CopenHill โรงงานกำจัดขยะแห่งแรงบันดาลใจ พร้อมท่องเที่ยวคาเฟ่สุดป๊อประหว่างทาง

CopenHill โรงงานกำจัดขยะแห่งแรงบันดาลใจ พร้อมท่องเที่ยวคาเฟ่สุดป๊อประหว่างทาง

15 ม.ค. 2567

SHARE WITH:

15 ม.ค. 2567

15 ม.ค. 2567

SHARE WITH:

SHARE WITH:

CopenHill โรงงานกำจัดขยะแห่งแรงบันดาลใจ พร้อมท่องเที่ยวคาเฟ่สุดป๊อประหว่างทาง

หลังจากเราได้เปิดหูเปิดตากับการออกแบบเมืองในพื้นที่สาธารณะจากบทความก่อนหน้า (เบอร์ลิน-โคเปนเฮเกน กับการออกแบบพื้นที่สาธารณะของเมือง) เราเริ่มอินกับการออกแบบที่เป็นสากล ซึ่งทำมาเพื่อแก้ปัญหา ปลอบประโลม หรือสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้คนได้ออกมาใช้พื้นที่เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี CopenHill จึงเป็นอีกหมุดหมายที่ตั้งใจมาเห็นกับตาสักครั้งด้วยตัวเองที่เมืองนี้

CopenHill เป็นอาคารที่ผู้คนสามารถขึ้นไปเล่นสกีบนดาดฟ้า วิ่งเทรล ปีนเขา และมีกิจกรรมมากมายที่ทุกคนเข้าไปมีส่วนร่วมได้ เพียงแค่ภาพจากสื่อโซเชียลต่างๆ จากการรีวิว เราก็เริ่มอดใจไม่ไหวและไม่รีรอที่จะหาข้อมูลในการเดินทาง เพื่อเอามาให้ผู้อ่านได้ชมกัน 


จริงๆก็แค่โรงงานกำจัดขยะ ฟังก์ชั่นกิจกรรมต่างๆทำไมถึงต้องไปอยู่บนนั้น ?

ให้ทุกคนลองจินตนาการภาพตาม เท้าความก่อนว่าในย่าน Refshaleøen เมืองโคเปนเฮเกน เป็นย่านอุตสาหกรรม ที่มีท่าเรือ โรงงานอุตสาหกรรมหนัก พื้นที่โล่ง อู่ต่อเรือ ถ้าลองนึกถึงบรรยากาศของสภาพแวดล้อมโดยรอบก็คงไม่รื่นรมย์เท่าไหร่นัก ผู้คนจะเข้ามาเพื่อทำงานกันอย่างเร่งรีบ พอเลิกงานก็ต่างคนต่างแยกย้าย หรือไม่ก็อยู่แค่ในโซนพักอาศัยของตน หากอยากเปลี่ยนบรรยากาศก็ออกไปหากิจกรรมอย่างอื่นทำ

เพราะภารกิจสำคัญที่มุ่งหวังให้โคเปนเฮเกนเป็นเมืองแรกของโลกที่มีความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี 2025 Amager Bakke ซึ่งเป็นชื่อจริงภาษาเดนมาร์กของ CopenHill จึงเป็นสถานที่สำคัญที่อยู่ในแผนการพัฒนาเมืองเทศบาล เพื่อนำไปสู่การลดคาร์บอน และสร้างความยั่งยืน (Sustainability)


ที่นี่จึงเป็นโมเดลของภาครัฐที่มีเป้าหมายให้เป็นแลนด์มาร์กและโชว์ศักยภาพทางนวัตกรรมที่เปลี่ยนจากขยะมาเป็นพลังงาน (Waste-to-Energy) โดยการใช้การออกแบบสถาปัตยกรรมที่เป็นมิตรกับผู้คนเพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการปล่อยก๊าซคาร์บอนและภาวะโลกร้อน พร้อมกับพัฒนาย่านอุตสาหกรรมเหล่านี้ในเวลาเดียวกัน

