‘การออมสำคัญที่เริ่มต้น’ สร้างนิสัยการเงินใหม่รับปีใหม่ โดย เอ๋ย ธนานิษฐ์ จาก FINNOMENA

‘การออมสำคัญที่เริ่มต้น’ สร้างนิสัยการเงินใหม่รับปีใหม่ โดย เอ๋ย ธนานิษฐ์ จาก FINNOMENA

24 ม.ค. 2567

SHARE WITH:

24 ม.ค. 2567

24 ม.ค. 2567

SHARE WITH:

SHARE WITH:

‘การออมสำคัญที่เริ่มต้น’ สร้างนิสัยการเงินใหม่รับปีใหม่ โดย เอ๋ย ธนานิษฐ์ จาก FINNOMENA

เราเชื่อว่า 'การออมเงิน' เป็นหนึ่งใน New Year Resolution หรือปณิธานปีใหม่ของทุกคนในทุกปี ทั้งจากปัจจัยภายในที่ต้องการความมั่นคงของความเป็นอยู่ในอนาคต ไปจนถึงปัจจัยภายนอกอย่างสภาพเศรษฐกิจที่มีแต่ความท้าทายรายรอบด้าน

“จริงๆ แล้วการออมไม่ได้มีอะไรที่ซับซ้อน เราจะเห็นว่า ‘วินัยในการเก็บเงิน’ คือความหมายของการออม” เอ๋ย - ธนานิษฐ์ ธิติจรรยาภัสร์ CFP® (นักวางแผนการเงิน) Investment Advisory Business Development Manager จาก FINNOMENA ให้กำลังใจเรา(และทุกคน) ตั้งแต่เริ่มบทสนทนา

“การเริ่มต้นเป็นสิ่งที่ยากที่สุด เพราะฉะนั้นถ้าพูดเรื่องการออมเงิน คือจะต้องเริ่มต้นให้เร็วที่สุด และมีวินัยในการเก็บเงินเป็นเรื่องสำคัญ การปฏิบัติที่ตามมาจะเป็นอะไรก็ได้ ขอแค่ทำ หลังจากนั้นแล้วก็เป็นเรื่องของแนวทางการเก็บเงินซึ่งก็มีหลากหลายมาก แต่พอยต์ไม่ได้อยู่ที่ว่าวิธีไหนจะดีที่สุด เพราะเงื่อนไขของชีวิตที่ต่างกัน”

“เพราะฉะนั้น สิ่งที่อยากฝากคือ เรื่องการออมเอาให้เหมาะกับเรา ไม่จําเป็นต้องไปเทียบดูว่าคนอื่นเขาออมกันยังไง แล้วเขาประสบความสําเร็จ ให้กลับมาดูว่า เราถนัดแบบไหนแล้วแค่เริ่มต้น นี่ก็เป็นสิ่งที่ดีกับเราแล้ว เพราะการเริ่มต้นเป็นสิ่งที่ยากที่สุด”

คุณเอ๋ยพาเราเริ่มต้นออกเดินทางสู่บทเรียนการออม 101 สำหรับคนมีหวัง และให้ความหวังครั้งนี้เป็นหมุดหมายสำหรับการสร้างสรรค์การใช้ชีวิตยืนยาวอย่างยั่งยืน

  

IIIi - ยิ่งเริ่มเร็วยิ่งได้เปรียบ สูตรลับของการออมอยู่ที่ระยะเวลา

“เคยมีคนบอกไว้ว่า เก็บเงินหมื่นแรกล้านแรกมันยากที่สุดเลย เพราะการเริ่มต้นเอาชนะใจตัวเองกับความท้าทายที่คิดว่า ‘คงไม่ได้หรอก ไม่ไหวหรอก’ เป็นสิ่งที่ยากที่สุด” คุณเอ๋ยเริ่มจากปัญหาจริงที่อยู่ในความคิดของผู้คน

โดยเฉพาะในยุคที่สื่อโซเชียลพัดพาข้อมูลและความเห็นทางด้านการออมในรูปแบบที่หลากหลาย ทั้งจากการแบ่งปันประสบการณ์ แบ่งปันข้อมูล หรือแม้แต่โฆษณาชวนเชื่อที่ท่วมท้นจากกลายเป็นมหาสมุทรของข้อมูลข่าวสารที่ไม่มีสิ้นสุด และยากที่จะเลือกได้ว่าอันไหนที่เราควรจะเข้าไปทดลอง

