สำรวจชีวิต บิลลี่ - วรกร ฤทัยวาณิชกุล ผ่านภาพยนตร์

สำรวจชีวิต บิลลี่ - วรกร ฤทัยวาณิชกุล ผ่านภาพยนตร์

15 ก.ย. 2566

SHARE WITH:

15 ก.ย. 2566

15 ก.ย. 2566

SHARE WITH:

SHARE WITH:

สำรวจชีวิต บิลลี่ - วรกร ฤทัยวาณิชกุล ผ่านภาพยนตร์

“เรารู้สึกว่าตัวเองชอบดูหนัง เพราะมันคือสื่อที่ดีที่สุดในการถ่ายทอดชีวิตมนุษย์ เพราะเรารู้สึกว่ามันจะไม่มีโอกาสที่เราจะได้นั่งจ้องหน้าคน นั่งสังเกตการณ์คนแบบต่อเนื่องสองชั่วโมงในชีวิตจริงอย่างมีสมาธิ” บิลลี่ - วรกร ฤทัยวาณิชกุล เริ่มเล่าเรื่องราวจุดเริ่มต้นความสนใจของเส้นทางอาชีพในสายภาพยนตร์

ความเนิร์ดทำหนังเป็นเส้นทางนำบิลลี่ไปสู่บทเรียนบทใหม่บทใหญ่ คือการเป็นโปรดิวเซอร์ร่วมของภาพยนตร์ ‘Thirteen Lives สิบสามชีวิต’ ที่ฉายบน Prime Video ไปเมื่อปีที่แล้ว บิลลี่ให้เหตุผลของการเรียกภาพยนตร์ว่า Soft Power จากกระบวนการทำงานทั้งหมดที่เขาได้สัมผัสด้วยตัวเอง


“โปรเจกต์ภาพยนตร์เรื่องนี้ทำให้เราเห็นภาพใหญ่ในระดับการส่งเสริมของรัฐบาลเหมือนกัน ในตอนนั้นกองถ่ายไม่สามารถเข้ามาถ่ายทำในประเทศไทยได้จากวิกฤติการณ์โควิด ขณะเดียวกันรัฐบาลของรัฐควีนส์แลนด์ ออสเตรเลีย ก็มีการส่งเสริมทุนในการผลิตภาพยนตร์เรื่องนี้มูลค่ารวมๆ ประมาณ 300 ล้าน ในลักษณะของส่วนลดทางภาษี”

“จากกองภาพยนตร์เรื่องเดียว ก่อให้เกิดการจ้างงานหลายร้อยคน อย่างฉากของความชุลมุนวุ่นวาย เขาต้องเกณฑ์คนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของทั้งรัฐมาร่วมเข้าฉากกันประมาณ 500 คน พอได้เห็นโปรเจกต์สเกลนี้ มีอิมแพกต์กับเศรษฐกิจท้องถิ่นระดับนี้ ทำให้เราเข้าใจว่า ทำไมหลายๆ ชาติถึงส่งเสริมอุตสาหกรรมภาพยนตร์ เพราะมันเป็นอุตสาหกรรมที่ก่อให้เกิดการจ้างงานเยอะมาก แล้วด้วยความที่ภาพยนตร์เป็น Soft Material ที่ไปฉายที่ไหนก็ได้ นี่แหละมันคือ Soft Power”

แต่กว่าเขาจะเดินทางไปถึงจุดนั้นได้ ต้องผ่านช่วงเวลาของการค้นหาอะไรบางอย่าง มวลของความรู้สึกที่แตกต่างหลากหลาย ทางแยกของการตัดสินใจ แต่บิลลี่ฝากข้อให้คิดหลังจากเดินทางมาถึง​ ณ ขณะนี้ว่า “เราหลงทางได้แต่ต้องออกไปทำอะไรซักอย่างด้วย อย่านั่งอยู่เฉยๆ เพราะสุดท้ายมันจะไม่เกิดอะไร แล้วคุณก็จะไม่รู้อยู่ดีว่า อะไรที่ทำให้คุณมีความสุข ถ้ามัวแต่นั่งคิดแล้วไม่ได้ลองทำ”

  

IIIi - ความฝันสู่ต่างประเทศ โดยมีภาพยนตร์เป็นผู้นำทาง

บิลลี่เกิดในครอบครัวของชนชั้นกลางที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจในยุคต้มยำกุ้ง จากชีวิตในโรงเรียนนานาชาติพลิกผันมาสู่การเรียนโรงเรียนวัด สังคมที่เปลี่ยนไปเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เขาได้เห็นสังคมที่หลากหลาย “รู้สึกว่าในความไม่ดี มันก็คงมีมุมที่เรามองว่า ทุกอย่างที่เกิดขึ้นแล้วมันก็คงดีเสมอ”

เขาพยายามผลักดันตัวเองโดยใช้ ‘การศึกษา’ เป็นเครื่องมือทั้งกับการเรียนในห้องเรียน การทำกิจกรรมในห้องเรียน และการไขว่คว้าหาโอกาสไปต่างประเทศ ในช่วงมัธยมปลาย เขาสอบผ่านข้อเขียนของ AFS แต่เพราะคิดไปว่าถึงสอบผ่านสัมภาษณ์ก็ไม่มีทุนไปอยู่ดี เลยกลายเป็นความฝังใจว่าจะต้องไปตามฝันที่ต่างประเทศให้ได้ ความฝันนี้ยังคงติดอยู่จนเข้าเรียนมหาวิทยาลัยในสาขาภาพยนตร์และดิจิทัล มีเดีย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และได้รับทุนแลกเปลี่ยนไปศึกษาต่อที่เยอรมันเป็นเวลา 3 เดือน