Bjarke Ingels Group (BIG) บริษัทสถาปนิกระดับโลกสัญชาติเดนมาร์ก คือผู้ที่มาแก้โจทย์ในครั้งนี้
ถึงแม้ว่าอาคารขนาดใหญ่แห่งนี้จะต้องปล่อยควันไอนำ้จากการกำจัดขยะออกมาตลอดเวลา สถาปนิกจึงจำเป็นปรับภาพลักษณ์ของโรงงานด้วยการใช้ฟาซาดพื้นผิวมันวาวจากโลหะปกคลุมภายนอกเพื่อสร้างทัศนวิสัยทางสถาปัตยกรรมที่อย่างสร้างสรรค์

โดยความลาดชันที่เป็นเหมือนไฮไลต์ของอาคารเป็นไปตามฟังก์ชั่นการใช้งานของเครื่องจักรภายในด้วยการจัดวางตามปริมาตรจากที่สูงที่สุดไปสั้นที่สุด จนกลายเป็นฟังก์ชั่นพื้นผิวที่เหมาะกับการเล่นสกี สโนว์บอร์ด บริเวณขอบทางปรับให้มีบันไดที่ปลอดภัย มีเส้นทางเดินป่า หรือใครที่จะมาซ้อมวิ่งเทรลที่ต้องใช้ทางลาดชันก็สามารถวิ่งจากด้านล่างจนไต่ระดับขึ้นมาถึงดาดฟ้าบนพื้นผิวจำลองที่ทางสถาปนิกออกแบบมาเป็นอย่างดี


คาเฟ่ระหว่างทาง

เราเริ่มเดินทางออกจากใจกลางเมืองโคเปนเฮเกน นั่งรถบัสประจำทางสาย A มาลงสุดสถานีที่ Refshalevej ระหว่างทางเราก็เห็นตัวอาคาร CopenHill ที่อยู่ไม่ไกลนักจากจุดที่เราลงรถ แต่ด้วยเป็นเวลาใกล้เที่ยงพอดี เราจึงแวะจิบกาแฟและทานอาหารกันที่ Lille Bakery คาเฟ่สุดฮิปที่คนมาเที่ยวโคเปนเฮเกนใฝ่ฝันจะมาเยือนสักครั้ง เพราะบรรยากาศที่สวยงามอบอุ่นเหมือนกับรูปภาพใน Pinterest ที่คนแชร์กันอย่างแพร่หลาย


เดินออกมาไม่ไกลนัก เราเริ่มเห็นตัวอาคารเหมือนโกดัง ผู้คนที่ยืนต่อแถวรอซื้อกาแฟและอาหารเริ่มจะหนาแน่นเพราะใกล้เวลาพักกลางวัน ความประทับใจแรกที่เราเห็นคือบรรยากาศเหมือนกับบ้านที่อบอุ่น มีเจ้าของบ้านที่สนใจงานศิลปะและการออกแบบคอยต้อนรับเราที่เป็นลูกค้า เรากวาดสายตามองไปรอบๆ เห็นแพกเกจจิ้งสินค้า จาน ชาม ภาชนะ การตกแต่งร้าน แจกันดอกไม้ แมกกาซีนสิ่งพิมพ์ที่วางให้ลูกค้าอ่าน ฯลฯ จนเชื่อได้ว่าหากใครได้มีโอกาสเดินทางมาคงต้องลืมว่าตรงนี้คือย่านอุตสาหกรรมและเป็นอู่ต่อเรือที่เต็มไปด้วยคนงานแน่นอน

จากข้อมูลในเวบไซต์ visitcopenhagen.com บอกว่าร้านนี้ ใส่ใจเรื่องวัตถุดิบที่นำมาทำอาหาร และเจ้าของร้านทำงานกับเกษตรกรอย่างจริงจังในการนำผลผลิตมาเสิร์ฟให้ลูกค้า เห็นได้จากวัตถุดิบสด ใหม่ อาหารแปรรูป สินค้าออร์แกนิกต่างๆ ที่ลูกค้าซื้อกลับบ้านได้ด้วย


