Early BKK คาเฟ่ย่านสัมมากร ที่สื่อสารวิถีชีวิตแบบรักษ์โลกผ่านการลงมือทำ

Early BKK คาเฟ่ย่านสัมมากร ที่สื่อสารวิถีชีวิตแบบรักษ์โลกผ่านการลงมือทำ

26 ม.ค. 2567

SHARE WITH:

26 ม.ค. 2567

26 ม.ค. 2567

SHARE WITH:

SHARE WITH:

Early BKK คาเฟ่ย่านสัมมากร ที่สื่อสารวิถีชีวิตแบบรักษ์โลกผ่านการลงมือทำ

“เคสนใจเรื่องสิ่งแวดล้อมมาตั้งแต่เด็ก เวลาไปเรียนซัมเมอร์หรือเที่ยวต่างประเทศ ก็จะคอยสังเกตว่าคนท้องถิ่นเขาใช้ชีวิตบนแนวคิดเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมยังไง ก็พบว่ามันต่างกันมากกับที่ไทย และพอโตมาทำงานด้าน Design Strategy ก็เห็นว่าปัญหามันเยอะมาก เวลาสร้างอะไรก็ตามขึ้นมา มันจะมีของเหลือทิ้งเยอะมาก เคเลยพยายามหาทางออกเกี่ยวกับการดีไซน์ที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมมาเรื่อยๆ จนถึงจุดที่ลาออกมาทำธุรกิจของตัวเอง เลยคิดว่าในวันที่ได้ทำอะไรเป็นของตัวเอง เคจะเอาแนวคิดนี้มาปรับใช้”

จากพื้นฐานที่เป็นคนตระหนักเรื่องสิ่งแวดล้อมมาโดยตลอดของ เค-เคฑิตา ชัยศักดิ์ศิริ นำมาสู่แรงบันดาลใจในการเปิดคาเฟ่ ‘Early BKK’ ในย่านสัมมากร หรือรามคำแหง 110 ร่วมกับ กิ๊ฟ-กรัณฑารณ์ ธนะกวินวัจน์ เพื่อสื่อสารว่าทุกคนสามารถมีวิถีชีวิตแบบรักษ์โลกได้ผ่านการลงมือทำให้ดูเป็นตัวอย่าง


IIIi - สร้างสรรค์ร้านจากวัสดุรีไซเคิลและอัปไซเคิล

สิ่งแรกที่สะดุดตายามมาถึงคาเฟ่ Early BKK คือฟาซาดรูปสามเหลี่ยมบริเวณด้านหน้าอาคาร ซึ่งเมื่อสำรวจรายละเอียดใกล้ๆ แล้วก็คือโครงเหล็กแนวตะแกรงวงกลม โดยบางห่วงนั้นใส่ขวดแก้วสีชาไว้ ไม่ใช่เพื่อการตกแต่งเพียงอย่างเดียว แต่ได้ประโยชน์ในเรื่องแสงและเงาที่แตกต่างกันไปตามแสงแดดในแต่ละช่วงเวลาของวันด้วย

เดินผ่านแนวฟาซาดเข้ามา ก็พบกับถังขยะที่แบ่งตามประเภท ซึ่งที่ประทับใจเรามากเลยคือมีถังสำหรับทิ้งเศษอาหารและน้ำแข็งด้วย เมื่อเดินเข้าไปในร้าน เคาน์เตอร์สีขาวที่มีพื้นผิวด้านบนเป็นลวดลายเทอร์ราซโซ (Terrazzo) จากเศษขวดแก้ว ตั้งอยู่โดดเด่นใจกลางร้าน และพอนั่งประจำโต๊ะแล้วมองไปรอบๆ ร้าน ก็ถูกดึงดูดสายตาด้วยความแปลกตาของผนังร้าน ที่เรามารู้ทีหลังว่าทำจากกล่องนม

ตอนที่คิดคอนเซปต์ของร้านกับพาร์ตเนอร์และดีไซเนอร์ เคพยายามคิดว่าขยะที่พบเห็นได้บ่อยๆ และสามารถสื่อสารให้ลูกค้าเข้าใจได้ง่ายมันมีอะไรบ้าง ก็เลยคิดจากแกนหลักที่ว่าร้านขายเครื่องดื่ม แล้วบรรจุภัณฑ์ของเครื่องดื่มมีอะไรบ้างล่ะ มีกล่องนม มีขวดแก้วต่างๆ เคเลยหยิบมาเป็นของตกแต่งภายในร้าน เพราะต้องการให้ลูกค้าสามารถรีเลตได้ว่าขวดสีชาพวกนี้ กล่องนมพวกนี้ที่ถูกทิ้งไว้หน้าบ้าน ไม่มีความหมายอะไรเลย วันหนึ่งมันสามารถกลายมาเป็นของตกแต่งภายในร้านเคได้เหมือนกัน” 

ทั้งขวดแก้วสีชาต่างๆ ที่เป็นส่วนประกอบของฟาซาดและงานเทอร์ราซโซบนเคาน์เตอร์กลางร้าน และผนังจากกล่องนมนั้นล้วนเป็นของที่ถูกทิ้งเป็นขยะมาก่อนทั้งสิ้น แต่กว่าจะเนรมิตทุกอย่างให้ออกมาเป็นรูปเป็นร่างอย่างที่เห็นในปัจจุบันได้นั้น ไม่ใช่เรื่องง่าย

“ร้านนี้ไม่ใช่ว่าคิดแค่ 3 เดือนแล้วลงมือทำเลย แต่เกิดจากการค่อยๆ สั่งสมไปเรื่อยๆ น่าจะเกือบ 2 ปี โดยเคจะจดใส่สมุดของตัวเองตลอดว่าจะทำอะไรดี เพราะเคเชื่อว่าคนไม่ได้ซื้อสิ่งที่เราขาย แต่ซื้อสิ่งที่เราลงมือทำ เพราะฉะนั้นมันต้องเป็นคาแรกเตอร์ที่เป็นตัวเราเองจริงๆ เคทำบรีฟไว้หมดเลยว่าเคมองร้านของตัวเองไว้เป็นยังไง โฟลว์ร้านเป็นยังไง หาเรเฟอเรนซ์ที่ชัดเจน โดยเอาประสบการณ์จากตอนทำงานดีไซน์ในห้างมาก่อนว่าสิ่งที่ลูกค้ามองหาเวลามาห้างห้างหนึ่งเนี่ยคืออะไร แล้วลูกค้าคอมเพลนเรื่องอะไรบ้าง"

"และตอนนั้นเคมีแผ่นผนังจากกล่องนมอยู่กับตัว เคก็เข้าหาดีไซเนอร์เลยว่าทำให้ได้ไหม แต่หลายๆ เจ้าก็ปฏิเสธ เพราะเขาบอกว่าไม่เคยมีใครใช้วัสดุตัวนี้ทำมาก่อน เขาไม่กล้าทำ กลัวว่าถ้าพลาดแล้วพัง จะทำยังไง จนมาเจอ space+craft ซึ่งเป็นดีไซเนอร์ที่เป็นรุ่นพี่ที่เคยทำงานด้วยกัน เคบอกเขาว่าไม่เป็นไรเลยนะ พังก็คือพัง เครับผิดชอบเอง แต่แค่ทำเป็นรูปธรรมให้หน่อย ซึ่ง space+craft เขามองว่ามันใหม่และอยากลองทำ”

ถึงตรงนี้หลายคนคงสงสัยว่า ‘ผนังจากกล่องนม’ คืออะไร ชื่อจริงๆ ของมันคือ ‘วัสดุทดแทนไม้จากขยะกล่องนม’ หรือ ‘Enviro Board’ ซึ่งประกอบไปด้วยกล่องนมที่เหลือทิ้งจากขั้นตอนการผลิตด้วยสาเหตุต่างๆ เช่น เฉดสีเพี้ยน ไม่เป็นไปตามแบรนดิ้งของยี่ห้อนมนั้นๆ จึงไม่สามารถนำมาใช้บรรจุผลิตภัณฑ์เพื่อวางจำหน่ายได้ คิดเป็นจำนวน 80 เปอร์เซ็นต์ ส่วนอีก 20 เปอร์เซ็นต์คือกล่องนมที่เหลือทิ้งจากการบริโภคแล้ว (Post-consumer Wastes) โดยโรงงานจะคัดกรอง ทำความสะอาด แล้วป่นกล่องนมให้เป็นชิ้นเล็กๆ และนำเข้าสู่กระบวนการบีบอัด เพื่อผลิตออกมาเป็น Enviro Board ที่สมบูรณ์