 “ตอนนั้นคือการไปต่างประเทศเวอร์ชั่นโตแล้วครั้งแรก สองเดือนแรกเราก็เรียน แต่เดือนสุดท้ายทั้งเดือนเราตัดสินใจหนีเที่ยวแบ็กแพ็กยุโรป 9 ประเทศกับเพื่อน เรารู้สึกว่าได้เปิดโลกมาก เราเห็นวัฒนธรรม บ้านเมือง ผู้คนที่ไม่เหมือนกับสิ่งที่เราเคยเห็นมาหรือจากอินเตอร์เน็ต ทำให้เราได้เรียนรู้อะไรหลายๆ อย่างโดยเฉพาะการเอาตัวรอด และหัวเรื่องที่สนใจคือศิลปวัฒนธรรม และการจัดการความรู้ทางศิลปะ ตรงนั้นเป็นจุดที่ทำให้เราสนใจในการทำงานที่ข้ามวัฒนธรรม”

 

เมื่อรวมกับความสนใจในการชมภาพยนตร์ World Cinema หรือภาพยนตร์นานาชาติ “เราไม่ได้ดูหนังเพื่อความบันเทิง แต่เราชอบดูหนังเพราะว่ามันกระตุ้นความคิดได้ แล้วก็หลายๆ ครั้งที่หนังอินดี้มันพูดถึงความเว้าแหว่งของชีวิตมนุษย์หรือคนที่เติมไม่เต็ม เลยรู้สึกว่าหนังมันมีพลังในตรงนี้” นั่นทำให้เขาเดินสายในการพัฒนาตัวเองผ่านโลกภาพยนตร์ต่อ จนกระทั่งเขาเลือกทำศิลปนิพนธ์เป็นหนังทดลองยาว 1 ชั่วโมง ซึ่งนับว่ายาวมากสำหรับหนังนักศึกษา แต่เขาใช้สิ่งนี้ในการแสดงออกถึงตัวตน ความคิดความรู้สึก และเป็นเครื่องเยียวยาจิตใจในช่วงที่คุณแม่ป่วยหนัก

“เอาจริงๆ ผมทำธีสิสเหมือนว่าเป็นการเยียวยาตัวเอง เพราะตอนนั้นผมทราบว่าคุณแม่ป่วยเรื้อรัง ก็เท่ากับว่าเวลาของคุณแม่อาจจะเหลืออีกไม่นาน ตอนนั้นคิดอะไรไม่ออกก็เลยรู้สึกว่าทำเรื่องที่มันอยู่ในหัวของเราแล้วกัน ผมตามถ่ายฟุตเทจของที่บ้าน คุณแม่และครอบครัวเป็นเวลา 6 เดือน หลังจากได้เอามารีวิวทั้งหมด แล้วเขียนบทเพิ่มเติมจากฟุตเทจสารคดีที่ถ่ายมา แล้วก็ชวน พี่อู - ณัฐญา นาคะเวช นักแสดงละครเวที และ กันต์ ชุณหวัตร มาแสดงในส่วนอดีตที่เกิดขึ้นไปแล้ว”

ที่บอกว่าเป็นการเยียวยาตัวเอง เพราะการทำหนังมีขั้นตอนตั้งแต่เตรียมการถ่ายทำ ระหว่างถ่ายทำ และหลังการถ่ายทำ เท่ากับว่าคุณต้องเรียบเรียงเรื่องที่คุณจะเล่าถึงสามครั้งด้วยกัน แปลว่าในการที่เราทำหนัง โดยเฉพาะการที่เราเลือกทำหนังที่เป็นเรื่องส่วนตัว เราจะต้องคิดทบทวนกับเรื่องที่มันเป็นปมของเรา แล้วเอามันมากางออกมาให้เป็นไทม์ไลน์เส้นตรง มันทำให้เข้าใจชีวิตตัวเอง ณ ขณะนั้นได้ดีขึ้น"

"แล้วพอเราได้ทำกระบวนการนี้ไปแล้วครั้งนึง ต่อๆ ไป เวลาเรามีสิ่งที่หาทางออกไม่ได้ เราก็อาจจะใช้กระบวนการในลักษณะนี้แต่ว่าถ่ายทอดออกมาในแบบอื่น เป็นการเขียนก็ได้ หรือว่าการวาดรูป พอเราได้ลองถ่ายทอดซักครั้งเราจะจับฟีลลิ่งได้ และดูแลจิตใจตัวเองเป็น ผ่านการสื่อสารออกมาในรูปแบบศิลปะ”

 

IIIi - ไปไกลกับภาพยนตร์ ไปต่อกับภาพยนตร์​

ภาพยนตร์เรื่องนี้ไปไกลกว่าการเป็นศิลปะนิพนธ์ด้วยโปรแกรมการจัดฉายคู่กับ เจ้ย อภิชาติพงศ์ แล้วออกเดินทางไปฉายรอบพรีเมียร์ที่เทศกาล Vancouver International Film Festival แคนาดา, BFI London Film Festival อังกฤษ, เข้าโปรแกรมประกวดสายสารคดีที่ Torino Film Festival อิตาลี เข้ามาในเอเชียที่อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ แล้วค่อยกลับมายังประเทศไทย

“ตัวเราเองก็ได้ตามไปกับหนังของเราในทุกๆ ประเทศที่ว่ามา เราก็เลยยิ่งรู้สึกว่า การที่เราได้ไปเทศกาลต่างๆ ได้ไปฉายงานของเรา ได้ไปพบปะกับคนที่ดูงานของเราแล้วสนใจในเรื่องที่เราเล่า ได้เจอกับเน็ตเวิร์กของคนที่ทำงานให้กับเทศกาลเหล่านั้นที่เขาให้คุณค่ากับภาพยนตร์ คือสิ่งที่เราสนใจ”

“เราเลยรู้สึกว่าที่ทางของเราเนี่ยมันมีอยู่ในโลก ถ้ามันไม่ได้อยู่ในประเทศไทย แต่ว่าในประเทศอื่นมันมี ก็เลยพยายามที่จะพัฒนาตัวเองในเรื่องของการสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษ หรือการใช้ศิลปะ Visual Artเพราะรู้สึกว่าศิลปะข้ามกำแพงภาษาได้”

