Sex Talk with Day/DM Cafe

Sex Talk with Day/DM Cafe

10 ก.ค. 2566

SHARE WITH:

10 ก.ค. 2566

10 ก.ค. 2566

SHARE WITH:

SHARE WITH:

Sex Talk with Day/DM Cafe

Day/DM คาเฟ่ที่ต้องการให้ทุกคนพูดเรื่องเพศได้อย่างปกติเหมือนเรื่องดินฟ้าอากาศ

“มากกว่าคาเฟ่คือพื้นที่ปลอดภัยในการพูดเรื่องเพศ”

แท็กไลน์ข้างต้นในอินสตาแกรมของ ‘Day/DM Cafe’ ดึงความสนใจได้อยู่หมัดและกระตุ้นให้เราอยากไปเยือนร้านเล็กๆ แห่งนี้ซึ่งตั้งอยู่ตรงข้ามศาลเจ้าหลีตีเมี้ยวบนถนนพลับพลาไชยดูสักครั้ง 

ไม่รอช้า เรานัดหมายกับสองเจ้าของร้าน เอช-ประติมา รักษาชนม์ และแต๋ม-วิสุทธิ์รัตน์ รุ่งนพคุณศรี ในช่วงบ่ายของวันพุธสิ้นเดือนมิถุนายนทันที จากทางออก 3 ของ MRT สถานีวัดมังกร เราเลี้ยวซ้ายเพื่อมุ่งหน้าไปยังแยกแปลงนาม จากนั้นเลี้ยวซ้ายเข้าถนนพลับพลาไชยแล้วเดินต่อไปเรื่อยๆ จนถึงศาลเจ้า ก็ข้ามถนนสู่จุดหมายปลายทางของเราที่เห็นได้ชัดเจนจากอีกฝั่ง

ป้ายหน้าร้านสะดุดตาเราเมื่อมาถึง เพราะไม่เพียงแนะนำตัวเองด้วยคำว่า ‘Coffee, Tea, Consult’ เท่านั้น แต่ยังมาพร้อมคำอธิบายเพิ่มเติมที่ว่า ‘พูดคุย ปรึกษาในพื้นที่ปลอดภัยกับเหล่านักเพศวิทยา’ และตัวอย่างประเด็นทางเพศที่แยกออกมาเป็นบับเบิลต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ‘ไม่เก่ง ไม่ดี ไม่สวยพอเหรอ ถึงไม่ถูกรัก’ ‘พาแฟนเข้าบ้าน ทำยังไง’ ‘โดนนอกใจ’ ‘อกหัก’ ‘มูฟออนเป็นเรขาคณิต’ ไปจนถึง ‘เจ็บมากตอนมี sex’ ‘กินยาคุมไม่เป็น’ ‘ทำแท้ง บาป!!’ ‘เป็น LGBTQI+ บอกคนในครอบครัวยังไง’ ‘ลูกเป็น LGBTQI+’ ทำตัวยังไงดี’ และ ‘ถูกคุกคามทางเพศ’ 

นั่นเป็นความประทับใจแรกที่ทำให้เรารู้สึกว่าคาเฟ่แห่งนี้โอบรับและนับรวมคนทุกเพศทุกวัยที่กำลังประสบปัญหาด้านเพศทุกรูปแบบอย่างแท้จริง และเมื่อเปิดประตูก้าวเข้าสู่ร้าน ก็สัมผัสได้ถึงความหมายของ ‘พื้นที่ปลอดภัย’ ผ่านบรรยากาศที่สงบ อบอุ่น และผ่อนคลาย


นักเพศวิทยาและพื้นที่ปลอดภัยในการสื่อสารปัญหาเรื่องเพศที่ทับซ้อน

“คนยังไม่ค่อยเข้าใจว่า ‘นักเพศวิทยา’ คืออะไร เราเลยเขียน ‘ทุกปัญหา’ ที่สามารถปรึกษานักเพศฯ ได้เป็นบับเบิลรอบๆ ป้ายหน้าร้าน” แต๋มอธิบายที่มาที่ไปของป้ายหน้าร้านของ Day/DM Cafe หลังเสิร์ฟเครื่องดื่มให้เราและทีมงานเสร็จสิ้นแล้วเข้ามาร่วมวงสนทนาภายในร้านที่ให้ความรู้สึกเหมือนอยู่บ้าน

แล้ว ‘นักเพศวิทยา’ คืออะไร - นักเพศวิทยา มาจากคำเต็มว่า ‘นักเพศวิทยาคลินิก’ หมายถึงผู้ที่ให้คำปรึกษาเรื่องเพศ ซึ่งครอบคลุมถึงเพศสรีระ เพศสภาพ เพศวิถี อัตลักษณ์ทางเพศ พฤติกรรมทางเพศ จิตวิทยาทางเพศ การดูแลสุขภาพและสุขภาวะทางเพศ ให้ความรู้ความเข้าใจเรื่องเพศศึกษา เพศสัมพันธ์ ความสุขทางเพศ รสนิยมทางเพศ รวมไปถึงการทำเพศบำบัด และแนะนำแนวทางแก้ไขปัญหาทางเพศต่างๆ 

ซีรีส์เรื่อง ‘Sex Education’ จุดประกายให้ทั้งคู่เข้าสู่เส้นทางสายนี้ โดยแต๋มได้ทำความรู้จักอาชีพนักบำบัดทางเพศจากตัวละคร Jean Milburn ผู้เป็นแม่ของตัวเอกในเรื่อง ส่วนเอชนั้นนอกจากตัวละครนี้แล้ว อีกหนึ่งตัวละครอย่าง Ola Nyman ที่เป็นแพนเซ็กชวล ยังช่วยสร้างความเข้าใจใหม่ต่อเรื่องเพศวิทยาว่าไม่ใช่เรื่องของเพศสัมพันธ์เพียงอย่างเดียว แต่รวมถึงเรื่องความหลากหลายทางเพศด้วย อีกทั้งได้ค้นพบนิยามที่เหมาะสมกับตัวเองหลังจากที่ถูกแปะป้ายว่าเป็นทอมมาตลอดจากลุคและทรงผมของตัวเอง

โลกเพศวิทยาของทั้งสองกว้างขึ้นไปอีกขั้นหลังจากเข้าร่วมเรียนในหลักสูตรเพศวิทยาคลินิกของคณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่ดำเนินการร่วมกับคลินิกสุขภาพเพศ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ และสมาคมเพศวิทยาคลินิกและเวชศาสตร์ทางเพศ (ประเทศไทย)

“หลักสูตรนี้ครอบคลุมเรื่อง biopsychosocial หรือร่างกาย จิตใจ และสังคม แต่ตอนไปเรียน รู้สึกว่าสโคปของสังคมมันยังไม่ชัดมาก เพราะเนื้อหาเน้นเรื่องเพศสัมพันธ์ สุขภาวะทางเพศ และการดูแลสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับเพศมากกว่า” แต๋มเล่าให้ฟังคร่าวๆ ถึงการเรียนของตัวเอง “หลังจบคอร์ส เราโชคดีได้ไปร่วมกิจกรรมของนักกิจกรรม เลยได้เห็นว่ามีการเรียกร้องประเด็นอะไรบ้างที่เกี่ยวกับเรื่องเพศเกิดขึ้นในสังคม ตอนเรียนมันคือการรับความรู้อย่างเดียว ทำให้เราไม่สามารถรับรู้และเข้าใจปัญหาของกลุ่มคนอื่นๆ ในสังคมในภาพรวมได้ชัดเจนเท่ากับการลงไปเห็นเองว่ามันมีคนที่กำลังเผชิญหน้ากับปัญหาแบบนี้จริงๆ” 

“สำหรับเราเรื่องเพศคือทุกเรื่อง เพียงแต่มันซ่อนอยู่ในซอกหลืบที่มองไม่เห็น แม้แต่เสื้อผ้าที่เราใส่ เรื่องที่เราพูดหรือคิด ก็เป็นเรื่องเพศเหมือนกัน ดังนั้นโดยพื้นฐานแล้วปัญหาเรื่องเพศจึงไม่ใช่เรื่องเพศโดดๆ อย่างฉันมีเพศสัมพันธ์ไม่ได้แค่นั้น บางคนมีภาพที่ทับซ้อนเยอะมากในปัญหาของตัวเอง” เอชแชร์ปัญหาของคนส่วนใหญ่ในสังคมจากประสบการณ์ที่ผ่านมา “นี่จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้เราเปิด Day/DM Cafe ขึ้นมา เพราะอยากให้เป็นพื้นที่ของคนที่มีปัญหาได้เรียนรู้และทำความเข้าใจปัญหาของตัวเอง” 