“มันเริ่มจากการชอบไปเดินดูงานดีไซน์วีค งานเกี่ยวกับการจัดการขยะต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ รวมถึงไปทำงานเป็นอาสาสมัครออกบูธเกี่ยวกับการจัดการขยะ จนมีโอกาสได้รู้จักและทำงานกับคนที่ทำงานด้านนี้มาโดยตลอด รวมไปถึง Tetra Pak ซึ่งเราก็คุยกันเรื่อยๆ เกี่ยวกับทางออกของวัสดุเหลือทิ้งต่างๆ บางทีเขาก็ส่งมาให้เคดูว่าวัสดุนี้สามารถทำอะไรได้บ้าง อย่าง Enviro Board นี้ ก็ดีที่เราได้ไปทำงานกับเขาเพื่อหาทางออกให้กับวัสดุกล่องนมที่ถูกทิ้งเหล่านี้”

“จริงๆ เราสองคนเห็นมาก่อนหน้านี้แล้วว่า Enviro Board สามารถนำไปทำเป็นไม้แบบเพื่อเทปูนในการก่อสร้าง” กิ๊ฟอธิบายเสริม “ก็รู้สึกว่ามันสวยมากเลย ไม่ควรจะเป็นแค่ไม้แบบ และก็คิดว่าถ้าใช้เป็นไม้แบบในการก่อสร้างได้ มันต้องแข็งแรงประมาณหนึ่งเลย”

“เราเลยลองเอามาทำเป็นผนังร้านของเราดู ซึ่งตอนแรกเคก็ลุ้นอยู่นะว่าเวลาลูกค้ามานั่ง มันจะพังลงมาไหม โดยเฉพาะชั้นบนที่เราเอามาทำเป็นฝ้า แต่ตั้งแต่เปิดร้านมาจนปีกว่าแล้ว ก็พิสูจน์ได้ว่ามันแข็งแรงจริง ไม่หัก ไม่พัง ทนกว่าไม้เยอะเลย ปลวกไม่กิน โดนน้ำก็ไม่เป็นอะไร”

ในระหว่างที่ทดลองใช้งานจริงตลอดหนึ่งปีเศษนั้น ทั้งเคและกิ๊ฟคอยสังเกตคุณภาพการใช้งานของ Enviro Board และแจ้งฟีดแบ็กกับทางผู้ผลิตอยู่เสมอ

ลูกค้าที่มาร้านเคตั้งแต่เปิดแรกๆ จะเห็นเลยว่ามีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา อยู่ดีๆ ก็มีอันนั้นเพิ่มขึ้นมา ส่วนอันนี้ที่เคยเห็นก็โดนเอาออก นั่นเป็นเพราะว่าเราเองก็ทดลองอยู่เหมือนกันว่ามันสามารถใช้งานได้ทนทานในระยะยาวจริงๆ ไหม ถ้ามาร้านตั้งแต่หลังกลางเดือนธันวาคมเป็นต้นไป ก็จะเป็นช่วงที่เราขยายร้านใหม่เสร็จแล้ว ลูกค้าก็จะได้เห็นโต๊ะและเก้าอี้ที่ทำจาก Enviro Board มากยิ่งขึ้น”

“เหมือนพอเรารู้แล้วว่า Enviro Board มันใช้งานได้จริง เราก็ลองดึงมาใช้กับส่วนอื่นๆ ในร้านเพิ่มเติมด้วย ไม่ใช่แค่ทำผนังหรือฝ้าอย่างเดียว” กิ๊ฟเสริม

“ความตั้งใจของกิ๊ฟกับเคคือใช้จริงในร้านเพื่อให้คนเห็นว่าวัสดุจากขยะมันสวยได้และสามารถเอามาใช้งานได้จริง บางครั้งถูกกว่าและทนทานกว่าด้วยซ้ำ หรืออย่างเคาน์เตอร์กาแฟที่ผสมเศษขวดแก้วนี่บางคนก็ถามว่าจะใช้ได้จริงเหรอ มันก็ใช้ได้นะ แถมลูกค้าชอบและกลายเป็นแรงบันดาลใจให้พวกเขาไปทำบ้านของตัวเองด้วย”

“เคบอกว่าลองเอาไปทำตามดูสิ ถ้าช่างเขางง ก็ให้มาดูที่ร้านก็ได้ เคอยากให้ร้านเราเป็นเหมือน Living Room สำหรับคนที่อยากจะสร้างบ้านหรือทำป๊อปอัปอิเวนต์ที่ไม่ต้องการใช้วัสดุเยอะ มาลองดูว่าวัสดุจากขยะมันสามารถทำอะไรได้บ้าง Enviro Board ก็มีบางคนเอาไปใช้ในคลินิกความงาม แม้กระทั่งคนที่เคยทำงานออกแบบกับเรา เขาก็มาดูและเรียนรู้ว่าวัสดุเหล่านี้มันใช้ได้จริงและกำลังจะตามไปใช้บ้างแล้ว หรือ Tetra Pak เองก็บอกว่าร้านเราเหมือนโชว์รูมเลย และก็ขอมาจัดงานอิเวนต์ของเขาที่นี่ เราก็รู้สึกดีว่าวันนี้เราได้ทำในสิ่งที่เราตั้งใจไว้สำเร็จ”


IIIi - เสิร์ฟอาหารตามแนวคิด Slow Food และสร้าง Food Waste น้อยที่สุด

“เราสองคนจะคิดให้ทุกเมนูที่ร้าน ตั้งแต่กาแฟไปจนถึงอาหาร สามารถแชร์วัตถุดิบด้วยกันได้ทั้งหมด ไม่ต้องซื้ออะไรเพิ่ม”

เคอธิบายวิธีการจัดการวัตถุดิบในคาเฟ่ Early BKK เพื่อให้เกิดขยะอาหารหรือ Food Waste น้อยที่สุด ในกรณีที่เป็นผักที่รูปร่างไม่สวยจนไม่สามารถใช้เสิร์ฟลูกค้าได้ ทางร้านจะคัดออกแล้วนำไปปรุงอาหารเพื่อรับประทานกันเอง แต่หากมีเศษอาหารเหลือทิ้งจริงๆ ทางร้านจะส่งให้ ‘ใจกล้า’ แบรนด์ขนมสำหรับสุนัขที่ใช้โปรตีนจากแมลง ซึ่งเป็นพาร์ตเนอร์ของ Early BKK ประมาณทุกๆ สองสัปดาห์ เพื่อนำขยะอาหารเหล่านั้นไปแปลงเป็นอาหารเลี้ยงแมลง Black Soldier Fly เพื่อเข้าสู่กระบวนการผลิตเป็นขนมสำหรับสุนัขส่งกลับมาวางจำหน่ายในคาเฟ่แห่งนี้ด้วย 

“อีกเรื่องหนึ่งที่เราสองคนคิดกันมาตลอดคือการเสิร์ฟอาหารสักหนึ่งเมนูมันควรจะกินได้หมดจาน” กิ๊ฟเสริม

“เพราะฉะนั้นอาหารของร้านเราจะไม่มีของตกแต่งจานที่วางเพื่อความสวยงามเฉยๆ แต่กินไม่ได้เลย เครื่องดื่มก็เหมือนกัน อะไรที่ใส่ลงไปแสดงว่าลูกค้ากินได้หมด อาจจะเหลือทิ้งแค่พวกเมล็ด เช่น เมล็ดบ๊วย เราจะพยายามคิดเสมอว่าอันนี้จำเป็นต้องใส่ไหม ถ้าไม่จำเป็น ก็ไม่ต้อง เราสามารถวางอะโวคาโดโทสต์แค่ชิ้นเดียวได้เลยในจาน เพราะเรากินแค่นั้น ไม่จำเป็นต้องมีกระดาษรอง เรื่องแบบนี้บางทีคนมักจะมองข้าม แต่จริงๆ มันสร้างขยะเยอะมากเลยนะ” 

