั้นก็จะกลายเป็นว่าลูกค้าไม่รู้สึกอึดอัด เราขายเทรนอย่างเดียว ถ้าคุณซื้อแค่เทรนเนอร์ คุณก็มาแค่วันที่คุณเทรนเท่านั้น ผมเชื่อว่าคนเราพอไม่มีเทรนเนอร์ ก็ไม่ค่อยมีโอกาสเข้ามาเล่นฟิตเนสหรอก เพราะไม่มีแรงจูงใจ แล้วสมมติมี 7 วัน คุณไปยิมแค่ 3 วัน แต่ทำไมอีก 4 วันคุณต้องเสียค่ายิม มันก็เลยเป็นคำว่าแฟร์มากกว่า เหมือนเราไฮบริดให้ลูกค้า แล้วก็ไม่มีการผูกมัดเป็นรายปี ลูกค้าจะได้สบายใจ”

 

พื้นที่ที่ใหญ่ขึ้นตามมาด้วยบริการที่หลากหลายขึ้น ยืนพื้นที่ Personal Trainer เพิ่มเติมห้องสตูดิโอสำหรับคลาสโยคะ พิลาทีสบนเสื่อ หรือต่อยมวย ซึ่งสามารถใช้ระบบการจองล่วงหน้าหรือจัดกลุ่มมาเรียนเองแบบเป็นส่วนตัว และสำหรับลูกค้าที่อยากเปิดสมาชิกแล้วอยากมาออกกำลังกายด้วยตัวเองก็ได้ทำได้เช่นกัน

 “ของเราคือเข้ามาเล่นปุ๊บได้ใช้เลย เพราะเทรนเนอร์ของเราคอยที่จะจัดให้ทุกอย่าง สมมติเทรนเนอร์เรียงไปแล้วว่า จะวางท่า 1 กับ 4 จะเล่นอะไรบ้าง เราต้องเล่นให้ตามเป๊ะ เราไม่สามารถเปลี่ยนไปเล่นท่าอื่น ถ้าลูกค้าจะได้เล่นต้องได้เล่น อันนี้คือแพสชันของผม” ฮัทชิ่วเล่า


บรรยากาศจากประสาทสัมผัสทั้งรูปรสกลิ่นเสียง และรายละเอียดทุกจุดถูกออกแบบไว้แล้วเพื่อสร้างความประทับใจจากจิตใต้สำนึก ทั้งหมดเกิดจากการที่มีเทรนเนอร์เป็นหุ้นส่วน ยิ่งทำให้เห็นปัญหาของยิมแบบเดิม แล้วเพิ่มเติมมาเป็นการสร้างประสบการณ์ให้กับลูกค้า

“ถ้ามองแบบผิวเผิน หลายคนอาจจะคิดว่าแล้วจะทำไปทำไม ลูกค้าไม่ได้มาสนใจหรอก ถ้าอย่างนั้นก็ทำให้มากกว่า ถ้าคุณไม่ได้คาดหวัง แต่เราทำเกินไปจากที่คุณคาดหวัง เลยทำให้คนมาใช้บริการของเราแล้วไปที่อื่น เค้าน่าจะรู้สึกถึงความแตกต่างแล้วก็เอาไปเล่าต่อว่าเจอสิ่งที่ดีมา”

 

IIIi - ไม่ได้เป็นแค่ฟิตเนส แต่เป็นแรงบันดาลใจให้กันและกัน

 คอมมิวนิตี้ของคนไลฟ์สไตล์ตรงกันนอกเวลาออกกำลังกายคือความพิเศษของลูกค้าที่นี่ เบื้องหลังคือการปฏิบัติต่อลูกค้าให้การฟิตเนสแต่ละครั้งเหมือนมาหาเพื่อน เพราะความรับรู้แรกของการมาออกกำลังกายคือ ต้องเหนื่อยแน่ๆ! แต่ด้วยบรรยากาศ ด้วยสังคมของมิตรภาพ และความสนุก ทำให้การออกกำลังกายเป็นอีกกิจกรรมที่ตั้งตารอ “บางทีสัปดาห์นึงก็จะรวมกลุ่มเล็กๆ กัน ไปอีเวนต์ กินข้าว ใช้ชีวิตร่วมกัน”

 