หลังจบจากมื้อเที่ยงด้วยเมนูสตูว์หมูเสิร์ฟมากับขนมปังและเนยออร์แกนิก ตบท้ายด้วยกาแฟอเมริกาโนร้อน ที่เข้ากับอากาศที่เย็นและมีแสงแดดสาดทอดลงมาเป็นระยะ เราออกจากร้านพร้อมกับเปิดกูเกิลแมพที่บอกว่าสามารถเดินไปถึง CopenHill ด้วยระยะเวลาราว 20 นาที ระหว่างทางเราได้เห็นบรรยากาศ ผู้คนปั่นจักรยาน ออกกำลังกาย ในบริเวณอาคารพักอาศัยของผู้คนในย่านนั้น จนมาถึงจุดหมาย เราตื่นตาตื่นใจกับขนาดอาคารสูงใหญ่และตั้งตระหง่าน จนเราเกิดความประหม่า และกังวลว่ามันปลอดภัยขนาดไหน ตามประสาของคนที่กลัวความสูง


และแล้วเราก็เดินทางมาถึง CopenHill

ลิฟต์กระจกที่ให้ความรู้สึกเหมือนกระเช้าลอยฟ้า พาเราขึ้นไปด้านบนที่เห็นวิวโครงสร้างด้านในทั้งหมด พื้นที่ภายในดูกว้างและดูสูงจนทำให้เราขาสั่นได้เหมือนกัน โดยลิฟต์ที่นี่จะขึ้นจากด้านล่างขึ้นไปที่ดาดฟ้าโดยไม่มีหยุดระหว่างชั้น แต่พอขึ้นมาถึง เราก็พบกับเซอร์ไพรส์ที่เป็นบาร์เครื่องดื่มและมีบูธดีเจ เพื่อเตรียมจะเปิดร้านในช่วงหัวค่ำ เราคิดว่าที่นี่น่าจะเป็น Rooftop Bar ที่เห็นวิว 360 ทั้งเมือง และวิวทะเลได้กว้างที่สุดในชีวิตที่เราเคยเห็นมา


เราเริ่มคลายความกังวลจากความสูง ด้วยการเดินสำรวจบริเวณรอบปล่องควันไอนำ้ และริมอาคาร ซึ่งสถาปนิกออกแบบรายละเอียดด้านความปลอดภัยต่างๆ ของอาคารได้เป็นอย่างดี แบ่งสัดส่วนของพื้นที่ได้อย่างลงตัว มีต้นไม้ มีจุดให้นั่งพักกระจายอยู่ทั่วทั้งด้านบน เราเห็นคนมาเดินเล่น พ่อแม่พาลูกมาดูคนเล่นสกี หรือมีนักศึกษามาดูงาน ซึ่งทุกคนสามารถเข้ามาเยี่ยมชมพื้นที่ได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย แต่หากจะเล่นกิจกรรมต่างๆ อย่างเช่น สกี, สโนว์บอร์ด หรือปีนผา จะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมจาก www.copenhill.dk ได้เลย



ไฮไลต์การออกแบบที่เนินสกีลาดเอียงลงแล้ววนล้อมตึกลงไปถึงพื้นด้านล่าง เราเห็นวัยรุ่นคนหนุ่มสาวพากันถืออุปกรณ์มารอเล่นสกี ที่นี่มีสิ่งอำนวยความสะดวกให้คนที่มาเล่นสกีโดยมีระบบสายเคเบิลที่คอยช่วยลำเลียงคนจากด้านล่างขึ้นไปที่จุดสตาร์ต โดยแบ่งระดับความยากง่ายเอาไว้ตามความลาดเอียงของพื้นที่

ด้านบนที่เป็นยอดอาคารสูงสุดลงมาจะเป็นโซนสำหรับผู้ใหญ่หรือนักกีฬาที่มาใช้เป็นสนามซ้อม ส่วนด้านล่างที่โค้งชันลงมาจนถึงพื้นที่ไม่ลาดเอียงมากนัก เป็นโซนสำหรับผู้ปกครองที่พาลูกๆ มาเล่นกันเป็นแบบครอบครัว หรือมือใหม่หัดเล่นเพื่อความปลอดภัย เราตัดสินใจเดินลงบันไดซึ่งเดินง่ายและไม่ชันมาก โดยตลอดระยะทางมีคนวิ่งเทรล และซ้อม Trekking สวนทางกับเราอยู่ตลอด