“เขาบอกว่า ความอัศจรรย์ของเงิน คือมันเรียกเงินได้” นี่ฟังเหมือนเป็นมายาคติหรือไม่? แต่เบื้องหลังประโยคนี้เป็นเรื่องของมายด์เซตในการเก็บเงินที่ค่อยๆ เปลี่ยนไปหลังจากได้เริ่มต้น “เช่นจากปกติเราเคยได้เงินเดือนหมื่นแปด พอเรามีเงินเก็บสักก้อนหนึ่ง เราอาจจะมีความคิดที่อยากพัฒนาในเรื่องการสร้างรายได้ของตัวเองต่อ หรือหาช่องทางที่ทำให้มีรายได้เยอะกว่านี้”

“เพราะฉะนั้น สูตรลัดที่ดีที่สุด คือการเอาชนะใจตัวเอง” ท้าทายตัวเองวันละเล็กละน้อยด้วยการออกจากกรอบความคิดเดิม

“อีกอย่างหนึ่งที่ไม่ใช่สูตรลัด แต่เป็นตัวช่วยสำหรับคนที่คิดว่าจะออมแต่ไม่มีวินัย คือการทำ DCA หรือ Dollar-Cost Averaging ก็คือการหักผ่านบัญชีอัตโนมัติไปเลย เพราะมนุษย์มีกลไกในการจัดการกับเงินตามที่มี มีน้อยใช้น้อย มีมากใช้มาก การตัดเงินก่อนจึงเรียกว่าเป็นการออมก่อนใช้ ซึ่งก็มองว่าเป็นวิธีการที่ดีที่สุดที่ทำให้เราเห็นบัญชีเงินออมเป็นรูปธรรมเต็มเม็ดเต็มหน่วย”

ดอกเบี้ยทบต้น เป็นอีกศัพท์การเงินพื้นฐานอีกคำที่ควรรู้เพื่อการออม ซึ่งหมายถึงการเก็บเงินแล้วออกผลเป็นดอกเบี้ย หากเป็นการทยอยเก็บนั่นก็เท่ากับว่าดอกเบี้ยก็เพิ่มขึ้นไปตามเงินต้นรวมกับดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นด้วย ก็ยิ่งช่วยให้ได้ผลตอบแทนที่มากกว่าเดิม

ขั้นกว่าของการทำ DCA คือ การให้ระบบตัดเงินแล้วนำไปซื้อกองทุน SSF ซึ่งเป็นการบริหารจัดการกับค่าใช้จ่ายที่ต้องเกิดขึ้นอยู่แล้วอย่างการลดหย่อนภาษีเงินได้ พร้อมกับสร้างโอกาสให้เงินงอกเงยในเวลาเดียวกัน “สำหรับนักลงทุนมือใหม่ที่ยังมองว่าจับจังหวะตลาดไม่ถูก หรือไม่มีเวลาคอยติดตามตลาด การเฉลี่ยแบบนี้จะทำให้เราได้ราคาที่ดีด้วย”

 

IIIi - ออมอย่างไรให้มีชีวิตยืนยาวอย่างยั่งยืน

เราไปต่อถึงเรื่องที่ไกลกว่าที่ว่า ความยั่งยืนทางการเงิน หรือการที่เรามีกินมีใช้ได้อย่างไม่เดือดร้อนตลอดชีวิต เริ่มต้นจากการออมได้หรือไม่ คุณเอ๋ยแนะนำเพิ่มเติมถึงผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่มีชื่อว่า ‘กองทุนรวม’

“เพราะกองทุนรวมเป็น Asset Allocation หรือการจัดสรรสินทรัพย์ลงทุนที่มีการกระจายความเสี่ยงมาแล้วเป็นอย่างดีในจำนวนเงินที่ไม่ต้องใช้เยอะก็สามารถครอบครองได้ ไม่ว่าคุณจะชอบความเสี่ยงสูงหรือไม่ชอบความเสี่ยงเลย หรือชอบลงทุนในไหนก็ตาม เพราะว่าทุกอย่างถูกรวบรวมไว้ในกองทุนรวมทั้งหมด” 

