รีไซเคิลยังเวิร์กจริงไหมในยุคนี้?

รีไซเคิลยังเวิร์กจริงไหมในยุคนี้?

24 ก.ค. 2566

SHARE WITH:

24 ก.ค. 2566

24 ก.ค. 2566

SHARE WITH:

SHARE WITH:

รีไซเคิลยังเวิร์กจริงไหมในยุคนี้?

ทุกวันนี้ปัญหาขยะพลาสติกวิกฤติรุนแรงไปทั่วโลก ไม่เพียงปริมาณที่มากจนยากต่อการจัดการและสร้างทัศนียภาพที่ไม่สวยงามเท่านั้น แต่ยังส่งผลเสียที่เป็นมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมทั้งดินที่เกิดจากการฝังกลบ ไมโครพลาสติกและนาโนพลาสติกอนุภาคเล็กๆ ที่ตกค้างและแทรกซึมอยู่ในดิน จะถูกดูดซับโดยพืชผักทางการเกษตรต่างๆ และเข้าสู่ห่วงโซ่อาหารของมนุษย์และสัตว์ในที่สุด

เช่นเดียวกับน้ำที่เศษซากพลาสติกจำนวนมหาศาลล้นลงสู่ทะเลและมหาสมุทร ซึ่งนอกจากสร้างการปนเปื้อนเช่นเดียวกับดินแล้ว ยังทำให้สัตว์ทะเลน้อยใหญ่ต้องตายจากการกินขยะเหล่านี้เข้าไปโดยไม่รู้ตัวอย่างที่ได้พบเห็นจากข่าวอยู่บ่อยครั้ง

นอกจากนี้อากาศเองก็ได้รับผลกระทบทั้งจากการผลิตและการกำจัดด้วยวิธีการเผา ไม่ว่าจะเป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ก๊าซมีเทน หรือแม้กระทั่งแบล็กคาร์บอน (Black Carbon) ที่เกิดจากกระบวนการดังกล่าว ล้วนก่อให้เกิดวิกฤตสภาพภูมิอากาศและปัญหาสุขภาพของมนุษย์ในระยะยาว


จากหนังสารคดีและการเสวนาจากตัวแทนของกรีนพีซและนักกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมในงาน Plastic Doc & Talk ครั้งที่ 3 จริงๆ แล้ว แบรนด์ผู้ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคต่างก็เคลมว่าบรรจุภัณฑ์พลาสติกของตัวเองสามารถนำมารีไซเคิลได้ บางแบรนด์ให้คำมั่นอย่างจริงจังว่าจะเก็บบรรจุภัณฑ์เหล่านี้กลับมารีไซเคิลให้เท่ากับจำนวนที่ขายได้ทั้งหมดภายในระยะเวลาที่กำหนด และอีกหลายแบรนด์ก็ได้ลงทุนเม็ดเงินมหาศาลเพื่อร่วมมือกับบริษัทจัดการขยะเพื่อรีไซเคิลและผลิตเป็นบรรจุภัณฑ์ใหม่แล้วนำกลับมาใช้อีกรอบ

แต่ทำไมขยะพลาสติกยังคงล้นโลกยิ่งกว่าเดิมล่ะ?


(Photo Courtesy of Teslariu Mihai)

สาเหตุแรกคือ มีจำนวนบรรจุภัณฑ์พลาสติกไม่มากพอที่จะเข้าสู่ระบบรีไซเคิลได้ เนื่องจากไม่มีระบบการจัดเก็บและคัดแยกขยะที่ถูกวิธีและมีคุณภาพ ประชาชนในบางประเทศอาจเก็บขยะพลาสติกมาขายเพื่อยังชีพ แต่จำนวนที่ได้ก็ยังไม่เพียงพอจะนำไปสู่การเปิดโรงงานรีไซเคิลได้

