Casa Formosa วัฒนธรรมชาไต้หวัน

Casa Formosa วัฒนธรรมชาไต้หวัน

5 ส.ค. 2566

SHARE WITH:

5 ส.ค. 2566

5 ส.ค. 2566

SHARE WITH:

SHARE WITH:

Casa Formosa วัฒนธรรมชาไต้หวัน

“ความชื่นชอบชาของผมเริ่มต้นตอนไปเกณฑ์ทหารแล้วมีรูมเมตเป็นเจ้าของไร่ชาที่อาหลี่ซาน ช่วงนั้นผมก็ได้เรียนรู้เรื่องชาจากเขาเยอะ ทั้งความแตกต่างของชาแต่ละประเภทและกระบวนการผลิตชา และเริ่มเห็นคุณค่าและความดีงามของชาไต้หวัน”

เมื่อก้าวเข้าสู่ Casa Formosa Taiwan Tea House ร้านชาเล็กๆ ในซอยวานิช 1 ที่มีเสน่ห์ดึงดูดใจตั้งแต่หน้าประตู เราก็สัมผัสได้ถึงบรรยากาศแสนเป็นมิตรและสงบผ่อนคลายผ่านการตกแต่งภายในด้วยแสงสีโทนอบอุ่นละมุนตาละมุนใจ พร้อมการต้อนรับจาก Larry Ko หนึ่งในพาร์ตเนอร์ชาวไต้หวัน ที่ทักทายเราด้วยภาษาไทยอย่างคล่องแคล่ว

แนะนำตัวกันพอหอมปากหอมคอ Larry ก็เล่าถึงเบื้องหลังการตกหลุมรักเครื่องดื่มชนิดนี้ให้ฟังและพาเราไปทำความรู้จักกับชาของร้าน 4 ชนิด ที่สอดแทรกประวัติศาสตร์ชาไต้หวัน 101 ไว้อย่างแนบเนียน เคล้าความหอมของใบชาในกาต้มซึ่งค่อยๆ ส่งกลิ่นลอยอบอวลไปทั่วทั้งร้าน


ชาชนิดแรกที่เราได้ลิ้มรสคือ ‘1869 Oolong’ ตัวเลขที่ปรากฏบนชื่อนั้นเป็นการรำลึกถึงคริสตศักราชที่ไต้หวันส่งออกชาอู่หลงคุณภาพพิเศษจำนวนกว่า 120,000 กิโลกรัมไปยังนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นครั้งแรก (ตรงกับ พ.ศ. 2412) ซึ่งเป็นการเดบิวต์ที่ประสบความสำเร็จของชาไต้หวันในเวทีโลก Larry จึงตัดสินใจเลือกชาอู่หลงตัวนี้ให้เป็นซิกเนเจอร์ของ Casa Formosa เพราะเปี่ยมไปด้วยเรื่องราวแห่งความภาคภูมิใจกว่า 150 ปี อีกทั้งยังมีรสชาติที่ดีด้วย


จากตัวละครสำคัญที่ทำให้ชาไต้หวันแจ้งเกิดในหลายประเทศ มาต่อที่ ‘Alishan Alpine Oolong’ กันบ้าง นอกจากส่งตรงมาจากไร่ของเพื่อนที่ Larry เอ่ยถึงข้างต้นแล้ว ชาชนิดนี้ยังแสดงถึงเอกลักษณ์ของชาไต้หวันที่พัฒนาจนแตกต่างจากชาจีนด้วย Larry เล่าว่าในอดีตคนพื้นถิ่นบนเกาะไต้หวันดื่มชาที่ทำจากพืชป่า ซึ่งมีรสและกลิ่นค่อนข้างฉุน แต่หลังการอพยพของคนชาติพันธุ์จีน ชาอู่หลงจึงเดินทางจากมณฑลฝูเจี้ยน ประเทศจีน มายังเกาะฟอร์โมซา ชื่อเดิมของดินแดนแห่งนี้ที่ได้รับการขนานนามจากชาวโปรตุเกส อันหมายถึงเกาะที่สวยงาม

แต่เดิมผู้คนในถิ่นกำเนิดชาชนิดนี้ไม่ได้ชื่นชอบชาอู่หลงบนภูเขาสูงมากนัก แต่ไต้หวันผลักดันชาประเภทนี้จนเป็นที่รู้จักและได้รับความนิยมในวงกว้าง รวมถึงคนในจีนแผ่นดินใหญ่ ชาอู่หลงบนภูเขาสูง (Alpine Oolong) ปลูกในระดับความสูงตั้งแต่ 1,000 เมตรเป็นต้นไป อย่างอู่หลงอาหลี่ซานที่เราได้ชิมนั้น ปลูกที่ความสูงประมาณ 1,500-2,000 เมตร ส่วนอู่หลงหลีซาน (Li Shan Alpine Oolong) ที่มีขายในร้านเช่นกัน มาจากภูเขาที่อยู่ตอนกลางของเกาะไต้หวัน บริเวณไถจง (Taichung) ฮวาเหลียน (Hualien) และหนานโถว (Nantou) ซึ่งสูงประมาณ 2,000-3,000 เมตร สิ่งแวดล้อมบนเขาไม่ว่าจะเป็นความหนาวเย็นหรือสภาพดิน ส่งผลต่อรสชาติของใบชาที่ชุ่มคอและซับซ้อนแตกต่างกันไป ซึ่งเป็นความโดดเด่นของชาไต้หวันชนิดนี้


‘เหวินซานเปาจ่ง’ (Wenshan Pouchong) เป็นชาที่ Larry ตั้งใจอย่างยิ่งที่จะนำเสนอให้คนไทยได้ลิ้มลอง โดยเขาพาเราย้อนความทรงจำไปยังช่วงที่เขามาเที่ยวในย่านเยาวราชแล้วผ่านเข้าไปในซอยเท็กซัส เขาบังเอิญได้พบกับป้ายเก่าแก่ที่ระบุข้อความเป็นภาษาจีนว่า ‘Taiwan Nangang Pouchong Cha’ (ชาเปาจ่งเขตหนานกั่ง ไต้หวัน) ซึ่งนอกจากจะแสดงให้เห็นว่าในอดีต หนานกั่ง ซึ่งเป็นเขตหนึ่งในไทเป เคยทำไร่ชาแล้ว ยังเป็นหลักฐานชัดเจนว่าในสมัยก่อนเยาวราชขายใบชาจากไต้หวันด้วย

และเมื่อตัดสินใจที่จะจริงจังกับการทำธุรกิจและกลับไปยังไต้หวันเพื่อศึกษาค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับชาให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น Larry ก็ได้พบอีกหนึ่งเครื่องยืนยันที่จัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ชาที่ไทเปและย้ำว่าไต้หวันเองก็เคยส่งชามายังประเทศไทย นั่นก็คือ ‘ชาใบพูซองทีเซนเต็ด ตราคาซ่า ฟอร์โมซา’ (Formosa Pouchong Tea (Simple)) เขาจึงใช้ข้อมูลทั้งหมดนี้เป็นแรงบันดาลใจเพื่อแสดงให้เห็นประวัติศาสตร์ของไต้หวันและไทยที่ผูกพันและเชื่อมโยงกันผ่านใบชา



หลังจิบชาตัวสุดท้ายอย่าง ‘Lu Gu Dong Ding Oolong’ ชาอู่หลงสุดคลาสสิกที่โดดเด่นด้วยกลิ่นคั่วหอมๆ แล้ว เราก็เข้าใจถึงความรู้สึกของ Larry เวลามีคนมาถามว่าชอบชาตัวไหนมากที่สุดได้ทันที เพราะแค่ 4 ชนิดที่เราได้ชิมยังมีคาแรกเตอร์เฉพาะที่ไม่ซ้ำกัน ไม่ว่าจะเป็นกลิ่น รสชาติขณะอยู่ในปาก และอาฟเตอร์เทสต์ ซึ่งแต่ละสไตล์ก็สร้างความประทับใจในแบบฉบับของตัวเอง สำหรับ Larry ที่หลงใหลในเครื่องดื่มชนิดนี้มากๆ และได้ลองชิมมาแล้วหลากหลายชนิด คงตัดสินใจได้ยากว่าจะยกตัวไหนให้เป็นที่หนึ่งในดวงใจ

ไม่เพียงเท่านั้น เรายังสัมผัสได้ถึง ‘แพสชั่น’ อันแรงกล้าของ Larry ที่ส่งผ่านลีลาและน้ำเสียงในการถ่ายทอดเรื่องราวของชาอย่างกระตือรือร้น ดังนั้นเมื่อเขาย้ายตัวเองจากเคาน์เตอร์ต้มชามานั่งด้วยกันกับเรา ก็ได้เวลาที่บทสนทนาเกี่ยวกับการสร้างแบรนด์ Casa Formosa เพื่อเผยแพร่ชาไต้หวันในเขตไชน่าทาวน์ของกรุงเทพฯ จะเริ่มต้นขึ้น