“เราอยากให้ Day/DM Cafe เป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้การพูดเรื่องเพศสำหรับใครสักคนที่แวะเข้ามาเป็นเรื่องง่ายขึ้น อยากให้เป็น ‘พื้นที่ปลอดภัย’ ที่เปิดให้พวกเขาได้สำรวจตัวตนของตัวเอง สำรวจคนรอบข้าง ผ่านการแชร์ปัญหา แชร์ประสบการณ์ซึ่งกันและกัน เพื่อให้คนที่เข้ามาได้รับรู้ร่วมกันว่าบางปัญหาที่พวกเขากำลังเผชิญมันมีต้นตอมาจากเรื่องเพศนะ บริบทปัญหาเรื่องเพศมันมีการซ้อนทับกันเยอะกว่าที่เราคิด ถ้าเราไม่รู้ว่าจริงๆ แล้วต้นตอของปัญหาคืออะไร มันก็จะเกิดซ้ำไปเรื่อยๆ ถึงแก้ไขไปแล้วมันก็วนกลับมาอยู่ดี” แต๋มขยายความถึงจุดประสงค์ของการสร้าง Day/DM Cafe

“เราอยากให้ทุกคนมีพื้นที่ในการเรียนรู้และเปิดปากสื่อสารเรื่องเพศโดยปลอดภัยที่สุด และมั่นใจได้ว่าสิ่งที่พูดออกไปจะไม่กลับมาทำร้ายเขาในอนาคต” เอชเสริม “ขณะเดียวกันความรู้สึก ประสบการณ์ หรือประเด็นปัญหาที่เขาแชร์ก็จะกลายเป็นการส่งต่อความรู้ให้คนอื่นด้วย” 

แน่นอนว่าทุกเรื่องราวที่จะกลายเป็นวิทยาทานอันมีค่านี้ต้องได้รับการยินยอมจากเจ้าของเรื่องก่อนเสมอ “เราตระหนักดีว่าเรื่องเพศยังไม่ได้เกิดการเรียนรู้ในสังคมไทยในวงกว้างขนาดนั้น เราจะขออนุญาตก่อนทุกครั้งว่าขอนำเรื่องราวไปให้คนอื่นเรียนรู้ต่อได้ไหม หรือต้องการจะเล่าสิ่งนี้ให้คนที่มีปัญหาเดียวกันหรือสอดคล้องกันได้รับรู้ไหมว่าเจ้าของเรื่องสามารถก้าวผ่านจุดนั้นมาได้ยังไง” แต๋มอธิบาย

“มันอาจจะไม่ใช่คำตอบที่ถูกต้องสำหรับคนที่ได้รับฟัง แต่คนเหล่านั้นจะได้รับรู้ว่าพวกเขาไม่โดดเดี่ยว เราอยากเป็นพื้นที่ที่ลดความโดดเดี่ยวตรงนั้นลง เราทำให้มันหายไปไม่ได้หรอก เพราะไม่ใช่ทุกคนที่จะเข้ามาใน Day/DM Cafe”

เรื่องเพศพูดได้ทุกที่ทุกเวลาและไม่ต้องมาพร้อมความเซ็กซี่

สองนักเพศวิทยาเจ้าของ Day/DM Cafe ยอมรับว่าสิ่งที่ยากที่สุดสำหรับทำร้านนี้คือการเชิญชวนให้คนใหม่ๆ เข้ามาพบปะพูดคุยเรื่องเพศภายในร้านแห่งนี้

“มันต้องใช้ความกล้าจริงๆ นะในการคิดว่า ‘ทุกเรื่องคือเรื่องเพศ’”

แต๋มเห็นด้วยกับเอช “เป็นโมเมนต์เดียวกับการเมืองที่แทรกอยู่ทุกที่แต่เป็นสิ่งต้องห้ามในการพูดคุย จะคุยในบ้าน พ่อแม่ก็จะบอกว่าเราไม่คุยเรื่องนี้กันนะลูก แต่สังคมเราเริ่มปลดล็อกเรื่องการเมืองและสามารถพูดได้แล้ว เราเลยอยากให้สิ่งนั้นเกิดขึ้นกับเรื่องเพศเหมือนกัน เพราะตอนนี้มันยังเต็มไปด้วยความรู้สึกผิดและความรู้สึกอันตรายแฝงอยู่ในบริบทการพูดคุย ไม่ว่าจะเป็นที่ไหนก็ตาม ทั้งกับเพื่อน กับครอบครัว หรือกับแฟน มันจะมีความกังวลในการจะเปิดประเด็นเรื่องเพศ”

ด้วยเหตุนี้อีกหนึ่งจุดประสงค์หลักของ Day/DM Cafe คือการทำให้เรื่องเพศเป็นเรื่องทั่วๆ ไปเหมือนเรื่องดินฟ้าอากาศที่สามารถพูดคุยหรือแสดงออกได้อย่างปกติไม่ว่าจะอยู่ที่ใดก็ตาม

“เราอยาก normalize ให้การพูดเรื่องเพศไม่เป็นเรื่องอันตรายกับใครเลย” แต๋มกล่าว “และเมื่อคนเชื่อแล้วว่าการพูดเรื่องเพศไม่เป็นอันตราย เขาก็จะรู้สึกว่าไม่เป็นอันตรายในการพูดเรื่องเพศในสถานที่อื่นๆ ได้เหมือนกัน”


ที่จริงแล้วสถานบันเทิงยามกลางคืนเป็นพื้นที่หนึ่งที่สามารถสนทนาหรือแสดงออกเรื่องเพศได้อย่างเปิดเผย แต่ทั้งแต๋มและเอชต้องการสร้างพื้นที่แห่งใหม่ที่ตอบสนองคนกลุ่มอื่นๆ ที่อาจจะไม่คุ้นชินกับสถานที่ดังกล่าว จึงเริ่มจาก Day/DM Cafe ร้านกาแฟที่มาพร้อมความรู้สึกสบายใจและเป็นมิตรเหมาะสำหรับให้ทุกคนมานั่ง ‘เมาธ์มอยเรื่องเพศ’ กันในตอนกลางวัน

“เรามีโอกาสได้ไปงานหนึ่งของนักกิจกรรมซึ่งอยู่ในผับ แต่เราไม่อินกับผับ เพราะส่วนตัวรู้สึกว่าเป็นพื้นที่ที่เหมือนทำให้เราตกอยู่ในความเสี่ยง” เอชเล่า “ถ้าเราเป็นมนุษย์ที่ใช้ชีวิตตอนกลางวัน ตื่นเช้าไปทำงานแล้วกลับบ้านนอนดูซีรีส์ ไม่ได้มีกิจกรรมไนต์ไลฟ์ขนาดนั้น เราจะคุยเรื่องเพศที่ไหนดี ทำไมเราต้องคุยเรื่องเพศกันแค่ในผับด้วย เลยเกิดเป็นไอเดียมาคุยกับแต๋ม” 

“เราคิดว่าน่าจะมีคนแบบเราอีกที่ไม่มีโอกาสได้พูดเรื่องเพศเพียงเพราะไม่ใช่คนเที่ยวกลางคืน” แต๋มเสริม “อีกอย่างหนึ่งคือความเป็นผับมันจะผูกติดอยู่กับความเซ็กซี่ คนที่พูดเรื่องเพศจึงมีอิมเมจเซ็กซี่ หวือหวา เปิดเผยทุกอย่างเป็นภาพจำ แต่ในความเป็นจริงไม่ใช่ทุกคนที่มีลุคแบบนั้นจะสะดวกใจพูดเรื่องเพศ และก็ไม่ใช่ทุกคนที่ใส่เสื้อผ้ามิดชิดจะไม่อยากพูดเรื่องเพศ เราอยากจะ normalize ประเด็นนี้ด้วยว่าไม่ว่าคุณจะเป็นคนแบบไหน เป็นชาวกลางวันหรือชาวกลางคืน เป็นคนเซ็กซี่หรือไม่ แต่งตัวแบบใดก็ตาม ก็คุยเรื่องเพศได้”

เอชมองว่ารูปแบบคาเฟ่ของ Day/DM น่าจะสามารถขับเคลื่อนจุดประสงค์ของทั้งสองในการผลักดันการพูดคุยเรื่องเพศได้อย่างเปิดเผยและปลอดภัยได้ในระยะยาว “เราคาดหวังให้พื้นที่นี้ของเราเติบโตมากขึ้นและขยายไปสู่ภาคประชาสังคมและมีโอกาสได้พูดคุยประเด็นนี้กับชุมชนใกล้เคียงด้วย” 


ก่อนจะไปถึงจุดที่ขยายความตั้งใจของตัวเองไปสู่ชุมชนใกล้เคียง หลายคนคงสงสัยเช่นเดียวกับเราว่าตัวตนของ Day/DM Cafe ได้รับการตอบรับอย่างไรจากชุมชนที่คาเฟ่แห่งนี้ตั้งอยู่ ซึ่งยังมีกลิ่นอายวัฒนธรรมและความเชื่อดั้งเดิมสูงและน่าจะอยู่ขั้วตรงข้ามกับสิ่งที่ทั้งสองนักเพศวิทยากำลังนำเสนอ