 

หลังจากเรียนจบ แน่นอนกว่าการทำงานในวงการหนังคือเส้นทางที่บิลลี่เลือกเดินต่อ “ตอนนั้นรุ่นพี่เปิดโปรดักชันเฮาส์ชื่อ Hello Filmmaker ตอนนั้นก็รวมตัวกันแบบหลวมๆ เราเลยขอทำงานบริหาร เพราะเราอยากเข้าใจในเชิงของธุรกิจมากขึ้น และอยากที่จะริเริ่มโปรเจกต์ใหม่ๆ ที่เป็นผลงานของ Hello เอง”

รูปแบบงานที่หลากหลาย ตั้งแต่เริ่มต้นการเป็นโปรดักชันเฮาส์ ทำงานสายคอมเมอเชียล สู่การทำผลงานของตัวเองทั้งมิวสิกวิดีโอของ smallroom และงานใหญ่อย่างภาพยนตร์ OMG รักจังวะผิดจังหวะ เป็นโอกาสของการผนวกทักษะของการเล่าเรื่องแบบโฆษณากับการทำหนังเข้าด้วยกัน เมื่อรวมกับเน็ตเวิร์กต่างๆ ที่เคยเข้าร่วมผ่านกิจกรรมในพื้นที่สำหรับนักทำหนังหน้าใหม่ในหลากหลายภูมิภาคของโลกเหมือนเป็นการลับคมศักยภาพที่โดดเด่น และนี่เป็นโอกาสสำคัญที่ทำให้เขาได้เข้าร่วมโปรเจกต์ระดับโลกอย่างภาพยนตร์ ‘Thirteen Lives สิบสามชีวิต’ จากฝีมือผู้กำกับ รอน ฮาวเวิร์ด โดยมี เรย์มอนด์ พัฒนวีรางกูล ซึ่งเป็นโคโปรดิวเซอร์ เป็นผู้ชักชวนเข้ามาร่วมโปรเจกต์นี้


“ด้วยความที่พี่เรย์มอนด์ไม่ได้เติบโตที่ประเทศไทยเลยต้องการหาผู้ช่วยโปรดิวเซอร์ที่สามารถช่วยเติมเต็มในเรื่องของการให้ข้อมูลและรายละเอียดเกี่ยวกับวัฒนธรรมท้องถิ่น ซึ่งตัวเราเองด้วยความสนใจในเรื่องวัฒนธรรม และแบ็กกราวนด์ของเราที่เคยทำกำกับมา ทำให้เราก็มีโอกาสได้ช่วยคุณรอน ตั้งแต่ขั้นตอนการคัดเลือกนักแสดงที่เป็นทั้งเด็กและผู้ใหญ่ การทำเวิร์กช็อปเตรียมให้น้องๆ พร้อมสำหรับการเข้าฉาก เพราะหลายๆ คนก็ไม่ได้มีพื้นฐานการแสดงมาก่อน ซึ่งก็กลายเป็นว่าตอนที่ถ่ายทำจริงก็ได้ช่วยคุณรอนกำกับไปโดยปริยาย ซึ่งเขาก็เชื่อใจเรา ไม่งั้นก็คงไม่ให้เรารับผิดชอบอะไรขนาดนี้”

จากภาพยนตร์เรื่องนี้มอบประสบการณ์ชิ้นโตให้กับเขา ให้เขาได้มองเห็นโลกภาพยนตร์ที่กว้างกว่าแค่การถ่ายทอดความคิดความรู้สึก แต่เป็นการเล็งเห็น Business Mindset หรือแนวคิดแบบธุรกิจในโลกภาพยนตร์ ที่จะทำให้อุตสาหกรรมภาพยนตร์เติบโตได้อย่างยั่งยืนและเป็น Soft Power ได้จริง

  

IIIi - ภาพยนตร์ไทย กับที่ทางในโลกภาพยนตร์

ภาพยนตร์ ‘Thirteen Lives สิบสามชีวิต’ เป็นตัวอย่างที่ดีของการโคจรมาพบกันระหว่างความเป็นท้องถิ่นอย่างเรื่องราวที่เกิดขึ้นที่เชียงราย กับการทำภาพยนตร์ในระดับนานาชาติ นั่นเป็นเพราะการที่แพลตฟอร์มสตรีมมิ่งกำลังให้ความสำคัญกับตลาดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มากขึ้น

“ในพื้นที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ต้องยอมรับว่าเป็นพื้นที่ที่ยังไม่ได้ถูกสำรวจมากนัก ยังเป็นตลาดที่มีโอกาสทางการตลาดสูง ด้วยประชากรประมาณ 700 ล้านคน หรือถ้าขีดเส้นรัศมีออกไป 3,300 กิโลเมตร มันเป็นวงกลมที่มีคนอยู่เยอะที่สุดในโลก ยังมีเรื่องค่าแรงที่ไม่สูงมาก เลยเป็นสิ่งที่ทำให้แพลตฟอร์มต่างๆ พยายามเข้ามาช่วงชิงตลาดตรงนี้มากขึ้น แต่เวลาที่เขาจะทำคอนเทนต์ เขาไม่ได้เสิร์ฟตลาดในท้องถิ่นอย่างเดียว เพราะด้วยความที่เป็นแพลตฟอร์มที่มีฐานคนดูทั่วโลก จึงพยายามมองหาคนทำหนัง หรือซีรีส์ที่มีการเล่าเรื่องที่เป็นอินเตอร์ได้ เข้าถึงคนได้มากกว่าแค่ตลาดเมืองไทย”


เขาให้ทรรศนะถึงวงการภาพยนตร์และซีรีส์ไทยที่กำลังเดินทางไปได้สวยในตลาดสตรีมมิ่งระดับโลก