จากไอเดียของสถาปนิก BIG ที่มีแนวคิดการเพิ่มฟังก์ชั่นของอาคารในขนาดพื้นที่ที่มีอย่างจำกัด จนเกิดเป็นผลงานที่สร้างชื่อเสียงให้กับเมืองเป็นอย่างมาก เริ่มมีการจัดแข่งสกีฤดูร้อน และเป็นหมุดหมายของนักกีฬาที่เก่งๆ ที่อยากมาท้าทายความสามารถบนพื้นที่แปลกใหม่แห่งนี้

หากใครไม่ใช่สายออกกำลังกาย ก็สามารถมาชิลเอาต์กับอาหารและเครื่องดื่มและสามารถนั่งดูชมวิวสุดพิเศษ นั่งชมพระอาทิตย์ตกมองไปเห็นผืนนำ้ขนาดใหญ่ ทอดสายตายาวจนไปถึงประเทศสวีเดน หรือหากใครอยากจองเป็นไพรเวตปาร์ตี้ จัดงานต่างๆ ทางอาคารเองก็มีบริการให้คนทั่วไปสามารถเช่าจัดงานได้ทุกประเภท และสามารถจองเป็นคณะทัวร์ที่แบบเหมาทุกกิจกรรมก็สามารถทำได้เช่นกัน เรียกว่าเป็นพื้นที่สาธารณะที่คุ้มค่าจริงๆ 


จากประสบการณ์ตลอดวันที่เราได้มาสัมผัสประสบการณ์ในพื้นที่แห่งนี้ เรารู้สึกว่าพื้นที่นี้เป็นเหมือนการรับฟังเสียงของผู้คนที่ใช้ชีวิตอยู๋ในย่านนี้ โดยทั้งจากภาครัฐและภาคธุรกิจที่ตระหนักถึงวิธีการสื่อสารเข้าไปในใจคนผ่านการออกแบบ และเห็นคุณค่าของการมีส่วนร่วมอย่างมีเป้าหมายเดียวกัน จนเกิดฉันทามติร่วมของคนทุกฝ่ายที่เห็นตรงกันว่า

ประเด็นโลกร้อน การปล่อยก๊าซเรือนกระจก ความมั่นคงทางพลังงาน ฯลฯ สิ่งเหล่านี้ล้วนแล้วแต่วนเวียนอยู่ในชีวิตประจำวันของเรา และเราจะส่งต่อแนวคิดต่างๆเหล่านี้ให้กับรุ่นหลังในภายภาคหน้าต่อไป




หลังจากเราได้เปิดหูเปิดตากับการออกแบบเมืองในพื้นที่สาธารณะจากบทความก่อนหน้า (เบอร์ลิน-โคเปนเฮเกน กับการออกแบบพื้นที่สาธารณะของเมือง) เราเริ่มอินกับการออกแบบที่เป็นสากล ซึ่งทำมาเพื่อแก้ปัญหา ปลอบประโลม หรือสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้คนได้ออกมาใช้พื้นที่เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี CopenHill จึงเป็นอีกหมุดหมายที่ตั้งใจมาเห็นกับตาสักครั้งด้วยตัวเองที่เมืองนี้

CopenHill เป็นอาคารที่ผู้คนสามารถขึ้นไปเล่นสกีบนดาดฟ้า วิ่งเทรล ปีนเขา และมีกิจกรรมมากมายที่ทุกคนเข้าไปมีส่วนร่วมได้ เพียงแค่ภาพจากสื่อโซเชียลต่างๆ จากการรีวิว เราก็เริ่มอดใจไม่ไหวและไม่รีรอที่จะหาข้อมูลในการเดินทาง เพื่อเอามาให้ผู้อ่านได้ชมกัน 


จริงๆก็แค่โรงงานกำจัดขยะ ฟังก์ชั่นกิจกรรมต่างๆทำไมถึงต้องไปอยู่บนนั้น ?

