Body Dysmorphia

Body Dysmorphia

11 ก.ค. 2566

SHARE WITH:

11 ก.ค. 2566

11 ก.ค. 2566

SHARE WITH:

SHARE WITH:

Body Dysmorphia

เหตุผลที่คุณเข้ายิมออกกำลังกายคืออะไร?

บางคนก็อยากมีสุขภาพที่ดีขึ้น บางคนอยากวิ่งได้ไกลขึ้น บางคนอยากหุ่นดียิ่งขึ้น แต่ใช่ว่าการเข้ายิมดูแลรักษาหุ่นตัวเองจะไม่มีข้อเสียหรอกนะ รู้หรือไม่ว่าผู้คนบางส่วนที่หันมาดูแลสุขภาพ ออกกำลังกายเพื่ออยากจะหุ่นดี มีความเสี่ยงจะเป็น Body Dysmophia หรือจะบอกว่าเป็นโรคที่คนฟิตหุ่นต้องระวังก็ได้

เรามาทำความรู้จักกับโรคนี้กันก่อนดีกว่า Body Dysmorphic Disorder (BDD) หรือที่มักจะรู้จักกันในชื่อ Body Dysmorphia ถ้าแปลเป็นภาษาไทยก็ “โรคคิดว่าตนเองมีรูปร่างหรืออวัยวะผิดปกติ” เป็นภาวะที่ผู้ป่วยจะคิดตลอดเวลาว่าร่างกายหรือใบหน้าตัวเองไม่ปกติ เอาแต่หมกมุ่นอยู่กับเรื่องนี้จนกินไม่ได้ นอนไม่หลับ กังวลใจตลอดเวลา

ฟังดูเหมือนเป็นเรื่องเล็กน้อย จริงๆ แล้วมีหลายคนที่เสี่ยงจะเป็นโรคนี้ แต่ยังไม่รู้ตัวเองด้วยซ้ำ เมื่อไม่รู้ว่าตัวเองเป็น ผู้ป่วยมักจะไม่ได้ไปหาหมอทางจิตวิทยาเพื่อปรึกษา แต่มักจะหาทางแก้ไขทางอื่น อย่างเช่น การเสพติดศัลยกรรมจนเรื้อรัง หรือการใช้วิธีผิดๆ ในการดัดแปลงรูปร่างตัวเอง ไปจนถึงสุดท้ายที่โรคซึมเศร้าในที่สุด


ทางโรงพยาบาลวิภาวดีได้ให้ข้อมูลไว้ว่า สาเหตุที่แท้จริงยังไม่ทราบแน่ชัด แต่ก็มีข้อสันนิษฐานว่าน่าจะเกิดจาก โรคอารมณ์แปรปรวน โรคย้ำคิดย้ำทำ อยู่กับสังคมที่เน้นเรื่องความงาม มีปมเรื่องความไม่มั่นใจในผิว ใบหน้า หรือร่างกายตัวเอง แถมมักจะพบในคนโสดมากกว่าคนมีคู่อีกด้วย

ยิ่งในยุคที่ Social Media สามารถเข้าถึงได้ทุกที่ทุกเวลา เรามักจะเห็นคนที่หุ่นดี หน้าคม ไหล่ชัด มีซิกแพค ออกมาทำคอนเทนต์ ไม่ว่าจะเรื่องออกกำลังกาย หรือเรื่องเมคอัพก็ตาม ถึงแม้ว่าสังคมจะพยายามผลักดันเรื่องการยอมรับในร่างกายตัวเองแล้วก็ตาม หลายครั้งเราก็อดจะเอาตัวเองไปเทียบกับคนที่เขาไม่รู้จักเราด้วยซ้ำ ซึ่งคนเขียนก็เคยคิดอยู่บ่อยๆ เหมือนกัน


แล้วเราจะป้องกันการเกิดอาการนี้ได้อย่างไรล่ะ? อาจจะต้องมาเริ่มกันที่การปรับความคิดของตัวเองกันก่อนเลย มองจุดเด่นร่างกายเราให้บ่อยๆ มองจุดด้อยของร่างกายเราให้น้อยลง ไม่ก็ลองหาเพื่อนออกกำลังกายด้วยกันสิ เพราะบางทีเพื่อนจะเป็นคนช่วยให้การออกกำลังกายสนุกยิ่งขึ้น ได้ผลไวขึ้น และบางครั้งยังคอยให้กำลังใจ เอาเวลามาเครียดกับจุดด้อยของร่างกายเราน้อยลงอีกด้วย

การออกกำลังกายเพื่อหุ่นที่ดูดี และมีสุขภาพดี ไม่ได้เป็นเรื่องที่ทำได้ภายในช่วงเวลาข้ามคืนเท่านั้น มันต้องดูแลหุ่นกันเป็นปีๆ ถึงจะมีร่างกายที่ถูกใจ ถ้าจะให้บ่นแบบวัยบูมเมอร์ คงต้องโทษอินเทอร์เน็ตในยุคนี้ละมั้งที่ไม่ว่าอะไรๆ ก็เหมือนจะทันใจไปหมด จนบางครั้งผู้คนก็ไม่เคยชินกับการทำอะไรที่ต้อง ลงทุน ลงแรง และลงเวลามากๆ

ถ้าเริ่มคิดว่าตัวเองจะเข้าข่ายแล้วล่ะก็ ลองปรึกษาแพทย์เฉพาะทางด้านนี้ และลองทำแบบคัดกรองดู ก่อนที่จะตัดสินใจใดๆ น่าจะเป็นผลดีกับตัวเอง มากกว่าไปเลือกผ่าตัดศัลยกรรมที่บางครั้งทำออกมาก็ยังไม่พอใจอยู่ดีนะ เซฟเงินเซฟความเจ็บไปได้เยอะ

เหตุผลที่คุณเข้ายิมออกกำลังกายคืออะไร?