“หรือถ้าเปรียบเทียบง่ายๆ ก็คือ ถ้าเรามีเงินหนึ่งบาท เป็นไปไม่ได้เลยที่จะลงทุนในหุ้น แต่หนึ่งบาทในกองทุนเปรียบเสมือนกับการลงทุนในหุ้นร้อยตัวด้วยซ้ำ”


แล้วความยั่งยืนหรือมั่นคงทางการเงินจะเกิดขึ้นได้อย่างไร? “เพราะการลงทุนมาคู่กับความเสี่ยง ความมั่นคงจึงเกิดขึ้นจากการกระจายความเสี่ยง นั่นคือจำนวนเงินที่เรามีไม่มาก แต่เอาไปรวมกับของคนอื่นให้เยอะขึ้นมาก อำนาจการลงทุนจะเยอะขึ้น นอกจากนั้นแล้วเรายังสามารถลงทุนในหลายสินทรัพย์ได้ ซึ่งการกระจายการลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความไหวตัวในทิศทางตรงกันข้ามกันก็ช่วยในเรื่องการกระจายความเสี่ยงได้ดีอยู่แล้ว” 

“รวมถึงการลงทุนในตลาดต่างประเทศ การลงทุนในกองทุนรวมที่มีนโยบายการลงทุนในต่างประเทศก็ช่วยให้เริ่มต้นได้ง่ายกว่า และมีคนช่วยบริหารจัดการเงินแทนเราทั้งเรื่องข้อมูล ราคาตลาด เป็นการเพิ่มอำนาจให้เราสามารถกระจายความเสี่ยงได้อีกถึงแม้ว่าเงินลงทุนจะไม่เยอะก็ตาม”

“อย่างที่เราคุยกันไปว่า การเริ่มให้เร็วที่สุดเป็นสิ่งที่ถูกต้องใช่ไหมคะ แต่เก็บอย่างเดียวก็แพ้เงินเฟ้อ เพราะฉะนั้นเก็บแล้วก็ต้องให้เงินทำงานไปพร้อมกันด้วย” คุณเอ๋ยแนะนำเพิ่มเติม

สิ่งสำคัญที่ควรควบคู่ไปกับการเริ่มต้นลงทุน จึงเป็นการสะสมความรู้ในสิ่งที่เราลงทุน เพื่อให้มั่นใจได้ว่าสิ่งนั้นเป็นสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับเรา

“ถึงมีคนจัดการให้แล้ว แต่เราก็ต้องรู้อยู่ดี เพราะเราเองต้องเป็นคนเลือกกองที่เหมาะกับเราที่สุด ซึ่งตรงนั้นไม่ต้องกังวลเพราะทุกอย่างมันง่าย ตั้งแต่การทำแบบประเมินความเสี่ยง และการมี FA หรือ Financial Advisor เป็นผู้ให้คำแนะนำด้านการลงทุน

 

“ไม่แปลกใจเลยถ้าคนจะเข้าไม่ถึง FA (ที่ปรึกษาการเงิน) เพราะปกติแล้วคนที่จะมี FA ได้มักเป็นนักลงทุนระดับ High Net Worth (ผู้ลงทุนรายใหญ่) แต่สิ่งที่ FINNOMENA ทำคือ เราต้องการให้ทุกคนมีความรู้เรื่องการลงทุน”

สำหรับ FINNOMENA แล้ว ตั้งใจเป็นมากกว่าแพลตฟอร์มในเรื่องกองทุน แต่เป็นคลังความรู้และอัปเดตเรื่องราวการเงินจากทั่วทุกมุมโลกเพื่อเอื้อให้กับนักลงทุนรายย่อย ซึ่งเป็นผู้ที่ต้องการคำแนะนำด้านการลงทุนมากที่สุด เพื่อช่วยสร้างความมั่นใจในเส้นทางการลงทุนที่อาจเคยคิดว่าเป็นเรื่องยาก ให้กลายเป็นเรื่องในชีวิตประจำวัน