IIIi - การเดินทางของชาไต้หวันสู่ละแวกเยาวราช-ทรงวาด

Larry เป็นคนชอบเรียนภาษาและสนใจศึกษาด้านวัฒนธรรมท้องถิ่น สำหรับภาษาไทยเขาเริ่มเรียนตั้งแต่สมัยที่ยังอยู่ไต้หวันจนสื่อสารได้ลื่นไหลถึงขนาดเคยทำงานเป็นล่ามมาแล้ว หลังจากนั้นเขาเดินทางมาทำงานควบคู่ไปกับการเรียนปริญญาโทด้านบริหารธุรกิจและการโรงแรมในจังหวัดภูเก็ต การใช้ชีวิตในต่างแดนเต็มไปด้วยความสนุกสนานและน่าตื่นตาตื่นใจจนกระทั่งเกิดการระบาดของโรคโควิด-19 ความโดดเดี่ยว ความคิดถึงครอบครัวและบ้านเกิดจึงเกิดขึ้นในจิตใจอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ‘ชาไต้หวัน’ ที่พกติดตัวไว้ตลอดจึงเหมือนเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวที่ช่วยคลายความเครียดและความหวั่นไหวของ Larry ได้

“ตั้งแต่ที่ผมไปเกณฑ์ทหารกับเพื่อนคนนั้น ก็รู้สึกว่าถ้ามีโอกาสได้ไปเมืองนอก ผมอยากจะแชร์ชาไต้หวันให้คนต่างชาติได้รู้จักมากยิ่งขึ้น เพราะปัจจุบันผู้บริโภคชาไต้หวันส่วนใหญ่คือคนไต้หวัน คนไต้หวันผลิตชาและขายให้กลุ่มเป้าหมายหลักซึ่งก็คือคนไต้หวันด้วยกันเอง ไม่เหมือนสมัยก่อนที่ส่งออกไปค้าขายที่ต่างประเทศเป็นจำนวนมาก"

“แต่ตอนนั้นยังไม่ได้คิดจะทำธุรกิจ พอเจอโควิดช่วงที่เรียนและทำงานที่ไทย ต้องอยู่แต่ในห้อง เลยวิดีโอคอลคุยกับเพื่อนๆ ที่อยู่ทั่วโลก รวมถึงเพื่อนคนไต้หวันที่อยู่ในกรุงเทพฯ ซึ่งแต่ละคนก็ชงชาของตัวเองไปด้วย เหมือนเป็น tea party ทีนี้เรื่องหนึ่งที่คุยกันก็คือ ‘ทำไมกรุงเทพฯ ถึงไม่มีร้านชาเหมือนที่ไต้หวัน ที่ดู fancy และเข้าถึงวัยรุ่นได้’ ส่วนใหญ่ถ้าอยากดื่มชา ก็ต้องไปห้าง เข้าร้านชาฝรั่งที่เป็นเชนใหญ่ๆ แต่ทำไมไม่มีร้านชาจีนหรือชาไต้หวันที่เป็น tea house แบบจริงจังในกรุงเทพฯ"

"ซึ่งผมเองก็รู้สึกว่า เออ จริงด้วย”


หลังจากสถานการณ์ของโรคโควิด-19 เริ่มผ่อนคลายลง Larry จุดประกายไอเดียจากเรื่องราวที่คุยกับเพื่อนก่อนหน้านั้นและตัดสินใจจะเปิดร้านชาไต้หวันอย่างจริงจัง แต่ ‘ภูเก็ต’ คือโลเคชันแรกที่เขาเลือกพิจารณา เนื่องจากเป็นจังหวัดที่เขาใช้ชีวิตอยู่ บวกกับความชื่นชอบในบรรยากาศความเป็นเมืองเก่าที่แฝงวัฒนธรรมจีนฮกเกี้ยน ชวนให้นึกถึงความเป็นไต้หวันที่เขาคุ้นเคย ถึงอย่างนั้นเพื่อนชาวภูเก็ตกลับแนะนำว่าคอนเซปต์ธุรกิจของ Larry น่าจะเหมาะกับกรุงเทพฯ ซึ่งมีลูกค้าหลากหลายมากกว่า

แต่คำถามที่ตามมาคือ ‘ถ้าเป็นกรุงเทพฯ ร้านควรจะอยู่ที่ไหน’

“ผมคิดเยอะมากกับการทำแบรนด์นี้ เพราะต้องการให้แบรนด์ของเราเชื่อมโยงกับทุกสิ่งทุกอย่างให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ โจทย์หลักของผมเลยคือถ้าอยู่ที่กรุงเทพฯ ต้องเป็น ‘เยาวราช’ เพราะมีทุกสิ่งที่เราต้องการ อย่างแรกคืออยู่ใจกลางกรุงเทพฯ ทุกๆ วันจะมีทั้งคนไทยเชื้อสายจีนเข้ามาซื้อของ คนไทยสายมูเตลูเข้ามาไหว้พระไหว้เจ้า ส่วนชาวต่างชาติก็เข้ามาท่องเที่ยว สำหรับผมเยาวราชจึงเป็น Perfect Location"

“และที่สำคัญที่สุดคือมันมีความเชื่อมโยงกับสินค้าที่ผมจะขายด้วย นั่นก็คือชาไต้หวันและวัฒนธรรมไต้หวัน ที่นี่เป็นไชน่าทาวน์ คอมมูนิตี้ วัฒนธรรมท้องถิ่น และอะไรหลายๆ อย่างเลยใกล้เคียงกับความเป็นไต้หวัน บวกกับที่ผมไปเจอจากการศึกษาหาข้อมูลด้วย ก็ยิ่งอยากจะนำมาโชว์ให้คนไทยรู้ว่าสมัยก่อนชาไต้หวันก็เคยอยู่ในเยาวราช ผมเลยคิดว่าทั้งบรรยากาศท้องถิ่นและประวัติศาสตร์ชาระหว่างไทยกับไต้หวันก็สามารถเอามาผนวกและไปด้วยกันกับแบรนด์ของเราได้อย่างสมเหตุสมผล”

แม้โลเคชันหลักคือเยาวราช แต่ Larry ตัดถนนสายหลักที่ได้รับความนิยมออกก่อนเป็นอันดับแรก เพราะ Tea House ในความคิดของเขาต้องมีบรรยากาศเงียบสงบ จึงไม่เหมาะกับความวุ่นวายบนถนนเยาวราช

“เราอยากได้พื้นที่รอบๆ เยาวราช ก็เลยพยายามหาด้วยการขี่มอเตอร์ไซค์ไปทั่วเยาวราชเลย แล้วก็บังเอิญมาเจอ ‘ทรงวาด’”


ระหว่างที่เดินสำรวจทรงวาดไปเรื่อยๆ นั้น Larry ก็เกิดความรู้สึกว่าถนนสายนี้ที่เรียงรายไปด้วยอาคารโบราณสไตล์ชิโน-ยูโรเปียนและติดริมแม่น้ำเจ้าพระยา ให้บรรยากาศความเป็นเมืองเก่าคล้ายคลึงกับ ‘ต้าเต้าเฉิง’ (Dadaocheng) อดีตเมืองท่าสำคัญของไทเป ซึ่งตั้งอยู่ริมแม่น้ำตั้นสุ่ย

“shophouse แถวต้าเต้าเฉิงก่อสร้างและตกแต่งแบบหรูหราเหมือนอยู่ในยุโรป เพราะเป็นย่านการค้าที่เจริญเติบโตจากการขายชา ซึ่งเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญมากของไต้หวัน คนที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับชาในย่านนั้นตั้งแต่โรงชา ดีลเลอร์ ไปจนถึงคนขายใบชา สามารถสร้างตัวจนร่ำรวยเป็นเศรษฐีได้หมดเลยในสมัยนั้น ซึ่งก็มีประวัติศาสตร์คล้ายๆ กันกับทรงวาดที่มีเจ้าสัวมากมายที่ขายพืชผลทางการเกษตรที่นี่”

ถึงเจอย่านที่ใช่ แต่กลับไม่เป็นอย่างที่ฝัน เพราะตึกที่ปล่อยให้เช่าในย่านนี้มีไม่ค่อยเยอะ และในจำนวนที่ว่างนั้นก็มีขนาดพื้นที่ที่ไม่เหมาะสมกับ Tea House ในอุดมคติของ Larry ท้ายที่สุดก็มาลงเอยที่ซอยวานิช 1 จากการแนะนำของญาติของพาร์ตเนอร์คนหนึ่งในร้านที่รู้จักกับเจ้าของอาคารนี้ ซึ่งเพอร์เฟกต์ทั้งเลย์เอาต์ ขนาด และโลเคชันที่อยู่ใกล้ทั้งเยาวราชและทรงวาด