มีหนังก็ต้องมีคนดู ไม่งั้นมันก็โตยาก อย่างโอกาสที่ทำงานกับแพลตฟอร์มนานาชาติ มันคือการที่มีเงินทุนจากต่างประเทศเข้ามาทดลองทำคอนเทนต์ภาษาไทย แต่เขาคงไม่ได้อยู่ทำไปตลอดถ้าการลงทุนไม่เห็นผล แต่จากความสำเร็จของงานนักทำหนังไทย อย่าง Hunger หรือ Delete มันก็สามารถนำตัวเองไปสู่การที่มีคนดูจำนวนมากในตลาดโลกได้ ก็เท่ากับว่าอันนี้มันก็เป็นสัญญาณที่ดีว่ามันจะมีการสร้างคอนเทนต์ภาษาไทยจากแพลตฟอร์มในระดับนี้ยังมีอยู่”

แต่ที่สำคัญไม่แพ้กัน ธุรกิจเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องคิดคู่กันไปกับความน่าสนใจของเนื้อหา “อย่างเคสของ Squid Game พอมีความสำเร็จระดับโลก นักทำหนังของเกาหลีก็เริ่มมีอำนาจต่อรองต่อแพลตฟอร์มเหล่านี้มากขึ้น สุดท้ายการดีลธุรกิจมันเป็นเรื่องของการตกลง แปลว่ามันไม่มีสูตรสำเร็จตายตัว มันอยู่ที่ว่าคุณต่อรองได้แค่ไหน แล้วเขาประเมินดีลนี้ว่าสำคัญแค่ไหน ถ้าเกิดคุณมีอำนาจต่อรองคุณก็คงจะได้ดีลที่ดี อันนี้เป็นแง่มุมของทางธุรกิจที่ต้องใช้เวลาในการเรียนรู้ และเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับการเป็นโปรดิวเซอร์”


แต่การจะก้าวเดินไปข้างหน้า ก็ต้องไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง “สวัสดิการขั้นพื้นฐานของคนทำงานกองถ่าย ควรจะได้นอน” บิลลี่พูดถึงเรื่องจริงยิ่งกว่าจริง “ตอนทำงานที่ออสเตรเลียจะมีกฎของการวนรอบ 10 ชั่วโมง นับจากตอนที่คุณเลิกกองต้องเว้นไป 10 ชั่วโมงถึงจะเรียกกองได้ เพื่อเผื่อเวลาให้เวลาได้เก็บของกลับบ้านได้นอน จะได้กลับมาทำงานแบบสดชื่น และได้คุณภาพ หรือการทำงานกับเด็ก เด็กจะต้องพักทุก 1 ชั่วโมง และจะต้องมีคนดูแลมาคอยประกบตลอดเวลา เพราะว่าเขาจะเคารพสิทธิของเด็กมาก อย่างผมเองก็ต้องมีการตรวจสอบจากตำรวจก่อนถึงจะได้อยู่ใกล้เด็ก”

หากมองในภาพใหญ่เชิงนโยบายสาธารณะแล้ว ยังอาจจะเป็นเรื่องยากที่วงการภาพยนตร์ไทยจะก้าวตามทัน ทั้งเรื่องข้อกำหนดทางด้านกฎหมายหรืออำนาจที่กีดกันเราอยู่ “ตอนนี้สิ่งที่ทำเองได้โดยไม่ต้องรอพึ่งรัฐบาล คือการที่ทำงานร่วมกับแพลตฟอร์มนานาชาติ ทำงานที่ได้รับการยอมรับในระดับโลกให้ได้ คือสร้างแบรนด์ผ่านการทำงานของตัวเองในฐานะคนทำงาน เพื่อที่สร้างคุณค่าให้กับชื่อของตัวเองและโปรเจกต์ในอนาคตของคุณ จะได้มีอำนาจต่อรองที่ดีขึ้น”

 

บิลลี่ในวันนี้ที่กลับมาอยู่เมืองไทยแบบถาวร และเติบโตขึ้นผ่านการโลดแล่นบนโลกโดยมีภาพยนตร์เป็นผู้นำทาง เขากลับมาเป็นหัวหน้าครอบครัวเพื่อดูแลสมาชิกทั้งคุณพ่อและน้องๆ ต่อ

“อันนี้มันจะต่างจากช่วงเรายี่สิบกว่าๆ เพราะตอนนั้นเราก็ต้องทำงานซัปพอร์ตที่บ้านบางส่วนเหมือนกัน แต่ตอนนั้นทำแบบไม่ได้เต็มใจทำ รอบนี้ต่างออกไปเพราะว่ากลับมาด้วยการตัดสินใจของตัวเอง เพราะเอาจริงๆ ในแง่การมองเรื่องสายอาชีพ เรามีต้นทุนที่อยู่ที่เมืองไทยพอสมควร และมีเครดิตในการร่วมโปรเจกต์ระดับโลกนี้ มันก็สามารถต่อยอดกับต้นทุนที่เรามีที่เมืองไทยได้อีก” 

“ผมใช้ชีวิตสันโดษมากขึ้นนะ” บิลลี่เรียบเรียงชีวิตตัวเองผ่านบทสรุปแบบง่ายๆ “จากคนที่พยายามแอ็กทิฟ สร้างตัวตน เพราะลึกๆ แล้วเราขาด แต่สุดท้ายแล้วเราค้นพบว่าสิ่งที่เราต้องการคือ การที่เราได้ดูแลครอบครัว กับคนที่อยู่แวดล้อมตัวเรา ได้ทำงานร่วมกับพี่ๆ ที่ Hello Filmmaker ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่เรารัก นี่ต่างหากเป็นสิ่งที่เราต้องการ”

“และสุดท้าย ชีวิตคนเรามันสั้นมาก พอคุณแม่ผมเสีย ผมก็มีมุมมองในโลกที่เปลี่ยนไป เพราะคนเราตายจากกันได้ทุกเมื่อ ผมก็พยายามจะไม่อารมณ์เสียใส่ใคร และคิดว่าในทุกๆ ครั้งที่เจอกัน อาจจะเป็นครั้งสุดท้ายที่ได้เจอกันก็ได้ มอบพลังงานดีๆ ให้แก่กันได้ในทุกวันไปเถอะ”