“เราพยายามสร้างองค์ความรู้ให้กับนักลงทุน เพื่อให้เขาปกป้องดูแลตัวเองได้ พร้อมกับมีคนให้คำปรึกษา เพราะโดยปกติแล้วด้วยความที่เราเป็นบริษัท FinTech (เทคโนโลยีทางการเงิน) นอกจากเน้นเรื่องไฮเทค เราก็อยากเพิ่มการไฮทัชเข้าไปด้วยสำหรับหลายคนที่อาจกังวลกับเทคโนโลยีหรือการลงทุนแบบรายบุคคล”

 

IIIi - รู้ทัน ‘การออม’ เสพสื่อยุคใหม่ด้วยความเข้าใจ

เราถามคุณเอ๋ยอีกประเด็นที่อาจไม่ได้เกี่ยวกับการออมโดยตรง แต่เป็นคำว่าการออมในสื่อยุคใหม่ที่แพร่หลาย และอาจสร้างความเข้าใจผิดจนมาในรูปแบบของมิจฉาชีพ

“โดยธรรมชาติ คนเราจะกลัวคำว่า ‘ลงทุน’ มากๆ เหมือนมนุษย์มีกลไกในการตอบโต้กับคำว่าลงทุนเป็นเรื่องที่ไกลตัว มิจฉาชีพจึงเลือกใช้คำว่า ‘ออมเงิน’ แทนเพราะใกล้ตัวกว่า และดึงดูดใจมากกว่า นี่คือสิ่งที่กังวล หรืออีกคำคือคำว่า ‘ออมทอง’ ที่เรามักจะเข้าใจด้วยจิตใต้สำนึกของเราเองว่าไม่มีมีการลดต้น เป็นการสะสมไปเรื่อยๆ แต่จริงๆ แล้วคือการลงทุนในทองซึ่งทำให้คนหลงเชื่อได้ง่าย”

ทาง FINNOMENA เองในฐานะของผู้ให้ข่าวสารข้อมูลด้านการลงทุน ก็ทำงานในแนวทางของธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ขอความร่วมมือจากครีเอเตอร์ทางการเงินในการให้ข่าวสารข้อมูลและความรู้ที่ถูกต้องผ่านสื่อประชาสัมพันธ์ พร้อมกับการจัดบูทแคมป์เพื่ออัปเดตภัยทางการเงินในช่องทางออนไลน์ที่กำลังแอคทีฟอยู่ ยิ่งมิจฉาชีพปรับตัวให้เข้ากับยุคสมัยและเศรษฐกิจมากแค่ไหน คอนเทนต์จากนักสร้างสรรค์ก็จำเป็นต้องช่วยกันพยายามเตือนผู้คนให้ตระหนักและระมัดระวังกับสถานการณ์ให้ได้มากขึ้น

“เพราะ FINNOMENA มาจากคำว่า Finance คือการลงทุน และ Phenomena ที่แปลว่าปรากฏการณ์​ ความตั้งใจของผู้ก่อตั้งเราคือต้องการให้ FINNOMENA เป็นพื้นที่แห่งปรากฏการณ์ใหม่ในการสร้างและส่งเสริมความรู้ด้านการเงินและการลงทุน สื่อของเราไม่ได้มีแค่เรื่องของกองทุนรวมที่เป็นผลิตภัณฑ์อย่างเดียว แต่เราพยายามที่จะให้ความรู้ด้านของเศรษฐกิจเรื่องของข่าวคราวต่างๆในโลกของการเงินเพราะว่าเรามองว่าการเงินเนี่ยเป็นเรื่องของทุกคนจริงๆ”

“การเงินการลงทุนเป็นเรื่องละเอียดอ่อนมาก ก่อนเราจะปล่อยสื่อออกไป เราต้องมีการตรวจสอบหลายขั้นตอน ทั้งในเรื่องความถูกต้องกับภายในเอง และให้เป็นไปตามหลักการมาตรฐานของ ก.ล.ต. (สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์) เพื่อส่งต่อความรู้ที่ถูกต้อง และเป็นกลาง”

 