IIIi - พื้นที่เปิดสำหรับคนรักชาและต้องการเรียนรู้ความแตกต่างของชาไต้หวันและชาจีน

เราเข้าไปพูดคุยกับ Larry ที่ร้าน Casa Formosa ในวันพุธ ช่วง 11 โมงเช้า และอยู่ยาวไปจนถึงบ่าย 3 โมงกว่าๆ สังเกตเห็นว่าลูกค้ามีหลากหลายเชื้อชาติและเข้ามาอย่างต่อเนื่องในช่วงบ่าย และบางช่วงเวลาก็เต็มทั้งพื้นที่ชั้นล่างและชั้นลอย จากประสบการณ์ของเราเองที่เคยแวะไปใช้บริการของร้านก่อนหน้านี้

Larry เล่าว่าลูกค้าคนไทยส่วนใหญ่จะเข้าร้านหลังบ่ายโมง อาจเป็นเพราะคนไทยไม่ดื่มชาในตอนเช้า ตรงกันข้ามกับชาวยุโรปที่จะแวะมาทั้งช่วงเช้าและช่วงบ่ายหลังจากที่ท่องเที่ยวแถวเยาวราชจนเหนื่อยและต้องการพักผ่อนดื่มชายามบ่ายตามวัฒนธรรมของตัวเอง ส่วนลูกค้าชาวเอเชียก็มีทั้งจีน เกาหลี และตะวันออกกลาง รวมไปถึงญี่ปุ่น ซึ่งเป็นลูกค้ากลุ่มเป้าหมายของร้านเช่นเดียวกับคนไทย

เราคัดสรรชารสชาติดีมา ซึ่งลูกค้าก็ฟีดแบ็กว่าที่นี่เลือกชาได้โอเคเลย ส่วนคนไทยที่ชอบดื่มชา เขาก็บอกว่ารู้สึกดีที่มีร้านชาแบบเราเกิดขึ้นมา เพราะสมัยก่อนไม่ค่อยมีร้านชาที่มีพื้นที่ให้ลูกค้าเข้ามานั่งพูดคุยกัน ชงเองดื่มเองที่บ้านก็ไม่ได้บรรยากาศ มาที่ร้านมันได้ทั้งบรรยากาศ นัดเพื่อนหลายๆ คนมาเจอกันได้ รวมถึงได้รู้จักเพื่อนใหม่ๆ ด้วย และลูกค้าบางคนที่ชอบชงชาด้วยตัวเองและรู้วิธีชง เขาก็อยากจะเพิ่มความสนุกกับการดื่มด้วยการชงเอง ผมก็วางแผนที่จะเตรียมชุดชงชาไว้สำหรับคนกลุ่มนี้ ก็กำลังดูๆ จากไต้หวันอยู่ ”


อย่างไรก็ตามการนำเสนอวัฒนธรรมชาแบบนี้อาจจะไม่เป็นที่คุ้นเคยสำหรับชาวไทยหลายๆ คนที่ยังติดภาพความเป็นชาจีนมากกว่า

“ชาจีนต่างจากชาไต้หวันยังไง เพื่อให้เข้าใจง่ายมากขึ้น ผมจะอธิบายโดยเปรียบเทียบกับอาหารไทยที่แต่ละภูมิภาคมีรสชาติที่ต่างกัน ชาแต่ละพื้นที่ก็มีรสชาติที่ต่างกัน แม้ไต้หวันจะได้ชาจากจีนมา แต่ก็ถูกปรับ ถูกต่อยอดไปเป็นคาแรกเตอร์ในแบบฉบับของไต้หวันเองแล้ว

“ยกตัวอย่างเช่นชาอู่หลงทิกวนอิม เคยมีลูกค้าเข้ามาถามว่าทำไมทิกวนอิมที่เขาเคยซื้อเป็นใบชาสีเขียว แต่ร้านเราเป็นสีดำ เราเลยบอกเขาว่าทิกวนอิมต้นตำรับจริงๆ เป็นสีเข้มเหมือนของไต้หวัน แต่ในฝั่งจีนแผ่นดินใหญ่ เพื่อที่จะขายให้คนที่อยู่ทางภาคเหนือของจีน เช่น ปักกิ่ง คนขายชาในมณฑลฝูเจี้ยน ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของทิกวนอิม ก็ต้องปรับสูตรเป็นทิกวนอิมเขียวให้เข้ากับความชอบของประชากรส่วนใหญ่ในแถบนั้นที่ชอบดื่มชาเขียวมากกว่า ส่วนที่ไต้หวันชอบดื่มอู่หลงกันอยู่แล้ว เลยยังรักษาความเป็นต้นตำรับเอาไว้ แต่ชามันก็เหมือนแฟชั่นแหละ ปัจจุบันนี้ที่จีนก็เริ่มมีคนกลุ่มหนึ่งเอาทิกวนอิมแบบออริจินัลกลับมาแล้ว”


การเปิดร้านชาและมีโอกาสได้ให้ความรู้เกี่ยวกับความแตกต่างระหว่างชาจีนและชาไต้หวันเป็นเรื่องสนุกมากสำหรับ Larry และเขายินดีอย่างยิ่งที่จะตอบทุกคำถามที่ลูกค้าสงสัยหรือยังไม่มีความรู้ในด้านนี้ ขณะเดียวกันที่แห่งนี้ยังทำให้เขาได้เรียนรู้ด้วยว่าคนไทยรู้จักและเข้าใจชาไต้หวันมากกว่าที่เขาคิด

“เราเคยคิดว่าถ้าเจอลูกค้าขอใส่น้ำตาลลงในชา จะทำยังไง แต่ตั้งแต่เปิดร้านมาคือไม่มีเลย และจนถึงตอนนี้ที่เข้าเดือนที่ 4 แล้ว เราถึงได้เข้าใจว่าที่ผ่านมาเรามีภาพจำว่าคนไทยน่าจะชอบแบบนั้นแบบนี้ แต่จริงๆ มีกลุ่มคนไทยที่ดื่มชาสไตล์นี้อยู่แล้ว หลายๆ คนคุยกับเราเป็นภาษาจีนเลยว่าจะสั่งชาตัวไหนโดยที่เราไม่ต้องอธิบายว่าแต่ละตัวต่างกันยังไงหรือแต่ละตัวปลูกในพื้นที่ไหน หรือลูกค้าบางคนบอกได้ถึงขนาดว่าชาตัวนี้มาจากไร่ที่อยู่พื้นที่บริเวณไหนของไต้หวันเลย คือพวกเขาเข้าใจชาไต้หวันมากๆ”

หากนึกถึงชาไต้หวัน แน่นอนว่าสำหรับหลายๆ คน ชานมไข่มุกย่อมแล่นเข้ามาในหัวเป็นอันดับแรก อีกไม่นานนี้ Casa Formosa จะเพิ่มชานมในเมนูชาของตัวเอง ซึ่งเกิดจากการสังเกตพฤติกรรมลูกค้าที่มาใช้บริการในร้าน

“จริงๆ ชาที่เรานำเสนอในร้านมีแบบ takeaway ด้วย แต่คนสั่งน้อย เพราะลูกค้าชอบดื่มในร้านมากกว่า เราเลยเพิ่มสินค้าอื่นมาขายด้วย โดยเป็นชานมในแบบที่เราชอบเอง เลือกใบชาที่เราชอบมาทำชานม และไม่มีตัวเลือก เพราะเราไม่ได้จะทำตัวเองให้เหมือนร้านที่เป็น specialty ด้านชานมไข่มุก”



IIIi - ตัวตนที่ชัดและความเป็นชุมชนกับการสร้างแบรนด์ที่ยั่งยืน

Casa Formosa กำลังอยู่ในช่วงเรียนรู้และสั่งสมประสบการณ์ในโลกธุรกิจ การจะสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่งและพัฒนาต่อยอดไปได้อย่างยั่งยืนนั้น ‘แนวทางและคอนเซปต์ที่ชัดเจน’ จึงเป็นสิ่งสำคัญที่สุดสำหรับ Larry

“ทำไมลูกค้าต้องเลือกเรา เรามีอะไรที่พิเศษกว่าคนอื่นไหม อย่างที่นี่ชัดเจนมากเลยคือ ‘ชาไต้หวัน’ แต่บางทีลูกค้ามาถามหาผูเอ่อร์ ซึ่งเป็นชาที่ไต้หวันไม่มี ต้องนำเข้าจากยูนนาน ผมก็ต้องบอกลูกค้าว่าปัจจุบันที่นี่มีแต่ชาไต้หวัน ซึ่งเราสามารถคอนเฟิร์มได้ว่าชาไต้หวันของที่นี่โอเคมาก และนำเสนอสิ่งที่ลูกค้าคนนั้นน่าจะชอบ ถ้าเขาเปิดใจจะลองชาที่เขาไม่เคยดื่ม

