CityFresh ห้องนั่งเล่นคนรักผลไม้

CityFresh ห้องนั่งเล่นคนรักผลไม้

3 ส.ค. 2566

SHARE WITH:

3 ส.ค. 2566

3 ส.ค. 2566

SHARE WITH:

SHARE WITH:

CityFresh ห้องนั่งเล่นคนรักผลไม้

“คำว่า Community of Fruit Lovers มันไม่ได้หมายถึงแค่ว่า ผู้ซื้อผลไม้ไปทานเท่านั้น แต่ว่าหมายความไปถึงผู้ปลูก ชุมชน และโลกของเราด้วย เพราะผลไม้เกิดมาจากทรัพยากรธรรมชาติกับความเชี่ยวชาญของคนที่จะสามารถปลูกให้ออกดอกออกผลจนเราทานได้”

การขยายนิยามจากธุรกิจนำเข้าผลไม้จากต่างประเทศตั้งแต่รุ่นพ่อแม่ มาสู่การเป็นคอมมิวนิตี้ของคนรักผลไม้โดย CityFresh มาจากการมองภาพใหม่ให้เป็นธุรกิจที่ยั่งยืนกว่าเดิม

“เราจึงเริ่มรีวิวและรีแบรนดิ้งตัวเองใหม่ จนตกผลึกออกมาเป็นไลน์ใหม่ที่เป็นพื้นที่ทางกายภาพ ให้เป็นคอมมิวนิตี้สำหรับคนรักผลไม้จริงๆ”

เมื่อมีความคิดเรื่องจะสร้างสถานที่แล้ว งานลำดับถัดมาจึงส่งไม้ต่อมาที่ SPACY architecture กับการสร้างสรรค์ดีไซน์ที่จะตอบจุดประสงค์ของการใช้งานพื้นที่ทั้งด้านฟังก์ชั่นและสุนทรียะ จากโจทย์ที่ต้องการให้เป็นพื้นที่ในการเรียนรู้ สัมผัสประสบการณ์ พร้อมกับได้รับประทานผลไม้ในรูปแบบที่หลากหลายและเพลิดเพลิน

  

IIIi - เส้นทางของผลไม้ ถ่ายทอดสู่เส้นทางการสร้างชุมชนคนรักผลไม้

เพราะเป็นผู้นำเข้าผลไม้จาก 17 ประเทศทั่วโลกสู่มือผู้บริโภคในประเทศไทย CityFresh ทำงานกับผู้ปลูกและผู้ส่งออกที่ให้ความสำคัญ มองคุณค่าหลักเดียวกัน และเกื้อกูลสัมพันธ์กันในระยะยาว

“เพราะเรื่องของธรรมชาติขึ้นอยู่กับปี บางปีก็ผลผลิตดี บางปีก็ผลผลิตไม่ดี บางปีผลผลิตดีแต่ก็มาเจอภัยธรรมชาติทำให้ผลผลิตหายไปหมด เพราะฉะนั้นการทำงานกับทางฝั่งต้นน้ำ เราต้องมองว่าเราจะช่วยในเชิงโครงสร้างให้ได้ผลไม้ที่ดีที่สุดไปจนถึงมือผู้บริโภคได้อย่างไร”


ผลไม้นำเข้าทั้งหมดจากต่างประเทศจะถูกนำมารวบรวมที่โรงงานย่านตลาดไท เป็นจุดกระจายสินค้าและตรวจสอบคุณภาพผลไม้ว่าเป็นไปตามที่ตกลงกับผู้ขายและเป็นไปตามมาตรฐานหรือไม่ จากนั้นจึงส่งต่อไปจัดเก็บในห้องเย็นที่แบ่งแยกไว้ให้เหมาะสมสำหรับชนิดของผลไม้แต่ละประเภทที่แตกต่างด้านอุณหภูมิและความชื้น เพื่อยืดอายุให้ได้มากที่สุดและคงคุณภาพที่ดีที่สุดไว้ให้ได้นานที่สุด

จากผลไม้สดถูกส่งต่อไปกระจายตามช่องทางการจำหน่ายทั้งห้างร้าน ซูปเปอร์มาร์เก็ต ตลาดสดทั่วประเทศ ช่องทางออนไลน์ และช่องทางล่าสุดที่คอมมิวนิตี้แห่งนี้ ที่เปิดให้สัมผัสประสบการณ์ทั้งจากผลไม้สด และเมนูที่ครีเอตจากผลไม้ชนิดต่างๆ นอกจากจะเป็นรสชาติใหม่ๆ จากการแปรรูปผลไม้แล้ว ยังช่วยลดของเสียจากหน้าร้านได้อีกด้วย