นอกจากนี้หลายๆ ประเทศก็ไม่มีเงินลงทุนในการส่งเสริมสุขอนามัยที่ดีให้แก่ผู้ที่ทำงานเก็บขยะ อีกทั้งระบบโครงสร้างพื้นฐานและนโยบายของรัฐก็ไม่เอื้ออำนวยให้ระบบการรีไซเคิลอย่างมีคุณภาพแบบครบวงจรเกิดขึ้นได้ จะส่งไปรีไซเคิลยังประเทศอื่นที่มีความพร้อมก็ต้องใช้เงินมหาศาล ทำให้ขยะพลาสติกไม่ได้รับการจัดการ หรือแย่ที่สุดก็คือปนเปื้อนกับขยะอื่นๆ จนไม่สามารถนำมารีไซเคิลเป็นบรรจุภัณฑ์ใหม่ที่ปลอดภัยต่อการรองรับอาหารได้

จริงๆ แล้วผู้ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคควรจะมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหานี้ด้วยการช่วยสนับสนุนเงินลงทุนแก่ภาครัฐและชุมชนต่างๆ เพื่อพัฒนาระบบการจัดการ คัดแยก และรีไซเคิลขยะพลาสติกที่มีต้นทุนสูง รวมไปถึงหาทางเลือกอื่นเพิ่มเติมนอกเหนือจากการรีไซเคิล เช่น การใช้ระบบรีฟิล หรือกลับไปใช้บรรจุภัณฑ์ประเภทแก้วดังเช่นที่หลายแบรนด์เคยทำในอดีต ถึงแม้บางแบรนด์จะหันมาใช้ขวดพลาสติกหนาที่เหมาะกับการใช้ซ้ำและสามารถนำไปรีฟิลสินค้าของตัวเองได้ แต่กลับปรับใช้ในเพียงบางพื้นที่เท่านั้น และมีจำนวนน้อยมากหากเทียบกับบรรจุภัณฑ์พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง

ในขณะเดียวกันอีกหนึ่งสาเหตุที่เราได้เรียนรู้จากการชมสารคดีก็คือ อัตราการนำพลาสติกรีไซเคิลกลับมาใช้เป็นบรรจุภัณฑ์ยังน้อยกว่าการผลิตพลาสติกบริสุทธิ์ขึ้นมาใหม่ เนื่องจากอย่างหลังมีราคาที่ถูกกว่ามาก แบรนด์ต่างๆ จึงนิยมใช้มากกว่าบรรจุภัณฑ์รีไซเคิล

ซ้ำร้าย ด้วยความจริงที่ว่าพลาสติกไม่สามารถรีไซเคิลได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ เนื่องจากไม่สะอาดมากพอตามเหตุผลที่บอกไปตอนต้น ขยะพลาสติกส่วนใหญ่จึงมักถูกดาวน์ไซเคิลไปทำกระถางต้นไม้หรือรั้วพลาสติก ถึงอย่างนั้นก็ไม่สามารถนำเข้าสู่กระบวนการนั้นได้ทั้งหมด ส่วนใหญ่จึงถูกกำจัดผ่านการเผาเป็นเชื้อเพลิงแทนในท้ายที่สุด


(Photo Courtesy of Brian Yurasits)

เดนมาร์กเป็นประเทศที่นำขยะพลาสติกมาทำเป็นเชื้อเพลิงทดแทนเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า แต่ถึงมีระบบที่ดีแล้ว ก็ยังเลี่ยงไม่ได้กับปัญหาก๊าซคาร์บอนที่กลายเป็นมลพิษต่ออากาศและสิ่งแวดล้อม อีกทั้งไม่ใช่ทุกประเทศที่ใช้วิธีเดียวกับเดนมาร์ก ประเทศพัฒนาแล้วหลายแห่งเลือกส่งออกขยะพลาสติกไปยังประเทศกำลังพัฒนาและด้อยพัฒนาเพื่อเข้าสู่กระบวนการเผาทำลาย ทำให้ประเทศปลายทางต้องแบกรับมวลขยะมหาศาลทั้งในประเทศตัวเองและที่นำเข้ามาเพิ่ม