“เรารู้สึกว่าตัวเองชอบดูหนัง เพราะมันคือสื่อที่ดีที่สุดในการถ่ายทอดชีวิตมนุษย์ เพราะเรารู้สึกว่ามันจะไม่มีโอกาสที่เราจะได้นั่งจ้องหน้าคน นั่งสังเกตการณ์คนแบบต่อเนื่องสองชั่วโมงในชีวิตจริงอย่างมีสมาธิ” บิลลี่ - วรกร ฤทัยวาณิชกุล เริ่มเล่าเรื่องราวจุดเริ่มต้นความสนใจของเส้นทางอาชีพในสายภาพยนตร์

ความเนิร์ดทำหนังเป็นเส้นทางนำบิลลี่ไปสู่บทเรียนบทใหม่บทใหญ่ คือการเป็นโปรดิวเซอร์ร่วมของภาพยนตร์ ‘Thirteen Lives สิบสามชีวิต’ ที่ฉายบน Prime Video ไปเมื่อปีที่แล้ว บิลลี่ให้เหตุผลของการเรียกภาพยนตร์ว่า Soft Power จากกระบวนการทำงานทั้งหมดที่เขาได้สัมผัสด้วยตัวเอง


“โปรเจกต์ภาพยนตร์เรื่องนี้ทำให้เราเห็นภาพใหญ่ในระดับการส่งเสริมของรัฐบาลเหมือนกัน ในตอนนั้นกองถ่ายไม่สามารถเข้ามาถ่ายทำในประเทศไทยได้จากวิกฤติการณ์โควิด ขณะเดียวกันรัฐบาลของรัฐควีนส์แลนด์ ออสเตรเลีย ก็มีการส่งเสริมทุนในการผลิตภาพยนตร์เรื่องนี้มูลค่ารวมๆ ประมาณ 300 ล้าน ในลักษณะของส่วนลดทางภาษี”

“จากกองภาพยนตร์เรื่องเดียว ก่อให้เกิดการจ้างงานหลายร้อยคน อย่างฉากของความชุลมุนวุ่นวาย เขาต้องเกณฑ์คนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของทั้งรัฐมาร่วมเข้าฉากกันประมาณ 500 คน พอได้เห็นโปรเจกต์สเกลนี้ มีอิมแพกต์กับเศรษฐกิจท้องถิ่นระดับนี้ ทำให้เราเข้าใจว่า ทำไมหลายๆ ชาติถึงส่งเสริมอุตสาหกรรมภาพยนตร์ เพราะมันเป็นอุตสาหกรรมที่ก่อให้เกิดการจ้างงานเยอะมาก แล้วด้วยความที่ภาพยนตร์เป็น Soft Material ที่ไปฉายที่ไหนก็ได้ นี่แหละมันคือ Soft Power”

แต่กว่าเขาจะเดินทางไปถึงจุดนั้นได้ ต้องผ่านช่วงเวลาของการค้นหาอะไรบางอย่าง มวลของความรู้สึกที่แตกต่างหลากหลาย ทางแยกของการตัดสินใจ แต่บิลลี่ฝากข้อให้คิดหลังจากเดินทางมาถึง​ ณ ขณะนี้ว่า “เราหลงทางได้แต่ต้องออกไปทำอะไรซักอย่างด้วย อย่านั่งอยู่เฉยๆ เพราะสุดท้ายมันจะไม่เกิดอะไร แล้วคุณก็จะไม่รู้อยู่ดีว่า อะไรที่ทำให้คุณมีความสุข ถ้ามัวแต่นั่งคิดแล้วไม่ได้ลองทำ”

  

IIIi - ความฝันสู่ต่างประเทศ โดยมีภาพยนตร์เป็นผู้นำทาง

บิลลี่เกิดในครอบครัวของชนชั้นกลางที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจในยุคต้มยำกุ้ง จากชีวิตในโรงเรียนนานาชาติพลิกผันมาสู่การเรียนโรงเรียนวัด สังคมที่เปลี่ยนไปเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เขาได้เห็นสังคมที่หลากหลาย “รู้สึกว่าในความไม่ดี มันก็คงมีมุมที่เรามองว่า ทุกอย่างที่เกิดขึ้นแล้วมันก็คงดีเสมอ”

เขาพยายามผลักดันตัวเองโดยใช้ ‘การศึกษา’ เป็นเครื่องมือทั้งกับการเรียนในห้องเรียน การทำกิจกรรมในห้องเรียน และการไขว่คว้าหาโอกาสไปต่างประเทศ ในช่วงมัธยมปลาย เขาสอบผ่านข้อเขียนของ AFS แต่เพราะคิดไปว่าถึงสอบผ่านสัมภาษณ์ก็ไม่มีทุนไปอยู่ดี เลยกลายเป็นความฝังใจว่าจะต้องไปตามฝันที่ต่างประเทศให้ได้ ความฝันนี้ยังคงติดอยู่จนเข้าเรียนมหาวิทยาลัยในสาขาภาพยนตร์และดิจิทัล มีเดีย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และได้รับทุนแลกเปลี่ยนไปศึกษาต่อที่เยอรมันเป็นเวลา 3 เดือน

 “ตอนนั้นคือการไปต่างประเทศเวอร์ชั่นโตแล้วครั้งแรก สองเดือนแรกเราก็เรียน แต่เดือนสุดท้ายทั้งเดือนเราตัดสินใจหนีเที่ยวแบ็กแพ็กยุโรป 9 ประเทศกับเพื่อน เรารู้สึกว่าได้เปิดโลกมาก เราเห็นวัฒนธรรม บ้านเมือง ผู้คนที่ไม่เหมือนกับสิ่งที่เราเคยเห็นมาหรือจากอินเตอร์เน็ต ทำให้เราได้เรียนรู้อะไรหลายๆ อย่างโดยเฉพาะการเอาตัวรอด และหัวเรื่องที่สนใจคือศิลปวัฒนธรรม และการจัดการความรู้ทางศิลปะ ตรงนั้นเป็นจุดที่ทำให้เราสนใจในการทำงานที่ข้ามวัฒนธรรม”