ให้ทุกคนลองจินตนาการภาพตาม เท้าความก่อนว่าในย่าน Refshaleøen เมืองโคเปนเฮเกน เป็นย่านอุตสาหกรรม ที่มีท่าเรือ โรงงานอุตสาหกรรมหนัก พื้นที่โล่ง อู่ต่อเรือ ถ้าลองนึกถึงบรรยากาศของสภาพแวดล้อมโดยรอบก็คงไม่รื่นรมย์เท่าไหร่นัก ผู้คนจะเข้ามาเพื่อทำงานกันอย่างเร่งรีบ พอเลิกงานก็ต่างคนต่างแยกย้าย หรือไม่ก็อยู่แค่ในโซนพักอาศัยของตน หากอยากเปลี่ยนบรรยากาศก็ออกไปหากิจกรรมอย่างอื่นทำ

เพราะภารกิจสำคัญที่มุ่งหวังให้โคเปนเฮเกนเป็นเมืองแรกของโลกที่มีความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี 2025 Amager Bakke ซึ่งเป็นชื่อจริงภาษาเดนมาร์กของ CopenHill จึงเป็นสถานที่สำคัญที่อยู่ในแผนการพัฒนาเมืองเทศบาล เพื่อนำไปสู่การลดคาร์บอน และสร้างความยั่งยืน (Sustainability)


ที่นี่จึงเป็นโมเดลของภาครัฐที่มีเป้าหมายให้เป็นแลนด์มาร์กและโชว์ศักยภาพทางนวัตกรรมที่เปลี่ยนจากขยะมาเป็นพลังงาน (Waste-to-Energy) โดยการใช้การออกแบบสถาปัตยกรรมที่เป็นมิตรกับผู้คนเพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการปล่อยก๊าซคาร์บอนและภาวะโลกร้อน พร้อมกับพัฒนาย่านอุตสาหกรรมเหล่านี้ในเวลาเดียวกัน

Bjarke Ingels Group (BIG) บริษัทสถาปนิกระดับโลกสัญชาติเดนมาร์ก คือผู้ที่มาแก้โจทย์ในครั้งนี้
ถึงแม้ว่าอาคารขนาดใหญ่แห่งนี้จะต้องปล่อยควันไอนำ้จากการกำจัดขยะออกมาตลอดเวลา สถาปนิกจึงจำเป็นปรับภาพลักษณ์ของโรงงานด้วยการใช้ฟาซาดพื้นผิวมันวาวจากโลหะปกคลุมภายนอกเพื่อสร้างทัศนวิสัยทางสถาปัตยกรรมที่อย่างสร้างสรรค์

โดยความลาดชันที่เป็นเหมือนไฮไลต์ของอาคารเป็นไปตามฟังก์ชั่นการใช้งานของเครื่องจักรภายในด้วยการจัดวางตามปริมาตรจากที่สูงที่สุดไปสั้นที่สุด จนกลายเป็นฟังก์ชั่นพื้นผิวที่เหมาะกับการเล่นสกี สโนว์บอร์ด บริเวณขอบทางปรับให้มีบันไดที่ปลอดภัย มีเส้นทางเดินป่า หรือใครที่จะมาซ้อมวิ่งเทรลที่ต้องใช้ทางลาดชันก็สามารถวิ่งจากด้านล่างจนไต่ระดับขึ้นมาถึงดาดฟ้าบนพื้นผิวจำลองที่ทางสถาปนิกออกแบบมาเป็นอย่างดี


คาเฟ่ระหว่างทาง

เราเริ่มเดินทางออกจากใจกลางเมืองโคเปนเฮเกน นั่งรถบัสประจำทางสาย A มาลงสุดสถานีที่ Refshalevej ระหว่างทางเราก็เห็นตัวอาคาร CopenHill ที่อยู่ไม่ไกลนักจากจุดที่เราลงรถ แต่ด้วยเป็นเวลาใกล้เที่ยงพอดี เราจึงแวะจิบกาแฟและทานอาหารกันที่ Lille Bakery คาเฟ่สุดฮิปที่คนมาเที่ยวโคเปนเฮเกนใฝ่ฝันจะมาเยือนสักครั้ง เพราะบรรยากาศที่สวยงามอบอุ่นเหมือนกับรูปภาพใน Pinterest ที่คนแชร์กันอย่างแพร่หลาย