จากโจทย์ด้านประสบการณ์ถูกถ่ายทอดต่อมายังการจัดสรรอาคารพาณิชย์อายุ 30 ปีในซอยปรีดี พนมยงค์ 26 ให้เป็นพื้นที่สร้างอัตลักษณ์ทางสถาปัตยกรรมที่สอดคล้องกับไปแบรนดิ้งและจุดประสงค์ของโครงการ

“เราเลยมองว่า เราจะทำให้อาคารแห่งนี้เป็นเหมือนนิทรรศการที่จัดแสดงทุกสิ่งที่เกี่ยวข้องกับผลไม้” นี่จึงกลายมาเป็นแนวความคิดหลักสำหรับการออกแบบ CityFresh Community of Fruit Lovers ของ Spacy Architecture

 

IIIi - อาคารเรือนกระจกกลางเมืองที่สร้างไลฟ์สไตล์สำหรับทุกคน

 Greenhouse หรืออาคารเรือนเพาะชำเป็นรูปแบบของอาคารที่ทีมออกแบบเลือกนำมาใช้ “เพื่อให้คนรู้สึกว่าอาคารนี้เกี่ยวข้องกับเกษตรกรรม การเพาะปลูก ความรู้สึกของแสงธรรมชาติและความสดชื่น”


ชั้นแรกที่เป็นชั้นรับแขกมีการจัดทางสัญจรภายในให้เหมือนกับเดินวนในพิพิธภัณฑ์ที่รายล้อมไปด้วยผลิตภัณฑ์และสินค้าที่มีความสดใหม่ ลูกค้าสามารถเดินชมกับดิสเพลย์รูปแบบต่างๆ ได้ ทั้งตู้แช่เย็นผลไม้ ผลไม้แปรรูปในแพ็กเกจจิง ผลไม้ตัดแต่งจากตู้เย็น และโปรดักต์แช่แข็งที่สามารถส่งไปให้ส่วนบาร์ปั่นสดได้เลย

“การเดินเป็นวงกลมเอื้อกับการโชว์และการชมสินค้าที่มีความหลากหลายมาก พร้อมกันกับสร้างประสบการณ์ที่แปลกใหม่ให้กับทุกมุมที่เดินผ่านไป”

ขึ้นไปยังชั้นสองเป็นพื้นที่สำหรับนั่งพักผ่อนตามอัธยาศัย การจัดโต๊ะเป็นแบบยืดหยุ่นให้กับการนั่งหลากหลายรูปแบบ ทั้งกลุ่มใหญ่โต๊ะตรงกลาง โต๊ะรับประทานอาหาร โต๊ะนั่งหันหน้าชมสวนหย่อมด้านหน้าที่ติดกับถนน และพื้นที่วางม้านั่งยาวตลอดแนวผนัง โดยชั้น 1 และ 2 ใช้การเจาะพื้นที่โอเพ่นสเปซเพื่อเชื่อมโยงความรู้สึกในแนวดิ่งแทนที่จะถูกตัดขาดอย่างสิ้นเชิงแบบตึกแถวทั่วไป


"งานออกแบบที่ดีก็เป็นเหมือนกับการสร้างเสริมคุณภาพชีวิตให้กับผู้คน เพราะบางทีคนใช้งานก็ไม่รู้หรอกว่าตัวเองต้องการอะไร อย่างเก้าอี้นั่งที่ต้องให้ได้ความสูงที่เหมาะสมนั่งสบาย หรืองานออกแบบที่ผู้พิการใช้งานได้ เราเชื่อว่าลักษณะของการดีไซน์ที่ดีคือการตอบโจทย์ให้กับคนทุกกลุ่มที่เข้ามาใช้งานตัวอาคารว่า ตัวอาคารเราต้องการตอบสนองผู้ใช้งานแบบไหน แล้วเราจะมอบความรู้สึกแบบใดให้กับผู้ใช้งานได้บ้าง ทั้งในเรื่องของธุรกิจและการใช้สอย”

ต้นไม้ใหญ่ต้นหลักที่มองเห็นจากสถาปัตยกรรมภายนอกร้านเป็นเหมือนจุดศูนย์กลางของความสนใจให้กับทั้งพื้นที่ภายในผ่านทางระเบียงชั้น 3 ซึ่งเป็นพื้นที่ครัวและเวิร์กช็อปแบบโอเพ่นแปลน ส่งปลายยอดขึ้นไปถึงออฟฟิศชั้น 4 และแสดงออกถึงความเป็นศูนย์กลางคอมมิวนิตี้ในการเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้กับชุมชนในย่าน