ในภายหลังประเทศเหล่านี้ เช่น จีน และบางแห่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จึงต้องออกกฎไม่รับขยะที่ถูกทิ้งเหล่านี้ ผลที่ตามมาก็คือการเกิดขึ้นของตลาดมืดมากมายที่ซื้อขายและนำเข้าขยะพลาสติกเพื่อเผาทำลายอย่างผิดกฎหมายในหลายพื้นที่ทั้งในเอเชียและยุโรป

คำถามที่ตามมาคือ ระบบการรีไซเคิลพลาสติกเพื่อนำกลับมาใช้ซ้ำดีจริงอย่างที่กล่าวอ้างหรือไม่ เพราะกระบวนการนั้นเกิดขึ้นได้จริงน้อยมาก หรือจริงๆ แล้วเป็นเพียงนโยบายของผู้ผลิตที่ ‘Greenwash’ เพื่อเป็นข้ออ้างในการกระตุ้นให้ผู้บริโภคใช้พลาสติกที่ผลิตขึ้นใหม่ต่อไปโดยที่รู้สึกผิดน้อยลงหรือคิดว่าตัวเองได้ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมแล้ว เพราะเชื่ออย่างหมดใจตามคำโปรโมตหรือตราสัญลักษณ์ต่างๆ ที่ทางแบรนด์ระบุว่าบรรจุภัณฑ์พลาสติกเหล่านี้จะถูกนำไปรีไซเคิลและวนกลับมาใช้ซ้ำอีกครั้ง ทั้งๆ ที่ในความเป็นจริงแล้วอาจไม่ใช่อย่างที่พวกเขาคิดมาโดยตลอด

หน่วยงานด้านสิ่งแวดล้อมและนักกิจกรรมที่ขับเคลื่อนประเด็นนี้เห็นตรงกันว่าถึงเวลาแล้วที่แบรนด์ผู้ผลิตต่างๆ ต้องตระหนักว่าปัญหาขยะพลาสติกอยู่ในขั้นวิกฤติ ต้องจริงจังและจริงใจกับการแก้ปัญหา ด้วยการยอมรับว่าการรีไซเคิลอาจไม่ใช่ทางออกที่สัมฤทธิ์ผลที่สุด เพราะพลาสติกทุกประเภทไม่ได้สามารถนำไปรีไซเคิลได้ทั้งหมด และกระตือรือร้นที่จะเปลี่ยนแปลงเพื่อก้าวไปสู่หนทางที่ดีกว่า


วิธีหนึ่งก็คือการย้อนกลับไปที่ต้นทาง นั่นก็คือผู้ผลิตต่างๆ ต้อง ‘ลดการใช้พลาสติก’ ด้วยการใช้ขวดแก้วหรือขวดพลาสติกที่สามารถใช้ซ้ำได้อย่างที่เกริ่นไปตอนต้น เพื่อให้ผู้บริโภคสามารถซื้อผลิตภัณฑ์อุปโภคบริโภคในรูปแบบรีฟิล หรือใช้จนหมดแล้วก็นำบรรจุภัณฑ์มาคืนตัวแทนจำหน่ายของแบรนด์เจ้าของสินค้า

แม้วิธีการดังกล่าวจะมีค่าใช้จ่ายที่สูงและต้องแบกรับภาระในการดูแลรักษาและทำความสะอาดบรรจุภัณฑ์ แต่ก็ช่วยไม่ให้แบรนด์ต่างๆ ผลิตพลาสติกใหม่ออกมามากเกินความจำเป็น อีกทั้งแบรนด์ผู้ผลิตเองก็ควรคำนึงถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก และคำนวณรวมเข้าไปในต้นทุนการผลิตอยู่แล้ว ไม่ใช่มองว่าเป็นปัจจัยที่ทำให้กำไรของบริษัทลดลง อีกทั้งในหลายประเทศที่เคยใช้วิธีนี้ก็ไม่ประสบกับปัญหาขยะพลาสติกเลยจนกระทั่งแบรนด์เปลี่ยนมาใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง

อีกวิธีที่เป็นไปได้คืออาจจะร่วมมือกับหน่วยงานระดับประเทศหรือท้องถิ่นในการสร้างระบบมัดจำขวดพลาสติก โดยผู้บริโภคจะได้รับเงินมัดจำที่จ่ายไปตอนซื้อกลับมาเมื่อนำขวดไปคืนตามจุดบริการต่างๆ ซึ่งดำเนินการแล้วในบางประเทศ เช่น เยอรมนี นอกจากจะลดปัญหาการใช้พลาสติกครั้งเดียวทิ้งแล้ว วิธีการนี้ยังทำให้ทั้งหน่วยงานรัฐและแบรนด์เจ้าของสินค้าได้รับบรรจุภัณฑ์พลาสติกที่สะอาดและไม่ปนเปื้อน สามารถนำไปรีไซเคิลเป็นบรรจุภัณฑ์ที่รองรับสินค้าอุปโภคบริโภคได้ปลอดภัยอย่างแท้จริง


สำหรับการนำขยะพลาสติกมาทำเป็นเชื้อเพลิงนั้น หน่วยงานและนักกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมมองว่าเป็นทางเลือกหนึ่งได้ แต่ควรใช้กับขยะพลาสติกที่ไม่สามารถรีไซเคิลได้จริงๆ เช่น ขยะจากการแพทย์ โดยควบคู่ไปกับการออกกฎหมายที่ระบุอย่างชัดเจนเพื่อไม่ให้เกิดช่องโหว่ที่นำไปสู่การผลิตพลาสติกใหม่ๆ เพิ่มโดยอ้างว่าสามารถใช้วิธีการเผาเป็นเชื้อเพลิงในการกำจัดขยะพลาสติกได้อยู่แล้ว

ที่สำคัญภาครัฐต้องให้ความสำคัญกับเรื่องสิ่งแวดล้อมและการลดขยะพลาสติก อย่าคิดว่าเป็นเพียงการทำความดีของคนกลุ่มหนึ่ง แล้วผลักประเด็นนี้ไปอยู่ลิสต์ท้ายๆ ในการพิจารณาเพื่อขับเคลื่อนนโยบายหรือจัดสรรงบประมาณ เพราะวิกฤตนี้เร่งด่วนเทียบเท่าปัญหาเศรษฐกิจและปากท้องของประชาชน เพราะมีคนหลายกลุ่มได้รับผลกระทบที่เป็นรูปธรรมแล้ว เช่น ชาวประมง หรือชาวบ้านที่อาศัยในบริเวณที่มีการเผาขยะพลาสติก

นอกจากนี้ควรมีการออกกฎหมายที่มีบทบังคับและบทลงโทษอย่างจริงจัง ทั้งในส่วนที่เกี่ยวข้องกับผู้ผลิตและเจ้าของสินค้าที่ใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติก และการแก้ไขปัญหาขยะพลาสติกที่ยึดอยู่บนหลักการลดการใช้พลาสติกเป็นสำคัญ โดยเปิดรับฟังความคิดเห็นของประชาชน รวมถึงสนับสนุนให้ทั้งเจ้าหน้าที่ในภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนร่วมกันเสนอนวัตกรรมสร้างสรรค์ที่จะสามารถนำมาเป็นทางออกในการแก้ไขวิกฤตนี้ได้อย่างตรงจุดและยั่งยืน

ส่วนประชาชนตัวเล็กๆ แบบเราก็เริ่มได้ด้วยการลดการใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกและแยกขยะ อาจจะสร้างแรงกระเพื่อมได้ทีละนิด แต่ก็เป็นพลังที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่แข็งแกร่งในอนาคตได้เช่นกัน