“เมื่อคอนเซปต์แน่นและชัดเจน เวลาเราออกสินค้าแต่ละอย่าง เราจะคิดอยู่เสมอว่าสินค้านั้นเข้ากับร้าน เข้ากับแบรนด์ไหม อยู่ดีๆ เราจะเอาชาไทยมาขาย มันก็ไม่ใช่คาแรกเตอร์ของเราแล้ว หรือชานม เราก็เลือกที่เข้ากับตัวตนของแบรนด์เท่านั้นและต้องเป็นชาพรีเมียม”


ใครที่ติดตามความเคลื่อนไหวของ ‘คอมมูนิตี้ทรงวาด’ ก็น่าจะได้เห็น Larry และร้าน Casa Formosa ปรากฏตัวในกิจกรรมต่างๆ อยู่บ่อยครั้ง นั่นเป็นเพราะว่าในช่วงที่กำลังตามหาโลเคชันที่ถูกใจบนถนนทรงวาดนั้น Larry บังเอิญได้รู้จักกับ Myriam Rueda กราฟิกดีไซเนอร์ชาวสเปนเจ้าของสตูดิโอชื่อ MESA 312 Cultural Lab หรือถ้าจะให้ถูกต้องตามคำบอกเล่าของ Larry จริงๆ เลยก็คือเขาแปลกใจที่เห็นสตูดิโอของชาวตะวันตกบนถนนสายนี้ที่ ณ ขณะนั้นยังไม่คึกคักเท่าตอนนี้ เลยมองลอดประตูแอบดูจนเจ้าตัวเห็นและเรียกให้เขาเข้าไป

นอกจากจะพาชมสตูดิโอของตัวเองแล้ว Myriam ยังพา Larry ไปเจอกับ อุ๊ย-เกียรติวัฒน์ ศรีจันทร์วันเพ็ญ เจ้าของแกลเลอรี่ PLAY Art House ทำให้เขาได้รับความช่วยเหลือในหลายๆ ด้านจากคนในชุมชนนี้ และเข้าร่วมคอมมูนิตี้ที่เหล่าชาวย่านและผู้ประกอบการต่างๆ รวมกลุ่มกันเพื่อพัฒนาและสร้างชีวิตชีวาให้แก่ชุมชนนี้ผ่านการท่องเที่ยวตั้งแต่แรกเริ่ม นำไปสู่การมีโอกาสได้แชร์ความคิดเกี่ยวกับแบรนด์ของตัวเองที่น่าจะช่วยผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในย่านทรงวาดและดึงดูดคนรุ่นใหม่ให้สนใจร้านรวงบนถนนสายนี้มากยิ่งขึ้น

“ตอนแรกไม่ได้หวังว่าจะมีใครมาช่วย เพราะยังไงตัวเราเองต้องเข้มแข็งด้วยตัวเองให้ได้ก่อน แต่พอได้ร่วมงานกับคอมมูนิตี้ทรงวาดแล้ว ก็รู้สึกว่าจริงๆ คอมมูนิตี้ไม่ได้เป็นแค่ส่วนที่เสริมธุรกิจเราเท่านั้น แต่สามารถวางแนวทางให้ชุมชนมีเป้าหมายเดียวกันได้ด้วย ไม่ใช่แต่ละร้านต่างคนต่างทำ อย่างเมื่อกี๊มีลูกค้าเดินเข้ามาในร้านแต่ต้องการดื่มกาแฟ ผมก็นำเสนอร้านอื่นๆ ในย่านที่ขายกาแฟ เวลาลูกค้าไปถามร้านอื่นๆ ว่าแถวนี้มีอะไร ร้านนั้นเขาก็จะแนะนำร้านเราให้ด้วย ผมรู้สึกว่ามันเป็นมาร์เก็ตติ้งที่ดี ไม่ใช่ร้านใดร้านหนึ่งทำธุรกิจแค่ของตัวเอง แต่โตไปด้วยกัน และถ้าชุมชนนี้มีคนมาเที่ยวเยอะขึ้น มันก็จะวินวินไปด้วยกัน”

คอมมูนิตี้ทรงวาดมีแนวคิดที่เป็นจุดร่วมเดียวกันคือความชื่นชอบในวัฒนธรรมท้องถิ่นและไม่ต้องการเปลี่ยนบรรยากาศดั้งเดิมของท้องถิ่น เพราะฉะนั้นแต่ละร้านจึงมีหน้าที่ร่วมกันในการช่วยขับเคลื่อนชุมชนให้เป็นไปตามเป้าหมายดังกล่าว

“มันขึ้นอยู่กับว่าตัวคอมมูนิตี้เองมีความแอ็กทีฟมากพอไหมด้วย แต่ตัวผมเองชอบชุมชนที่เกิดจากการรวมตัวกันของคนในท้องถิ่นหรือเจ้าของธุรกิจมากเลยนะ เรารู้สึกว่ามันอบอุ่นมาก ถึงแต่ละร้านจะมีธุรกิจที่ไม่เหมือนกัน มีเป้าหมายของตัวเองที่ต้องสู้ต่างกัน แต่ทุกคนก็เป็นเพื่อนบ้านที่สามารถช่วยเหลือกันได้ ซึ่งก็จะช่วยให้ชุมชนอยู่รอดและเข้มแข็งได้ด้วย”


มากกว่าร้านชา คือการเป็นพื้นที่แลกเปลี่ยนวัฒนธรรมไทย-ไต้หวัน

“จริงๆ ตั้งแต่แรกเราวางแผนไว้แล้วว่าเราจะไม่ใช่แค่ Tea House ที่ขายชาเพียงอย่างเดียว”

ด้วยความชื่นชอบวัฒนธรรมและมักจะไปเข้าร่วมอิเวนต์ที่เกี่ยวกับวัฒนธรรมอยู่บ่อยครั้ง Larry จึงยึดสิ่งนี้เป็น core value ในการสร้างแบรนด์ Casa Formosa ด้วย

“ความชอบของพาร์ตเนอร์ทุกคนในแบรนด์นี้ไม่ได้หยุดอยู่แค่ชา เราอยากจะแลกเปลี่ยนความรู้ทางวัฒนธรรมกับคนไทย อยากจะเป็น Community Hub ที่ให้ความรู้ทั้งไต้หวัน จีนแผ่นดินใหญ่ และฮ่องกง เราอยากจะเป็นตัวกลางที่เปิดพื้นที่ให้คนไทยที่สนใจด้านวัฒนธรรมจีน ไม่ว่าจะในท้องถิ่นไหนๆ เข้ามาแล้วได้ข้อมูลที่ถูกต้องกลับไป หรือถ้าต้องการคำแนะนำหรืออยากจะศึกษาอะไรบางอย่างที่เกี่ยวกับจีน ก็สามารถเข้ามาพูดคุยได้ว่าอยากเรียนอะไร อยากรู้อะไร ถ้าเป็นไปได้ เราก็จะพยายามจัดกิจกรรมนั้นๆ ให้เกิดขึ้น”

ก่อนหน้านี้ Casa Formosa เคยนำงิ้วไต้หวันที่มีชื่อเสียงมาจัดแสดงที่ร้านให้ลูกค้าได้ชม อีกทั้งเคยจัดอิเวนต์ Casa Formosa Culture Salon โดยเชิญอาจารย์ประจำเอกจีนศึกษามาบรรยายเกี่ยวกับสงครามฝิ่น รวมถึงเรื่องราวของชาและการค้าระหว่างประเทศที่ส่งผลกระทบต่อจีน ไต้หวัน อังกฤษ อินเดีย และญี่ปุ่นด้วย สำหรับกิจกรรมต่อๆ ไป Larry วางแผนไว้ว่าจะเน้นที่เวิร์กช็อปมากขึ้น ตั้งแต่เวิร์กช็อปทำชาด้วยตัวเองพร้อมรับความรู้เกี่ยวกับชาในคราวเดียวสำหรับเทศกาลสำคัญต่างๆ เช่น วันแม่ ไปจนถึงเวิร์กช็อปสอนภาษาจีนท้องถิ่น เช่น ภาษาไต้หวัน หรือภาษากวางตุ้ง รวมทั้งอาจจะเชิญศิลปินไต้หวันและไทยมาทำกิจกรรมในร้านด้วย

“ในอนาคตผมอยากจะจัด walking tour ที่พาคนไทยหรือชาวต่างชาติเดินเที่ยวในเยาวราชและเล่าประวัติศาสตร์ชาระหว่างไต้หวันและเยาวราชด้วย เพราะเยาวราชมีเหตุการณ์มากมายที่เชื่อมโยงกับชาไต้หวัน”