 

 โปรเจกต์ครั้งนี้นับว่าเป็นเรื่องใหม่สำหรับทีมออกแบบเช่นเดียวกัน เพราะเป็นการสร้างประสบการณ์เกี่ยวกับผลไม้แบบ 100% ทั้งร้าน “เพราะฉะนั้นงานออกแบบครั้งนี้จำเป็นต้องมีการเรียนรู้จากผู้ใช้งานเช่นกันว่าผู้ใช้งานตอบรับกับพื้นที่อย่างไร แล้วจะสามารถประยุกต์ให้เหมาะสมกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับธุรกิจในอนาคตได้อย่างไร ก็ต้องรอดูกันไป”

 ในส่วนของเจ้าของโครงการอย่าง CityFresh มองว่างานออกแบบที่ดีจะช่วยให้สามารถใช้พื้นที่ได้อย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์ตามที่ตั้งใจไว้ได้มากที่สุดทั้งฟังก์ชั่นการใช้งาน และอรรถรสในการเข้าไปอยู่ในพื้นที่เพื่อมอบให้กับผู้ใช้งาน พร้อมกับการเติบโตไปพร้อมกันทั้งเจ้าของพื้นที่และผู้ใช้งานจริง

“งานดีไซน์คืองานที่เสิร์ฟประสบการณ์​ให้กับลูกค้า ซึ่งสิ่งเหล่านี้ผ่านการกลั่นกรองมาแล้วว่าเราต้องการให้ลูกค้ารู้สึกอย่างไร ทุกอย่างจะถูกออกแบบมาให้เข้ากับสินค้าที่ขาย จุดประสงค์ สิ่งแวดล้อม แล้วรวมกันกลายเป็นผลลัพธ์งานดีไซน์ที่ดี"

"บางคนที่อาจจะไม่เคยรับรู้ถึงการที่มีผู้ออกแบบ ถ้าได้ลองเข้าไปในอาคารที่ถูกดีไซน์ เราเชื่อว่าคนก็จะรับรู้ถึงความแตกต่างได้” สถาปนิกทิ้งท้ายไว้ถึงความสำคัญของงานออกแบบแม้เพียงในดีเทลเล็กน้อยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของทุกคน



  

“คำว่า Community of Fruit Lovers มันไม่ได้หมายถึงแค่ว่า ผู้ซื้อผลไม้ไปทานเท่านั้น แต่ว่าหมายความไปถึงผู้ปลูก ชุมชน และโลกของเราด้วย เพราะผลไม้เกิดมาจากทรัพยากรธรรมชาติกับความเชี่ยวชาญของคนที่จะสามารถปลูกให้ออกดอกออกผลจนเราทานได้”

การขยายนิยามจากธุรกิจนำเข้าผลไม้จากต่างประเทศตั้งแต่รุ่นพ่อแม่ มาสู่การเป็นคอมมิวนิตี้ของคนรักผลไม้โดย CityFresh มาจากการมองภาพใหม่ให้เป็นธุรกิจที่ยั่งยืนกว่าเดิม

“เราจึงเริ่มรีวิวและรีแบรนดิ้งตัวเองใหม่ จนตกผลึกออกมาเป็นไลน์ใหม่ที่เป็นพื้นที่ทางกายภาพ ให้เป็นคอมมิวนิตี้สำหรับคนรักผลไม้จริงๆ”

เมื่อมีความคิดเรื่องจะสร้างสถานที่แล้ว งานลำดับถัดมาจึงส่งไม้ต่อมาที่ SPACY architecture กับการสร้างสรรค์ดีไซน์ที่จะตอบจุดประสงค์ของการใช้งานพื้นที่ทั้งด้านฟังก์ชั่นและสุนทรียะ จากโจทย์ที่ต้องการให้เป็นพื้นที่ในการเรียนรู้ สัมผัสประสบการณ์ พร้อมกับได้รับประทานผลไม้ในรูปแบบที่หลากหลายและเพลิดเพลิน

  

IIIi - เส้นทางของผลไม้ ถ่ายทอดสู่เส้นทางการสร้างชุมชนคนรักผลไม้

เพราะเป็นผู้นำเข้าผลไม้จาก 17 ประเทศทั่วโลกสู่มือผู้บริโภคในประเทศไทย CityFresh ทำงานกับผู้ปลูกและผู้ส่งออกที่ให้ความสำคัญ มองคุณค่าหลักเดียวกัน และเกื้อกูลสัมพันธ์กันในระยะยาว