นอกจากนี้คาเฟ่ Early BKK ยังดำเนินร้านตามแนวทาง Slow Food ด้วย

“แนวทาง Slow Food ของร้านคือเราจะพยายามให้มากที่สุดให้รู้ว่าวัตถุดิบทุกอย่างที่เราใช้มีต้นทางมาจากไหน ยกตัวอย่างกาแฟ เราต้องรู้ว่าแหล่งที่ปลูกอยู่ที่ไหน และเราจะใช้กาแฟที่เป็น Fair Trade หมายถึงเงินต้องไม่ตกไปที่พ่อค้าคนกลางเยอะ เกษตรกรได้รับค่าแรงที่เป็นธรรมจริงๆ และเคก็จะคุยกับเหล่าเกษตรกรที่เป็นเจ้าของวัตถุดิบโดยตรงเลย”

เคยกตัวอย่าง ‘Ume Cold Brew’ หนึ่งในเมนูเด่นของร้านที่เสิร์ฟให้เราได้ลองชิม 

“เราใช้บ๊วยที่ปลูกที่เชียงใหม่ มันก็จะมีที่มาชัดเลยว่ารุ่นพี่ของเคไปสร้างโรงบ่มบ๊วยเพื่อสร้างรายได้เพิ่มให้เกษตรกร เนื่องจากกาแฟใช้เวลาปลูกนาน ประมาณ 1 ปีกว่าจะได้ผล รายได้ของเกษตรกรก็ขาดตอน เพราะฉะนั้นในระหว่างที่รอกาแฟออก ก็ให้เกษตรกรลองหัดปลูกบ๊วยและสร้างโรงบ่มบ๊วยให้ ซึ่งพอเขาปลูก ผลผลิตที่ได้มันอร่อยดี เราเลยเอามาทำเป็นเมนูในร้าน” 

นิยาม Slow Food ของร้านไม่ได้มีแค่การรู้ต้นทางของวัตถุดิบและความเป็นธรรมต่อเกษตรกรเท่านั้น

อาหารในร้านเราทุกเมนูจะไม่ใช้วัตถุดิบแช่แข็งเลย ทุกจานคือการทำสด ดังนั้นมันจะใช้เวลาในการทำ นอกจากนี้เราจะเปลี่ยนสายพันธุ์ของวัตถุดิบที่ใช้ไปตามฤดูกาล ยกตัวอย่างอะโวคาโด จริงๆ สามารถฝืนใช้อะโวคาโดพันธุ์เดียวได้ทั้งปีนะ แต่ต้องใช้สารเคมี ซึ่งเคกับกิ๊ฟไม่ทำแบบนั้น เราขอเลือกใช้ตามพันธุ์ที่มีในช่วงเวลานั้นๆ ดีกว่า ลูกค้าที่มากินประจำเขาจะรู้เลยว่าจะมีช่วงหนึ่งของปีที่อะโวคาโดหวานกว่าปกติ เพราะเราไม่ได้ไปฝืนใช้อยู่แค่พันธุ์เดียว หรือถ้าตรงกับช่วงแล้งที่ทำให้ไม่มีอะโวคาโด เราก็จะงดจำหน่ายเมนูที่มีอะโวคาโดไปชั่วคราวเลย จริงๆ มันมีแบบแช่แข็งนะ แต่เราไม่อยากเอามาใช้ เพราะมันไม่ใช่ Slow Food

“ส่วนกาแฟตัวคั่วอ่อนของร้าน เคก็จะเปลี่ยนตามฤดูกาลตลอด ถ้าช่วงนี้มีพันธุ์ของห้วยน้ำกืน เราก็จะใช้ตัวนี้ อีกสักสองเดือนมีสะเมิง ก็ใช้สะเมิง ร้านเราจะเปลี่ยนไปเรื่อยๆ เพื่อให้ลูกค้าได้ลองกาแฟไทยที่หลากหลาย”

“เราพยายามใช้สายพันธุ์ไทย อย่างอะโวคาโด ก็ใช้อะโวคาโดไทยตลอด ตอนเปิดร้านแรกๆ เราไม่มีความคิดที่จะใช้อะโวคาโดจากเมืองนอกเลย เพราะนอกจากเรื่องการแช่แข็งวัตถุดิบและผลกระทบจากเชื้อเพลิงในการขนส่งแล้ว จริงๆ แล้วอะโวคาโดไทยดีๆ มันอร่อยมากเลย เราเลยเลือกใช้ของไทยกัน” กิ๊ฟเสริม

Early BKK ค่อยๆ ปรับตัวตามแนวทาง Slow Food ให้ได้มากที่สุด เพื่อเป็นหนึ่งในแรงกระเพื่อมในการสร้างการเปลี่ยนแปลงให้คนในสังคมหันมาใส่ใจประเด็นนี้มากยิ่งขึ้น 

“Slow Food มันไม่ได้ดีต่อโลกเท่านั้น แต่ยังดีต่อทุกๆ คนด้วยในแง่ของสุขภาพ คนส่วนใหญ่อาจจะลืมไปว่าจริงๆ แล้วเราไม่จำเป็นต้องเร่งรีบขนาดนั้นก็ได้ เคเลยอยากจะโปรโมตเรื่องนี้เพื่อให้ทุกคนได้เอ็นจอยขึ้นอีกนิดในการกินอาหาร”


IIIi - สนับสนุนบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

"มูฟเมนต์หนึ่งที่เราทำกันในร้านคือให้ส่วนลดสำหรับลูกค้าที่เอาบรรจุภัณฑ์มาเอง”

เคเล่าให้ฟังถึงการสร้างแรงจูงใจให้แก่ลูกค้าที่สั่งอาหารและเครื่องดื่มกลับบ้าน ส่วนลูกค้าที่รับประทานภายในร้าน ก็จะเป็นจาน ชาม แก้วของทางร้านที่สามารถเก็บล้างและนำมาใช้ใหม่ได้ เพื่อเป็นการลดขยะบรรจุภัณฑ์

“ถามว่ายากไหม ยากนะ เพราะลูกค้าก็ไม่เข้าใจเท่าไรในช่วงแรกๆ แต่พอเราแจ้งเขาล่วงหน้าว่า ถ้าเตรียมกล่อง เตรียมแก้วมาเอง เรามีส่วนลดให้นะ และก็เสริมไปด้วยว่าบรรจุภัณฑ์เหล่านี้มันเก็บความร้อนได้ดีกว่านะ หรือถ้ากินเย็น ก็อาจจะเก็บน้ำแข็งได้ยาวกว่า รอบต่อไปเขาก็จะเตรียมบรรจุภัณฑ์มา ช่วงหลังๆ มันก็ดีขึ้นเรื่อยๆ ด้วยคาแรกเตอร์ของร้านด้วย ทำให้ลูกค้ารับรู้ว่า Early BKK เป็นร้านที่เข้ามาแล้วจะได้พูดคุยกันไปเรื่อยๆ สุดท้ายทุกคนที่เข้ามาก็จะติดนิสัยทำตามๆ กันไปโดยปริยาย กลายเป็นว่าทุกวันนี้ลูกค้าประจำทุกคนจะมีบรรจุภัณฑ์ต่างๆ ติดตัวมาเองเต็มไปหมด”

“พวกเราจะชอบชวนลูกค้าคุยและค่อยๆ หยอดให้ลูกค้าเขาฉุกคิดนิดนึง” กิ๊ฟเสริม “ซื้อแบบ Takeaway เนี่ย มันไม่ได้มีแค่กล่องหรือแก้วนะ มันมีถุงด้วย และถ้าลูกค้าสั่งสองแก้ว นอกจากถุงแล้ว มันมีถาดรองแก้วเพิ่มมาด้วย พอลูกค้าฟังแล้ว เขาก็จะยิ่งเห็นภาพและคิดตามจนครั้งต่อไปเขาก็จะเตรียมบรรจุภัณฑ์มาเอง แต่ถ้าเราไม่ได้ชวนเขาคุย เขาก็จะทำตามความเคยชินและไม่ได้สังเกตว่าสร้างขยะมากขึ้นเท่าไร ขณะเดียวกันเราก็จะบอกพนักงานในร้านด้วยว่าให้ถามลูกค้าก่อนเสมอว่าเอาถุงไหม ถ้าเขาไม่เอาถุง แสดงว่าเขาถือไปเองได้ เราก็ไม่ต้องเพิ่มถุงให้เขา”