ทุกวันนี้ปัญหาขยะพลาสติกวิกฤติรุนแรงไปทั่วโลก ไม่เพียงปริมาณที่มากจนยากต่อการจัดการและสร้างทัศนียภาพที่ไม่สวยงามเท่านั้น แต่ยังส่งผลเสียที่เป็นมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมทั้งดินที่เกิดจากการฝังกลบ ไมโครพลาสติกและนาโนพลาสติกอนุภาคเล็กๆ ที่ตกค้างและแทรกซึมอยู่ในดิน จะถูกดูดซับโดยพืชผักทางการเกษตรต่างๆ และเข้าสู่ห่วงโซ่อาหารของมนุษย์และสัตว์ในที่สุด

เช่นเดียวกับน้ำที่เศษซากพลาสติกจำนวนมหาศาลล้นลงสู่ทะเลและมหาสมุทร ซึ่งนอกจากสร้างการปนเปื้อนเช่นเดียวกับดินแล้ว ยังทำให้สัตว์ทะเลน้อยใหญ่ต้องตายจากการกินขยะเหล่านี้เข้าไปโดยไม่รู้ตัวอย่างที่ได้พบเห็นจากข่าวอยู่บ่อยครั้ง

นอกจากนี้อากาศเองก็ได้รับผลกระทบทั้งจากการผลิตและการกำจัดด้วยวิธีการเผา ไม่ว่าจะเป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ก๊าซมีเทน หรือแม้กระทั่งแบล็กคาร์บอน (Black Carbon) ที่เกิดจากกระบวนการดังกล่าว ล้วนก่อให้เกิดวิกฤตสภาพภูมิอากาศและปัญหาสุขภาพของมนุษย์ในระยะยาว


จากหนังสารคดีและการเสวนาจากตัวแทนของกรีนพีซและนักกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมในงาน Plastic Doc & Talk ครั้งที่ 3 จริงๆ แล้ว แบรนด์ผู้ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคต่างก็เคลมว่าบรรจุภัณฑ์พลาสติกของตัวเองสามารถนำมารีไซเคิลได้ บางแบรนด์ให้คำมั่นอย่างจริงจังว่าจะเก็บบรรจุภัณฑ์เหล่านี้กลับมารีไซเคิลให้เท่ากับจำนวนที่ขายได้ทั้งหมดภายในระยะเวลาที่กำหนด และอีกหลายแบรนด์ก็ได้ลงทุนเม็ดเงินมหาศาลเพื่อร่วมมือกับบริษัทจัดการขยะเพื่อรีไซเคิลและผลิตเป็นบรรจุภัณฑ์ใหม่แล้วนำกลับมาใช้อีกรอบ

แต่ทำไมขยะพลาสติกยังคงล้นโลกยิ่งกว่าเดิมล่ะ?


(Photo Courtesy of Teslariu Mihai)

สาเหตุแรกคือ มีจำนวนบรรจุภัณฑ์พลาสติกไม่มากพอที่จะเข้าสู่ระบบรีไซเคิลได้ เนื่องจากไม่มีระบบการจัดเก็บและคัดแยกขยะที่ถูกวิธีและมีคุณภาพ ประชาชนในบางประเทศอาจเก็บขยะพลาสติกมาขายเพื่อยังชีพ แต่จำนวนที่ได้ก็ยังไม่เพียงพอจะนำไปสู่การเปิดโรงงานรีไซเคิลได้