ปีใหม่นี้จึงถือเป็นโอกาสดีที่พวกเราจะได้ติ๊กถูกช่องแรกตั้งแต่เดือนมกราคมที่เรื่อง ‘การออม’ แล้วไปดูปลายปีพร้อมกันว่าจะงอกเงยถึงเท่าไหร่ เพื่อให้เป็นแรงดึงดูดในการออมที่มากกว่า และอนาคตของการใช้ชีวิตอย่างมั่นคงและสบายใจ

 

เราเชื่อว่า 'การออมเงิน' เป็นหนึ่งใน New Year Resolution หรือปณิธานปีใหม่ของทุกคนในทุกปี ทั้งจากปัจจัยภายในที่ต้องการความมั่นคงของความเป็นอยู่ในอนาคต ไปจนถึงปัจจัยภายนอกอย่างสภาพเศรษฐกิจที่มีแต่ความท้าทายรายรอบด้าน

“จริงๆ แล้วการออมไม่ได้มีอะไรที่ซับซ้อน เราจะเห็นว่า ‘วินัยในการเก็บเงิน’ คือความหมายของการออม” เอ๋ย - ธนานิษฐ์ ธิติจรรยาภัสร์ CFP® (นักวางแผนการเงิน) Investment Advisory Business Development Manager จาก FINNOMENA ให้กำลังใจเรา(และทุกคน) ตั้งแต่เริ่มบทสนทนา

“การเริ่มต้นเป็นสิ่งที่ยากที่สุด เพราะฉะนั้นถ้าพูดเรื่องการออมเงิน คือจะต้องเริ่มต้นให้เร็วที่สุด และมีวินัยในการเก็บเงินเป็นเรื่องสำคัญ การปฏิบัติที่ตามมาจะเป็นอะไรก็ได้ ขอแค่ทำ หลังจากนั้นแล้วก็เป็นเรื่องของแนวทางการเก็บเงินซึ่งก็มีหลากหลายมาก แต่พอยต์ไม่ได้อยู่ที่ว่าวิธีไหนจะดีที่สุด เพราะเงื่อนไขของชีวิตที่ต่างกัน”

“เพราะฉะนั้น สิ่งที่อยากฝากคือ เรื่องการออมเอาให้เหมาะกับเรา ไม่จําเป็นต้องไปเทียบดูว่าคนอื่นเขาออมกันยังไง แล้วเขาประสบความสําเร็จ ให้กลับมาดูว่า เราถนัดแบบไหนแล้วแค่เริ่มต้น นี่ก็เป็นสิ่งที่ดีกับเราแล้ว เพราะการเริ่มต้นเป็นสิ่งที่ยากที่สุด”

คุณเอ๋ยพาเราเริ่มต้นออกเดินทางสู่บทเรียนการออม 101 สำหรับคนมีหวัง และให้ความหวังครั้งนี้เป็นหมุดหมายสำหรับการสร้างสรรค์การใช้ชีวิตยืนยาวอย่างยั่งยืน

  

IIIi - ยิ่งเริ่มเร็วยิ่งได้เปรียบ สูตรลับของการออมอยู่ที่ระยะเวลา

“เคยมีคนบอกไว้ว่า เก็บเงินหมื่นแรกล้านแรกมันยากที่สุดเลย เพราะการเริ่มต้นเอาชนะใจตัวเองกับความท้าทายที่คิดว่า ‘คงไม่ได้หรอก ไม่ไหวหรอก’ เป็นสิ่งที่ยากที่สุด” คุณเอ๋ยเริ่มจากปัญหาจริงที่อยู่ในความคิดของผู้คน

โดยเฉพาะในยุคที่สื่อโซเชียลพัดพาข้อมูลและความเห็นทางด้านการออมในรูปแบบที่หลากหลาย ทั้งจากการแบ่งปันประสบการณ์ แบ่งปันข้อมูล หรือแม้แต่โฆษณาชวนเชื่อที่ท่วมท้นจากกลายเป็นมหาสมุทรของข้อมูลข่าวสารที่ไม่มีสิ้นสุด และยากที่จะเลือกได้ว่าอันไหนที่เราควรจะเข้าไปทดลอง