 

เมื่อรวมกับความสนใจในการชมภาพยนตร์ World Cinema หรือภาพยนตร์นานาชาติ “เราไม่ได้ดูหนังเพื่อความบันเทิง แต่เราชอบดูหนังเพราะว่ามันกระตุ้นความคิดได้ แล้วก็หลายๆ ครั้งที่หนังอินดี้มันพูดถึงความเว้าแหว่งของชีวิตมนุษย์หรือคนที่เติมไม่เต็ม เลยรู้สึกว่าหนังมันมีพลังในตรงนี้” นั่นทำให้เขาเดินสายในการพัฒนาตัวเองผ่านโลกภาพยนตร์ต่อ จนกระทั่งเขาเลือกทำศิลปนิพนธ์เป็นหนังทดลองยาว 1 ชั่วโมง ซึ่งนับว่ายาวมากสำหรับหนังนักศึกษา แต่เขาใช้สิ่งนี้ในการแสดงออกถึงตัวตน ความคิดความรู้สึก และเป็นเครื่องเยียวยาจิตใจในช่วงที่คุณแม่ป่วยหนัก

“เอาจริงๆ ผมทำธีสิสเหมือนว่าเป็นการเยียวยาตัวเอง เพราะตอนนั้นผมทราบว่าคุณแม่ป่วยเรื้อรัง ก็เท่ากับว่าเวลาของคุณแม่อาจจะเหลืออีกไม่นาน ตอนนั้นคิดอะไรไม่ออกก็เลยรู้สึกว่าทำเรื่องที่มันอยู่ในหัวของเราแล้วกัน ผมตามถ่ายฟุตเทจของที่บ้าน คุณแม่และครอบครัวเป็นเวลา 6 เดือน หลังจากได้เอามารีวิวทั้งหมด แล้วเขียนบทเพิ่มเติมจากฟุตเทจสารคดีที่ถ่ายมา แล้วก็ชวน พี่อู - ณัฐญา นาคะเวช นักแสดงละครเวที และ กันต์ ชุณหวัตร มาแสดงในส่วนอดีตที่เกิดขึ้นไปแล้ว”

ที่บอกว่าเป็นการเยียวยาตัวเอง เพราะการทำหนังมีขั้นตอนตั้งแต่เตรียมการถ่ายทำ ระหว่างถ่ายทำ และหลังการถ่ายทำ เท่ากับว่าคุณต้องเรียบเรียงเรื่องที่คุณจะเล่าถึงสามครั้งด้วยกัน แปลว่าในการที่เราทำหนัง โดยเฉพาะการที่เราเลือกทำหนังที่เป็นเรื่องส่วนตัว เราจะต้องคิดทบทวนกับเรื่องที่มันเป็นปมของเรา แล้วเอามันมากางออกมาให้เป็นไทม์ไลน์เส้นตรง มันทำให้เข้าใจชีวิตตัวเอง ณ ขณะนั้นได้ดีขึ้น"

"แล้วพอเราได้ทำกระบวนการนี้ไปแล้วครั้งนึง ต่อๆ ไป เวลาเรามีสิ่งที่หาทางออกไม่ได้ เราก็อาจจะใช้กระบวนการในลักษณะนี้แต่ว่าถ่ายทอดออกมาในแบบอื่น เป็นการเขียนก็ได้ หรือว่าการวาดรูป พอเราได้ลองถ่ายทอดซักครั้งเราจะจับฟีลลิ่งได้ และดูแลจิตใจตัวเองเป็น ผ่านการสื่อสารออกมาในรูปแบบศิลปะ”

 

IIIi - ไปไกลกับภาพยนตร์ ไปต่อกับภาพยนตร์​

ภาพยนตร์เรื่องนี้ไปไกลกว่าการเป็นศิลปะนิพนธ์ด้วยโปรแกรมการจัดฉายคู่กับ เจ้ย อภิชาติพงศ์ แล้วออกเดินทางไปฉายรอบพรีเมียร์ที่เทศกาล Vancouver International Film Festival แคนาดา, BFI London Film Festival อังกฤษ, เข้าโปรแกรมประกวดสายสารคดีที่ Torino Film Festival อิตาลี เข้ามาในเอเชียที่อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ แล้วค่อยกลับมายังประเทศไทย

“ตัวเราเองก็ได้ตามไปกับหนังของเราในทุกๆ ประเทศที่ว่ามา เราก็เลยยิ่งรู้สึกว่า การที่เราได้ไปเทศกาลต่างๆ ได้ไปฉายงานของเรา ได้ไปพบปะกับคนที่ดูงานของเราแล้วสนใจในเรื่องที่เราเล่า ได้เจอกับเน็ตเวิร์กของคนที่ทำงานให้กับเทศกาลเหล่านั้นที่เขาให้คุณค่ากับภาพยนตร์ คือสิ่งที่เราสนใจ”

“เราเลยรู้สึกว่าที่ทางของเราเนี่ยมันมีอยู่ในโลก ถ้ามันไม่ได้อยู่ในประเทศไทย แต่ว่าในประเทศอื่นมันมี ก็เลยพยายามที่จะพัฒนาตัวเองในเรื่องของการสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษ หรือการใช้ศิลปะ Visual Artเพราะรู้สึกว่าศิลปะข้ามกำแพงภาษาได้”

 