“เราออกกำลังกายเพราะเรารักตัวเอง เราอยากให้สุขภาพแข็งแรง และอยากรู้สึกดีกับตัวเอง” ตั้ม พี่ใหญ่ของกลุ่มแชร์ประสบการณ์ “แล้วเมื่อเทียบกับมาตรฐานคนอายุเท่ากันกับเราหรือน้อยกว่าเรา ด้วยวัยผม แล้วผมดูแลตัวเองขนาดนี้ ผมว่าผมดีกว่าเขาเยอะ แล้วก็จะพูดกับน้องว่า เล่นให้เด็กมันดู ทำให้เด็กมันดูว่าถ้าคุณอายุเท่าผม คุณจะดูแลสุขภาพและร่างกายโดยไม่ให้ร่างกายถดถอยไปพร้อมกับตัวเลขอายุของคุณได้ไหม ซึ่งผมทำให้เห็นแล้วว่าได้”

“แล้วลูกค้าที่นี่จะแตกต่างจากที่อื่นคือ คนที่มีอายุเยอะจะเป็นแรงบันดาลใจให้เด็กกว่า อันนี้คือสำคัญมาก เด็กที่มาออกกำลังกายหลายคนเขาจะบอกว่า อยากเหมือนคุณลุง ที่นี่คนยิ่งอายุเยอะ ยิ่งแข็งแรง ออกกำลังกายหนักกว่าเด็ก ยิ่งแข็งแรงมากกว่า เพราะยิ่งแก่ ต้นทุนยิ่งสูง ถ้าเริ่มช้า แล้วคิดจะกลับมาให้ฟิตมันต้องใช้เวลาใช้อาจจะไม่ทัน เพราะเราไปรั้งร่างกายไว้ไม่ได้แล้ว อีกอย่างคือ คนสูงวัยที่ไปฟิตเนสหลายคนจะกลัวสายตาคนอื่นที่มอง แต่การมีเราอยู่ตรงนี้ มันตัดปัญหาหมดเลย เข้ามาปุ๊บ มีคนของเราคอยรองรับ ไม่ต้องอายสายตาหรืออะไร เพราะคนไม่เยอะ แล้วเทรนเนอร์ก็คอยดูแลตลอดทั้งเรื่องรูปร่างและภาพลักษณ์”

ฮัทชิ่วเสริมอีกว่า “คนในโซเชียลมีเดียชอบคิดว่าอายุ 40 แล้วผมจะมีกล้ามได้ไหม แต่ลูกค้าผมเริ่มตอน 55 มีกล้ามทุกคน คือกลายเป็นว่าคุณเริ่มเถอะ คุณอย่ามัวแต่สงสัย คุณทำเลย”


หรือในเคสของแบงค์ที่เริ่มมาออกกำลังกายกับฮัทชิ่วจากโรคเบาหวานชนิดที่ต้องฉีดอินซูลินตลอด กลับกลายเป็นว่าการออกกำลังกายช่วยให้เขาสามารถใช้ชีวิตได้อย่างปกติ และไม่จำเป็นต้องฉีดอินซูลินอีกต่อไป “ผมคิดว่ามันมากจนถึงลิมิตที่ผมจะต้องมาออกกำลังกายแล้ว พอผมเข้ามาอยู่ในสังคมการออกกำลังกาย มันก็เริ่มชินและกลมกลืนไปกับทุกคน ทำให้รักตัวเองขึ้นอีก”

อีกเรื่องสำคัญในการดูแลรักษาร่างกายคือเรื่องความสม่ำเสมอ “การเลือกวิธีดูแลสุขภาพ เราต้องถามตัวเองว่า เราจะทำแบบนี้ไปอีก 20 ปีได้ไหม นี่แหละคือสิ่งที่ต้องมองยาวๆ ให้ยั่งยืน และมนุษย์คือสิ่งมีชีวิตที่อยู่เฉยไม่ได้ เพราะฉะนั้นการออกกำลังกายจึงเป็นเรื่องสำคัญสำหรับเรา”

 

“ผมว่าการออกกำลังกายมันเป็นตัวบอกที่สำคัญอันนึงว่าคุณรักตัวเองหรือไม่” ตั้มทิ้งท้าย “เพราะมันแสดงออกมาทางกายหยาบอย่างชัดเจนว่า เขารักตัวเองก็ต้องดูแลตัวเอง แล้วภาพมันก็จะออกมาเองทันที โดยที่ไม่ต้องไปเขียนว่าฉันรักตัวเองนะ ถ้าคุณยังเป็นมนุษย์อยู่ นี่คือตัวบอกว่าคุณยังรักตัวเองหรือไม่รักตัวเอง คุณจะรู้สึกดีมาก แล้วก็มีแรงไปทำอย่างอื่น ไปทำธุรกิจ ใช้ชีวิตต่อ สุขภาพที่แข็งแรงนี่แหละที่เป็นคำตอบ”