“เขาบอกว่า ความอัศจรรย์ของเงิน คือมันเรียกเงินได้” นี่ฟังเหมือนเป็นมายาคติหรือไม่? แต่เบื้องหลังประโยคนี้เป็นเรื่องของมายด์เซตในการเก็บเงินที่ค่อยๆ เปลี่ยนไปหลังจากได้เริ่มต้น “เช่นจากปกติเราเคยได้เงินเดือนหมื่นแปด พอเรามีเงินเก็บสักก้อนหนึ่ง เราอาจจะมีความคิดที่อยากพัฒนาในเรื่องการสร้างรายได้ของตัวเองต่อ หรือหาช่องทางที่ทำให้มีรายได้เยอะกว่านี้”

“เพราะฉะนั้น สูตรลัดที่ดีที่สุด คือการเอาชนะใจตัวเอง” ท้าทายตัวเองวันละเล็กละน้อยด้วยการออกจากกรอบความคิดเดิม

“อีกอย่างหนึ่งที่ไม่ใช่สูตรลัด แต่เป็นตัวช่วยสำหรับคนที่คิดว่าจะออมแต่ไม่มีวินัย คือการทำ DCA หรือ Dollar-Cost Averaging ก็คือการหักผ่านบัญชีอัตโนมัติไปเลย เพราะมนุษย์มีกลไกในการจัดการกับเงินตามที่มี มีน้อยใช้น้อย มีมากใช้มาก การตัดเงินก่อนจึงเรียกว่าเป็นการออมก่อนใช้ ซึ่งก็มองว่าเป็นวิธีการที่ดีที่สุดที่ทำให้เราเห็นบัญชีเงินออมเป็นรูปธรรมเต็มเม็ดเต็มหน่วย”

ดอกเบี้ยทบต้น เป็นอีกศัพท์การเงินพื้นฐานอีกคำที่ควรรู้เพื่อการออม ซึ่งหมายถึงการเก็บเงินแล้วออกผลเป็นดอกเบี้ย หากเป็นการทยอยเก็บนั่นก็เท่ากับว่าดอกเบี้ยก็เพิ่มขึ้นไปตามเงินต้นรวมกับดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นด้วย ก็ยิ่งช่วยให้ได้ผลตอบแทนที่มากกว่าเดิม

ขั้นกว่าของการทำ DCA คือ การให้ระบบตัดเงินแล้วนำไปซื้อกองทุน SSF ซึ่งเป็นการบริหารจัดการกับค่าใช้จ่ายที่ต้องเกิดขึ้นอยู่แล้วอย่างการลดหย่อนภาษีเงินได้ พร้อมกับสร้างโอกาสให้เงินงอกเงยในเวลาเดียวกัน “สำหรับนักลงทุนมือใหม่ที่ยังมองว่าจับจังหวะตลาดไม่ถูก หรือไม่มีเวลาคอยติดตามตลาด การเฉลี่ยแบบนี้จะทำให้เราได้ราคาที่ดีด้วย”

 

IIIi - ออมอย่างไรให้มีชีวิตยืนยาวอย่างยั่งยืน

เราไปต่อถึงเรื่องที่ไกลกว่าที่ว่า ความยั่งยืนทางการเงิน หรือการที่เรามีกินมีใช้ได้อย่างไม่เดือดร้อนตลอดชีวิต เริ่มต้นจากการออมได้หรือไม่ คุณเอ๋ยแนะนำเพิ่มเติมถึงผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่มีชื่อว่า ‘กองทุนรวม’

“เพราะกองทุนรวมเป็น Asset Allocation หรือการจัดสรรสินทรัพย์ลงทุนที่มีการกระจายความเสี่ยงมาแล้วเป็นอย่างดีในจำนวนเงินที่ไม่ต้องใช้เยอะก็สามารถครอบครองได้ ไม่ว่าคุณจะชอบความเสี่ยงสูงหรือไม่ชอบความเสี่ยงเลย หรือชอบลงทุนในไหนก็ตาม เพราะว่าทุกอย่างถูกรวบรวมไว้ในกองทุนรวมทั้งหมด” 

“หรือถ้าเปรียบเทียบง่ายๆ ก็คือ ถ้าเรามีเงินหนึ่งบาท เป็นไปไม่ได้เลยที่จะลงทุนในหุ้น แต่หนึ่งบาทในกองทุนเปรียบเสมือนกับการลงทุนในหุ้นร้อยตัวด้วยซ้ำ”