หลังจากเรียนจบ แน่นอนกว่าการทำงานในวงการหนังคือเส้นทางที่บิลลี่เลือกเดินต่อ “ตอนนั้นรุ่นพี่เปิดโปรดักชันเฮาส์ชื่อ Hello Filmmaker ตอนนั้นก็รวมตัวกันแบบหลวมๆ เราเลยขอทำงานบริหาร เพราะเราอยากเข้าใจในเชิงของธุรกิจมากขึ้น และอยากที่จะริเริ่มโปรเจกต์ใหม่ๆ ที่เป็นผลงานของ Hello เอง”

รูปแบบงานที่หลากหลาย ตั้งแต่เริ่มต้นการเป็นโปรดักชันเฮาส์ ทำงานสายคอมเมอเชียล สู่การทำผลงานของตัวเองทั้งมิวสิกวิดีโอของ smallroom และงานใหญ่อย่างภาพยนตร์ OMG รักจังวะผิดจังหวะ เป็นโอกาสของการผนวกทักษะของการเล่าเรื่องแบบโฆษณากับการทำหนังเข้าด้วยกัน เมื่อรวมกับเน็ตเวิร์กต่างๆ ที่เคยเข้าร่วมผ่านกิจกรรมในพื้นที่สำหรับนักทำหนังหน้าใหม่ในหลากหลายภูมิภาคของโลกเหมือนเป็นการลับคมศักยภาพที่โดดเด่น และนี่เป็นโอกาสสำคัญที่ทำให้เขาได้เข้าร่วมโปรเจกต์ระดับโลกอย่างภาพยนตร์ ‘Thirteen Lives สิบสามชีวิต’ จากฝีมือผู้กำกับ รอน ฮาวเวิร์ด โดยมี เรย์มอนด์ พัฒนวีรางกูล ซึ่งเป็นโคโปรดิวเซอร์ เป็นผู้ชักชวนเข้ามาร่วมโปรเจกต์นี้


“ด้วยความที่พี่เรย์มอนด์ไม่ได้เติบโตที่ประเทศไทยเลยต้องการหาผู้ช่วยโปรดิวเซอร์ที่สามารถช่วยเติมเต็มในเรื่องของการให้ข้อมูลและรายละเอียดเกี่ยวกับวัฒนธรรมท้องถิ่น ซึ่งตัวเราเองด้วยความสนใจในเรื่องวัฒนธรรม และแบ็กกราวนด์ของเราที่เคยทำกำกับมา ทำให้เราก็มีโอกาสได้ช่วยคุณรอน ตั้งแต่ขั้นตอนการคัดเลือกนักแสดงที่เป็นทั้งเด็กและผู้ใหญ่ การทำเวิร์กช็อปเตรียมให้น้องๆ พร้อมสำหรับการเข้าฉาก เพราะหลายๆ คนก็ไม่ได้มีพื้นฐานการแสดงมาก่อน ซึ่งก็กลายเป็นว่าตอนที่ถ่ายทำจริงก็ได้ช่วยคุณรอนกำกับไปโดยปริยาย ซึ่งเขาก็เชื่อใจเรา ไม่งั้นก็คงไม่ให้เรารับผิดชอบอะไรขนาดนี้”

จากภาพยนตร์เรื่องนี้มอบประสบการณ์ชิ้นโตให้กับเขา ให้เขาได้มองเห็นโลกภาพยนตร์ที่กว้างกว่าแค่การถ่ายทอดความคิดความรู้สึก แต่เป็นการเล็งเห็น Business Mindset หรือแนวคิดแบบธุรกิจในโลกภาพยนตร์ ที่จะทำให้อุตสาหกรรมภาพยนตร์เติบโตได้อย่างยั่งยืนและเป็น Soft Power ได้จริง

  

IIIi - ภาพยนตร์ไทย กับที่ทางในโลกภาพยนตร์

ภาพยนตร์ ‘Thirteen Lives สิบสามชีวิต’ เป็นตัวอย่างที่ดีของการโคจรมาพบกันระหว่างความเป็นท้องถิ่นอย่างเรื่องราวที่เกิดขึ้นที่เชียงราย กับการทำภาพยนตร์ในระดับนานาชาติ นั่นเป็นเพราะการที่แพลตฟอร์มสตรีมมิ่งกำลังให้ความสำคัญกับตลาดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มากขึ้น

“ในพื้นที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ต้องยอมรับว่าเป็นพื้นที่ที่ยังไม่ได้ถูกสำรวจมากนัก ยังเป็นตลาดที่มีโอกาสทางการตลาดสูง ด้วยประชากรประมาณ 700 ล้านคน หรือถ้าขีดเส้นรัศมีออกไป 3,300 กิโลเมตร มันเป็นวงกลมที่มีคนอยู่เยอะที่สุดในโลก ยังมีเรื่องค่าแรงที่ไม่สูงมาก เลยเป็นสิ่งที่ทำให้แพลตฟอร์มต่างๆ พยายามเข้ามาช่วงชิงตลาดตรงนี้มากขึ้น แต่เวลาที่เขาจะทำคอนเทนต์ เขาไม่ได้เสิร์ฟตลาดในท้องถิ่นอย่างเดียว เพราะด้วยความที่เป็นแพลตฟอร์มที่มีฐานคนดูทั่วโลก จึงพยายามมองหาคนทำหนัง หรือซีรีส์ที่มีการเล่าเรื่องที่เป็นอินเตอร์ได้ เข้าถึงคนได้มากกว่าแค่ตลาดเมืองไทย”


เขาให้ทรรศนะถึงวงการภาพยนตร์และซีรีส์ไทยที่กำลังเดินทางไปได้สวยในตลาดสตรีมมิ่งระดับโลก

มีหนังก็ต้องมีคนดู ไม่งั้นมันก็โตยาก อย่างโอกาสที่ทำงานกับแพลตฟอร์มนานาชาติ มันคือการที่มีเงินทุนจากต่างประเทศเข้ามาทดลองทำคอนเทนต์ภาษาไทย แต่เขาคงไม่ได้อยู่ทำไปตลอดถ้าการลงทุนไม่เห็นผล แต่จากความสำเร็จของงานนักทำหนังไทย อย่าง Hunger หรือ Delete มันก็สามารถนำตัวเองไปสู่การที่มีคนดูจำนวนมากในตลาดโลกได้ ก็เท่ากับว่าอันนี้มันก็เป็นสัญญาณที่ดีว่ามันจะมีการสร้างคอนเทนต์ภาษาไทยจากแพลตฟอร์มในระดับนี้ยังมีอยู่”