“จริงๆ ชุมชนย่านนี้ค่อนข้างเกี่ยวพันกับเรื่องเพศเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ซึ่งเราเพิ่งมารู้หลังปรับปรุงร้านไปได้แป๊บนึง” แต๋มตอบคำถามพร้อมให้ความรู้ใหม่แก่เรา “ตรงวงเวียน 22 (กรกฎาคม) เป็นพื้นที่ที่มีผู้ประกอบอาชีพค้าบริการ และไม่ใกล้ไม่ไกลก็มีวัดคณิกาผลที่สร้างโดยแม่เล้าอย่างยายแฟง ซึ่งตอนแรกเราก็ไม่ได้รู้ว่าจะตั้งอยู่ใกล้ร้านขนาดนั้น และถึงแม้จะเห็นว่าแถวนี้มีร้านอาหารไฮโซอยู่เยอะ แต่ในตรอกก็จะมีกลุ่มแรงงานอาศัยอยู่ ย่านนี้เลยเป็นพื้นที่ของคนหลายชนชั้น ส่งผลให้คนในชุมชนใจกว้างไปโดยปริยาย อย่างร้านขายอาหารก็ต้องเจอลูกค้าหลายๆ แบบ อคติทางเพศก็จะไม่ค่อยมีอยู่แล้ว เรารู้สึกได้ว่าทุกคนอาจจะไม่ได้โอ๋เราขนาดนั้น แต่ก็เป็นเพื่อนบ้านที่รักเรา”


ปลดล็อกปัญหาที่ติดค้างในใจผ่านการตั้งคำถาม ร่วมเวิร์กช็อป และรับคำปรึกษา

“ส่วนมากลูกค้าที่เข้ามาในคาเฟ่จะเป็นขาจรที่เดินผ่านไปผ่านมาหรือไม่รู้จักเรามาก่อน อาจจะเข้ามาดื่มน้ำเฉยๆ หรือนั่งไปสักพักแล้วก็ถามขึ้นมาว่าร้านเราพูดเรื่องเพศเหรอ พอได้คำตอบแล้วก็จะหยุดคิดไปแป๊บนึงแล้วถามว่าเราคือใคร หรือไม่ก็แชร์เรื่องราวของตัวเอง ส่วนใหญ่ก็จะเป็นคนที่อายุมากกว่าเรา ซึ่งจริงๆ เราชอบคุยกับคนกลุ่มนี้เพราะพวกเขาได้รับรู้ประเด็นเรื่องเพศในช่วงเวลาก่อนที่เราจะเกิด”

แต๋มไขข้อสงสัยของเราที่ว่าแล้วใครบ้างที่แวะเวียนเข้ามาใน Day/DM Cafe พร้อมเสริมด้วยว่า “ที่น่าสนใจก็คือจะมีบางคนที่มีปัญหาและบังเอิญมาเห็นป้ายหน้าร้านเรา เขาก็จะกลับไปนั่งตกตะกอนกับตัวเองก่อนว่าจะเข้ามาคุยที่ร้านเราดีไหม ซึ่งต่อมาเขาก็จะแวะมาแล้วบอกว่ามีเรื่องอยากปรึกษา พอดีเห็นป้ายหน้าร้านก็เลยเข้ามา หรือบางทีเราเห็นคนด้อมๆ มองๆ อยู่หน้าร้าน เราก็จะออกไปต้อนรับและลองถามว่าอยากคุยเรื่องนี้กันไหมคะ”

นอกจากการใช้ป้ายหน้าร้านที่ดึงดูดความสนใจของใครหลายคนรวมถึงตัวเราแล้ว การตกแต่งบนผนังภายในร้านด้วยภาพวาดน่ารักๆ สีสันสดใสที่หากสังเกตดูดีๆ แล้วก็ชวนให้ตีความได้ว่าเป็นอวัยวะส่วนต่างๆ ที่ใช้ในการร่วมเพศหรืออุปกรณ์เซ็กส์ทอยหลากหลายรูปแบบก็เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่ทั้งแต๋มและเอชใช้ในการตกคนให้เปิดใจบอกเล่าประสบการณ์หรือปัญหาเกี่ยวกับเพศของตนเอง 

“เนื่องจากบางคนยังหวาดกลัวที่จะพูดถึงเรื่องเพศตรงๆ เราเลยพยายามไม่พูดถึงตรงๆ มากนัก แต่ใช้สิ่งของหรือภาพวาดที่ดูเป็นปริศนาแทน ถ้าเขาอยากรู้ เราก็พร้อมที่จะคุย แต่ถ้าเขายังไม่พร้อมคุย เราก็ปล่อยให้มันเป็นปริศนาสำหรับเขาต่อไป” แต๋มอธิบาย


“ด้วยเราสองคนเป็นคนขี้สงสัย เราก็เลยพยายามทำทุกอย่างให้เกิดเป็นคำถามในพื้นที่ของเราเพื่อกระตุ้นให้คนที่แวะเข้ามาได้ฉุกคิดบางอย่างขึ้นมา” เอชเสริม “เรารู้สึกว่ามันสนุกที่ทำให้เขาชาเลนจ์ตัวเองว่าจะกล้าพูดสิ่งที่สงสัยหรือเปล่า และถ้าเขาพูดปุ๊บ เราก็จะเข้าไปคุยกับเขาเลย”

ตามที่แต๋มและเอชได้เกริ่นไปข้างต้นว่าบริบทปัญหาเรื่องเพศมีการทับซ้อนกันหลายชั้น เพราะฉะนั้นเรื่องราวของคนที่แวะเวียนเข้ามาในพื้นที่แห่งนี้จึงหลากหลาย

“บางคนมาคุยกับเราเพราะว่าเป็นซึมเศร้าและหาทางออกไม่ได้ เขาเลยสงสัยว่าปัญหาของเขาอาจจะเกี่ยวข้องกับเรื่องเพศไหม” เอชยกตัวอย่างแขกที่มาเยือน Day/DM Cafe “เราก็ต้องมาช่วยเขากะเทาะว่าต้นตอของปัญหามันมาในทิศทางนี้ไหม แต่บางครั้งปัญหาของบางคนอาจจะต้องได้รับการแก้ไขในลักษณะของการบำบัดหรือรักษาเฉพาะบุคคล เราก็จะถามเขาว่าสนใจทำคอนซัลต์ไหม”

Day/DM Consult คือพื้นที่สำหรับผู้ที่มีปัญหาและต้องการความช่วยเหลือในการแก้ไขปัญหาผ่านการรับคำปรึกษาโดยเฉพาะ ซึ่งรวบรวมนักเพศวิทยาที่มีความเชี่ยวชาญด้านสุขภาวะทางเพศ ความหลากหลายทางเพศ รสนิยมในการมีเซ็กส์ทั้ง BDSM คิงก์ (kink) เฟติชต่างๆ (fetish) หรือแม้กระทั่งเซ็กส์ทอย รวมไปถึงประเด็นอื่นๆ ที่หลายคนอาจรู้สึกว่ายังเป็นคอนฟลิกต์หรือสิ่งต้องห้ามในสังคม นอกจากนี้ยังมีแพทย์ที่ตอบข้อสงสัยเกี่ยวกับร่างกายหรือให้ความรู้ด้านการแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเพศได้ด้วย โดยผู้ที่ต้องการคอนซัลต์สามารถนัดเพื่อขอคำปรึกษาทางออนไลน์หรือนัดเข้าไปพูดคุยในคาเฟ่ก็ได้แล้วแต่ความสะดวก หรือถ้าอยากให้ทาง Day/DM Consult จัดกิจกรรมบำบัดแบบจริงจัง ก็สามารถแจ้งได้เช่นกัน 

“กรณีแบบนี้มันจะต่างจากการไปหาหมอในโรงพยาบาลโดยตรงที่คนคนนั้นอาจจะรู้แล้วว่าตัวเองมีปัญหาอะไร เช่น อารมณ์ทางเพศไม่ถึงจุดสุดยอด ก็จะเข้ากระบวนการรับคำปรึกษาและแก้ไขการเจ็บป่วยของร่างกาย” แต๋มแสดงความคิดเห็น “แต่การเข้ามานั่งพูดคุยกับนักเพศวิทยาในบรรยากาศคาเฟ่แบบนี้ เขาไม่ได้ตกตะกอนมาก่อนหรอกว่าปัญหาของเขาคืออารมณ์ทางเพศไม่ถึงจุดสุดยอด เขาจะเข้ามาเพราะรู้สึกว่าชีวิตเซ็กส์ไม่มีความสุข ซึ่งนักเพศวิทยาก็ต้องแก้ปัญหาทั้งร่างกายและจิตใจไปพร้อมๆ กัน”

“รวมไปถึงต้องทลายกรอบทางสังคมในเรื่องเพศที่ครอบคนที่เข้ามาขอคำปรึกษาด้วย มันต้องทำทั้งสามอย่างไปพร้อมๆ กันในการพูดคุยและให้คำปรึกษา” เอชกล่าวเสริม