“หรือถ้าเขาไม่ได้จอดรถไกล เคก็จะให้พนักงานในร้านเดินไปส่ง หรือบางทีก็เป็นตัวเคเองที่ไป เพราะจะได้เดินคุยกับลูกค้าไปด้วย แต่เราก็ไม่ได้ฮาร์ดเซลลูกค้าขนาดนั้น เคจะบอกลูกค้าตลอดว่าไม่เป็นไร วันนี้เริ่มเท่าที่ไหว ถ้าวันนี้ไหวแค่เรื่องหลอด ก็ลดไปทีละนิดก็ได้ คนเราถ้าเริ่มทีเดียวเลยสิบอย่าง มันฝืน ทำไม่ได้หรอก แต่เคจะบอกว่าค่อยๆ สร้างชาเลนจ์ให้ตัวเอง สมมติตั้งเป้าว่าลองไม่ใช้หลอด 5 วัน ถ้าไหว แสดงว่าทำได้ละ ค่อยไปสเต็ปต่อไป ลองพกแก้วมาเอง ทำได้ก็ไปต่อ ค่อยๆ ปรับตัวไปเรื่อยๆ”

ในกรณีที่ลูกค้าไม่ได้เตรียมแก้วมาเองและต้องการสั่งแบบ Takeaway แรกเริ่ม Early BKK ใช้แก้วแบบ PLA (Polylactic Acid) ซึ่งทำจากพลาสติกชีวภาพ แต่ทางร้านก็ไม่หยุดค้นหาบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่านี้ จนในที่สุดก็ได้เจอกับแก้วแบบ PBS (Polybutylene Succinate) ซึ่งเป็นบรรจุภัณฑ์กระดาษเคลือบพลาสติกชีวภาพ สามารถย่อยสลายได้เองภายใน 6 เดือน โดยเปิดตัวใช้งานแล้วพร้อมรูปโฉมใหม่ของร้านที่ปรับปรุงเรียบร้อย

“เวลาคุยกันในหมู่คนทำธุรกิจคาเฟ่แนวนี้ ทุกคนจะคุยกันตลอดว่าจะทำยังไงดีเรื่องแก้ว พอเจอตัวนี้ มันเหมือนเป็นแสงสว่างมาก แก้วใหม่นี้เราเพิ่งได้ไม่กี่เดือนที่ผ่านมานี้เองผ่านการคุยกับอาจารย์ที่จุฬาฯ ซึ่งทำงานด้าน zero waste แก้ว PBS มันเป็นแก้วที่ได้มาตรฐานปุ๋ยหมักระดับครัวเรือน (home compostable) สมมติเอาแก้วนี้ไปฝังหน้าบ้าน ผ่านไป 6 เดือนมันจะหายไป 

“ก่อนเปิดใช้จริง เคซื้อมาลองใช้ก่อนว่าแก้วมันจะยวบไหม จะมีกลิ่นไหม เพราะคนจะคิดว่าแก้วแบบนี้อาจจะมีกลิ่น แต่หลังจากลองใช้แล้ว ก็โอเคทุกอย่าง ไม่ยวบ ไม่มีกลิ่น ส่วนกล่องใส่ข้าว เราก็เลือกบรรจุภัณฑ์ที่ใช้สารเคลือบแบบ food grade และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เราพยายามลดการสร้างขยะให้มากที่สุด แต่ถ้าเลี่ยงไม่ได้ เราก็เอากลับมาใช้ซ้ำ หรือแยกขยะให้ถูกประเภท เพื่อให้ขยะมันไปถูกที่ถูกทาง และเราก็จริงใจกับลูกค้า ถ้าบรรจุภัณฑ์ของเราย่อยสลายได้ เคก็จะบอกว่ามันย่อยได้ แต่ถ้าไม่ได้ เราก็ไม่ปกปิดลูกค้า แต่ก็จะบอกด้วยว่าเรากำลังพยายามหาอยู่ว่าจะมีวิธีไหนบ้างที่สามารถทำได้ แต่ ณ ตอนนี้เราแยกขยะนะ เคต้องการให้ร้านของเรา ‘โปร่งใส’”



IIIi - ‘ใจดี’ กับชุมชนและสิ่งแวดล้อมให้มากขึ้น

“เคไม่อยากใช้คำว่า Sustainability สักเท่าไร แต่เคจะพยายามใช้คำว่า ‘Kinder’ หรือ ‘ใจดี’ กับโลกใบนี้ กับคอมมูนิตี้ที่เราอาศัยอยู่ให้มากขึ้นอีกสักนิดหนึ่ง ทุกอย่างที่เคกับกิ๊ฟทำก็เพื่อให้โลกใบนี้มันน่าอยู่มากขึ้น” 

นั่นคือเป้าหมายสูงสุดของเคและกิ๊ฟในการบริหารจัดการทุกอย่างที่ได้กล่าวไปข้างต้นผ่านคาเฟ่ Early BKK แห่งนี้ 

“เปิดร้านมาปีหนึ่ง เครู้สึกแฮปปี้นะ เหมือนแรงกระเพื่อมที่เราสร้างทำให้เกิดคอมมูนิตี้ในร้านนี้ บางครั้งลูกค้าเข้าร้านมาไม่ได้ซื้ออาหารและเครื่องดื่ม แต่มานั่งคุยกับเคเรื่องการกำจัดขยะในบ้าน หรือลูกมีโครงงานเกี่ยวกับเรื่องนี้ ทำยังไงดี เขาเคยมาร้านและเห็นเคสนใจเรื่องพวกนี้ เขาก็เข้ามาปรึกษา เคก็จะช่วยคิด ถ้าเคไม่รู้ ก็จะบอกว่าไม่รู้ ขอไปศึกษาก่อนแล้วค่อยให้คำตอบ”

“แล้วร้านเราตั้งจุดทิ้งฝาขวดพลาสติก ลูกค้าก็จะแวะเอาฝาขวดน้ำมาหยอดกันสนุกสนาน เราแฮปปี้มาก และเราก็บอกลูกค้าตลอดว่าแวะมาร้านเรา ไม่ต้องซื้อของร้านเราก็ได้ แค่มาจอยกับกิจกรรมต่างๆ ที่เราทำ เราก็โอเคแล้ว” กิ๊ฟเสริม

“สำหรับเคที่โตที่นี่ ในวันที่เคจะทำร้านที่มีแนวคิดแบบนี้ เคอยากลองทำกับหมู่บ้านของตัวเองก่อน เพื่อดูว่าฟีดแบ็กมันจะเป็นยังไง โดยที่ไม่รู้ด้วยซ้ำว่าคนเขาจะเห็นด้วยไหม ตอนแรกๆ ที่เปิดร้าน เราเหมือนสิ่งแปลกปลอมอะ ร้านเป็นขวดเบียร์ ไม่ให้หลอด ไม่มีที่เติมไซรัป บางคนเขาก็มองว่าไม่น่ารัก ทำไมขี้เหนียวจัง เดี๋ยวก็เจ๊ง แต่จริงๆ เราไม่ได้งกนะ เราให้ได้เลย แต่ที่เราทำแบบนี้เพื่อต้องการชวนตั้งคำถามว่าสิ่งนี้มันจำเป็นกับคุณจริงๆ หรือเปล่า

“พอเปิดมาสักพัก มันก็ดีขึ้นเรื่อยๆ แนวคิดนี้มันค่อยๆ สร้างแรงกระเพื่อมให้คนสนใจเรื่องนี้มากยิ่งขึ้น เสริมด้วยการจัดเวิร์กช็อปเกี่ยวกับ Environmentally Friendly Lifestyle ทุกๆ 3-6 เดือน ซึ่งเคก็เห็นพ่อแม่พาลูกๆ มากันเยอะขึ้นเรื่อยๆ”

สำหรับเคและกิ๊ฟ ความสุขสำคัญกว่ากำไรในการทำคาเฟ่แห่งนี้

“พูดตรงๆ ว่าเคกับกิ๊ฟอาจจะไม่ได้เอากำไรเป็นที่ตั้งในการทำธุรกิจ เราอาจจะโตช้าหน่อย แต่เราก็จะเดินไปด้วยความสุขในทุกๆ ก้าว ถ้าเราเดินไปข้างหน้าแล้วต้องเหยียบไปบนกองขยะ หรือรุกล้ำคนในชุมชน ทำให้ชีวิตของพวกเขาแย่ลง เราก็คงไม่มีความสุข”