 


“ความชื่นชอบชาของผมเริ่มต้นตอนไปเกณฑ์ทหารแล้วมีรูมเมตเป็นเจ้าของไร่ชาที่อาหลี่ซาน ช่วงนั้นผมก็ได้เรียนรู้เรื่องชาจากเขาเยอะ ทั้งความแตกต่างของชาแต่ละประเภทและกระบวนการผลิตชา และเริ่มเห็นคุณค่าและความดีงามของชาไต้หวัน”

เมื่อก้าวเข้าสู่ Casa Formosa Taiwan Tea House ร้านชาเล็กๆ ในซอยวานิช 1 ที่มีเสน่ห์ดึงดูดใจตั้งแต่หน้าประตู เราก็สัมผัสได้ถึงบรรยากาศแสนเป็นมิตรและสงบผ่อนคลายผ่านการตกแต่งภายในด้วยแสงสีโทนอบอุ่นละมุนตาละมุนใจ พร้อมการต้อนรับจาก Larry Ko หนึ่งในพาร์ตเนอร์ชาวไต้หวัน ที่ทักทายเราด้วยภาษาไทยอย่างคล่องแคล่ว

แนะนำตัวกันพอหอมปากหอมคอ Larry ก็เล่าถึงเบื้องหลังการตกหลุมรักเครื่องดื่มชนิดนี้ให้ฟังและพาเราไปทำความรู้จักกับชาของร้าน 4 ชนิด ที่สอดแทรกประวัติศาสตร์ชาไต้หวัน 101 ไว้อย่างแนบเนียน เคล้าความหอมของใบชาในกาต้มซึ่งค่อยๆ ส่งกลิ่นลอยอบอวลไปทั่วทั้งร้าน


ชาชนิดแรกที่เราได้ลิ้มรสคือ ‘1869 Oolong’ ตัวเลขที่ปรากฏบนชื่อนั้นเป็นการรำลึกถึงคริสตศักราชที่ไต้หวันส่งออกชาอู่หลงคุณภาพพิเศษจำนวนกว่า 120,000 กิโลกรัมไปยังนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นครั้งแรก (ตรงกับ พ.ศ. 2412) ซึ่งเป็นการเดบิวต์ที่ประสบความสำเร็จของชาไต้หวันในเวทีโลก Larry จึงตัดสินใจเลือกชาอู่หลงตัวนี้ให้เป็นซิกเนเจอร์ของ Casa Formosa เพราะเปี่ยมไปด้วยเรื่องราวแห่งความภาคภูมิใจกว่า 150 ปี อีกทั้งยังมีรสชาติที่ดีด้วย


จากตัวละครสำคัญที่ทำให้ชาไต้หวันแจ้งเกิดในหลายประเทศ มาต่อที่ ‘Alishan Alpine Oolong’ กันบ้าง นอกจากส่งตรงมาจากไร่ของเพื่อนที่ Larry เอ่ยถึงข้างต้นแล้ว ชาชนิดนี้ยังแสดงถึงเอกลักษณ์ของชาไต้หวันที่พัฒนาจนแตกต่างจากชาจีนด้วย Larry เล่าว่าในอดีตคนพื้นถิ่นบนเกาะไต้หวันดื่มชาที่ทำจากพืชป่า ซึ่งมีรสและกลิ่นค่อนข้างฉุน แต่หลังการอพยพของคนชาติพันธุ์จีน ชาอู่หลงจึงเดินทางจากมณฑลฝูเจี้ยน ประเทศจีน มายังเกาะฟอร์โมซา ชื่อเดิมของดินแดนแห่งนี้ที่ได้รับการขนานนามจากชาวโปรตุเกส อันหมายถึงเกาะที่สวยงาม

แต่เดิมผู้คนในถิ่นกำเนิดชาชนิดนี้ไม่ได้ชื่นชอบชาอู่หลงบนภูเขาสูงมากนัก แต่ไต้หวันผลักดันชาประเภทนี้จนเป็นที่รู้จักและได้รับความนิยมในวงกว้าง รวมถึงคนในจีนแผ่นดินใหญ่ ชาอู่หลงบนภูเขาสูง (Alpine Oolong) ปลูกในระดับความสูงตั้งแต่ 1,000 เมตรเป็นต้นไป อย่างอู่หลงอาหลี่ซานที่เราได้ชิมนั้น ปลูกที่ความสูงประมาณ 1,500-2,000 เมตร ส่วนอู่หลงหลีซาน (Li Shan Alpine Oolong) ที่มีขายในร้านเช่นกัน มาจากภูเขาที่อยู่ตอนกลางของเกาะไต้หวัน บริเวณไถจง (Taichung) ฮวาเหลียน (Hualien) และหนานโถว (Nantou) ซึ่งสูงประมาณ 2,000-3,000 เมตร สิ่งแวดล้อมบนเขาไม่ว่าจะเป็นความหนาวเย็นหรือสภาพดิน ส่งผลต่อรสชาติของใบชาที่ชุ่มคอและซับซ้อนแตกต่างกันไป ซึ่งเป็นความโดดเด่นของชาไต้หวันชนิดนี้


‘เหวินซานเปาจ่ง’ (Wenshan Pouchong) เป็นชาที่ Larry ตั้งใจอย่างยิ่งที่จะนำเสนอให้คนไทยได้ลิ้มลอง โดยเขาพาเราย้อนความทรงจำไปยังช่วงที่เขามาเที่ยวในย่านเยาวราชแล้วผ่านเข้าไปในซอยเท็กซัส เขาบังเอิญได้พบกับป้ายเก่าแก่ที่ระบุข้อความเป็นภาษาจีนว่า ‘Taiwan Nangang Pouchong Cha’ (ชาเปาจ่งเขตหนานกั่ง ไต้หวัน) ซึ่งนอกจากจะแสดงให้เห็นว่าในอดีต หนานกั่ง ซึ่งเป็นเขตหนึ่งในไทเป เคยทำไร่ชาแล้ว ยังเป็นหลักฐานชัดเจนว่าในสมัยก่อนเยาวราชขายใบชาจากไต้หวันด้วย

และเมื่อตัดสินใจที่จะจริงจังกับการทำธุรกิจและกลับไปยังไต้หวันเพื่อศึกษาค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับชาให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น Larry ก็ได้พบอีกหนึ่งเครื่องยืนยันที่จัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ชาที่ไทเปและย้ำว่าไต้หวันเองก็เคยส่งชามายังประเทศไทย นั่นก็คือ ‘ชาใบพูซองทีเซนเต็ด ตราคาซ่า ฟอร์โมซา’ (Formosa Pouchong Tea (Simple)) เขาจึงใช้ข้อมูลทั้งหมดนี้เป็นแรงบันดาลใจเพื่อแสดงให้เห็นประวัติศาสตร์ของไต้หวันและไทยที่ผูกพันและเชื่อมโยงกันผ่านใบชา



หลังจิบชาตัวสุดท้ายอย่าง ‘Lu Gu Dong Ding Oolong’ ชาอู่หลงสุดคลาสสิกที่โดดเด่นด้วยกลิ่นคั่วหอมๆ แล้ว เราก็เข้าใจถึงความรู้สึกของ Larry เวลามีคนมาถามว่าชอบชาตัวไหนมากที่สุดได้ทันที เพราะแค่ 4 ชนิดที่เราได้ชิมยังมีคาแรกเตอร์เฉพาะที่ไม่ซ้ำกัน ไม่ว่าจะเป็นกลิ่น รสชาติขณะอยู่ในปาก และอาฟเตอร์เทสต์ ซึ่งแต่ละสไตล์ก็สร้างความประทับใจในแบบฉบับของตัวเอง สำหรับ Larry ที่หลงใหลในเครื่องดื่มชนิดนี้มากๆ และได้ลองชิมมาแล้วหลากหลายชนิด คงตัดสินใจได้ยากว่าจะยกตัวไหนให้เป็นที่หนึ่งในดวงใจ

ไม่เพียงเท่านั้น เรายังสัมผัสได้ถึง ‘แพสชั่น’ อันแรงกล้าของ Larry ที่ส่งผ่านลีลาและน้ำเสียงในการถ่ายทอดเรื่องราวของชาอย่างกระตือรือร้น ดังนั้นเมื่อเขาย้ายตัวเองจากเคาน์เตอร์ต้มชามานั่งด้วยกันกับเรา ก็ได้เวลาที่บทสนทนาเกี่ยวกับการสร้างแบรนด์ Casa Formosa เพื่อเผยแพร่ชาไต้หวันในเขตไชน่าทาวน์ของกรุงเทพฯ จะเริ่มต้นขึ้น