นอกจากการเป็นพื้นที่ปลอดภัยให้ทุกคนสำรวจเรื่องเพศของตัวเอง และผลักดันให้เรื่องเพศเป็นเหมือนเรื่องดินฟ้าอากาศที่สามารถพูดคุยได้อย่างปกติในทุกสถานที่ อีกทั้งเป็นพื้นที่ในการให้คำปรึกษา ช่วยเหลือ และบำบัดผู้ที่มีปัญหาทางเพศโดยเฉพาะแล้ว Day/DM Cafe ยังเปิดเวิร์กช็อปให้ผู้ที่สนใจมาร่วมสนุกพร้อมตกตะกอนความคิดเรื่องเพศด้วย ซึ่งมีเอชเป็นแกนหลักสำคัญในการคิดกิจกรรมในแต่ละครั้งโดยใช้ประสบการณ์จากการเรียนคณะครูมาประยุกต์

“เราจะคิดจุดประสงค์ขึ้นมาก่อนว่ากิจกรรมครั้งนี้เราอยากให้คนที่มาเวิร์กช็อปเรียนรู้เรื่องอะไร ในระหว่างทำกิจกรรม บางคนที่อาจจะมีความรู้มากกว่าเรา ก็สามารถแชร์กับเราผ่านกิจกรรมได้ ในขณะเดียวกันบางคนอาจจะประมวลผลและตกผลึกได้ 30-40 เปอร์เซ็นต์หลังจบกิจกรรม ก็ไม่เป็นไร สามารถมาสำรวจใหม่ครั้งหน้าหรือออกไปเก็บรายละเอียดเพิ่มเติมต่อจากสังคมรอบๆ ตัวก็ได้ อย่างเช่นเวิร์กช็อปวาดภาพนู้ด เราต้องการให้คนได้มีโอกาสชาเลนจ์ตัวเองในการเห็นคนอื่นเปลือยเพื่อตกตะกอนกับตัวเองว่าคนอื่นก็มีเนื้อตัวร่างกายที่ไม่เพอร์เฟกต์เหมือนคุณ มีความเป็นมนุษย์เหมือนคุณ ซึ่งก็มีทั้งฟีดแบ็กที่บอกว่าได้อะไรมากกว่าจุดประสงค์ที่เราตั้งเอาไว้ และบางคนที่อาจจะซัฟเฟอร์ที่ต้องมาอยู่ในสถานการณ์ที่เห็นคนอื่นโป๊”

‘ไหล’ เวิร์กช็อปที่ให้ผู้เข้าร่วมเทสีลงบนพื้นผ้าใบและปล่อยให้ขยับไหลไปมาจนแห้งสนิท เป็นกิจกรรมที่เอชยกให้เป็นกิจกรรมที่สร้างความเซอร์ไพรส์แก่ตัวเอง เพราะนอกจากจุดประสงค์ที่ต้องการสอดแทรกความรู้เรื่องความหลากหลายทางเพศแล้ว ผู้เข้าร่วมยังสามารถตกผลึกแง่มุมบางอย่างที่เป็นประโยชน์แก่ตัวเองได้ด้วยโดยตีความจากพื้นฐานชีวิตส่วนตัวของพวกเขาเอง

“บางคนปลดล็อกสภาพจิตใจของตัวเองได้ หรือคิดได้ว่าชีวิตมันควบคุมไม่ได้ แต่เราก็สามารถเลือกที่จะจดจำบางช่วงเวลาที่สวยงามได้ ส่วนพาร์ตที่ไม่สวยงาม ก็ไม่ได้หมายความว่ามันไม่มีค่า คือมันไม่ได้เกี่ยวข้องกับเรื่องเพศโดยตรง แต่อาจจะทำให้เขาสามารถก้าวออกมาจากกรอบที่เขายึดติดอยู่ได้”


สำคัญที่สุดคือความรู้ที่ถูกต้องและความเข้าใจในความต้องการของตัวเอง

ปัจจุบันมีหลายแพลตฟอร์มที่เริ่มให้คนมาแชร์ประสบการณ์เรื่องเพศของตัวเองกันมากมาย สำหรับปรากฏการณ์นี้ แต๋มมองว่า “ในการพูดคุยเรื่องเพศทั่วๆ ไปคือการนำประสบการณ์ของคุณ A กับคุณ B มาแชร์กันว่าเป็นยังไง ซึ่งคนรับสารก็จะรับรู้ประสบการณ์ของทั้งสองผ่านเรื่องราวที่ยกมาคุยกัน แต่หากความรู้เรื่องเพศศึกษาของผู้รับสารยังไม่ดีพอ ก็จะ ‘ขาดการคัดกรองที่ดี’ เช่น A บอกว่าผู้ชายจะชอบท่าการมีเพศสัมพันธ์ท่านี้มาก และผู้รับสารกำลังไม่มีความสุขในการมีเพศสัมพันธ์พอดี เขาเลยนำไปลองทำตามเพราะคิดว่าจะต้องฟิน แต่ผลปรากฏว่ามันไม่ฟิน มันก็นำไปสู่การตั้งคำถามกับตัวเองว่าที่มันไม่ฟิน เพราะฉันดีไม่พอหรือเปล่า เพราะทุกคนบอกกันหมดว่าท่านี้ดี”

แต๋มกล่าวเสริมอีกว่าเป็นเรื่องที่ดีที่หลายแพลตฟอร์มพูดเรื่องเพศมากขึ้น แต่ต้องมีกระบวนการอื่นๆ ที่ให้ข้อมูลความรู้เรื่องเพศศึกษาที่ครอบคลุมควบคู่กันไปด้วย 

“การขาดทั้งความรู้เรื่องเพศศึกษาและกระบวนการเรียนรู้และทำความเข้าใจตัวเอง จะทำให้คนคนหนึ่งไม่สามารถคิดวิเคราะห์สารที่ได้รับมาอย่างถี่ถ้วน ซึ่งนำไปสู่วงจรที่ทำร้ายผู้รับสารอันเกิดจากความผิดหวังต่อตัวเองเพราะเลียนแบบประสบการณ์ที่ได้ฟังมาแล้วไม่ได้อย่างที่หวัง เราเลยอยากให้ Day/DM Cafe เป็นพื้นที่ที่สามารถพูดคุยเรื่องเพศกันได้อย่างปกติโดยมีความรู้ที่ถูกต้องด้วย” 


“เป้าหมายของ Day/DM Cafe คือช่วยเหลือคนที่ไม่กล้าพูดเรื่องเพศให้กล้ามากขึ้นผ่านผู้เชี่ยวชาญ เราจะไม่เอาประสบการณ์ส่วนตัวของเราเป็นที่ตั้ง แต่เอาความรู้ที่ผ่านการรับรองเป็นที่ตั้งเพื่อให้ข้อมูลความรู้ในเชิงบวก หรือตอบคำถามหรือข้อสงสัยที่เกิดขึ้นกับตัวคุณได้โดย ‘ไม่ตัดสิน’ คุณ” เอชย้ำเจตนารมณ์ของ Day/DM Cafe “อย่างที่บอกไปว่าพื้นที่นี้คือพื้นที่การเรียนรู้ ความรู้ที่คุณได้จะเป็นเครื่องมือในการคัดกรองเรื่องราวต่างๆ ที่คุณได้รับฟังจากคนอื่นมาวิเคราะห์ว่าเหมาะสมหรือเกิดประโยชน์กับตัวเองจริงหรือไม่ ไม่ใช่เอาประสบการณ์ของเขามาตีตราหรือเบียดบังความต้องการที่แท้จริงของคุณ”

ด้วยเหตุนี้ทั้งสองคนจึงคิดที่จะสร้าง ‘อุปกรณ์สำรวจตัวเอง’ ขึ้น ซึ่งมีประโยชน์ทั้งต่อผู้ที่อาจจะไม่ได้สะดวกเข้ามาที่ Day/DM Cafe หรือคนที่ต้องการใช้เวลากับตัวเองคนเดียว โดยแต๋มอธิบายว่า “อุปกรณ์นี้จะชวนสำรวจเรื่องเพศของคุณเองโดยไม่ต้องแคร์ว่าคนอื่นจะมีความคิดเห็นกับตัวคุณยังไง” 

“โอกาสในการเรียนรู้เรื่องเพศและสำรวจตัวเองของเรามันมีน้อยเหลือเกิน หรือบางคนก็อาจจะไม่ได้หยุดดูประสบการณ์ที่ผ่านมาของตัวเองเลย สิ่งนี้ก็จะช่วยให้เขาตกตะกอนได้ว่าจะมีความสุขกับตัวเองได้ยังไงและอาจจะช่วยพาไปค้นพบเส้นทางการเรียนรู้หรือทดลองประสบการณ์อื่นๆ เพิ่มเติมได้ด้วย แต่ที่สำคัญที่สุดคือต้องรู้จักตัวเองก่อน ซึ่งคำว่า ‘รู้จักตัวเอง’ เนี่ยยากที่สุดละ” เอชทิ้งท้าย 