เดินออกมาไม่ไกลนัก เราเริ่มเห็นตัวอาคารเหมือนโกดัง ผู้คนที่ยืนต่อแถวรอซื้อกาแฟและอาหารเริ่มจะหนาแน่นเพราะใกล้เวลาพักกลางวัน ความประทับใจแรกที่เราเห็นคือบรรยากาศเหมือนกับบ้านที่อบอุ่น มีเจ้าของบ้านที่สนใจงานศิลปะและการออกแบบคอยต้อนรับเราที่เป็นลูกค้า เรากวาดสายตามองไปรอบๆ เห็นแพกเกจจิ้งสินค้า จาน ชาม ภาชนะ การตกแต่งร้าน แจกันดอกไม้ แมกกาซีนสิ่งพิมพ์ที่วางให้ลูกค้าอ่าน ฯลฯ จนเชื่อได้ว่าหากใครได้มีโอกาสเดินทางมาคงต้องลืมว่าตรงนี้คือย่านอุตสาหกรรมและเป็นอู่ต่อเรือที่เต็มไปด้วยคนงานแน่นอน

จากข้อมูลในเวบไซต์ visitcopenhagen.com บอกว่าร้านนี้ ใส่ใจเรื่องวัตถุดิบที่นำมาทำอาหาร และเจ้าของร้านทำงานกับเกษตรกรอย่างจริงจังในการนำผลผลิตมาเสิร์ฟให้ลูกค้า เห็นได้จากวัตถุดิบสด ใหม่ อาหารแปรรูป สินค้าออร์แกนิกต่างๆ ที่ลูกค้าซื้อกลับบ้านได้ด้วย


หลังจบจากมื้อเที่ยงด้วยเมนูสตูว์หมูเสิร์ฟมากับขนมปังและเนยออร์แกนิก ตบท้ายด้วยกาแฟอเมริกาโนร้อน ที่เข้ากับอากาศที่เย็นและมีแสงแดดสาดทอดลงมาเป็นระยะ เราออกจากร้านพร้อมกับเปิดกูเกิลแมพที่บอกว่าสามารถเดินไปถึง CopenHill ด้วยระยะเวลาราว 20 นาที ระหว่างทางเราได้เห็นบรรยากาศ ผู้คนปั่นจักรยาน ออกกำลังกาย ในบริเวณอาคารพักอาศัยของผู้คนในย่านนั้น จนมาถึงจุดหมาย เราตื่นตาตื่นใจกับขนาดอาคารสูงใหญ่และตั้งตระหง่าน จนเราเกิดความประหม่า และกังวลว่ามันปลอดภัยขนาดไหน ตามประสาของคนที่กลัวความสูง


และแล้วเราก็เดินทางมาถึง CopenHill

ลิฟต์กระจกที่ให้ความรู้สึกเหมือนกระเช้าลอยฟ้า พาเราขึ้นไปด้านบนที่เห็นวิวโครงสร้างด้านในทั้งหมด พื้นที่ภายในดูกว้างและดูสูงจนทำให้เราขาสั่นได้เหมือนกัน โดยลิฟต์ที่นี่จะขึ้นจากด้านล่างขึ้นไปที่ดาดฟ้าโดยไม่มีหยุดระหว่างชั้น แต่พอขึ้นมาถึง เราก็พบกับเซอร์ไพรส์ที่เป็นบาร์เครื่องดื่มและมีบูธดีเจ เพื่อเตรียมจะเปิดร้านในช่วงหัวค่ำ เราคิดว่าที่นี่น่าจะเป็น Rooftop Bar ที่เห็นวิว 360 ทั้งเมือง และวิวทะเลได้กว้างที่สุดในชีวิตที่เราเคยเห็นมา


เราเริ่มคลายความกังวลจากความสูง ด้วยการเดินสำรวจบริเวณรอบปล่องควันไอนำ้ และริมอาคาร ซึ่งสถาปนิกออกแบบรายละเอียดด้านความปลอดภัยต่างๆ ของอาคารได้เป็นอย่างดี แบ่งสัดส่วนของพื้นที่ได้อย่างลงตัว มีต้นไม้ มีจุดให้นั่งพักกระจายอยู่ทั่วทั้งด้านบน เราเห็นคนมาเดินเล่น พ่อแม่พาลูกมาดูคนเล่นสกี หรือมีนักศึกษามาดูงาน ซึ่งทุกคนสามารถเข้ามาเยี่ยมชมพื้นที่ได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย แต่หากจะเล่นกิจกรรมต่างๆ อย่างเช่น สกี, สโนว์บอร์ด หรือปีนผา จะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมจาก www.copenhill.dk ได้เลย