“เคสนใจเรื่องสิ่งแวดล้อมมาตั้งแต่เด็ก เวลาไปเรียนซัมเมอร์หรือเที่ยวต่างประเทศ ก็จะคอยสังเกตว่าคนท้องถิ่นเขาใช้ชีวิตบนแนวคิดเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมยังไง ก็พบว่ามันต่างกันมากกับที่ไทย และพอโตมาทำงานด้าน Design Strategy ก็เห็นว่าปัญหามันเยอะมาก เวลาสร้างอะไรก็ตามขึ้นมา มันจะมีของเหลือทิ้งเยอะมาก เคเลยพยายามหาทางออกเกี่ยวกับการดีไซน์ที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมมาเรื่อยๆ จนถึงจุดที่ลาออกมาทำธุรกิจของตัวเอง เลยคิดว่าในวันที่ได้ทำอะไรเป็นของตัวเอง เคจะเอาแนวคิดนี้มาปรับใช้”

จากพื้นฐานที่เป็นคนตระหนักเรื่องสิ่งแวดล้อมมาโดยตลอดของ เค-เคฑิตา ชัยศักดิ์ศิริ นำมาสู่แรงบันดาลใจในการเปิดคาเฟ่ ‘Early BKK’ ในย่านสัมมากร หรือรามคำแหง 110 ร่วมกับ กิ๊ฟ-กรัณฑารณ์ ธนะกวินวัจน์ เพื่อสื่อสารว่าทุกคนสามารถมีวิถีชีวิตแบบรักษ์โลกได้ผ่านการลงมือทำให้ดูเป็นตัวอย่าง


IIIi - สร้างสรรค์ร้านจากวัสดุรีไซเคิลและอัปไซเคิล

สิ่งแรกที่สะดุดตายามมาถึงคาเฟ่ Early BKK คือฟาซาดรูปสามเหลี่ยมบริเวณด้านหน้าอาคาร ซึ่งเมื่อสำรวจรายละเอียดใกล้ๆ แล้วก็คือโครงเหล็กแนวตะแกรงวงกลม โดยบางห่วงนั้นใส่ขวดแก้วสีชาไว้ ไม่ใช่เพื่อการตกแต่งเพียงอย่างเดียว แต่ได้ประโยชน์ในเรื่องแสงและเงาที่แตกต่างกันไปตามแสงแดดในแต่ละช่วงเวลาของวันด้วย

เดินผ่านแนวฟาซาดเข้ามา ก็พบกับถังขยะที่แบ่งตามประเภท ซึ่งที่ประทับใจเรามากเลยคือมีถังสำหรับทิ้งเศษอาหารและน้ำแข็งด้วย เมื่อเดินเข้าไปในร้าน เคาน์เตอร์สีขาวที่มีพื้นผิวด้านบนเป็นลวดลายเทอร์ราซโซ (Terrazzo) จากเศษขวดแก้ว ตั้งอยู่โดดเด่นใจกลางร้าน และพอนั่งประจำโต๊ะแล้วมองไปรอบๆ ร้าน ก็ถูกดึงดูดสายตาด้วยความแปลกตาของผนังร้าน ที่เรามารู้ทีหลังว่าทำจากกล่องนม

ตอนที่คิดคอนเซปต์ของร้านกับพาร์ตเนอร์และดีไซเนอร์ เคพยายามคิดว่าขยะที่พบเห็นได้บ่อยๆ และสามารถสื่อสารให้ลูกค้าเข้าใจได้ง่ายมันมีอะไรบ้าง ก็เลยคิดจากแกนหลักที่ว่าร้านขายเครื่องดื่ม แล้วบรรจุภัณฑ์ของเครื่องดื่มมีอะไรบ้างล่ะ มีกล่องนม มีขวดแก้วต่างๆ เคเลยหยิบมาเป็นของตกแต่งภายในร้าน เพราะต้องการให้ลูกค้าสามารถรีเลตได้ว่าขวดสีชาพวกนี้ กล่องนมพวกนี้ที่ถูกทิ้งไว้หน้าบ้าน ไม่มีความหมายอะไรเลย วันหนึ่งมันสามารถกลายมาเป็นของตกแต่งภายในร้านเคได้เหมือนกัน” 

ทั้งขวดแก้วสีชาต่างๆ ที่เป็นส่วนประกอบของฟาซาดและงานเทอร์ราซโซบนเคาน์เตอร์กลางร้าน และผนังจากกล่องนมนั้นล้วนเป็นของที่ถูกทิ้งเป็นขยะมาก่อนทั้งสิ้น แต่กว่าจะเนรมิตทุกอย่างให้ออกมาเป็นรูปเป็นร่างอย่างที่เห็นในปัจจุบันได้นั้น ไม่ใช่เรื่องง่าย

“ร้านนี้ไม่ใช่ว่าคิดแค่ 3 เดือนแล้วลงมือทำเลย แต่เกิดจากการค่อยๆ สั่งสมไปเรื่อยๆ น่าจะเกือบ 2 ปี โดยเคจะจดใส่สมุดของตัวเองตลอดว่าจะทำอะไรดี เพราะเคเชื่อว่าคนไม่ได้ซื้อสิ่งที่เราขาย แต่ซื้อสิ่งที่เราลงมือทำ เพราะฉะนั้นมันต้องเป็นคาแรกเตอร์ที่เป็นตัวเราเองจริงๆ เคทำบรีฟไว้หมดเลยว่าเคมองร้านของตัวเองไว้เป็นยังไง โฟลว์ร้านเป็นยังไง หาเรเฟอเรนซ์ที่ชัดเจน โดยเอาประสบการณ์จากตอนทำงานดีไซน์ในห้างมาก่อนว่าสิ่งที่ลูกค้ามองหาเวลามาห้างห้างหนึ่งเนี่ยคืออะไร แล้วลูกค้าคอมเพลนเรื่องอะไรบ้าง"

"และตอนนั้นเคมีแผ่นผนังจากกล่องนมอยู่กับตัว เคก็เข้าหาดีไซเนอร์เลยว่าทำให้ได้ไหม แต่หลายๆ เจ้าก็ปฏิเสธ เพราะเขาบอกว่าไม่เคยมีใครใช้วัสดุตัวนี้ทำมาก่อน เขาไม่กล้าทำ กลัวว่าถ้าพลาดแล้วพัง จะทำยังไง จนมาเจอ space+craft ซึ่งเป็นดีไซเนอร์ที่เป็นรุ่นพี่ที่เคยทำงานด้วยกัน เคบอกเขาว่าไม่เป็นไรเลยนะ พังก็คือพัง เครับผิดชอบเอง แต่แค่ทำเป็นรูปธรรมให้หน่อย ซึ่ง space+craft เขามองว่ามันใหม่และอยากลองทำ”

ถึงตรงนี้หลายคนคงสงสัยว่า ‘ผนังจากกล่องนม’ คืออะไร ชื่อจริงๆ ของมันคือ ‘วัสดุทดแทนไม้จากขยะกล่องนม’ หรือ ‘Enviro Board’ ซึ่งประกอบไปด้วยกล่องนมที่เหลือทิ้งจากขั้นตอนการผลิตด้วยสาเหตุต่างๆ เช่น เฉดสีเพี้ยน ไม่เป็นไปตามแบรนดิ้งของยี่ห้อนมนั้นๆ จึงไม่สามารถนำมาใช้บรรจุผลิตภัณฑ์เพื่อวางจำหน่ายได้ คิดเป็นจำนวน 80 เปอร์เซ็นต์ ส่วนอีก 20 เปอร์เซ็นต์คือกล่องนมที่เหลือทิ้งจากการบริโภคแล้ว (Post-consumer Wastes) โดยโรงงานจะคัดกรอง ทำความสะอาด แล้วป่นกล่องนมให้เป็นชิ้นเล็กๆ และนำเข้าสู่กระบวนการบีบอัด เพื่อผลิตออกมาเป็น Enviro Board ที่สมบูรณ์