Day/DM คาเฟ่ที่ต้องการให้ทุกคนพูดเรื่องเพศได้อย่างปกติเหมือนเรื่องดินฟ้าอากาศ

“มากกว่าคาเฟ่คือพื้นที่ปลอดภัยในการพูดเรื่องเพศ”

แท็กไลน์ข้างต้นในอินสตาแกรมของ ‘Day/DM Cafe’ ดึงความสนใจได้อยู่หมัดและกระตุ้นให้เราอยากไปเยือนร้านเล็กๆ แห่งนี้ซึ่งตั้งอยู่ตรงข้ามศาลเจ้าหลีตีเมี้ยวบนถนนพลับพลาไชยดูสักครั้ง 

ไม่รอช้า เรานัดหมายกับสองเจ้าของร้าน เอช-ประติมา รักษาชนม์ และแต๋ม-วิสุทธิ์รัตน์ รุ่งนพคุณศรี ในช่วงบ่ายของวันพุธสิ้นเดือนมิถุนายนทันที จากทางออก 3 ของ MRT สถานีวัดมังกร เราเลี้ยวซ้ายเพื่อมุ่งหน้าไปยังแยกแปลงนาม จากนั้นเลี้ยวซ้ายเข้าถนนพลับพลาไชยแล้วเดินต่อไปเรื่อยๆ จนถึงศาลเจ้า ก็ข้ามถนนสู่จุดหมายปลายทางของเราที่เห็นได้ชัดเจนจากอีกฝั่ง

ป้ายหน้าร้านสะดุดตาเราเมื่อมาถึง เพราะไม่เพียงแนะนำตัวเองด้วยคำว่า ‘Coffee, Tea, Consult’ เท่านั้น แต่ยังมาพร้อมคำอธิบายเพิ่มเติมที่ว่า ‘พูดคุย ปรึกษาในพื้นที่ปลอดภัยกับเหล่านักเพศวิทยา’ และตัวอย่างประเด็นทางเพศที่แยกออกมาเป็นบับเบิลต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ‘ไม่เก่ง ไม่ดี ไม่สวยพอเหรอ ถึงไม่ถูกรัก’ ‘พาแฟนเข้าบ้าน ทำยังไง’ ‘โดนนอกใจ’ ‘อกหัก’ ‘มูฟออนเป็นเรขาคณิต’ ไปจนถึง ‘เจ็บมากตอนมี sex’ ‘กินยาคุมไม่เป็น’ ‘ทำแท้ง บาป!!’ ‘เป็น LGBTQI+ บอกคนในครอบครัวยังไง’ ‘ลูกเป็น LGBTQI+’ ทำตัวยังไงดี’ และ ‘ถูกคุกคามทางเพศ’ 

นั่นเป็นความประทับใจแรกที่ทำให้เรารู้สึกว่าคาเฟ่แห่งนี้โอบรับและนับรวมคนทุกเพศทุกวัยที่กำลังประสบปัญหาด้านเพศทุกรูปแบบอย่างแท้จริง และเมื่อเปิดประตูก้าวเข้าสู่ร้าน ก็สัมผัสได้ถึงความหมายของ ‘พื้นที่ปลอดภัย’ ผ่านบรรยากาศที่สงบ อบอุ่น และผ่อนคลาย


นักเพศวิทยาและพื้นที่ปลอดภัยในการสื่อสารปัญหาเรื่องเพศที่ทับซ้อน

“คนยังไม่ค่อยเข้าใจว่า ‘นักเพศวิทยา’ คืออะไร เราเลยเขียน ‘ทุกปัญหา’ ที่สามารถปรึกษานักเพศฯ ได้เป็นบับเบิลรอบๆ ป้ายหน้าร้าน” แต๋มอธิบายที่มาที่ไปของป้ายหน้าร้านของ Day/DM Cafe หลังเสิร์ฟเครื่องดื่มให้เราและทีมงานเสร็จสิ้นแล้วเข้ามาร่วมวงสนทนาภายในร้านที่ให้ความรู้สึกเหมือนอยู่บ้าน

แล้ว ‘นักเพศวิทยา’ คืออะไร - นักเพศวิทยา มาจากคำเต็มว่า ‘นักเพศวิทยาคลินิก’ หมายถึงผู้ที่ให้คำปรึกษาเรื่องเพศ ซึ่งครอบคลุมถึงเพศสรีระ เพศสภาพ เพศวิถี อัตลักษณ์ทางเพศ พฤติกรรมทางเพศ จิตวิทยาทางเพศ การดูแลสุขภาพและสุขภาวะทางเพศ ให้ความรู้ความเข้าใจเรื่องเพศศึกษา เพศสัมพันธ์ ความสุขทางเพศ รสนิยมทางเพศ รวมไปถึงการทำเพศบำบัด และแนะนำแนวทางแก้ไขปัญหาทางเพศต่างๆ 

ซีรีส์เรื่อง ‘Sex Education’ จุดประกายให้ทั้งคู่เข้าสู่เส้นทางสายนี้ โดยแต๋มได้ทำความรู้จักอาชีพนักบำบัดทางเพศจากตัวละคร Jean Milburn ผู้เป็นแม่ของตัวเอกในเรื่อง ส่วนเอชนั้นนอกจากตัวละครนี้แล้ว อีกหนึ่งตัวละครอย่าง Ola Nyman ที่เป็นแพนเซ็กชวล ยังช่วยสร้างความเข้าใจใหม่ต่อเรื่องเพศวิทยาว่าไม่ใช่เรื่องของเพศสัมพันธ์เพียงอย่างเดียว แต่รวมถึงเรื่องความหลากหลายทางเพศด้วย อีกทั้งได้ค้นพบนิยามที่เหมาะสมกับตัวเองหลังจากที่ถูกแปะป้ายว่าเป็นทอมมาตลอดจากลุคและทรงผมของตัวเอง

โลกเพศวิทยาของทั้งสองกว้างขึ้นไปอีกขั้นหลังจากเข้าร่วมเรียนในหลักสูตรเพศวิทยาคลินิกของคณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่ดำเนินการร่วมกับคลินิกสุขภาพเพศ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ และสมาคมเพศวิทยาคลินิกและเวชศาสตร์ทางเพศ (ประเทศไทย)

“หลักสูตรนี้ครอบคลุมเรื่อง biopsychosocial หรือร่างกาย จิตใจ และสังคม แต่ตอนไปเรียน รู้สึกว่าสโคปของสังคมมันยังไม่ชัดมาก เพราะเนื้อหาเน้นเรื่องเพศสัมพันธ์ สุขภาวะทางเพศ และการดูแลสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับเพศมากกว่า” แต๋มเล่าให้ฟังคร่าวๆ ถึงการเรียนของตัวเอง “หลังจบคอร์ส เราโชคดีได้ไปร่วมกิจกรรมของนักกิจกรรม เลยได้เห็นว่ามีการเรียกร้องประเด็นอะไรบ้างที่เกี่ยวกับเรื่องเพศเกิดขึ้นในสังคม ตอนเรียนมันคือการรับความรู้อย่างเดียว ทำให้เราไม่สามารถรับรู้และเข้าใจปัญหาของกลุ่มคนอื่นๆ ในสังคมในภาพรวมได้ชัดเจนเท่ากับการลงไปเห็นเองว่ามันมีคนที่กำลังเผชิญหน้ากับปัญหาแบบนี้จริงๆ” 

“สำหรับเราเรื่องเพศคือทุกเรื่อง เพียงแต่มันซ่อนอยู่ในซอกหลืบที่มองไม่เห็น แม้แต่เสื้อผ้าที่เราใส่ เรื่องที่เราพูดหรือคิด ก็เป็นเรื่องเพศเหมือนกัน ดังนั้นโดยพื้นฐานแล้วปัญหาเรื่องเพศจึงไม่ใช่เรื่องเพศโดดๆ อย่างฉันมีเพศสัมพันธ์ไม่ได้แค่นั้น บางคนมีภาพที่ทับซ้อนเยอะมากในปัญหาของตัวเอง” เอชแชร์ปัญหาของคนส่วนใหญ่ในสังคมจากประสบการณ์ที่ผ่านมา “นี่จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้เราเปิด Day/DM Cafe ขึ้นมา เพราะอยากให้เป็นพื้นที่ของคนที่มีปัญหาได้เรียนรู้และทำความเข้าใจปัญหาของตัวเอง” 