นอกจากนี้หลายๆ ประเทศก็ไม่มีเงินลงทุนในการส่งเสริมสุขอนามัยที่ดีให้แก่ผู้ที่ทำงานเก็บขยะ อีกทั้งระบบโครงสร้างพื้นฐานและนโยบายของรัฐก็ไม่เอื้ออำนวยให้ระบบการรีไซเคิลอย่างมีคุณภาพแบบครบวงจรเกิดขึ้นได้ จะส่งไปรีไซเคิลยังประเทศอื่นที่มีความพร้อมก็ต้องใช้เงินมหาศาล ทำให้ขยะพลาสติกไม่ได้รับการจัดการ หรือแย่ที่สุดก็คือปนเปื้อนกับขยะอื่นๆ จนไม่สามารถนำมารีไซเคิลเป็นบรรจุภัณฑ์ใหม่ที่ปลอดภัยต่อการรองรับอาหารได้

จริงๆ แล้วผู้ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคควรจะมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหานี้ด้วยการช่วยสนับสนุนเงินลงทุนแก่ภาครัฐและชุมชนต่างๆ เพื่อพัฒนาระบบการจัดการ คัดแยก และรีไซเคิลขยะพลาสติกที่มีต้นทุนสูง รวมไปถึงหาทางเลือกอื่นเพิ่มเติมนอกเหนือจากการรีไซเคิล เช่น การใช้ระบบรีฟิล หรือกลับไปใช้บรรจุภัณฑ์ประเภทแก้วดังเช่นที่หลายแบรนด์เคยทำในอดีต ถึงแม้บางแบรนด์จะหันมาใช้ขวดพลาสติกหนาที่เหมาะกับการใช้ซ้ำและสามารถนำไปรีฟิลสินค้าของตัวเองได้ แต่กลับปรับใช้ในเพียงบางพื้นที่เท่านั้น และมีจำนวนน้อยมากหากเทียบกับบรรจุภัณฑ์พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง

ในขณะเดียวกันอีกหนึ่งสาเหตุที่เราได้เรียนรู้จากการชมสารคดีก็คือ อัตราการนำพลาสติกรีไซเคิลกลับมาใช้เป็นบรรจุภัณฑ์ยังน้อยกว่าการผลิตพลาสติกบริสุทธิ์ขึ้นมาใหม่ เนื่องจากอย่างหลังมีราคาที่ถูกกว่ามาก แบรนด์ต่างๆ จึงนิยมใช้มากกว่าบรรจุภัณฑ์รีไซเคิล

ซ้ำร้าย ด้วยความจริงที่ว่าพลาสติกไม่สามารถรีไซเคิลได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ เนื่องจากไม่สะอาดมากพอตามเหตุผลที่บอกไปตอนต้น ขยะพลาสติกส่วนใหญ่จึงมักถูกดาวน์ไซเคิลไปทำกระถางต้นไม้หรือรั้วพลาสติก ถึงอย่างนั้นก็ไม่สามารถนำเข้าสู่กระบวนการนั้นได้ทั้งหมด ส่วนใหญ่จึงถูกกำจัดผ่านการเผาเป็นเชื้อเพลิงแทนในท้ายที่สุด


(Photo Courtesy of Brian Yurasits)

เดนมาร์กเป็นประเทศที่นำขยะพลาสติกมาทำเป็นเชื้อเพลิงทดแทนเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า แต่ถึงมีระบบที่ดีแล้ว ก็ยังเลี่ยงไม่ได้กับปัญหาก๊าซคาร์บอนที่กลายเป็นมลพิษต่ออากาศและสิ่งแวดล้อม อีกทั้งไม่ใช่ทุกประเทศที่ใช้วิธีเดียวกับเดนมาร์ก ประเทศพัฒนาแล้วหลายแห่งเลือกส่งออกขยะพลาสติกไปยังประเทศกำลังพัฒนาและด้อยพัฒนาเพื่อเข้าสู่กระบวนการเผาทำลาย ทำให้ประเทศปลายทางต้องแบกรับมวลขยะมหาศาลทั้งในประเทศตัวเองและที่นำเข้ามาเพิ่ม