“มันเริ่มจากการชอบไปเดินดูงานดีไซน์วีค งานเกี่ยวกับการจัดการขยะต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ รวมถึงไปทำงานเป็นอาสาสมัครออกบูธเกี่ยวกับการจัดการขยะ จนมีโอกาสได้รู้จักและทำงานกับคนที่ทำงานด้านนี้มาโดยตลอด รวมไปถึง Tetra Pak ซึ่งเราก็คุยกันเรื่อยๆ เกี่ยวกับทางออกของวัสดุเหลือทิ้งต่างๆ บางทีเขาก็ส่งมาให้เคดูว่าวัสดุนี้สามารถทำอะไรได้บ้าง อย่าง Enviro Board นี้ ก็ดีที่เราได้ไปทำงานกับเขาเพื่อหาทางออกให้กับวัสดุกล่องนมที่ถูกทิ้งเหล่านี้”

“จริงๆ เราสองคนเห็นมาก่อนหน้านี้แล้วว่า Enviro Board สามารถนำไปทำเป็นไม้แบบเพื่อเทปูนในการก่อสร้าง” กิ๊ฟอธิบายเสริม “ก็รู้สึกว่ามันสวยมากเลย ไม่ควรจะเป็นแค่ไม้แบบ และก็คิดว่าถ้าใช้เป็นไม้แบบในการก่อสร้างได้ มันต้องแข็งแรงประมาณหนึ่งเลย”

“เราเลยลองเอามาทำเป็นผนังร้านของเราดู ซึ่งตอนแรกเคก็ลุ้นอยู่นะว่าเวลาลูกค้ามานั่ง มันจะพังลงมาไหม โดยเฉพาะชั้นบนที่เราเอามาทำเป็นฝ้า แต่ตั้งแต่เปิดร้านมาจนปีกว่าแล้ว ก็พิสูจน์ได้ว่ามันแข็งแรงจริง ไม่หัก ไม่พัง ทนกว่าไม้เยอะเลย ปลวกไม่กิน โดนน้ำก็ไม่เป็นอะไร”

ในระหว่างที่ทดลองใช้งานจริงตลอดหนึ่งปีเศษนั้น ทั้งเคและกิ๊ฟคอยสังเกตคุณภาพการใช้งานของ Enviro Board และแจ้งฟีดแบ็กกับทางผู้ผลิตอยู่เสมอ

ลูกค้าที่มาร้านเคตั้งแต่เปิดแรกๆ จะเห็นเลยว่ามีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา อยู่ดีๆ ก็มีอันนั้นเพิ่มขึ้นมา ส่วนอันนี้ที่เคยเห็นก็โดนเอาออก นั่นเป็นเพราะว่าเราเองก็ทดลองอยู่เหมือนกันว่ามันสามารถใช้งานได้ทนทานในระยะยาวจริงๆ ไหม ถ้ามาร้านตั้งแต่หลังกลางเดือนธันวาคมเป็นต้นไป ก็จะเป็นช่วงที่เราขยายร้านใหม่เสร็จแล้ว ลูกค้าก็จะได้เห็นโต๊ะและเก้าอี้ที่ทำจาก Enviro Board มากยิ่งขึ้น”

“เหมือนพอเรารู้แล้วว่า Enviro Board มันใช้งานได้จริง เราก็ลองดึงมาใช้กับส่วนอื่นๆ ในร้านเพิ่มเติมด้วย ไม่ใช่แค่ทำผนังหรือฝ้าอย่างเดียว” กิ๊ฟเสริม

“ความตั้งใจของกิ๊ฟกับเคคือใช้จริงในร้านเพื่อให้คนเห็นว่าวัสดุจากขยะมันสวยได้และสามารถเอามาใช้งานได้จริง บางครั้งถูกกว่าและทนทานกว่าด้วยซ้ำ หรืออย่างเคาน์เตอร์กาแฟที่ผสมเศษขวดแก้วนี่บางคนก็ถามว่าจะใช้ได้จริงเหรอ มันก็ใช้ได้นะ แถมลูกค้าชอบและกลายเป็นแรงบันดาลใจให้พวกเขาไปทำบ้านของตัวเองด้วย”

“เคบอกว่าลองเอาไปทำตามดูสิ ถ้าช่างเขางง ก็ให้มาดูที่ร้านก็ได้ เคอยากให้ร้านเราเป็นเหมือน Living Room สำหรับคนที่อยากจะสร้างบ้านหรือทำป๊อปอัปอิเวนต์ที่ไม่ต้องการใช้วัสดุเยอะ มาลองดูว่าวัสดุจากขยะมันสามารถทำอะไรได้บ้าง Enviro Board ก็มีบางคนเอาไปใช้ในคลินิกความงาม แม้กระทั่งคนที่เคยทำงานออกแบบกับเรา เขาก็มาดูและเรียนรู้ว่าวัสดุเหล่านี้มันใช้ได้จริงและกำลังจะตามไปใช้บ้างแล้ว หรือ Tetra Pak เองก็บอกว่าร้านเราเหมือนโชว์รูมเลย และก็ขอมาจัดงานอิเวนต์ของเขาที่นี่ เราก็รู้สึกดีว่าวันนี้เราได้ทำในสิ่งที่เราตั้งใจไว้สำเร็จ”


IIIi - เสิร์ฟอาหารตามแนวคิด Slow Food และสร้าง Food Waste น้อยที่สุด

“เราสองคนจะคิดให้ทุกเมนูที่ร้าน ตั้งแต่กาแฟไปจนถึงอาหาร สามารถแชร์วัตถุดิบด้วยกันได้ทั้งหมด ไม่ต้องซื้ออะไรเพิ่ม”

เคอธิบายวิธีการจัดการวัตถุดิบในคาเฟ่ Early BKK เพื่อให้เกิดขยะอาหารหรือ Food Waste น้อยที่สุด ในกรณีที่เป็นผักที่รูปร่างไม่สวยจนไม่สามารถใช้เสิร์ฟลูกค้าได้ ทางร้านจะคัดออกแล้วนำไปปรุงอาหารเพื่อรับประทานกันเอง แต่หากมีเศษอาหารเหลือทิ้งจริงๆ ทางร้านจะส่งให้ ‘ใจกล้า’ แบรนด์ขนมสำหรับสุนัขที่ใช้โปรตีนจากแมลง ซึ่งเป็นพาร์ตเนอร์ของ Early BKK ประมาณทุกๆ สองสัปดาห์ เพื่อนำขยะอาหารเหล่านั้นไปแปลงเป็นอาหารเลี้ยงแมลง Black Soldier Fly เพื่อเข้าสู่กระบวนการผลิตเป็นขนมสำหรับสุนัขส่งกลับมาวางจำหน่ายในคาเฟ่แห่งนี้ด้วย 

“อีกเรื่องหนึ่งที่เราสองคนคิดกันมาตลอดคือการเสิร์ฟอาหารสักหนึ่งเมนูมันควรจะกินได้หมดจาน” กิ๊ฟเสริม

“เพราะฉะนั้นอาหารของร้านเราจะไม่มีของตกแต่งจานที่วางเพื่อความสวยงามเฉยๆ แต่กินไม่ได้เลย เครื่องดื่มก็เหมือนกัน อะไรที่ใส่ลงไปแสดงว่าลูกค้ากินได้หมด อาจจะเหลือทิ้งแค่พวกเมล็ด เช่น เมล็ดบ๊วย เราจะพยายามคิดเสมอว่าอันนี้จำเป็นต้องใส่ไหม ถ้าไม่จำเป็น ก็ไม่ต้อง เราสามารถวางอะโวคาโดโทสต์แค่ชิ้นเดียวได้เลยในจาน เพราะเรากินแค่นั้น ไม่จำเป็นต้องมีกระดาษรอง เรื่องแบบนี้บางทีคนมักจะมองข้าม แต่จริงๆ มันสร้างขยะเยอะมากเลยนะ” 

นอกจากนี้คาเฟ่ Early BKK ยังดำเนินร้านตามแนวทาง Slow Food ด้วย

“แนวทาง Slow Food ของร้านคือเราจะพยายามให้มากที่สุดให้รู้ว่าวัตถุดิบทุกอย่างที่เราใช้มีต้นทางมาจากไหน ยกตัวอย่างกาแฟ เราต้องรู้ว่าแหล่งที่ปลูกอยู่ที่ไหน และเราจะใช้กาแฟที่เป็น Fair Trade หมายถึงเงินต้องไม่ตกไปที่พ่อค้าคนกลางเยอะ เกษตรกรได้รับค่าแรงที่เป็นธรรมจริงๆ และเคก็จะคุยกับเหล่าเกษตรกรที่เป็นเจ้าของวัตถุดิบโดยตรงเลย”