“เราอยากให้ Day/DM Cafe เป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้การพูดเรื่องเพศสำหรับใครสักคนที่แวะเข้ามาเป็นเรื่องง่ายขึ้น อยากให้เป็น ‘พื้นที่ปลอดภัย’ ที่เปิดให้พวกเขาได้สำรวจตัวตนของตัวเอง สำรวจคนรอบข้าง ผ่านการแชร์ปัญหา แชร์ประสบการณ์ซึ่งกันและกัน เพื่อให้คนที่เข้ามาได้รับรู้ร่วมกันว่าบางปัญหาที่พวกเขากำลังเผชิญมันมีต้นตอมาจากเรื่องเพศนะ บริบทปัญหาเรื่องเพศมันมีการซ้อนทับกันเยอะกว่าที่เราคิด ถ้าเราไม่รู้ว่าจริงๆ แล้วต้นตอของปัญหาคืออะไร มันก็จะเกิดซ้ำไปเรื่อยๆ ถึงแก้ไขไปแล้วมันก็วนกลับมาอยู่ดี” แต๋มขยายความถึงจุดประสงค์ของการสร้าง Day/DM Cafe

“เราอยากให้ทุกคนมีพื้นที่ในการเรียนรู้และเปิดปากสื่อสารเรื่องเพศโดยปลอดภัยที่สุด และมั่นใจได้ว่าสิ่งที่พูดออกไปจะไม่กลับมาทำร้ายเขาในอนาคต” เอชเสริม “ขณะเดียวกันความรู้สึก ประสบการณ์ หรือประเด็นปัญหาที่เขาแชร์ก็จะกลายเป็นการส่งต่อความรู้ให้คนอื่นด้วย” 

แน่นอนว่าทุกเรื่องราวที่จะกลายเป็นวิทยาทานอันมีค่านี้ต้องได้รับการยินยอมจากเจ้าของเรื่องก่อนเสมอ “เราตระหนักดีว่าเรื่องเพศยังไม่ได้เกิดการเรียนรู้ในสังคมไทยในวงกว้างขนาดนั้น เราจะขออนุญาตก่อนทุกครั้งว่าขอนำเรื่องราวไปให้คนอื่นเรียนรู้ต่อได้ไหม หรือต้องการจะเล่าสิ่งนี้ให้คนที่มีปัญหาเดียวกันหรือสอดคล้องกันได้รับรู้ไหมว่าเจ้าของเรื่องสามารถก้าวผ่านจุดนั้นมาได้ยังไง” แต๋มอธิบาย

“มันอาจจะไม่ใช่คำตอบที่ถูกต้องสำหรับคนที่ได้รับฟัง แต่คนเหล่านั้นจะได้รับรู้ว่าพวกเขาไม่โดดเดี่ยว เราอยากเป็นพื้นที่ที่ลดความโดดเดี่ยวตรงนั้นลง เราทำให้มันหายไปไม่ได้หรอก เพราะไม่ใช่ทุกคนที่จะเข้ามาใน Day/DM Cafe”

เรื่องเพศพูดได้ทุกที่ทุกเวลาและไม่ต้องมาพร้อมความเซ็กซี่

สองนักเพศวิทยาเจ้าของ Day/DM Cafe ยอมรับว่าสิ่งที่ยากที่สุดสำหรับทำร้านนี้คือการเชิญชวนให้คนใหม่ๆ เข้ามาพบปะพูดคุยเรื่องเพศภายในร้านแห่งนี้

“มันต้องใช้ความกล้าจริงๆ นะในการคิดว่า ‘ทุกเรื่องคือเรื่องเพศ’”

แต๋มเห็นด้วยกับเอช “เป็นโมเมนต์เดียวกับการเมืองที่แทรกอยู่ทุกที่แต่เป็นสิ่งต้องห้ามในการพูดคุย จะคุยในบ้าน พ่อแม่ก็จะบอกว่าเราไม่คุยเรื่องนี้กันนะลูก แต่สังคมเราเริ่มปลดล็อกเรื่องการเมืองและสามารถพูดได้แล้ว เราเลยอยากให้สิ่งนั้นเกิดขึ้นกับเรื่องเพศเหมือนกัน เพราะตอนนี้มันยังเต็มไปด้วยความรู้สึกผิดและความรู้สึกอันตรายแฝงอยู่ในบริบทการพูดคุย ไม่ว่าจะเป็นที่ไหนก็ตาม ทั้งกับเพื่อน กับครอบครัว หรือกับแฟน มันจะมีความกังวลในการจะเปิดประเด็นเรื่องเพศ”

ด้วยเหตุนี้อีกหนึ่งจุดประสงค์หลักของ Day/DM Cafe คือการทำให้เรื่องเพศเป็นเรื่องทั่วๆ ไปเหมือนเรื่องดินฟ้าอากาศที่สามารถพูดคุยหรือแสดงออกได้อย่างปกติไม่ว่าจะอยู่ที่ใดก็ตาม

“เราอยาก normalize ให้การพูดเรื่องเพศไม่เป็นเรื่องอันตรายกับใครเลย” แต๋มกล่าว “และเมื่อคนเชื่อแล้วว่าการพูดเรื่องเพศไม่เป็นอันตราย เขาก็จะรู้สึกว่าไม่เป็นอันตรายในการพูดเรื่องเพศในสถานที่อื่นๆ ได้เหมือนกัน”


ที่จริงแล้วสถานบันเทิงยามกลางคืนเป็นพื้นที่หนึ่งที่สามารถสนทนาหรือแสดงออกเรื่องเพศได้อย่างเปิดเผย แต่ทั้งแต๋มและเอชต้องการสร้างพื้นที่แห่งใหม่ที่ตอบสนองคนกลุ่มอื่นๆ ที่อาจจะไม่คุ้นชินกับสถานที่ดังกล่าว จึงเริ่มจาก Day/DM Cafe ร้านกาแฟที่มาพร้อมความรู้สึกสบายใจและเป็นมิตรเหมาะสำหรับให้ทุกคนมานั่ง ‘เมาธ์มอยเรื่องเพศ’ กันในตอนกลางวัน

“เรามีโอกาสได้ไปงานหนึ่งของนักกิจกรรมซึ่งอยู่ในผับ แต่เราไม่อินกับผับ เพราะส่วนตัวรู้สึกว่าเป็นพื้นที่ที่เหมือนทำให้เราตกอยู่ในความเสี่ยง” เอชเล่า “ถ้าเราเป็นมนุษย์ที่ใช้ชีวิตตอนกลางวัน ตื่นเช้าไปทำงานแล้วกลับบ้านนอนดูซีรีส์ ไม่ได้มีกิจกรรมไนต์ไลฟ์ขนาดนั้น เราจะคุยเรื่องเพศที่ไหนดี ทำไมเราต้องคุยเรื่องเพศกันแค่ในผับด้วย เลยเกิดเป็นไอเดียมาคุยกับแต๋ม” 

“เราคิดว่าน่าจะมีคนแบบเราอีกที่ไม่มีโอกาสได้พูดเรื่องเพศเพียงเพราะไม่ใช่คนเที่ยวกลางคืน” แต๋มเสริม “อีกอย่างหนึ่งคือความเป็นผับมันจะผูกติดอยู่กับความเซ็กซี่ คนที่พูดเรื่องเพศจึงมีอิมเมจเซ็กซี่ หวือหวา เปิดเผยทุกอย่างเป็นภาพจำ แต่ในความเป็นจริงไม่ใช่ทุกคนที่มีลุคแบบนั้นจะสะดวกใจพูดเรื่องเพศ และก็ไม่ใช่ทุกคนที่ใส่เสื้อผ้ามิดชิดจะไม่อยากพูดเรื่องเพศ เราอยากจะ normalize ประเด็นนี้ด้วยว่าไม่ว่าคุณจะเป็นคนแบบไหน เป็นชาวกลางวันหรือชาวกลางคืน เป็นคนเซ็กซี่หรือไม่ แต่งตัวแบบใดก็ตาม ก็คุยเรื่องเพศได้”

เอชมองว่ารูปแบบคาเฟ่ของ Day/DM น่าจะสามารถขับเคลื่อนจุดประสงค์ของทั้งสองในการผลักดันการพูดคุยเรื่องเพศได้อย่างเปิดเผยและปลอดภัยได้ในระยะยาว “เราคาดหวังให้พื้นที่นี้ของเราเติบโตมากขึ้นและขยายไปสู่ภาคประชาสังคมและมีโอกาสได้พูดคุยประเด็นนี้กับชุมชนใกล้เคียงด้วย” 


ก่อนจะไปถึงจุดที่ขยายความตั้งใจของตัวเองไปสู่ชุมชนใกล้เคียง หลายคนคงสงสัยเช่นเดียวกับเราว่าตัวตนของ Day/DM Cafe ได้รับการตอบรับอย่างไรจากชุมชนที่คาเฟ่แห่งนี้ตั้งอยู่ ซึ่งยังมีกลิ่นอายวัฒนธรรมและความเชื่อดั้งเดิมสูงและน่าจะอยู่ขั้วตรงข้ามกับสิ่งที่ทั้งสองนักเพศวิทยากำลังนำเสนอ