“เพราะเรื่องของธรรมชาติขึ้นอยู่กับปี บางปีก็ผลผลิตดี บางปีก็ผลผลิตไม่ดี บางปีผลผลิตดีแต่ก็มาเจอภัยธรรมชาติทำให้ผลผลิตหายไปหมด เพราะฉะนั้นการทำงานกับทางฝั่งต้นน้ำ เราต้องมองว่าเราจะช่วยในเชิงโครงสร้างให้ได้ผลไม้ที่ดีที่สุดไปจนถึงมือผู้บริโภคได้อย่างไร”


ผลไม้นำเข้าทั้งหมดจากต่างประเทศจะถูกนำมารวบรวมที่โรงงานย่านตลาดไท เป็นจุดกระจายสินค้าและตรวจสอบคุณภาพผลไม้ว่าเป็นไปตามที่ตกลงกับผู้ขายและเป็นไปตามมาตรฐานหรือไม่ จากนั้นจึงส่งต่อไปจัดเก็บในห้องเย็นที่แบ่งแยกไว้ให้เหมาะสมสำหรับชนิดของผลไม้แต่ละประเภทที่แตกต่างด้านอุณหภูมิและความชื้น เพื่อยืดอายุให้ได้มากที่สุดและคงคุณภาพที่ดีที่สุดไว้ให้ได้นานที่สุด

จากผลไม้สดถูกส่งต่อไปกระจายตามช่องทางการจำหน่ายทั้งห้างร้าน ซูปเปอร์มาร์เก็ต ตลาดสดทั่วประเทศ ช่องทางออนไลน์ และช่องทางล่าสุดที่คอมมิวนิตี้แห่งนี้ ที่เปิดให้สัมผัสประสบการณ์ทั้งจากผลไม้สด และเมนูที่ครีเอตจากผลไม้ชนิดต่างๆ นอกจากจะเป็นรสชาติใหม่ๆ จากการแปรรูปผลไม้แล้ว ยังช่วยลดของเสียจากหน้าร้านได้อีกด้วย


จากโจทย์ด้านประสบการณ์ถูกถ่ายทอดต่อมายังการจัดสรรอาคารพาณิชย์อายุ 30 ปีในซอยปรีดี พนมยงค์ 26 ให้เป็นพื้นที่สร้างอัตลักษณ์ทางสถาปัตยกรรมที่สอดคล้องกับไปแบรนดิ้งและจุดประสงค์ของโครงการ

“เราเลยมองว่า เราจะทำให้อาคารแห่งนี้เป็นเหมือนนิทรรศการที่จัดแสดงทุกสิ่งที่เกี่ยวข้องกับผลไม้” นี่จึงกลายมาเป็นแนวความคิดหลักสำหรับการออกแบบ CityFresh Community of Fruit Lovers ของ Spacy Architecture

 

IIIi - อาคารเรือนกระจกกลางเมืองที่สร้างไลฟ์สไตล์สำหรับทุกคน

 Greenhouse หรืออาคารเรือนเพาะชำเป็นรูปแบบของอาคารที่ทีมออกแบบเลือกนำมาใช้ “เพื่อให้คนรู้สึกว่าอาคารนี้เกี่ยวข้องกับเกษตรกรรม การเพาะปลูก ความรู้สึกของแสงธรรมชาติและความสดชื่น”


ชั้นแรกที่เป็นชั้นรับแขกมีการจัดทางสัญจรภายในให้เหมือนกับเดินวนในพิพิธภัณฑ์ที่รายล้อมไปด้วยผลิตภัณฑ์และสินค้าที่มีความสดใหม่ ลูกค้าสามารถเดินชมกับดิสเพลย์รูปแบบต่างๆ ได้ ทั้งตู้แช่เย็นผลไม้ ผลไม้แปรรูปในแพ็กเกจจิง ผลไม้ตัดแต่งจากตู้เย็น และโปรดักต์แช่แข็งที่สามารถส่งไปให้ส่วนบาร์ปั่นสดได้เลย

“การเดินเป็นวงกลมเอื้อกับการโชว์และการชมสินค้าที่มีความหลากหลายมาก พร้อมกันกับสร้างประสบการณ์ที่แปลกใหม่ให้กับทุกมุมที่เดินผ่านไป”