 

 

จากภาพจำของการเดินเข้าฟิตเนสที่ได้ยินเสียงเหล็กกระทบกันสลับกับเสียงดนตรีจังหวะเร่งเร้า แต่ที่ Fit Design Prime เรากลับรู้สึกถึงความสงบและสบายใจเป็นความประทับใจแรก

 เราพบกับหุ้นส่วนทั้งสาม ตั้ม - เจสดา นันทชัยพร, ฮัทชิ่ว - ชวรัตน์ แจ้งวัฒนาถาวร และ แบงค์ - ชัชชัย โต้ตอบ รอต้อนรับอยู่ที่ส่วนนั่งเล่นของฟิตเนส ในตู้เย็นมีทั้งอาหารคลีนและเครื่องดื่มบริการสำหรับลูกค้าผู้ใช้งาน กลิ่นหอมจากเครื่องหอมเคล้ากับเสียงดนตรีบรรเลงเบาๆ ทั้งสามพาเราเดินชมโดยรอบยิ่งทำให้เราได้สัมผัสถึงประสบการณ์ภายในพื้นที่ที่เป็นมิตรกับทั้งลูกค้าและเทรนเนอร์

จุดเริ่มต้นการโคจรมาพบกันของทั้งสามเริ่มต้นที่ฮัทชิ่วซึ่งเป็นเทรนเนอร์ส่วนตัวให้กับตั้มและแบงค์ ทั้งสามชักชวนกันมาร่วมหุ้นเปิด Fit Design Fitness แห่งแรกในย่านพหลโยธิน 8 ที่ซึ่งเป็นเหมือนกับแซนด์บอกซ์ สนามทดลองเปลี่ยนแปลงนิยามของฟิตเนสแบบเดิมๆ บนพื้นที่ไม่ถึง 100 ตารางเมตร ภายใต้คอนเซปต์การออกกำลังกายแบบ Body Transformation หรือเน้นการเปลี่ยนแปลงรูปร่าง


 “ตอนนั้นมันคือธุรกิจที่เรายังไม่รู้เลยว่ามันจะไปได้หรือไม่ได้ มันเหมือนกับเป็นการทดลองว่า ฟิตเนสไซส์นี้จะสร้างให้เกิดอะไรได้บ้าง ซึ่งมันคือความไพรเวต คนมาหาเราเพราะความเป็นส่วนตัว เขาไม่ได้สนว่า รอบข้างจะเป็นร้านอาหารหรือเป็นอะไร แต่เขาสนแค่ว่าในบริเวณตรงนี้ สามารถทำอะไรให้เขาได้บ้าง”

 จากไพรเวตยิมขนาดกะทัดรัดขยายขนาดมาสู่ยิมขนาดใหญ่กว่า 800 ตารางเมตร บนพื้นที่ใหม่ใน 33 Space อาคาร 55A ซอยประดิพัทธ์ 17 จากแนวความคิดของตั้มที่เล็งเห็นความเป็นไปได้ของธุรกิจยิมที่น่าจะไปต่อได้ในแบบไพรเวตยิม โดยยังคงพื้นฐานที่การทำความเข้าใจลูกค้าและสร้างคอมมิวนิตี้ของคนรักการออกกำลังกาย


IIIi - พลิกนิยามฟิตเนสแบบเดิม สู่การออกกำลังกายตอบความต้องการทั้งรูปร่างและจิตใจ

 Body Transformation ซึ่งเป็นนิยามของที่นี่ เป็นแนวความคิดหลักที่ต้องการเข้าไปแก้ปัญหาของลูกค้าเฉพาะบุคคลให้เกิดผลลัพธ์ปลายทางอย่างที่ต้องการ อย่างการลดน้ำหนัก การสร้างกล้ามเนื้อ หรือเปลี่ยนแปลงรูปร่างไปในทางที่ดีขึ้น เมื่อจับคู่กับความไพรเวตแล้ว ทั้งสองคือสิ่งที่ลูกค้าของเขากำลังตามหา