IIIi - การเดินทางของชาไต้หวันสู่ละแวกเยาวราช-ทรงวาด

Larry เป็นคนชอบเรียนภาษาและสนใจศึกษาด้านวัฒนธรรมท้องถิ่น สำหรับภาษาไทยเขาเริ่มเรียนตั้งแต่สมัยที่ยังอยู่ไต้หวันจนสื่อสารได้ลื่นไหลถึงขนาดเคยทำงานเป็นล่ามมาแล้ว หลังจากนั้นเขาเดินทางมาทำงานควบคู่ไปกับการเรียนปริญญาโทด้านบริหารธุรกิจและการโรงแรมในจังหวัดภูเก็ต การใช้ชีวิตในต่างแดนเต็มไปด้วยความสนุกสนานและน่าตื่นตาตื่นใจจนกระทั่งเกิดการระบาดของโรคโควิด-19 ความโดดเดี่ยว ความคิดถึงครอบครัวและบ้านเกิดจึงเกิดขึ้นในจิตใจอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ‘ชาไต้หวัน’ ที่พกติดตัวไว้ตลอดจึงเหมือนเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวที่ช่วยคลายความเครียดและความหวั่นไหวของ Larry ได้

“ตั้งแต่ที่ผมไปเกณฑ์ทหารกับเพื่อนคนนั้น ก็รู้สึกว่าถ้ามีโอกาสได้ไปเมืองนอก ผมอยากจะแชร์ชาไต้หวันให้คนต่างชาติได้รู้จักมากยิ่งขึ้น เพราะปัจจุบันผู้บริโภคชาไต้หวันส่วนใหญ่คือคนไต้หวัน คนไต้หวันผลิตชาและขายให้กลุ่มเป้าหมายหลักซึ่งก็คือคนไต้หวันด้วยกันเอง ไม่เหมือนสมัยก่อนที่ส่งออกไปค้าขายที่ต่างประเทศเป็นจำนวนมาก"

“แต่ตอนนั้นยังไม่ได้คิดจะทำธุรกิจ พอเจอโควิดช่วงที่เรียนและทำงานที่ไทย ต้องอยู่แต่ในห้อง เลยวิดีโอคอลคุยกับเพื่อนๆ ที่อยู่ทั่วโลก รวมถึงเพื่อนคนไต้หวันที่อยู่ในกรุงเทพฯ ซึ่งแต่ละคนก็ชงชาของตัวเองไปด้วย เหมือนเป็น tea party ทีนี้เรื่องหนึ่งที่คุยกันก็คือ ‘ทำไมกรุงเทพฯ ถึงไม่มีร้านชาเหมือนที่ไต้หวัน ที่ดู fancy และเข้าถึงวัยรุ่นได้’ ส่วนใหญ่ถ้าอยากดื่มชา ก็ต้องไปห้าง เข้าร้านชาฝรั่งที่เป็นเชนใหญ่ๆ แต่ทำไมไม่มีร้านชาจีนหรือชาไต้หวันที่เป็น tea house แบบจริงจังในกรุงเทพฯ"

"ซึ่งผมเองก็รู้สึกว่า เออ จริงด้วย”


หลังจากสถานการณ์ของโรคโควิด-19 เริ่มผ่อนคลายลง Larry จุดประกายไอเดียจากเรื่องราวที่คุยกับเพื่อนก่อนหน้านั้นและตัดสินใจจะเปิดร้านชาไต้หวันอย่างจริงจัง แต่ ‘ภูเก็ต’ คือโลเคชันแรกที่เขาเลือกพิจารณา เนื่องจากเป็นจังหวัดที่เขาใช้ชีวิตอยู่ บวกกับความชื่นชอบในบรรยากาศความเป็นเมืองเก่าที่แฝงวัฒนธรรมจีนฮกเกี้ยน ชวนให้นึกถึงความเป็นไต้หวันที่เขาคุ้นเคย ถึงอย่างนั้นเพื่อนชาวภูเก็ตกลับแนะนำว่าคอนเซปต์ธุรกิจของ Larry น่าจะเหมาะกับกรุงเทพฯ ซึ่งมีลูกค้าหลากหลายมากกว่า

แต่คำถามที่ตามมาคือ ‘ถ้าเป็นกรุงเทพฯ ร้านควรจะอยู่ที่ไหน’

“ผมคิดเยอะมากกับการทำแบรนด์นี้ เพราะต้องการให้แบรนด์ของเราเชื่อมโยงกับทุกสิ่งทุกอย่างให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ โจทย์หลักของผมเลยคือถ้าอยู่ที่กรุงเทพฯ ต้องเป็น ‘เยาวราช’ เพราะมีทุกสิ่งที่เราต้องการ อย่างแรกคืออยู่ใจกลางกรุงเทพฯ ทุกๆ วันจะมีทั้งคนไทยเชื้อสายจีนเข้ามาซื้อของ คนไทยสายมูเตลูเข้ามาไหว้พระไหว้เจ้า ส่วนชาวต่างชาติก็เข้ามาท่องเที่ยว สำหรับผมเยาวราชจึงเป็น Perfect Location"

“และที่สำคัญที่สุดคือมันมีความเชื่อมโยงกับสินค้าที่ผมจะขายด้วย นั่นก็คือชาไต้หวันและวัฒนธรรมไต้หวัน ที่นี่เป็นไชน่าทาวน์ คอมมูนิตี้ วัฒนธรรมท้องถิ่น และอะไรหลายๆ อย่างเลยใกล้เคียงกับความเป็นไต้หวัน บวกกับที่ผมไปเจอจากการศึกษาหาข้อมูลด้วย ก็ยิ่งอยากจะนำมาโชว์ให้คนไทยรู้ว่าสมัยก่อนชาไต้หวันก็เคยอยู่ในเยาวราช ผมเลยคิดว่าทั้งบรรยากาศท้องถิ่นและประวัติศาสตร์ชาระหว่างไทยกับไต้หวันก็สามารถเอามาผนวกและไปด้วยกันกับแบรนด์ของเราได้อย่างสมเหตุสมผล”

แม้โลเคชันหลักคือเยาวราช แต่ Larry ตัดถนนสายหลักที่ได้รับความนิยมออกก่อนเป็นอันดับแรก เพราะ Tea House ในความคิดของเขาต้องมีบรรยากาศเงียบสงบ จึงไม่เหมาะกับความวุ่นวายบนถนนเยาวราช

“เราอยากได้พื้นที่รอบๆ เยาวราช ก็เลยพยายามหาด้วยการขี่มอเตอร์ไซค์ไปทั่วเยาวราชเลย แล้วก็บังเอิญมาเจอ ‘ทรงวาด’”


ระหว่างที่เดินสำรวจทรงวาดไปเรื่อยๆ นั้น Larry ก็เกิดความรู้สึกว่าถนนสายนี้ที่เรียงรายไปด้วยอาคารโบราณสไตล์ชิโน-ยูโรเปียนและติดริมแม่น้ำเจ้าพระยา ให้บรรยากาศความเป็นเมืองเก่าคล้ายคลึงกับ ‘ต้าเต้าเฉิง’ (Dadaocheng) อดีตเมืองท่าสำคัญของไทเป ซึ่งตั้งอยู่ริมแม่น้ำตั้นสุ่ย

“shophouse แถวต้าเต้าเฉิงก่อสร้างและตกแต่งแบบหรูหราเหมือนอยู่ในยุโรป เพราะเป็นย่านการค้าที่เจริญเติบโตจากการขายชา ซึ่งเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญมากของไต้หวัน คนที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับชาในย่านนั้นตั้งแต่โรงชา ดีลเลอร์ ไปจนถึงคนขายใบชา สามารถสร้างตัวจนร่ำรวยเป็นเศรษฐีได้หมดเลยในสมัยนั้น ซึ่งก็มีประวัติศาสตร์คล้ายๆ กันกับทรงวาดที่มีเจ้าสัวมากมายที่ขายพืชผลทางการเกษตรที่นี่”

ถึงเจอย่านที่ใช่ แต่กลับไม่เป็นอย่างที่ฝัน เพราะตึกที่ปล่อยให้เช่าในย่านนี้มีไม่ค่อยเยอะ และในจำนวนที่ว่างนั้นก็มีขนาดพื้นที่ที่ไม่เหมาะสมกับ Tea House ในอุดมคติของ Larry ท้ายที่สุดก็มาลงเอยที่ซอยวานิช 1 จากการแนะนำของญาติของพาร์ตเนอร์คนหนึ่งในร้านที่รู้จักกับเจ้าของอาคารนี้ ซึ่งเพอร์เฟกต์ทั้งเลย์เอาต์ ขนาด และโลเคชันที่อยู่ใกล้ทั้งเยาวราชและทรงวาด