“จริงๆ ชุมชนย่านนี้ค่อนข้างเกี่ยวพันกับเรื่องเพศเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ซึ่งเราเพิ่งมารู้หลังปรับปรุงร้านไปได้แป๊บนึง” แต๋มตอบคำถามพร้อมให้ความรู้ใหม่แก่เรา “ตรงวงเวียน 22 (กรกฎาคม) เป็นพื้นที่ที่มีผู้ประกอบอาชีพค้าบริการ และไม่ใกล้ไม่ไกลก็มีวัดคณิกาผลที่สร้างโดยแม่เล้าอย่างยายแฟง ซึ่งตอนแรกเราก็ไม่ได้รู้ว่าจะตั้งอยู่ใกล้ร้านขนาดนั้น และถึงแม้จะเห็นว่าแถวนี้มีร้านอาหารไฮโซอยู่เยอะ แต่ในตรอกก็จะมีกลุ่มแรงงานอาศัยอยู่ ย่านนี้เลยเป็นพื้นที่ของคนหลายชนชั้น ส่งผลให้คนในชุมชนใจกว้างไปโดยปริยาย อย่างร้านขายอาหารก็ต้องเจอลูกค้าหลายๆ แบบ อคติทางเพศก็จะไม่ค่อยมีอยู่แล้ว เรารู้สึกได้ว่าทุกคนอาจจะไม่ได้โอ๋เราขนาดนั้น แต่ก็เป็นเพื่อนบ้านที่รักเรา”


ปลดล็อกปัญหาที่ติดค้างในใจผ่านการตั้งคำถาม ร่วมเวิร์กช็อป และรับคำปรึกษา

“ส่วนมากลูกค้าที่เข้ามาในคาเฟ่จะเป็นขาจรที่เดินผ่านไปผ่านมาหรือไม่รู้จักเรามาก่อน อาจจะเข้ามาดื่มน้ำเฉยๆ หรือนั่งไปสักพักแล้วก็ถามขึ้นมาว่าร้านเราพูดเรื่องเพศเหรอ พอได้คำตอบแล้วก็จะหยุดคิดไปแป๊บนึงแล้วถามว่าเราคือใคร หรือไม่ก็แชร์เรื่องราวของตัวเอง ส่วนใหญ่ก็จะเป็นคนที่อายุมากกว่าเรา ซึ่งจริงๆ เราชอบคุยกับคนกลุ่มนี้เพราะพวกเขาได้รับรู้ประเด็นเรื่องเพศในช่วงเวลาก่อนที่เราจะเกิด”

แต๋มไขข้อสงสัยของเราที่ว่าแล้วใครบ้างที่แวะเวียนเข้ามาใน Day/DM Cafe พร้อมเสริมด้วยว่า “ที่น่าสนใจก็คือจะมีบางคนที่มีปัญหาและบังเอิญมาเห็นป้ายหน้าร้านเรา เขาก็จะกลับไปนั่งตกตะกอนกับตัวเองก่อนว่าจะเข้ามาคุยที่ร้านเราดีไหม ซึ่งต่อมาเขาก็จะแวะมาแล้วบอกว่ามีเรื่องอยากปรึกษา พอดีเห็นป้ายหน้าร้านก็เลยเข้ามา หรือบางทีเราเห็นคนด้อมๆ มองๆ อยู่หน้าร้าน เราก็จะออกไปต้อนรับและลองถามว่าอยากคุยเรื่องนี้กันไหมคะ”

นอกจากการใช้ป้ายหน้าร้านที่ดึงดูดความสนใจของใครหลายคนรวมถึงตัวเราแล้ว การตกแต่งบนผนังภายในร้านด้วยภาพวาดน่ารักๆ สีสันสดใสที่หากสังเกตดูดีๆ แล้วก็ชวนให้ตีความได้ว่าเป็นอวัยวะส่วนต่างๆ ที่ใช้ในการร่วมเพศหรืออุปกรณ์เซ็กส์ทอยหลากหลายรูปแบบก็เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่ทั้งแต๋มและเอชใช้ในการตกคนให้เปิดใจบอกเล่าประสบการณ์หรือปัญหาเกี่ยวกับเพศของตนเอง 

“เนื่องจากบางคนยังหวาดกลัวที่จะพูดถึงเรื่องเพศตรงๆ เราเลยพยายามไม่พูดถึงตรงๆ มากนัก แต่ใช้สิ่งของหรือภาพวาดที่ดูเป็นปริศนาแทน ถ้าเขาอยากรู้ เราก็พร้อมที่จะคุย แต่ถ้าเขายังไม่พร้อมคุย เราก็ปล่อยให้มันเป็นปริศนาสำหรับเขาต่อไป” แต๋มอธิบาย


“ด้วยเราสองคนเป็นคนขี้สงสัย เราก็เลยพยายามทำทุกอย่างให้เกิดเป็นคำถามในพื้นที่ของเราเพื่อกระตุ้นให้คนที่แวะเข้ามาได้ฉุกคิดบางอย่างขึ้นมา” เอชเสริม “เรารู้สึกว่ามันสนุกที่ทำให้เขาชาเลนจ์ตัวเองว่าจะกล้าพูดสิ่งที่สงสัยหรือเปล่า และถ้าเขาพูดปุ๊บ เราก็จะเข้าไปคุยกับเขาเลย”

ตามที่แต๋มและเอชได้เกริ่นไปข้างต้นว่าบริบทปัญหาเรื่องเพศมีการทับซ้อนกันหลายชั้น เพราะฉะนั้นเรื่องราวของคนที่แวะเวียนเข้ามาในพื้นที่แห่งนี้จึงหลากหลาย

“บางคนมาคุยกับเราเพราะว่าเป็นซึมเศร้าและหาทางออกไม่ได้ เขาเลยสงสัยว่าปัญหาของเขาอาจจะเกี่ยวข้องกับเรื่องเพศไหม” เอชยกตัวอย่างแขกที่มาเยือน Day/DM Cafe “เราก็ต้องมาช่วยเขากะเทาะว่าต้นตอของปัญหามันมาในทิศทางนี้ไหม แต่บางครั้งปัญหาของบางคนอาจจะต้องได้รับการแก้ไขในลักษณะของการบำบัดหรือรักษาเฉพาะบุคคล เราก็จะถามเขาว่าสนใจทำคอนซัลต์ไหม”

Day/DM Consult คือพื้นที่สำหรับผู้ที่มีปัญหาและต้องการความช่วยเหลือในการแก้ไขปัญหาผ่านการรับคำปรึกษาโดยเฉพาะ ซึ่งรวบรวมนักเพศวิทยาที่มีความเชี่ยวชาญด้านสุขภาวะทางเพศ ความหลากหลายทางเพศ รสนิยมในการมีเซ็กส์ทั้ง BDSM คิงก์ (kink) เฟติชต่างๆ (fetish) หรือแม้กระทั่งเซ็กส์ทอย รวมไปถึงประเด็นอื่นๆ ที่หลายคนอาจรู้สึกว่ายังเป็นคอนฟลิกต์หรือสิ่งต้องห้ามในสังคม นอกจากนี้ยังมีแพทย์ที่ตอบข้อสงสัยเกี่ยวกับร่างกายหรือให้ความรู้ด้านการแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเพศได้ด้วย โดยผู้ที่ต้องการคอนซัลต์สามารถนัดเพื่อขอคำปรึกษาทางออนไลน์หรือนัดเข้าไปพูดคุยในคาเฟ่ก็ได้แล้วแต่ความสะดวก หรือถ้าอยากให้ทาง Day/DM Consult จัดกิจกรรมบำบัดแบบจริงจัง ก็สามารถแจ้งได้เช่นกัน 

“กรณีแบบนี้มันจะต่างจากการไปหาหมอในโรงพยาบาลโดยตรงที่คนคนนั้นอาจจะรู้แล้วว่าตัวเองมีปัญหาอะไร เช่น อารมณ์ทางเพศไม่ถึงจุดสุดยอด ก็จะเข้ากระบวนการรับคำปรึกษาและแก้ไขการเจ็บป่วยของร่างกาย” แต๋มแสดงความคิดเห็น “แต่การเข้ามานั่งพูดคุยกับนักเพศวิทยาในบรรยากาศคาเฟ่แบบนี้ เขาไม่ได้ตกตะกอนมาก่อนหรอกว่าปัญหาของเขาคืออารมณ์ทางเพศไม่ถึงจุดสุดยอด เขาจะเข้ามาเพราะรู้สึกว่าชีวิตเซ็กส์ไม่มีความสุข ซึ่งนักเพศวิทยาก็ต้องแก้ปัญหาทั้งร่างกายและจิตใจไปพร้อมๆ กัน”

“รวมไปถึงต้องทลายกรอบทางสังคมในเรื่องเพศที่ครอบคนที่เข้ามาขอคำปรึกษาด้วย มันต้องทำทั้งสามอย่างไปพร้อมๆ กันในการพูดคุยและให้คำปรึกษา” เอชกล่าวเสริม