ขึ้นไปยังชั้นสองเป็นพื้นที่สำหรับนั่งพักผ่อนตามอัธยาศัย การจัดโต๊ะเป็นแบบยืดหยุ่นให้กับการนั่งหลากหลายรูปแบบ ทั้งกลุ่มใหญ่โต๊ะตรงกลาง โต๊ะรับประทานอาหาร โต๊ะนั่งหันหน้าชมสวนหย่อมด้านหน้าที่ติดกับถนน และพื้นที่วางม้านั่งยาวตลอดแนวผนัง โดยชั้น 1 และ 2 ใช้การเจาะพื้นที่โอเพ่นสเปซเพื่อเชื่อมโยงความรู้สึกในแนวดิ่งแทนที่จะถูกตัดขาดอย่างสิ้นเชิงแบบตึกแถวทั่วไป


"งานออกแบบที่ดีก็เป็นเหมือนกับการสร้างเสริมคุณภาพชีวิตให้กับผู้คน เพราะบางทีคนใช้งานก็ไม่รู้หรอกว่าตัวเองต้องการอะไร อย่างเก้าอี้นั่งที่ต้องให้ได้ความสูงที่เหมาะสมนั่งสบาย หรืองานออกแบบที่ผู้พิการใช้งานได้ เราเชื่อว่าลักษณะของการดีไซน์ที่ดีคือการตอบโจทย์ให้กับคนทุกกลุ่มที่เข้ามาใช้งานตัวอาคารว่า ตัวอาคารเราต้องการตอบสนองผู้ใช้งานแบบไหน แล้วเราจะมอบความรู้สึกแบบใดให้กับผู้ใช้งานได้บ้าง ทั้งในเรื่องของธุรกิจและการใช้สอย”

ต้นไม้ใหญ่ต้นหลักที่มองเห็นจากสถาปัตยกรรมภายนอกร้านเป็นเหมือนจุดศูนย์กลางของความสนใจให้กับทั้งพื้นที่ภายในผ่านทางระเบียงชั้น 3 ซึ่งเป็นพื้นที่ครัวและเวิร์กช็อปแบบโอเพ่นแปลน ส่งปลายยอดขึ้นไปถึงออฟฟิศชั้น 4 และแสดงออกถึงความเป็นศูนย์กลางคอมมิวนิตี้ในการเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้กับชุมชนในย่าน

 

 โปรเจกต์ครั้งนี้นับว่าเป็นเรื่องใหม่สำหรับทีมออกแบบเช่นเดียวกัน เพราะเป็นการสร้างประสบการณ์เกี่ยวกับผลไม้แบบ 100% ทั้งร้าน “เพราะฉะนั้นงานออกแบบครั้งนี้จำเป็นต้องมีการเรียนรู้จากผู้ใช้งานเช่นกันว่าผู้ใช้งานตอบรับกับพื้นที่อย่างไร แล้วจะสามารถประยุกต์ให้เหมาะสมกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับธุรกิจในอนาคตได้อย่างไร ก็ต้องรอดูกันไป”

 ในส่วนของเจ้าของโครงการอย่าง CityFresh มองว่างานออกแบบที่ดีจะช่วยให้สามารถใช้พื้นที่ได้อย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์ตามที่ตั้งใจไว้ได้มากที่สุดทั้งฟังก์ชั่นการใช้งาน และอรรถรสในการเข้าไปอยู่ในพื้นที่เพื่อมอบให้กับผู้ใช้งาน พร้อมกับการเติบโตไปพร้อมกันทั้งเจ้าของพื้นที่และผู้ใช้งานจริง

“งานดีไซน์คืองานที่เสิร์ฟประสบการณ์​ให้กับลูกค้า ซึ่งสิ่งเหล่านี้ผ่านการกลั่นกรองมาแล้วว่าเราต้องการให้ลูกค้ารู้สึกอย่างไร ทุกอย่างจะถูกออกแบบมาให้เข้ากับสินค้าที่ขาย จุดประสงค์ สิ่งแวดล้อม แล้วรวมกันกลายเป็นผลลัพธ์งานดีไซน์ที่ดี"

"บางคนที่อาจจะไม่เคยรับรู้ถึงการที่มีผู้ออกแบบ ถ้าได้ลองเข้าไปในอาคารที่ถูกดีไซน์ เราเชื่อว่าคนก็จะรับรู้ถึงความแตกต่างได้” สถาปนิกทิ้งท้ายไว้ถึงความสำคัญของงานออกแบบแม้เพียงในดีเทลเล็กน้อยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของทุกคน



  

Text:

Nathanich C.

Nathanich C.

PHOTO:

Spacy Architecture

Spacy Architecture

Related Posts