IIIi - พื้นที่เปิดสำหรับคนรักชาและต้องการเรียนรู้ความแตกต่างของชาไต้หวันและชาจีน

เราเข้าไปพูดคุยกับ Larry ที่ร้าน Casa Formosa ในวันพุธ ช่วง 11 โมงเช้า และอยู่ยาวไปจนถึงบ่าย 3 โมงกว่าๆ สังเกตเห็นว่าลูกค้ามีหลากหลายเชื้อชาติและเข้ามาอย่างต่อเนื่องในช่วงบ่าย และบางช่วงเวลาก็เต็มทั้งพื้นที่ชั้นล่างและชั้นลอย จากประสบการณ์ของเราเองที่เคยแวะไปใช้บริการของร้านก่อนหน้านี้

Larry เล่าว่าลูกค้าคนไทยส่วนใหญ่จะเข้าร้านหลังบ่ายโมง อาจเป็นเพราะคนไทยไม่ดื่มชาในตอนเช้า ตรงกันข้ามกับชาวยุโรปที่จะแวะมาทั้งช่วงเช้าและช่วงบ่ายหลังจากที่ท่องเที่ยวแถวเยาวราชจนเหนื่อยและต้องการพักผ่อนดื่มชายามบ่ายตามวัฒนธรรมของตัวเอง ส่วนลูกค้าชาวเอเชียก็มีทั้งจีน เกาหลี และตะวันออกกลาง รวมไปถึงญี่ปุ่น ซึ่งเป็นลูกค้ากลุ่มเป้าหมายของร้านเช่นเดียวกับคนไทย

เราคัดสรรชารสชาติดีมา ซึ่งลูกค้าก็ฟีดแบ็กว่าที่นี่เลือกชาได้โอเคเลย ส่วนคนไทยที่ชอบดื่มชา เขาก็บอกว่ารู้สึกดีที่มีร้านชาแบบเราเกิดขึ้นมา เพราะสมัยก่อนไม่ค่อยมีร้านชาที่มีพื้นที่ให้ลูกค้าเข้ามานั่งพูดคุยกัน ชงเองดื่มเองที่บ้านก็ไม่ได้บรรยากาศ มาที่ร้านมันได้ทั้งบรรยากาศ นัดเพื่อนหลายๆ คนมาเจอกันได้ รวมถึงได้รู้จักเพื่อนใหม่ๆ ด้วย และลูกค้าบางคนที่ชอบชงชาด้วยตัวเองและรู้วิธีชง เขาก็อยากจะเพิ่มความสนุกกับการดื่มด้วยการชงเอง ผมก็วางแผนที่จะเตรียมชุดชงชาไว้สำหรับคนกลุ่มนี้ ก็กำลังดูๆ จากไต้หวันอยู่ ”


อย่างไรก็ตามการนำเสนอวัฒนธรรมชาแบบนี้อาจจะไม่เป็นที่คุ้นเคยสำหรับชาวไทยหลายๆ คนที่ยังติดภาพความเป็นชาจีนมากกว่า

“ชาจีนต่างจากชาไต้หวันยังไง เพื่อให้เข้าใจง่ายมากขึ้น ผมจะอธิบายโดยเปรียบเทียบกับอาหารไทยที่แต่ละภูมิภาคมีรสชาติที่ต่างกัน ชาแต่ละพื้นที่ก็มีรสชาติที่ต่างกัน แม้ไต้หวันจะได้ชาจากจีนมา แต่ก็ถูกปรับ ถูกต่อยอดไปเป็นคาแรกเตอร์ในแบบฉบับของไต้หวันเองแล้ว

“ยกตัวอย่างเช่นชาอู่หลงทิกวนอิม เคยมีลูกค้าเข้ามาถามว่าทำไมทิกวนอิมที่เขาเคยซื้อเป็นใบชาสีเขียว แต่ร้านเราเป็นสีดำ เราเลยบอกเขาว่าทิกวนอิมต้นตำรับจริงๆ เป็นสีเข้มเหมือนของไต้หวัน แต่ในฝั่งจีนแผ่นดินใหญ่ เพื่อที่จะขายให้คนที่อยู่ทางภาคเหนือของจีน เช่น ปักกิ่ง คนขายชาในมณฑลฝูเจี้ยน ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของทิกวนอิม ก็ต้องปรับสูตรเป็นทิกวนอิมเขียวให้เข้ากับความชอบของประชากรส่วนใหญ่ในแถบนั้นที่ชอบดื่มชาเขียวมากกว่า ส่วนที่ไต้หวันชอบดื่มอู่หลงกันอยู่แล้ว เลยยังรักษาความเป็นต้นตำรับเอาไว้ แต่ชามันก็เหมือนแฟชั่นแหละ ปัจจุบันนี้ที่จีนก็เริ่มมีคนกลุ่มหนึ่งเอาทิกวนอิมแบบออริจินัลกลับมาแล้ว”


การเปิดร้านชาและมีโอกาสได้ให้ความรู้เกี่ยวกับความแตกต่างระหว่างชาจีนและชาไต้หวันเป็นเรื่องสนุกมากสำหรับ Larry และเขายินดีอย่างยิ่งที่จะตอบทุกคำถามที่ลูกค้าสงสัยหรือยังไม่มีความรู้ในด้านนี้ ขณะเดียวกันที่แห่งนี้ยังทำให้เขาได้เรียนรู้ด้วยว่าคนไทยรู้จักและเข้าใจชาไต้หวันมากกว่าที่เขาคิด

“เราเคยคิดว่าถ้าเจอลูกค้าขอใส่น้ำตาลลงในชา จะทำยังไง แต่ตั้งแต่เปิดร้านมาคือไม่มีเลย และจนถึงตอนนี้ที่เข้าเดือนที่ 4 แล้ว เราถึงได้เข้าใจว่าที่ผ่านมาเรามีภาพจำว่าคนไทยน่าจะชอบแบบนั้นแบบนี้ แต่จริงๆ มีกลุ่มคนไทยที่ดื่มชาสไตล์นี้อยู่แล้ว หลายๆ คนคุยกับเราเป็นภาษาจีนเลยว่าจะสั่งชาตัวไหนโดยที่เราไม่ต้องอธิบายว่าแต่ละตัวต่างกันยังไงหรือแต่ละตัวปลูกในพื้นที่ไหน หรือลูกค้าบางคนบอกได้ถึงขนาดว่าชาตัวนี้มาจากไร่ที่อยู่พื้นที่บริเวณไหนของไต้หวันเลย คือพวกเขาเข้าใจชาไต้หวันมากๆ”

หากนึกถึงชาไต้หวัน แน่นอนว่าสำหรับหลายๆ คน ชานมไข่มุกย่อมแล่นเข้ามาในหัวเป็นอันดับแรก อีกไม่นานนี้ Casa Formosa จะเพิ่มชานมในเมนูชาของตัวเอง ซึ่งเกิดจากการสังเกตพฤติกรรมลูกค้าที่มาใช้บริการในร้าน

“จริงๆ ชาที่เรานำเสนอในร้านมีแบบ takeaway ด้วย แต่คนสั่งน้อย เพราะลูกค้าชอบดื่มในร้านมากกว่า เราเลยเพิ่มสินค้าอื่นมาขายด้วย โดยเป็นชานมในแบบที่เราชอบเอง เลือกใบชาที่เราชอบมาทำชานม และไม่มีตัวเลือก เพราะเราไม่ได้จะทำตัวเองให้เหมือนร้านที่เป็น specialty ด้านชานมไข่มุก”



IIIi - ตัวตนที่ชัดและความเป็นชุมชนกับการสร้างแบรนด์ที่ยั่งยืน

Casa Formosa กำลังอยู่ในช่วงเรียนรู้และสั่งสมประสบการณ์ในโลกธุรกิจ การจะสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่งและพัฒนาต่อยอดไปได้อย่างยั่งยืนนั้น ‘แนวทางและคอนเซปต์ที่ชัดเจน’ จึงเป็นสิ่งสำคัญที่สุดสำหรับ Larry

“ทำไมลูกค้าต้องเลือกเรา เรามีอะไรที่พิเศษกว่าคนอื่นไหม อย่างที่นี่ชัดเจนมากเลยคือ ‘ชาไต้หวัน’ แต่บางทีลูกค้ามาถามหาผูเอ่อร์ ซึ่งเป็นชาที่ไต้หวันไม่มี ต้องนำเข้าจากยูนนาน ผมก็ต้องบอกลูกค้าว่าปัจจุบันที่นี่มีแต่ชาไต้หวัน ซึ่งเราสามารถคอนเฟิร์มได้ว่าชาไต้หวันของที่นี่โอเคมาก และนำเสนอสิ่งที่ลูกค้าคนนั้นน่าจะชอบ ถ้าเขาเปิดใจจะลองชาที่เขาไม่เคยดื่ม