นอกจากการเป็นพื้นที่ปลอดภัยให้ทุกคนสำรวจเรื่องเพศของตัวเอง และผลักดันให้เรื่องเพศเป็นเหมือนเรื่องดินฟ้าอากาศที่สามารถพูดคุยได้อย่างปกติในทุกสถานที่ อีกทั้งเป็นพื้นที่ในการให้คำปรึกษา ช่วยเหลือ และบำบัดผู้ที่มีปัญหาทางเพศโดยเฉพาะแล้ว Day/DM Cafe ยังเปิดเวิร์กช็อปให้ผู้ที่สนใจมาร่วมสนุกพร้อมตกตะกอนความคิดเรื่องเพศด้วย ซึ่งมีเอชเป็นแกนหลักสำคัญในการคิดกิจกรรมในแต่ละครั้งโดยใช้ประสบการณ์จากการเรียนคณะครูมาประยุกต์

“เราจะคิดจุดประสงค์ขึ้นมาก่อนว่ากิจกรรมครั้งนี้เราอยากให้คนที่มาเวิร์กช็อปเรียนรู้เรื่องอะไร ในระหว่างทำกิจกรรม บางคนที่อาจจะมีความรู้มากกว่าเรา ก็สามารถแชร์กับเราผ่านกิจกรรมได้ ในขณะเดียวกันบางคนอาจจะประมวลผลและตกผลึกได้ 30-40 เปอร์เซ็นต์หลังจบกิจกรรม ก็ไม่เป็นไร สามารถมาสำรวจใหม่ครั้งหน้าหรือออกไปเก็บรายละเอียดเพิ่มเติมต่อจากสังคมรอบๆ ตัวก็ได้ อย่างเช่นเวิร์กช็อปวาดภาพนู้ด เราต้องการให้คนได้มีโอกาสชาเลนจ์ตัวเองในการเห็นคนอื่นเปลือยเพื่อตกตะกอนกับตัวเองว่าคนอื่นก็มีเนื้อตัวร่างกายที่ไม่เพอร์เฟกต์เหมือนคุณ มีความเป็นมนุษย์เหมือนคุณ ซึ่งก็มีทั้งฟีดแบ็กที่บอกว่าได้อะไรมากกว่าจุดประสงค์ที่เราตั้งเอาไว้ และบางคนที่อาจจะซัฟเฟอร์ที่ต้องมาอยู่ในสถานการณ์ที่เห็นคนอื่นโป๊”

‘ไหล’ เวิร์กช็อปที่ให้ผู้เข้าร่วมเทสีลงบนพื้นผ้าใบและปล่อยให้ขยับไหลไปมาจนแห้งสนิท เป็นกิจกรรมที่เอชยกให้เป็นกิจกรรมที่สร้างความเซอร์ไพรส์แก่ตัวเอง เพราะนอกจากจุดประสงค์ที่ต้องการสอดแทรกความรู้เรื่องความหลากหลายทางเพศแล้ว ผู้เข้าร่วมยังสามารถตกผลึกแง่มุมบางอย่างที่เป็นประโยชน์แก่ตัวเองได้ด้วยโดยตีความจากพื้นฐานชีวิตส่วนตัวของพวกเขาเอง

“บางคนปลดล็อกสภาพจิตใจของตัวเองได้ หรือคิดได้ว่าชีวิตมันควบคุมไม่ได้ แต่เราก็สามารถเลือกที่จะจดจำบางช่วงเวลาที่สวยงามได้ ส่วนพาร์ตที่ไม่สวยงาม ก็ไม่ได้หมายความว่ามันไม่มีค่า คือมันไม่ได้เกี่ยวข้องกับเรื่องเพศโดยตรง แต่อาจจะทำให้เขาสามารถก้าวออกมาจากกรอบที่เขายึดติดอยู่ได้”


สำคัญที่สุดคือความรู้ที่ถูกต้องและความเข้าใจในความต้องการของตัวเอง

ปัจจุบันมีหลายแพลตฟอร์มที่เริ่มให้คนมาแชร์ประสบการณ์เรื่องเพศของตัวเองกันมากมาย สำหรับปรากฏการณ์นี้ แต๋มมองว่า “ในการพูดคุยเรื่องเพศทั่วๆ ไปคือการนำประสบการณ์ของคุณ A กับคุณ B มาแชร์กันว่าเป็นยังไง ซึ่งคนรับสารก็จะรับรู้ประสบการณ์ของทั้งสองผ่านเรื่องราวที่ยกมาคุยกัน แต่หากความรู้เรื่องเพศศึกษาของผู้รับสารยังไม่ดีพอ ก็จะ ‘ขาดการคัดกรองที่ดี’ เช่น A บอกว่าผู้ชายจะชอบท่าการมีเพศสัมพันธ์ท่านี้มาก และผู้รับสารกำลังไม่มีความสุขในการมีเพศสัมพันธ์พอดี เขาเลยนำไปลองทำตามเพราะคิดว่าจะต้องฟิน แต่ผลปรากฏว่ามันไม่ฟิน มันก็นำไปสู่การตั้งคำถามกับตัวเองว่าที่มันไม่ฟิน เพราะฉันดีไม่พอหรือเปล่า เพราะทุกคนบอกกันหมดว่าท่านี้ดี”

แต๋มกล่าวเสริมอีกว่าเป็นเรื่องที่ดีที่หลายแพลตฟอร์มพูดเรื่องเพศมากขึ้น แต่ต้องมีกระบวนการอื่นๆ ที่ให้ข้อมูลความรู้เรื่องเพศศึกษาที่ครอบคลุมควบคู่กันไปด้วย 

“การขาดทั้งความรู้เรื่องเพศศึกษาและกระบวนการเรียนรู้และทำความเข้าใจตัวเอง จะทำให้คนคนหนึ่งไม่สามารถคิดวิเคราะห์สารที่ได้รับมาอย่างถี่ถ้วน ซึ่งนำไปสู่วงจรที่ทำร้ายผู้รับสารอันเกิดจากความผิดหวังต่อตัวเองเพราะเลียนแบบประสบการณ์ที่ได้ฟังมาแล้วไม่ได้อย่างที่หวัง เราเลยอยากให้ Day/DM Cafe เป็นพื้นที่ที่สามารถพูดคุยเรื่องเพศกันได้อย่างปกติโดยมีความรู้ที่ถูกต้องด้วย” 


“เป้าหมายของ Day/DM Cafe คือช่วยเหลือคนที่ไม่กล้าพูดเรื่องเพศให้กล้ามากขึ้นผ่านผู้เชี่ยวชาญ เราจะไม่เอาประสบการณ์ส่วนตัวของเราเป็นที่ตั้ง แต่เอาความรู้ที่ผ่านการรับรองเป็นที่ตั้งเพื่อให้ข้อมูลความรู้ในเชิงบวก หรือตอบคำถามหรือข้อสงสัยที่เกิดขึ้นกับตัวคุณได้โดย ‘ไม่ตัดสิน’ คุณ” เอชย้ำเจตนารมณ์ของ Day/DM Cafe “อย่างที่บอกไปว่าพื้นที่นี้คือพื้นที่การเรียนรู้ ความรู้ที่คุณได้จะเป็นเครื่องมือในการคัดกรองเรื่องราวต่างๆ ที่คุณได้รับฟังจากคนอื่นมาวิเคราะห์ว่าเหมาะสมหรือเกิดประโยชน์กับตัวเองจริงหรือไม่ ไม่ใช่เอาประสบการณ์ของเขามาตีตราหรือเบียดบังความต้องการที่แท้จริงของคุณ”

ด้วยเหตุนี้ทั้งสองคนจึงคิดที่จะสร้าง ‘อุปกรณ์สำรวจตัวเอง’ ขึ้น ซึ่งมีประโยชน์ทั้งต่อผู้ที่อาจจะไม่ได้สะดวกเข้ามาที่ Day/DM Cafe หรือคนที่ต้องการใช้เวลากับตัวเองคนเดียว โดยแต๋มอธิบายว่า “อุปกรณ์นี้จะชวนสำรวจเรื่องเพศของคุณเองโดยไม่ต้องแคร์ว่าคนอื่นจะมีความคิดเห็นกับตัวคุณยังไง” 

“โอกาสในการเรียนรู้เรื่องเพศและสำรวจตัวเองของเรามันมีน้อยเหลือเกิน หรือบางคนก็อาจจะไม่ได้หยุดดูประสบการณ์ที่ผ่านมาของตัวเองเลย สิ่งนี้ก็จะช่วยให้เขาตกตะกอนได้ว่าจะมีความสุขกับตัวเองได้ยังไงและอาจจะช่วยพาไปค้นพบเส้นทางการเรียนรู้หรือทดลองประสบการณ์อื่นๆ เพิ่มเติมได้ด้วย แต่ที่สำคัญที่สุดคือต้องรู้จักตัวเองก่อน ซึ่งคำว่า ‘รู้จักตัวเอง’ เนี่ยยากที่สุดละ” เอชทิ้งท้าย 


Text:

Witthawat P.

Witthawat P.

PHOTO:

Chanathip K.

Chanathip K.

Related Posts