ในภายหลังประเทศเหล่านี้ เช่น จีน และบางแห่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จึงต้องออกกฎไม่รับขยะที่ถูกทิ้งเหล่านี้ ผลที่ตามมาก็คือการเกิดขึ้นของตลาดมืดมากมายที่ซื้อขายและนำเข้าขยะพลาสติกเพื่อเผาทำลายอย่างผิดกฎหมายในหลายพื้นที่ทั้งในเอเชียและยุโรป

คำถามที่ตามมาคือ ระบบการรีไซเคิลพลาสติกเพื่อนำกลับมาใช้ซ้ำดีจริงอย่างที่กล่าวอ้างหรือไม่ เพราะกระบวนการนั้นเกิดขึ้นได้จริงน้อยมาก หรือจริงๆ แล้วเป็นเพียงนโยบายของผู้ผลิตที่ ‘Greenwash’ เพื่อเป็นข้ออ้างในการกระตุ้นให้ผู้บริโภคใช้พลาสติกที่ผลิตขึ้นใหม่ต่อไปโดยที่รู้สึกผิดน้อยลงหรือคิดว่าตัวเองได้ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมแล้ว เพราะเชื่ออย่างหมดใจตามคำโปรโมตหรือตราสัญลักษณ์ต่างๆ ที่ทางแบรนด์ระบุว่าบรรจุภัณฑ์พลาสติกเหล่านี้จะถูกนำไปรีไซเคิลและวนกลับมาใช้ซ้ำอีกครั้ง ทั้งๆ ที่ในความเป็นจริงแล้วอาจไม่ใช่อย่างที่พวกเขาคิดมาโดยตลอด

หน่วยงานด้านสิ่งแวดล้อมและนักกิจกรรมที่ขับเคลื่อนประเด็นนี้เห็นตรงกันว่าถึงเวลาแล้วที่แบรนด์ผู้ผลิตต่างๆ ต้องตระหนักว่าปัญหาขยะพลาสติกอยู่ในขั้นวิกฤติ ต้องจริงจังและจริงใจกับการแก้ปัญหา ด้วยการยอมรับว่าการรีไซเคิลอาจไม่ใช่ทางออกที่สัมฤทธิ์ผลที่สุด เพราะพลาสติกทุกประเภทไม่ได้สามารถนำไปรีไซเคิลได้ทั้งหมด และกระตือรือร้นที่จะเปลี่ยนแปลงเพื่อก้าวไปสู่หนทางที่ดีกว่า


วิธีหนึ่งก็คือการย้อนกลับไปที่ต้นทาง นั่นก็คือผู้ผลิตต่างๆ ต้อง ‘ลดการใช้พลาสติก’ ด้วยการใช้ขวดแก้วหรือขวดพลาสติกที่สามารถใช้ซ้ำได้อย่างที่เกริ่นไปตอนต้น เพื่อให้ผู้บริโภคสามารถซื้อผลิตภัณฑ์อุปโภคบริโภคในรูปแบบรีฟิล หรือใช้จนหมดแล้วก็นำบรรจุภัณฑ์มาคืนตัวแทนจำหน่ายของแบรนด์เจ้าของสินค้า

แม้วิธีการดังกล่าวจะมีค่าใช้จ่ายที่สูงและต้องแบกรับภาระในการดูแลรักษาและทำความสะอาดบรรจุภัณฑ์ แต่ก็ช่วยไม่ให้แบรนด์ต่างๆ ผลิตพลาสติกใหม่ออกมามากเกินความจำเป็น อีกทั้งแบรนด์ผู้ผลิตเองก็ควรคำนึงถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก และคำนวณรวมเข้าไปในต้นทุนการผลิตอยู่แล้ว ไม่ใช่มองว่าเป็นปัจจัยที่ทำให้กำไรของบริษัทลดลง อีกทั้งในหลายประเทศที่เคยใช้วิธีนี้ก็ไม่ประสบกับปัญหาขยะพลาสติกเลยจนกระทั่งแบรนด์เปลี่ยนมาใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง

อีกวิธีที่เป็นไปได้คืออาจจะร่วมมือกับหน่วยงานระดับประเทศหรือท้องถิ่นในการสร้างระบบมัดจำขวดพลาสติก โดยผู้บริโภคจะได้รับเงินมัดจำที่จ่ายไปตอนซื้อกลับมาเมื่อนำขวดไปคืนตามจุดบริการต่างๆ ซึ่งดำเนินการแล้วในบางประเทศ เช่น เยอรมนี นอกจากจะลดปัญหาการใช้พลาสติกครั้งเดียวทิ้งแล้ว วิธีการนี้ยังทำให้ทั้งหน่วยงานรัฐและแบรนด์เจ้าของสินค้าได้รับบรรจุภัณฑ์พลาสติกที่สะอาดและไม่ปนเปื้อน สามารถนำไปรีไซเคิลเป็นบรรจุภัณฑ์ที่รองรับสินค้าอุปโภคบริโภคได้ปลอดภัยอย่างแท้จริง


สำหรับการนำขยะพลาสติกมาทำเป็นเชื้อเพลิงนั้น หน่วยงานและนักกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมมองว่าเป็นทางเลือกหนึ่งได้ แต่ควรใช้กับขยะพลาสติกที่ไม่สามารถรีไซเคิลได้จริงๆ เช่น ขยะจากการแพทย์ โดยควบคู่ไปกับการออกกฎหมายที่ระบุอย่างชัดเจนเพื่อไม่ให้เกิดช่องโหว่ที่นำไปสู่การผลิตพลาสติกใหม่ๆ เพิ่มโดยอ้างว่าสามารถใช้วิธีการเผาเป็นเชื้อเพลิงในการกำจัดขยะพลาสติกได้อยู่แล้ว

ที่สำคัญภาครัฐต้องให้ความสำคัญกับเรื่องสิ่งแวดล้อมและการลดขยะพลาสติก อย่าคิดว่าเป็นเพียงการทำความดีของคนกลุ่มหนึ่ง แล้วผลักประเด็นนี้ไปอยู่ลิสต์ท้ายๆ ในการพิจารณาเพื่อขับเคลื่อนนโยบายหรือจัดสรรงบประมาณ เพราะวิกฤตนี้เร่งด่วนเทียบเท่าปัญหาเศรษฐกิจและปากท้องของประชาชน เพราะมีคนหลายกลุ่มได้รับผลกระทบที่เป็นรูปธรรมแล้ว เช่น ชาวประมง หรือชาวบ้านที่อาศัยในบริเวณที่มีการเผาขยะพลาสติก

นอกจากนี้ควรมีการออกกฎหมายที่มีบทบังคับและบทลงโทษอย่างจริงจัง ทั้งในส่วนที่เกี่ยวข้องกับผู้ผลิตและเจ้าของสินค้าที่ใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติก และการแก้ไขปัญหาขยะพลาสติกที่ยึดอยู่บนหลักการลดการใช้พลาสติกเป็นสำคัญ โดยเปิดรับฟังความคิดเห็นของประชาชน รวมถึงสนับสนุนให้ทั้งเจ้าหน้าที่ในภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนร่วมกันเสนอนวัตกรรมสร้างสรรค์ที่จะสามารถนำมาเป็นทางออกในการแก้ไขวิกฤตนี้ได้อย่างตรงจุดและยั่งยืน

ส่วนประชาชนตัวเล็กๆ แบบเราก็เริ่มได้ด้วยการลดการใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกและแยกขยะ อาจจะสร้างแรงกระเพื่อมได้ทีละนิด แต่ก็เป็นพลังที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่แข็งแกร่งในอนาคตได้เช่นกัน


Text:

The MISSION Team

The MISSION Team

PHOTO:

Greenpeace Thailand

Greenpeace Thailand

Related Posts