แล้วความยั่งยืนหรือมั่นคงทางการเงินจะเกิดขึ้นได้อย่างไร? “เพราะการลงทุนมาคู่กับความเสี่ยง ความมั่นคงจึงเกิดขึ้นจากการกระจายความเสี่ยง นั่นคือจำนวนเงินที่เรามีไม่มาก แต่เอาไปรวมกับของคนอื่นให้เยอะขึ้นมาก อำนาจการลงทุนจะเยอะขึ้น นอกจากนั้นแล้วเรายังสามารถลงทุนในหลายสินทรัพย์ได้ ซึ่งการกระจายการลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความไหวตัวในทิศทางตรงกันข้ามกันก็ช่วยในเรื่องการกระจายความเสี่ยงได้ดีอยู่แล้ว” 

“รวมถึงการลงทุนในตลาดต่างประเทศ การลงทุนในกองทุนรวมที่มีนโยบายการลงทุนในต่างประเทศก็ช่วยให้เริ่มต้นได้ง่ายกว่า และมีคนช่วยบริหารจัดการเงินแทนเราทั้งเรื่องข้อมูล ราคาตลาด เป็นการเพิ่มอำนาจให้เราสามารถกระจายความเสี่ยงได้อีกถึงแม้ว่าเงินลงทุนจะไม่เยอะก็ตาม”

“อย่างที่เราคุยกันไปว่า การเริ่มให้เร็วที่สุดเป็นสิ่งที่ถูกต้องใช่ไหมคะ แต่เก็บอย่างเดียวก็แพ้เงินเฟ้อ เพราะฉะนั้นเก็บแล้วก็ต้องให้เงินทำงานไปพร้อมกันด้วย” คุณเอ๋ยแนะนำเพิ่มเติม

สิ่งสำคัญที่ควรควบคู่ไปกับการเริ่มต้นลงทุน จึงเป็นการสะสมความรู้ในสิ่งที่เราลงทุน เพื่อให้มั่นใจได้ว่าสิ่งนั้นเป็นสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับเรา

“ถึงมีคนจัดการให้แล้ว แต่เราก็ต้องรู้อยู่ดี เพราะเราเองต้องเป็นคนเลือกกองที่เหมาะกับเราที่สุด ซึ่งตรงนั้นไม่ต้องกังวลเพราะทุกอย่างมันง่าย ตั้งแต่การทำแบบประเมินความเสี่ยง และการมี FA หรือ Financial Advisor เป็นผู้ให้คำแนะนำด้านการลงทุน

 

“ไม่แปลกใจเลยถ้าคนจะเข้าไม่ถึง FA (ที่ปรึกษาการเงิน) เพราะปกติแล้วคนที่จะมี FA ได้มักเป็นนักลงทุนระดับ High Net Worth (ผู้ลงทุนรายใหญ่) แต่สิ่งที่ FINNOMENA ทำคือ เราต้องการให้ทุกคนมีความรู้เรื่องการลงทุน”

สำหรับ FINNOMENA แล้ว ตั้งใจเป็นมากกว่าแพลตฟอร์มในเรื่องกองทุน แต่เป็นคลังความรู้และอัปเดตเรื่องราวการเงินจากทั่วทุกมุมโลกเพื่อเอื้อให้กับนักลงทุนรายย่อย ซึ่งเป็นผู้ที่ต้องการคำแนะนำด้านการลงทุนมากที่สุด เพื่อช่วยสร้างความมั่นใจในเส้นทางการลงทุนที่อาจเคยคิดว่าเป็นเรื่องยาก ให้กลายเป็นเรื่องในชีวิตประจำวัน

“เราพยายามสร้างองค์ความรู้ให้กับนักลงทุน เพื่อให้เขาปกป้องดูแลตัวเองได้ พร้อมกับมีคนให้คำปรึกษา เพราะโดยปกติแล้วด้วยความที่เราเป็นบริษัท FinTech (เทคโนโลยีทางการเงิน) นอกจากเน้นเรื่องไฮเทค เราก็อยากเพิ่มการไฮทัชเข้าไปด้วยสำหรับหลายคนที่อาจกังวลกับเทคโนโลยีหรือการลงทุนแบบรายบุคคล”