เคยกตัวอย่าง ‘Ume Cold Brew’ หนึ่งในเมนูเด่นของร้านที่เสิร์ฟให้เราได้ลองชิม 

“เราใช้บ๊วยที่ปลูกที่เชียงใหม่ มันก็จะมีที่มาชัดเลยว่ารุ่นพี่ของเคไปสร้างโรงบ่มบ๊วยเพื่อสร้างรายได้เพิ่มให้เกษตรกร เนื่องจากกาแฟใช้เวลาปลูกนาน ประมาณ 1 ปีกว่าจะได้ผล รายได้ของเกษตรกรก็ขาดตอน เพราะฉะนั้นในระหว่างที่รอกาแฟออก ก็ให้เกษตรกรลองหัดปลูกบ๊วยและสร้างโรงบ่มบ๊วยให้ ซึ่งพอเขาปลูก ผลผลิตที่ได้มันอร่อยดี เราเลยเอามาทำเป็นเมนูในร้าน” 

นิยาม Slow Food ของร้านไม่ได้มีแค่การรู้ต้นทางของวัตถุดิบและความเป็นธรรมต่อเกษตรกรเท่านั้น

อาหารในร้านเราทุกเมนูจะไม่ใช้วัตถุดิบแช่แข็งเลย ทุกจานคือการทำสด ดังนั้นมันจะใช้เวลาในการทำ นอกจากนี้เราจะเปลี่ยนสายพันธุ์ของวัตถุดิบที่ใช้ไปตามฤดูกาล ยกตัวอย่างอะโวคาโด จริงๆ สามารถฝืนใช้อะโวคาโดพันธุ์เดียวได้ทั้งปีนะ แต่ต้องใช้สารเคมี ซึ่งเคกับกิ๊ฟไม่ทำแบบนั้น เราขอเลือกใช้ตามพันธุ์ที่มีในช่วงเวลานั้นๆ ดีกว่า ลูกค้าที่มากินประจำเขาจะรู้เลยว่าจะมีช่วงหนึ่งของปีที่อะโวคาโดหวานกว่าปกติ เพราะเราไม่ได้ไปฝืนใช้อยู่แค่พันธุ์เดียว หรือถ้าตรงกับช่วงแล้งที่ทำให้ไม่มีอะโวคาโด เราก็จะงดจำหน่ายเมนูที่มีอะโวคาโดไปชั่วคราวเลย จริงๆ มันมีแบบแช่แข็งนะ แต่เราไม่อยากเอามาใช้ เพราะมันไม่ใช่ Slow Food

“ส่วนกาแฟตัวคั่วอ่อนของร้าน เคก็จะเปลี่ยนตามฤดูกาลตลอด ถ้าช่วงนี้มีพันธุ์ของห้วยน้ำกืน เราก็จะใช้ตัวนี้ อีกสักสองเดือนมีสะเมิง ก็ใช้สะเมิง ร้านเราจะเปลี่ยนไปเรื่อยๆ เพื่อให้ลูกค้าได้ลองกาแฟไทยที่หลากหลาย”

“เราพยายามใช้สายพันธุ์ไทย อย่างอะโวคาโด ก็ใช้อะโวคาโดไทยตลอด ตอนเปิดร้านแรกๆ เราไม่มีความคิดที่จะใช้อะโวคาโดจากเมืองนอกเลย เพราะนอกจากเรื่องการแช่แข็งวัตถุดิบและผลกระทบจากเชื้อเพลิงในการขนส่งแล้ว จริงๆ แล้วอะโวคาโดไทยดีๆ มันอร่อยมากเลย เราเลยเลือกใช้ของไทยกัน” กิ๊ฟเสริม

Early BKK ค่อยๆ ปรับตัวตามแนวทาง Slow Food ให้ได้มากที่สุด เพื่อเป็นหนึ่งในแรงกระเพื่อมในการสร้างการเปลี่ยนแปลงให้คนในสังคมหันมาใส่ใจประเด็นนี้มากยิ่งขึ้น 

“Slow Food มันไม่ได้ดีต่อโลกเท่านั้น แต่ยังดีต่อทุกๆ คนด้วยในแง่ของสุขภาพ คนส่วนใหญ่อาจจะลืมไปว่าจริงๆ แล้วเราไม่จำเป็นต้องเร่งรีบขนาดนั้นก็ได้ เคเลยอยากจะโปรโมตเรื่องนี้เพื่อให้ทุกคนได้เอ็นจอยขึ้นอีกนิดในการกินอาหาร”


IIIi - สนับสนุนบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

"มูฟเมนต์หนึ่งที่เราทำกันในร้านคือให้ส่วนลดสำหรับลูกค้าที่เอาบรรจุภัณฑ์มาเอง”

เคเล่าให้ฟังถึงการสร้างแรงจูงใจให้แก่ลูกค้าที่สั่งอาหารและเครื่องดื่มกลับบ้าน ส่วนลูกค้าที่รับประทานภายในร้าน ก็จะเป็นจาน ชาม แก้วของทางร้านที่สามารถเก็บล้างและนำมาใช้ใหม่ได้ เพื่อเป็นการลดขยะบรรจุภัณฑ์

“ถามว่ายากไหม ยากนะ เพราะลูกค้าก็ไม่เข้าใจเท่าไรในช่วงแรกๆ แต่พอเราแจ้งเขาล่วงหน้าว่า ถ้าเตรียมกล่อง เตรียมแก้วมาเอง เรามีส่วนลดให้นะ และก็เสริมไปด้วยว่าบรรจุภัณฑ์เหล่านี้มันเก็บความร้อนได้ดีกว่านะ หรือถ้ากินเย็น ก็อาจจะเก็บน้ำแข็งได้ยาวกว่า รอบต่อไปเขาก็จะเตรียมบรรจุภัณฑ์มา ช่วงหลังๆ มันก็ดีขึ้นเรื่อยๆ ด้วยคาแรกเตอร์ของร้านด้วย ทำให้ลูกค้ารับรู้ว่า Early BKK เป็นร้านที่เข้ามาแล้วจะได้พูดคุยกันไปเรื่อยๆ สุดท้ายทุกคนที่เข้ามาก็จะติดนิสัยทำตามๆ กันไปโดยปริยาย กลายเป็นว่าทุกวันนี้ลูกค้าประจำทุกคนจะมีบรรจุภัณฑ์ต่างๆ ติดตัวมาเองเต็มไปหมด”

“พวกเราจะชอบชวนลูกค้าคุยและค่อยๆ หยอดให้ลูกค้าเขาฉุกคิดนิดนึง” กิ๊ฟเสริม “ซื้อแบบ Takeaway เนี่ย มันไม่ได้มีแค่กล่องหรือแก้วนะ มันมีถุงด้วย และถ้าลูกค้าสั่งสองแก้ว นอกจากถุงแล้ว มันมีถาดรองแก้วเพิ่มมาด้วย พอลูกค้าฟังแล้ว เขาก็จะยิ่งเห็นภาพและคิดตามจนครั้งต่อไปเขาก็จะเตรียมบรรจุภัณฑ์มาเอง แต่ถ้าเราไม่ได้ชวนเขาคุย เขาก็จะทำตามความเคยชินและไม่ได้สังเกตว่าสร้างขยะมากขึ้นเท่าไร ขณะเดียวกันเราก็จะบอกพนักงานในร้านด้วยว่าให้ถามลูกค้าก่อนเสมอว่าเอาถุงไหม ถ้าเขาไม่เอาถุง แสดงว่าเขาถือไปเองได้ เราก็ไม่ต้องเพิ่มถุงให้เขา”