 “ส่วนใหญ่ฟิตเนสใหญ่จะโดนผูกมัดด้วยค่าเมมเบอร์ ของเราคือไม่มีค่าเมมเบอร์ เพราะฉะนั้นก็จะกลายเป็นว่าลูกค้าไม่รู้สึกอึดอัด เราขายเทรนอย่างเดียว ถ้าคุณซื้อแค่เทรนเนอร์ คุณก็มาแค่วันที่คุณเทรนเท่านั้น ผมเชื่อว่าคนเราพอไม่มีเทรนเนอร์ ก็ไม่ค่อยมีโอกาสเข้ามาเล่นฟิตเนสหรอก เพราะไม่มีแรงจูงใจ แล้วสมมติมี 7 วัน คุณไปยิมแค่ 3 วัน แต่ทำไมอีก 4 วันคุณต้องเสียค่ายิม มันก็เลยเป็นคำว่าแฟร์มากกว่า เหมือนเราไฮบริดให้ลูกค้า แล้วก็ไม่มีการผูกมัดเป็นรายปี ลูกค้าจะได้สบายใจ”

 

พื้นที่ที่ใหญ่ขึ้นตามมาด้วยบริการที่หลากหลายขึ้น ยืนพื้นที่ Personal Trainer เพิ่มเติมห้องสตูดิโอสำหรับคลาสโยคะ พิลาทีสบนเสื่อ หรือต่อยมวย ซึ่งสามารถใช้ระบบการจองล่วงหน้าหรือจัดกลุ่มมาเรียนเองแบบเป็นส่วนตัว และสำหรับลูกค้าที่อยากเปิดสมาชิกแล้วอยากมาออกกำลังกายด้วยตัวเองก็ได้ทำได้เช่นกัน

 “ของเราคือเข้ามาเล่นปุ๊บได้ใช้เลย เพราะเทรนเนอร์ของเราคอยที่จะจัดให้ทุกอย่าง สมมติเทรนเนอร์เรียงไปแล้วว่า จะวางท่า 1 กับ 4 จะเล่นอะไรบ้าง เราต้องเล่นให้ตามเป๊ะ เราไม่สามารถเปลี่ยนไปเล่นท่าอื่น ถ้าลูกค้าจะได้เล่นต้องได้เล่น อันนี้คือแพสชันของผม” ฮัทชิ่วเล่า


บรรยากาศจากประสาทสัมผัสทั้งรูปรสกลิ่นเสียง และรายละเอียดทุกจุดถูกออกแบบไว้แล้วเพื่อสร้างความประทับใจจากจิตใต้สำนึก ทั้งหมดเกิดจากการที่มีเทรนเนอร์เป็นหุ้นส่วน ยิ่งทำให้เห็นปัญหาของยิมแบบเดิม แล้วเพิ่มเติมมาเป็นการสร้างประสบการณ์ให้กับลูกค้า

“ถ้ามองแบบผิวเผิน หลายคนอาจจะคิดว่าแล้วจะทำไปทำไม ลูกค้าไม่ได้มาสนใจหรอก ถ้าอย่างนั้นก็ทำให้มากกว่า ถ้าคุณไม่ได้คาดหวัง แต่เราทำเกินไปจากที่คุณคาดหวัง เลยทำให้คนมาใช้บริการของเราแล้วไปที่อื่น เค้าน่าจะรู้สึกถึงความแตกต่างแล้วก็เอาไปเล่าต่อว่าเจอสิ่งที่ดีมา”

 

IIIi - ไม่ได้เป็นแค่ฟิตเนส แต่เป็นแรงบันดาลใจให้กันและกัน

 คอมมิวนิตี้ของคนไลฟ์สไตล์ตรงกันนอกเวลาออกกำลังกายคือความพิเศษของลูกค้าที่นี่ เบื้องหลังคือการปฏิบัติต่อลูกค้าให้การฟิตเนสแต่ละครั้งเหมือนมาหาเพื่อน เพราะความรับรู้แรกของการมาออกกำลังกายคือ ต้องเหนื่อยแน่ๆ! แต่ด้วยบรรยากาศ ด้วยสังคมของมิตรภาพ และความสนุก ทำให้การออกกำลังกายเป็นอีกกิจกรรมที่ตั้งตารอ “บางทีสัปดาห์นึงก็จะรวมกลุ่มเล็กๆ กัน ไปอีเวนต์ กินข้าว ใช้ชีวิตร่วมกัน”

 

“เราออกกำลังกายเพราะเรารักตัวเอง เราอยากให้สุขภาพแข็งแรง และอยากรู้สึกดีกับตัวเอง” ตั้ม พี่ใหญ่ของกลุ่มแชร์ประสบการณ์ “แล้วเมื่อเทียบกับมาตรฐานคนอายุเท่ากันกับเราหรือน้อยกว่าเรา ด้วยวัยผม แล้วผมดูแลตัวเองขนาดนี้ ผมว่าผมดีกว่าเขาเยอะ แล้วก็จะพูดกับน้องว่า เล่นให้เด็กมันดู ทำให้เด็กมันดูว่าถ้าคุณอายุเท่าผม คุณจะดูแลสุขภาพและร่างกายโดยไม่ให้ร่างกายถดถอยไปพร้อมกับตัวเลขอายุของคุณได้ไหม ซึ่งผมทำให้เห็นแล้วว่าได้”