 

IIIi - รู้ทัน ‘การออม’ เสพสื่อยุคใหม่ด้วยความเข้าใจ

เราถามคุณเอ๋ยอีกประเด็นที่อาจไม่ได้เกี่ยวกับการออมโดยตรง แต่เป็นคำว่าการออมในสื่อยุคใหม่ที่แพร่หลาย และอาจสร้างความเข้าใจผิดจนมาในรูปแบบของมิจฉาชีพ

“โดยธรรมชาติ คนเราจะกลัวคำว่า ‘ลงทุน’ มากๆ เหมือนมนุษย์มีกลไกในการตอบโต้กับคำว่าลงทุนเป็นเรื่องที่ไกลตัว มิจฉาชีพจึงเลือกใช้คำว่า ‘ออมเงิน’ แทนเพราะใกล้ตัวกว่า และดึงดูดใจมากกว่า นี่คือสิ่งที่กังวล หรืออีกคำคือคำว่า ‘ออมทอง’ ที่เรามักจะเข้าใจด้วยจิตใต้สำนึกของเราเองว่าไม่มีมีการลดต้น เป็นการสะสมไปเรื่อยๆ แต่จริงๆ แล้วคือการลงทุนในทองซึ่งทำให้คนหลงเชื่อได้ง่าย”

ทาง FINNOMENA เองในฐานะของผู้ให้ข่าวสารข้อมูลด้านการลงทุน ก็ทำงานในแนวทางของธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ขอความร่วมมือจากครีเอเตอร์ทางการเงินในการให้ข่าวสารข้อมูลและความรู้ที่ถูกต้องผ่านสื่อประชาสัมพันธ์ พร้อมกับการจัดบูทแคมป์เพื่ออัปเดตภัยทางการเงินในช่องทางออนไลน์ที่กำลังแอคทีฟอยู่ ยิ่งมิจฉาชีพปรับตัวให้เข้ากับยุคสมัยและเศรษฐกิจมากแค่ไหน คอนเทนต์จากนักสร้างสรรค์ก็จำเป็นต้องช่วยกันพยายามเตือนผู้คนให้ตระหนักและระมัดระวังกับสถานการณ์ให้ได้มากขึ้น

“เพราะ FINNOMENA มาจากคำว่า Finance คือการลงทุน และ Phenomena ที่แปลว่าปรากฏการณ์​ ความตั้งใจของผู้ก่อตั้งเราคือต้องการให้ FINNOMENA เป็นพื้นที่แห่งปรากฏการณ์ใหม่ในการสร้างและส่งเสริมความรู้ด้านการเงินและการลงทุน สื่อของเราไม่ได้มีแค่เรื่องของกองทุนรวมที่เป็นผลิตภัณฑ์อย่างเดียว แต่เราพยายามที่จะให้ความรู้ด้านของเศรษฐกิจเรื่องของข่าวคราวต่างๆในโลกของการเงินเพราะว่าเรามองว่าการเงินเนี่ยเป็นเรื่องของทุกคนจริงๆ”

“การเงินการลงทุนเป็นเรื่องละเอียดอ่อนมาก ก่อนเราจะปล่อยสื่อออกไป เราต้องมีการตรวจสอบหลายขั้นตอน ทั้งในเรื่องความถูกต้องกับภายในเอง และให้เป็นไปตามหลักการมาตรฐานของ ก.ล.ต. (สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์) เพื่อส่งต่อความรู้ที่ถูกต้อง และเป็นกลาง”

 

ปีใหม่นี้จึงถือเป็นโอกาสดีที่พวกเราจะได้ติ๊กถูกช่องแรกตั้งแต่เดือนมกราคมที่เรื่อง ‘การออม’ แล้วไปดูปลายปีพร้อมกันว่าจะงอกเงยถึงเท่าไหร่ เพื่อให้เป็นแรงดึงดูดในการออมที่มากกว่า และอนาคตของการใช้ชีวิตอย่างมั่นคงและสบายใจ

 

Text:

Nathanich C.

Nathanich C.

PHOTO:

Chanathip K.

Chanathip K.

Related Posts