ไฮไลต์การออกแบบที่เนินสกีลาดเอียงลงแล้ววนล้อมตึกลงไปถึงพื้นด้านล่าง เราเห็นวัยรุ่นคนหนุ่มสาวพากันถืออุปกรณ์มารอเล่นสกี ที่นี่มีสิ่งอำนวยความสะดวกให้คนที่มาเล่นสกีโดยมีระบบสายเคเบิลที่คอยช่วยลำเลียงคนจากด้านล่างขึ้นไปที่จุดสตาร์ต โดยแบ่งระดับความยากง่ายเอาไว้ตามความลาดเอียงของพื้นที่

ด้านบนที่เป็นยอดอาคารสูงสุดลงมาจะเป็นโซนสำหรับผู้ใหญ่หรือนักกีฬาที่มาใช้เป็นสนามซ้อม ส่วนด้านล่างที่โค้งชันลงมาจนถึงพื้นที่ไม่ลาดเอียงมากนัก เป็นโซนสำหรับผู้ปกครองที่พาลูกๆ มาเล่นกันเป็นแบบครอบครัว หรือมือใหม่หัดเล่นเพื่อความปลอดภัย เราตัดสินใจเดินลงบันไดซึ่งเดินง่ายและไม่ชันมาก โดยตลอดระยะทางมีคนวิ่งเทรล และซ้อม Trekking สวนทางกับเราอยู่ตลอด


จากไอเดียของสถาปนิก BIG ที่มีแนวคิดการเพิ่มฟังก์ชั่นของอาคารในขนาดพื้นที่ที่มีอย่างจำกัด จนเกิดเป็นผลงานที่สร้างชื่อเสียงให้กับเมืองเป็นอย่างมาก เริ่มมีการจัดแข่งสกีฤดูร้อน และเป็นหมุดหมายของนักกีฬาที่เก่งๆ ที่อยากมาท้าทายความสามารถบนพื้นที่แปลกใหม่แห่งนี้

หากใครไม่ใช่สายออกกำลังกาย ก็สามารถมาชิลเอาต์กับอาหารและเครื่องดื่มและสามารถนั่งดูชมวิวสุดพิเศษ นั่งชมพระอาทิตย์ตกมองไปเห็นผืนนำ้ขนาดใหญ่ ทอดสายตายาวจนไปถึงประเทศสวีเดน หรือหากใครอยากจองเป็นไพรเวตปาร์ตี้ จัดงานต่างๆ ทางอาคารเองก็มีบริการให้คนทั่วไปสามารถเช่าจัดงานได้ทุกประเภท และสามารถจองเป็นคณะทัวร์ที่แบบเหมาทุกกิจกรรมก็สามารถทำได้เช่นกัน เรียกว่าเป็นพื้นที่สาธารณะที่คุ้มค่าจริงๆ 


จากประสบการณ์ตลอดวันที่เราได้มาสัมผัสประสบการณ์ในพื้นที่แห่งนี้ เรารู้สึกว่าพื้นที่นี้เป็นเหมือนการรับฟังเสียงของผู้คนที่ใช้ชีวิตอยู๋ในย่านนี้ โดยทั้งจากภาครัฐและภาคธุรกิจที่ตระหนักถึงวิธีการสื่อสารเข้าไปในใจคนผ่านการออกแบบ และเห็นคุณค่าของการมีส่วนร่วมอย่างมีเป้าหมายเดียวกัน จนเกิดฉันทามติร่วมของคนทุกฝ่ายที่เห็นตรงกันว่า

ประเด็นโลกร้อน การปล่อยก๊าซเรือนกระจก ความมั่นคงทางพลังงาน ฯลฯ สิ่งเหล่านี้ล้วนแล้วแต่วนเวียนอยู่ในชีวิตประจำวันของเรา และเราจะส่งต่อแนวคิดต่างๆเหล่านี้ให้กับรุ่นหลังในภายภาคหน้าต่อไป




Text:

Chanathip K.

Chanathip K.

PHOTO:

Chanathip K.

Chanathip K.

Related Posts