บางคนก็อยากมีสุขภาพที่ดีขึ้น บางคนอยากวิ่งได้ไกลขึ้น บางคนอยากหุ่นดียิ่งขึ้น แต่ใช่ว่าการเข้ายิมดูแลรักษาหุ่นตัวเองจะไม่มีข้อเสียหรอกนะ รู้หรือไม่ว่าผู้คนบางส่วนที่หันมาดูแลสุขภาพ ออกกำลังกายเพื่ออยากจะหุ่นดี มีความเสี่ยงจะเป็น Body Dysmophia หรือจะบอกว่าเป็นโรคที่คนฟิตหุ่นต้องระวังก็ได้

เรามาทำความรู้จักกับโรคนี้กันก่อนดีกว่า Body Dysmorphic Disorder (BDD) หรือที่มักจะรู้จักกันในชื่อ Body Dysmorphia ถ้าแปลเป็นภาษาไทยก็ “โรคคิดว่าตนเองมีรูปร่างหรืออวัยวะผิดปกติ” เป็นภาวะที่ผู้ป่วยจะคิดตลอดเวลาว่าร่างกายหรือใบหน้าตัวเองไม่ปกติ เอาแต่หมกมุ่นอยู่กับเรื่องนี้จนกินไม่ได้ นอนไม่หลับ กังวลใจตลอดเวลา

ฟังดูเหมือนเป็นเรื่องเล็กน้อย จริงๆ แล้วมีหลายคนที่เสี่ยงจะเป็นโรคนี้ แต่ยังไม่รู้ตัวเองด้วยซ้ำ เมื่อไม่รู้ว่าตัวเองเป็น ผู้ป่วยมักจะไม่ได้ไปหาหมอทางจิตวิทยาเพื่อปรึกษา แต่มักจะหาทางแก้ไขทางอื่น อย่างเช่น การเสพติดศัลยกรรมจนเรื้อรัง หรือการใช้วิธีผิดๆ ในการดัดแปลงรูปร่างตัวเอง ไปจนถึงสุดท้ายที่โรคซึมเศร้าในที่สุด


ทางโรงพยาบาลวิภาวดีได้ให้ข้อมูลไว้ว่า สาเหตุที่แท้จริงยังไม่ทราบแน่ชัด แต่ก็มีข้อสันนิษฐานว่าน่าจะเกิดจาก โรคอารมณ์แปรปรวน โรคย้ำคิดย้ำทำ อยู่กับสังคมที่เน้นเรื่องความงาม มีปมเรื่องความไม่มั่นใจในผิว ใบหน้า หรือร่างกายตัวเอง แถมมักจะพบในคนโสดมากกว่าคนมีคู่อีกด้วย

ยิ่งในยุคที่ Social Media สามารถเข้าถึงได้ทุกที่ทุกเวลา เรามักจะเห็นคนที่หุ่นดี หน้าคม ไหล่ชัด มีซิกแพค ออกมาทำคอนเทนต์ ไม่ว่าจะเรื่องออกกำลังกาย หรือเรื่องเมคอัพก็ตาม ถึงแม้ว่าสังคมจะพยายามผลักดันเรื่องการยอมรับในร่างกายตัวเองแล้วก็ตาม หลายครั้งเราก็อดจะเอาตัวเองไปเทียบกับคนที่เขาไม่รู้จักเราด้วยซ้ำ ซึ่งคนเขียนก็เคยคิดอยู่บ่อยๆ เหมือนกัน


แล้วเราจะป้องกันการเกิดอาการนี้ได้อย่างไรล่ะ? อาจจะต้องมาเริ่มกันที่การปรับความคิดของตัวเองกันก่อนเลย มองจุดเด่นร่างกายเราให้บ่อยๆ มองจุดด้อยของร่างกายเราให้น้อยลง ไม่ก็ลองหาเพื่อนออกกำลังกายด้วยกันสิ เพราะบางทีเพื่อนจะเป็นคนช่วยให้การออกกำลังกายสนุกยิ่งขึ้น ได้ผลไวขึ้น และบางครั้งยังคอยให้กำลังใจ เอาเวลามาเครียดกับจุดด้อยของร่างกายเราน้อยลงอีกด้วย

การออกกำลังกายเพื่อหุ่นที่ดูดี และมีสุขภาพดี ไม่ได้เป็นเรื่องที่ทำได้ภายในช่วงเวลาข้ามคืนเท่านั้น มันต้องดูแลหุ่นกันเป็นปีๆ ถึงจะมีร่างกายที่ถูกใจ ถ้าจะให้บ่นแบบวัยบูมเมอร์ คงต้องโทษอินเทอร์เน็ตในยุคนี้ละมั้งที่ไม่ว่าอะไรๆ ก็เหมือนจะทันใจไปหมด จนบางครั้งผู้คนก็ไม่เคยชินกับการทำอะไรที่ต้อง ลงทุน ลงแรง และลงเวลามากๆ

ถ้าเริ่มคิดว่าตัวเองจะเข้าข่ายแล้วล่ะก็ ลองปรึกษาแพทย์เฉพาะทางด้านนี้ และลองทำแบบคัดกรองดู ก่อนที่จะตัดสินใจใดๆ น่าจะเป็นผลดีกับตัวเอง มากกว่าไปเลือกผ่าตัดศัลยกรรมที่บางครั้งทำออกมาก็ยังไม่พอใจอยู่ดีนะ เซฟเงินเซฟความเจ็บไปได้เยอะ

Text:

Nitipon S.

Nitipon S.

PHOTO:

Courtesy of Sven Micke

Courtesy of Sven Micke

Related Posts