“แล้วลูกค้าที่นี่จะแตกต่างจากที่อื่นคือ คนที่มีอายุเยอะจะเป็นแรงบันดาลใจให้เด็กกว่า อันนี้คือสำคัญมาก เด็กที่มาออกกำลังกายหลายคนเขาจะบอกว่า อยากเหมือนคุณลุง ที่นี่คนยิ่งอายุเยอะ ยิ่งแข็งแรง ออกกำลังกายหนักกว่าเด็ก ยิ่งแข็งแรงมากกว่า เพราะยิ่งแก่ ต้นทุนยิ่งสูง ถ้าเริ่มช้า แล้วคิดจะกลับมาให้ฟิตมันต้องใช้เวลาใช้อาจจะไม่ทัน เพราะเราไปรั้งร่างกายไว้ไม่ได้แล้ว อีกอย่างคือ คนสูงวัยที่ไปฟิตเนสหลายคนจะกลัวสายตาคนอื่นที่มอง แต่การมีเราอยู่ตรงนี้ มันตัดปัญหาหมดเลย เข้ามาปุ๊บ มีคนของเราคอยรองรับ ไม่ต้องอายสายตาหรืออะไร เพราะคนไม่เยอะ แล้วเทรนเนอร์ก็คอยดูแลตลอดทั้งเรื่องรูปร่างและภาพลักษณ์”

ฮัทชิ่วเสริมอีกว่า “คนในโซเชียลมีเดียชอบคิดว่าอายุ 40 แล้วผมจะมีกล้ามได้ไหม แต่ลูกค้าผมเริ่มตอน 55 มีกล้ามทุกคน คือกลายเป็นว่าคุณเริ่มเถอะ คุณอย่ามัวแต่สงสัย คุณทำเลย”


หรือในเคสของแบงค์ที่เริ่มมาออกกำลังกายกับฮัทชิ่วจากโรคเบาหวานชนิดที่ต้องฉีดอินซูลินตลอด กลับกลายเป็นว่าการออกกำลังกายช่วยให้เขาสามารถใช้ชีวิตได้อย่างปกติ และไม่จำเป็นต้องฉีดอินซูลินอีกต่อไป “ผมคิดว่ามันมากจนถึงลิมิตที่ผมจะต้องมาออกกำลังกายแล้ว พอผมเข้ามาอยู่ในสังคมการออกกำลังกาย มันก็เริ่มชินและกลมกลืนไปกับทุกคน ทำให้รักตัวเองขึ้นอีก”

อีกเรื่องสำคัญในการดูแลรักษาร่างกายคือเรื่องความสม่ำเสมอ “การเลือกวิธีดูแลสุขภาพ เราต้องถามตัวเองว่า เราจะทำแบบนี้ไปอีก 20 ปีได้ไหม นี่แหละคือสิ่งที่ต้องมองยาวๆ ให้ยั่งยืน และมนุษย์คือสิ่งมีชีวิตที่อยู่เฉยไม่ได้ เพราะฉะนั้นการออกกำลังกายจึงเป็นเรื่องสำคัญสำหรับเรา”

 

“ผมว่าการออกกำลังกายมันเป็นตัวบอกที่สำคัญอันนึงว่าคุณรักตัวเองหรือไม่” ตั้มทิ้งท้าย “เพราะมันแสดงออกมาทางกายหยาบอย่างชัดเจนว่า เขารักตัวเองก็ต้องดูแลตัวเอง แล้วภาพมันก็จะออกมาเองทันที โดยที่ไม่ต้องไปเขียนว่าฉันรักตัวเองนะ ถ้าคุณยังเป็นมนุษย์อยู่ นี่คือตัวบอกว่าคุณยังรักตัวเองหรือไม่รักตัวเอง คุณจะรู้สึกดีมาก แล้วก็มีแรงไปทำอย่างอื่น ไปทำธุรกิจ ใช้ชีวิตต่อ สุขภาพที่แข็งแรงนี่แหละที่เป็นคำตอบ”

 

 

Text:

Nathanich C.

Nathanich C.

PHOTO:

Chanathip K.

Chanathip K.

Related Posts