“หรือถ้าเขาไม่ได้จอดรถไกล เคก็จะให้พนักงานในร้านเดินไปส่ง หรือบางทีก็เป็นตัวเคเองที่ไป เพราะจะได้เดินคุยกับลูกค้าไปด้วย แต่เราก็ไม่ได้ฮาร์ดเซลลูกค้าขนาดนั้น เคจะบอกลูกค้าตลอดว่าไม่เป็นไร วันนี้เริ่มเท่าที่ไหว ถ้าวันนี้ไหวแค่เรื่องหลอด ก็ลดไปทีละนิดก็ได้ คนเราถ้าเริ่มทีเดียวเลยสิบอย่าง มันฝืน ทำไม่ได้หรอก แต่เคจะบอกว่าค่อยๆ สร้างชาเลนจ์ให้ตัวเอง สมมติตั้งเป้าว่าลองไม่ใช้หลอด 5 วัน ถ้าไหว แสดงว่าทำได้ละ ค่อยไปสเต็ปต่อไป ลองพกแก้วมาเอง ทำได้ก็ไปต่อ ค่อยๆ ปรับตัวไปเรื่อยๆ”

ในกรณีที่ลูกค้าไม่ได้เตรียมแก้วมาเองและต้องการสั่งแบบ Takeaway แรกเริ่ม Early BKK ใช้แก้วแบบ PLA (Polylactic Acid) ซึ่งทำจากพลาสติกชีวภาพ แต่ทางร้านก็ไม่หยุดค้นหาบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่านี้ จนในที่สุดก็ได้เจอกับแก้วแบบ PBS (Polybutylene Succinate) ซึ่งเป็นบรรจุภัณฑ์กระดาษเคลือบพลาสติกชีวภาพ สามารถย่อยสลายได้เองภายใน 6 เดือน โดยเปิดตัวใช้งานแล้วพร้อมรูปโฉมใหม่ของร้านที่ปรับปรุงเรียบร้อย

“เวลาคุยกันในหมู่คนทำธุรกิจคาเฟ่แนวนี้ ทุกคนจะคุยกันตลอดว่าจะทำยังไงดีเรื่องแก้ว พอเจอตัวนี้ มันเหมือนเป็นแสงสว่างมาก แก้วใหม่นี้เราเพิ่งได้ไม่กี่เดือนที่ผ่านมานี้เองผ่านการคุยกับอาจารย์ที่จุฬาฯ ซึ่งทำงานด้าน zero waste แก้ว PBS มันเป็นแก้วที่ได้มาตรฐานปุ๋ยหมักระดับครัวเรือน (home compostable) สมมติเอาแก้วนี้ไปฝังหน้าบ้าน ผ่านไป 6 เดือนมันจะหายไป 

“ก่อนเปิดใช้จริง เคซื้อมาลองใช้ก่อนว่าแก้วมันจะยวบไหม จะมีกลิ่นไหม เพราะคนจะคิดว่าแก้วแบบนี้อาจจะมีกลิ่น แต่หลังจากลองใช้แล้ว ก็โอเคทุกอย่าง ไม่ยวบ ไม่มีกลิ่น ส่วนกล่องใส่ข้าว เราก็เลือกบรรจุภัณฑ์ที่ใช้สารเคลือบแบบ food grade และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เราพยายามลดการสร้างขยะให้มากที่สุด แต่ถ้าเลี่ยงไม่ได้ เราก็เอากลับมาใช้ซ้ำ หรือแยกขยะให้ถูกประเภท เพื่อให้ขยะมันไปถูกที่ถูกทาง และเราก็จริงใจกับลูกค้า ถ้าบรรจุภัณฑ์ของเราย่อยสลายได้ เคก็จะบอกว่ามันย่อยได้ แต่ถ้าไม่ได้ เราก็ไม่ปกปิดลูกค้า แต่ก็จะบอกด้วยว่าเรากำลังพยายามหาอยู่ว่าจะมีวิธีไหนบ้างที่สามารถทำได้ แต่ ณ ตอนนี้เราแยกขยะนะ เคต้องการให้ร้านของเรา ‘โปร่งใส’”



IIIi - ‘ใจดี’ กับชุมชนและสิ่งแวดล้อมให้มากขึ้น

“เคไม่อยากใช้คำว่า Sustainability สักเท่าไร แต่เคจะพยายามใช้คำว่า ‘Kinder’ หรือ ‘ใจดี’ กับโลกใบนี้ กับคอมมูนิตี้ที่เราอาศัยอยู่ให้มากขึ้นอีกสักนิดหนึ่ง ทุกอย่างที่เคกับกิ๊ฟทำก็เพื่อให้โลกใบนี้มันน่าอยู่มากขึ้น” 

นั่นคือเป้าหมายสูงสุดของเคและกิ๊ฟในการบริหารจัดการทุกอย่างที่ได้กล่าวไปข้างต้นผ่านคาเฟ่ Early BKK แห่งนี้ 

“เปิดร้านมาปีหนึ่ง เครู้สึกแฮปปี้นะ เหมือนแรงกระเพื่อมที่เราสร้างทำให้เกิดคอมมูนิตี้ในร้านนี้ บางครั้งลูกค้าเข้าร้านมาไม่ได้ซื้ออาหารและเครื่องดื่ม แต่มานั่งคุยกับเคเรื่องการกำจัดขยะในบ้าน หรือลูกมีโครงงานเกี่ยวกับเรื่องนี้ ทำยังไงดี เขาเคยมาร้านและเห็นเคสนใจเรื่องพวกนี้ เขาก็เข้ามาปรึกษา เคก็จะช่วยคิด ถ้าเคไม่รู้ ก็จะบอกว่าไม่รู้ ขอไปศึกษาก่อนแล้วค่อยให้คำตอบ”

“แล้วร้านเราตั้งจุดทิ้งฝาขวดพลาสติก ลูกค้าก็จะแวะเอาฝาขวดน้ำมาหยอดกันสนุกสนาน เราแฮปปี้มาก และเราก็บอกลูกค้าตลอดว่าแวะมาร้านเรา ไม่ต้องซื้อของร้านเราก็ได้ แค่มาจอยกับกิจกรรมต่างๆ ที่เราทำ เราก็โอเคแล้ว” กิ๊ฟเสริม

“สำหรับเคที่โตที่นี่ ในวันที่เคจะทำร้านที่มีแนวคิดแบบนี้ เคอยากลองทำกับหมู่บ้านของตัวเองก่อน เพื่อดูว่าฟีดแบ็กมันจะเป็นยังไง โดยที่ไม่รู้ด้วยซ้ำว่าคนเขาจะเห็นด้วยไหม ตอนแรกๆ ที่เปิดร้าน เราเหมือนสิ่งแปลกปลอมอะ ร้านเป็นขวดเบียร์ ไม่ให้หลอด ไม่มีที่เติมไซรัป บางคนเขาก็มองว่าไม่น่ารัก ทำไมขี้เหนียวจัง เดี๋ยวก็เจ๊ง แต่จริงๆ เราไม่ได้งกนะ เราให้ได้เลย แต่ที่เราทำแบบนี้เพื่อต้องการชวนตั้งคำถามว่าสิ่งนี้มันจำเป็นกับคุณจริงๆ หรือเปล่า

“พอเปิดมาสักพัก มันก็ดีขึ้นเรื่อยๆ แนวคิดนี้มันค่อยๆ สร้างแรงกระเพื่อมให้คนสนใจเรื่องนี้มากยิ่งขึ้น เสริมด้วยการจัดเวิร์กช็อปเกี่ยวกับ Environmentally Friendly Lifestyle ทุกๆ 3-6 เดือน ซึ่งเคก็เห็นพ่อแม่พาลูกๆ มากันเยอะขึ้นเรื่อยๆ”

สำหรับเคและกิ๊ฟ ความสุขสำคัญกว่ากำไรในการทำคาเฟ่แห่งนี้

“พูดตรงๆ ว่าเคกับกิ๊ฟอาจจะไม่ได้เอากำไรเป็นที่ตั้งในการทำธุรกิจ เราอาจจะโตช้าหน่อย แต่เราก็จะเดินไปด้วยความสุขในทุกๆ ก้าว ถ้าเราเดินไปข้างหน้าแล้วต้องเหยียบไปบนกองขยะ หรือรุกล้ำคนในชุมชน ทำให้ชีวิตของพวกเขาแย่ลง เราก็คงไม่มีความสุข”




Text:

Witthawat P.

Witthawat P.

PHOTO:

Chanathip K.

Chanathip K.

Related Posts