แต่ที่สำคัญไม่แพ้กัน ธุรกิจเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องคิดคู่กันไปกับความน่าสนใจของเนื้อหา “อย่างเคสของ Squid Game พอมีความสำเร็จระดับโลก นักทำหนังของเกาหลีก็เริ่มมีอำนาจต่อรองต่อแพลตฟอร์มเหล่านี้มากขึ้น สุดท้ายการดีลธุรกิจมันเป็นเรื่องของการตกลง แปลว่ามันไม่มีสูตรสำเร็จตายตัว มันอยู่ที่ว่าคุณต่อรองได้แค่ไหน แล้วเขาประเมินดีลนี้ว่าสำคัญแค่ไหน ถ้าเกิดคุณมีอำนาจต่อรองคุณก็คงจะได้ดีลที่ดี อันนี้เป็นแง่มุมของทางธุรกิจที่ต้องใช้เวลาในการเรียนรู้ และเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับการเป็นโปรดิวเซอร์”


แต่การจะก้าวเดินไปข้างหน้า ก็ต้องไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง “สวัสดิการขั้นพื้นฐานของคนทำงานกองถ่าย ควรจะได้นอน” บิลลี่พูดถึงเรื่องจริงยิ่งกว่าจริง “ตอนทำงานที่ออสเตรเลียจะมีกฎของการวนรอบ 10 ชั่วโมง นับจากตอนที่คุณเลิกกองต้องเว้นไป 10 ชั่วโมงถึงจะเรียกกองได้ เพื่อเผื่อเวลาให้เวลาได้เก็บของกลับบ้านได้นอน จะได้กลับมาทำงานแบบสดชื่น และได้คุณภาพ หรือการทำงานกับเด็ก เด็กจะต้องพักทุก 1 ชั่วโมง และจะต้องมีคนดูแลมาคอยประกบตลอดเวลา เพราะว่าเขาจะเคารพสิทธิของเด็กมาก อย่างผมเองก็ต้องมีการตรวจสอบจากตำรวจก่อนถึงจะได้อยู่ใกล้เด็ก”

หากมองในภาพใหญ่เชิงนโยบายสาธารณะแล้ว ยังอาจจะเป็นเรื่องยากที่วงการภาพยนตร์ไทยจะก้าวตามทัน ทั้งเรื่องข้อกำหนดทางด้านกฎหมายหรืออำนาจที่กีดกันเราอยู่ “ตอนนี้สิ่งที่ทำเองได้โดยไม่ต้องรอพึ่งรัฐบาล คือการที่ทำงานร่วมกับแพลตฟอร์มนานาชาติ ทำงานที่ได้รับการยอมรับในระดับโลกให้ได้ คือสร้างแบรนด์ผ่านการทำงานของตัวเองในฐานะคนทำงาน เพื่อที่สร้างคุณค่าให้กับชื่อของตัวเองและโปรเจกต์ในอนาคตของคุณ จะได้มีอำนาจต่อรองที่ดีขึ้น”

 

บิลลี่ในวันนี้ที่กลับมาอยู่เมืองไทยแบบถาวร และเติบโตขึ้นผ่านการโลดแล่นบนโลกโดยมีภาพยนตร์เป็นผู้นำทาง เขากลับมาเป็นหัวหน้าครอบครัวเพื่อดูแลสมาชิกทั้งคุณพ่อและน้องๆ ต่อ

“อันนี้มันจะต่างจากช่วงเรายี่สิบกว่าๆ เพราะตอนนั้นเราก็ต้องทำงานซัปพอร์ตที่บ้านบางส่วนเหมือนกัน แต่ตอนนั้นทำแบบไม่ได้เต็มใจทำ รอบนี้ต่างออกไปเพราะว่ากลับมาด้วยการตัดสินใจของตัวเอง เพราะเอาจริงๆ ในแง่การมองเรื่องสายอาชีพ เรามีต้นทุนที่อยู่ที่เมืองไทยพอสมควร และมีเครดิตในการร่วมโปรเจกต์ระดับโลกนี้ มันก็สามารถต่อยอดกับต้นทุนที่เรามีที่เมืองไทยได้อีก” 

“ผมใช้ชีวิตสันโดษมากขึ้นนะ” บิลลี่เรียบเรียงชีวิตตัวเองผ่านบทสรุปแบบง่ายๆ “จากคนที่พยายามแอ็กทิฟ สร้างตัวตน เพราะลึกๆ แล้วเราขาด แต่สุดท้ายแล้วเราค้นพบว่าสิ่งที่เราต้องการคือ การที่เราได้ดูแลครอบครัว กับคนที่อยู่แวดล้อมตัวเรา ได้ทำงานร่วมกับพี่ๆ ที่ Hello Filmmaker ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่เรารัก นี่ต่างหากเป็นสิ่งที่เราต้องการ”

“และสุดท้าย ชีวิตคนเรามันสั้นมาก พอคุณแม่ผมเสีย ผมก็มีมุมมองในโลกที่เปลี่ยนไป เพราะคนเราตายจากกันได้ทุกเมื่อ ผมก็พยายามจะไม่อารมณ์เสียใส่ใคร และคิดว่าในทุกๆ ครั้งที่เจอกัน อาจจะเป็นครั้งสุดท้ายที่ได้เจอกันก็ได้ มอบพลังงานดีๆ ให้แก่กันได้ในทุกวันไปเถอะ”



Text:

Nathanich C.

Nathanich C.

PHOTO:

Chanathip K.

Chanathip K.

Related Posts