“เมื่อคอนเซปต์แน่นและชัดเจน เวลาเราออกสินค้าแต่ละอย่าง เราจะคิดอยู่เสมอว่าสินค้านั้นเข้ากับร้าน เข้ากับแบรนด์ไหม อยู่ดีๆ เราจะเอาชาไทยมาขาย มันก็ไม่ใช่คาแรกเตอร์ของเราแล้ว หรือชานม เราก็เลือกที่เข้ากับตัวตนของแบรนด์เท่านั้นและต้องเป็นชาพรีเมียม”


ใครที่ติดตามความเคลื่อนไหวของ ‘คอมมูนิตี้ทรงวาด’ ก็น่าจะได้เห็น Larry และร้าน Casa Formosa ปรากฏตัวในกิจกรรมต่างๆ อยู่บ่อยครั้ง นั่นเป็นเพราะว่าในช่วงที่กำลังตามหาโลเคชันที่ถูกใจบนถนนทรงวาดนั้น Larry บังเอิญได้รู้จักกับ Myriam Rueda กราฟิกดีไซเนอร์ชาวสเปนเจ้าของสตูดิโอชื่อ MESA 312 Cultural Lab หรือถ้าจะให้ถูกต้องตามคำบอกเล่าของ Larry จริงๆ เลยก็คือเขาแปลกใจที่เห็นสตูดิโอของชาวตะวันตกบนถนนสายนี้ที่ ณ ขณะนั้นยังไม่คึกคักเท่าตอนนี้ เลยมองลอดประตูแอบดูจนเจ้าตัวเห็นและเรียกให้เขาเข้าไป

นอกจากจะพาชมสตูดิโอของตัวเองแล้ว Myriam ยังพา Larry ไปเจอกับ อุ๊ย-เกียรติวัฒน์ ศรีจันทร์วันเพ็ญ เจ้าของแกลเลอรี่ PLAY Art House ทำให้เขาได้รับความช่วยเหลือในหลายๆ ด้านจากคนในชุมชนนี้ และเข้าร่วมคอมมูนิตี้ที่เหล่าชาวย่านและผู้ประกอบการต่างๆ รวมกลุ่มกันเพื่อพัฒนาและสร้างชีวิตชีวาให้แก่ชุมชนนี้ผ่านการท่องเที่ยวตั้งแต่แรกเริ่ม นำไปสู่การมีโอกาสได้แชร์ความคิดเกี่ยวกับแบรนด์ของตัวเองที่น่าจะช่วยผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในย่านทรงวาดและดึงดูดคนรุ่นใหม่ให้สนใจร้านรวงบนถนนสายนี้มากยิ่งขึ้น

“ตอนแรกไม่ได้หวังว่าจะมีใครมาช่วย เพราะยังไงตัวเราเองต้องเข้มแข็งด้วยตัวเองให้ได้ก่อน แต่พอได้ร่วมงานกับคอมมูนิตี้ทรงวาดแล้ว ก็รู้สึกว่าจริงๆ คอมมูนิตี้ไม่ได้เป็นแค่ส่วนที่เสริมธุรกิจเราเท่านั้น แต่สามารถวางแนวทางให้ชุมชนมีเป้าหมายเดียวกันได้ด้วย ไม่ใช่แต่ละร้านต่างคนต่างทำ อย่างเมื่อกี๊มีลูกค้าเดินเข้ามาในร้านแต่ต้องการดื่มกาแฟ ผมก็นำเสนอร้านอื่นๆ ในย่านที่ขายกาแฟ เวลาลูกค้าไปถามร้านอื่นๆ ว่าแถวนี้มีอะไร ร้านนั้นเขาก็จะแนะนำร้านเราให้ด้วย ผมรู้สึกว่ามันเป็นมาร์เก็ตติ้งที่ดี ไม่ใช่ร้านใดร้านหนึ่งทำธุรกิจแค่ของตัวเอง แต่โตไปด้วยกัน และถ้าชุมชนนี้มีคนมาเที่ยวเยอะขึ้น มันก็จะวินวินไปด้วยกัน”

คอมมูนิตี้ทรงวาดมีแนวคิดที่เป็นจุดร่วมเดียวกันคือความชื่นชอบในวัฒนธรรมท้องถิ่นและไม่ต้องการเปลี่ยนบรรยากาศดั้งเดิมของท้องถิ่น เพราะฉะนั้นแต่ละร้านจึงมีหน้าที่ร่วมกันในการช่วยขับเคลื่อนชุมชนให้เป็นไปตามเป้าหมายดังกล่าว

“มันขึ้นอยู่กับว่าตัวคอมมูนิตี้เองมีความแอ็กทีฟมากพอไหมด้วย แต่ตัวผมเองชอบชุมชนที่เกิดจากการรวมตัวกันของคนในท้องถิ่นหรือเจ้าของธุรกิจมากเลยนะ เรารู้สึกว่ามันอบอุ่นมาก ถึงแต่ละร้านจะมีธุรกิจที่ไม่เหมือนกัน มีเป้าหมายของตัวเองที่ต้องสู้ต่างกัน แต่ทุกคนก็เป็นเพื่อนบ้านที่สามารถช่วยเหลือกันได้ ซึ่งก็จะช่วยให้ชุมชนอยู่รอดและเข้มแข็งได้ด้วย”


มากกว่าร้านชา คือการเป็นพื้นที่แลกเปลี่ยนวัฒนธรรมไทย-ไต้หวัน

“จริงๆ ตั้งแต่แรกเราวางแผนไว้แล้วว่าเราจะไม่ใช่แค่ Tea House ที่ขายชาเพียงอย่างเดียว”

ด้วยความชื่นชอบวัฒนธรรมและมักจะไปเข้าร่วมอิเวนต์ที่เกี่ยวกับวัฒนธรรมอยู่บ่อยครั้ง Larry จึงยึดสิ่งนี้เป็น core value ในการสร้างแบรนด์ Casa Formosa ด้วย

“ความชอบของพาร์ตเนอร์ทุกคนในแบรนด์นี้ไม่ได้หยุดอยู่แค่ชา เราอยากจะแลกเปลี่ยนความรู้ทางวัฒนธรรมกับคนไทย อยากจะเป็น Community Hub ที่ให้ความรู้ทั้งไต้หวัน จีนแผ่นดินใหญ่ และฮ่องกง เราอยากจะเป็นตัวกลางที่เปิดพื้นที่ให้คนไทยที่สนใจด้านวัฒนธรรมจีน ไม่ว่าจะในท้องถิ่นไหนๆ เข้ามาแล้วได้ข้อมูลที่ถูกต้องกลับไป หรือถ้าต้องการคำแนะนำหรืออยากจะศึกษาอะไรบางอย่างที่เกี่ยวกับจีน ก็สามารถเข้ามาพูดคุยได้ว่าอยากเรียนอะไร อยากรู้อะไร ถ้าเป็นไปได้ เราก็จะพยายามจัดกิจกรรมนั้นๆ ให้เกิดขึ้น”

ก่อนหน้านี้ Casa Formosa เคยนำงิ้วไต้หวันที่มีชื่อเสียงมาจัดแสดงที่ร้านให้ลูกค้าได้ชม อีกทั้งเคยจัดอิเวนต์ Casa Formosa Culture Salon โดยเชิญอาจารย์ประจำเอกจีนศึกษามาบรรยายเกี่ยวกับสงครามฝิ่น รวมถึงเรื่องราวของชาและการค้าระหว่างประเทศที่ส่งผลกระทบต่อจีน ไต้หวัน อังกฤษ อินเดีย และญี่ปุ่นด้วย สำหรับกิจกรรมต่อๆ ไป Larry วางแผนไว้ว่าจะเน้นที่เวิร์กช็อปมากขึ้น ตั้งแต่เวิร์กช็อปทำชาด้วยตัวเองพร้อมรับความรู้เกี่ยวกับชาในคราวเดียวสำหรับเทศกาลสำคัญต่างๆ เช่น วันแม่ ไปจนถึงเวิร์กช็อปสอนภาษาจีนท้องถิ่น เช่น ภาษาไต้หวัน หรือภาษากวางตุ้ง รวมทั้งอาจจะเชิญศิลปินไต้หวันและไทยมาทำกิจกรรมในร้านด้วย

“ในอนาคตผมอยากจะจัด walking tour ที่พาคนไทยหรือชาวต่างชาติเดินเที่ยวในเยาวราชและเล่าประวัติศาสตร์ชาระหว่างไต้หวันและเยาวราชด้วย เพราะเยาวราชมีเหตุการณ์มากมายที่เชื่อมโยงกับชาไต้หวัน”


 


Text:

Witthawat P.

Witthawat P.

PHOTO:

Chanathip K.

Chanathip K.

Related Posts