Baan Hollanda Virtual Museum พิพิธภัณฑ์เสมือนจริง

Baan Hollanda Virtual Museum พิพิธภัณฑ์เสมือนจริง

28 ส.ค. 2566

SHARE WITH:

28 ส.ค. 2566

28 ส.ค. 2566

SHARE WITH:

SHARE WITH:

Baan Hollanda Virtual Museum พิพิธภัณฑ์เสมือนจริง

ชื่อของ บ้านฮอลันดา เป็นที่รู้จักในฐานะสถานที่ท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ของพระนครศรีอยุธยาภายใต้การรับรองมรดกโลกโดย UNESCO อาคารแห่งนี้ควบหน้าที่ของการเป็นศูนย์ข้อมูลประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ไทย-เนเธอร์แลนด์ โดยยังคงคุณค่าของสถาปัตยกรรมที่ได้อ้างอิงจากบันทึกของ Gijsber Heeck พ่อค้าวาณิชย์ที่บันทึกไว้ในช่วงศตวรรษที่ 17 และนำกลับมาชุบชีวิตขึ้นใหม่เพื่อเฉลิมฉลองความสัมพันธ์ครบรอบ 400 ปี

และ Baan Hollanda ชื่อนี้เองกำลังปรับตัวเองเข้าสู่โลกแห่งดิจิทัล ด้วย Digital Design Web-based Project โปรเจกต์พิพิธภัณฑ์ออนไลน์เสมือนจริงที่รวบรวมข้อมูลและจดหมายเหตุระหว่างไทยและเนเธอร์แลนด์ที่เรียกว่าครบครันที่สุด และเปิดเป็นพื้นที่แห่งการเรียนรู้ไม่ว่าคุณจะอยู่ที่ใดก็ตามในโลกใบนี้ พร้อมกันกับเป็นการสำรวจวิธีการปลูกฝังวัฒนธรรมเข้าไว้ในโลกดิจิทัลเพื่อให้ยังดำรงอยู่สืบไป

 

 

IIIi - ประวัติศาสตร์คลิกได้

ผู้ออกแบบประสบการณ์ครั้งนี้เป็นหน้าที่ของ Fabrique บริษัทดีไซน์ดิจิทัลสัญชาติเนเธอร์แลนด์ ผู้ผ่านประสบการณ์เชี่ยวกรำกับพิพิธภัณฑ์เลื่องชื่อทั่วโลก ทั้ง RIJKSMuseum และแบรนด์ชั้นนำทั่วโลก โดยมี Joost de Nooy วิชวลดีไซเนอร์ และ Helen Goossens หัวหน้าโครงการ เป็นผู้นำในการทำงานและบอกเล่าประสบการณ์ทำงานในครั้งนี้

นักออกแบบทั้งสองเริ่มต้นด้วยปรัชญาการออกแบบแบบดัตช์ นั่นคือ การออกแบบที่เน้นผู้ใช้งานเป็นศูนย์กลางโดยกลุ่มคนดิจิทัลโดยกำเนิด (Digital Natives) ซึ่งจะนำมาสู่การสร้างประสบการณ์ทางดิจิทัลผ่านเรื่องเล่า การย่อยเรื่องยากให้กลายเป็นเรื่องง่ายสำหรับผู้ใช้งาน โดยยังคมรักษาคุณค่าในเชิงพื้นที่ของสิ่งนั้นเอาไว้ ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่ทางวัฒนธรรมหรือพื้นที่พาณิชย์

“โปรเจกต์นี้เริ่มจากบทสนทนาที่ว่า มันจะเป็นไปได้ไหม?” ความเป็นไปได้ในที่นี้มีทั้งขอบเขตของความเป็นพิพิธภัณฑ์ที่มีเรื่องราวมากมายเหลือเกินให้เล่า แล้วยิ่งเป็นพิพิธภัณฑ์ทางประวัติศาสตร์ ย่อมต้องอาศัยองค์ความรู้และแมทีเรียลเฉพาะทางหลากหลายรูปแบบทั้งทางหลักฐานเชิงประจักษ์และเรื่องราวเล่าขาน และยังมีเรื่องของงบประมาณที่จะต้องจัดการเพื่อส่งจุดประสงค์ไปให้ถึงปลายทาง

แต่เรื่องราวยิ่งเยอะ ก็ไม่เป็นปัญหาสำหรับโลกดิจิทัลที่มีพื้นที่เสมอสำหรับการนำเสนอเรื่องราว ทีมนักออกแบบจาก Fabrique จึงจับมือกับทีมงานนักประวัติศาสตร์ชาวไทย ผศ.ดร.ธีรวัต ณ ป้อมเพชร, ดร.ระวีดาอร เอสเตรา มณเฑียร และ ผศ.ดร.ภาวรรณ เรืองศิลป์ เป็นทีมงานที่ทำงานร่วมกันจนออกมาเป็น Baan Hollanda ที่ชวนทุกคนเข้าไปคลิกเที่ยวด้วยกันได้เลยตอนนี้ ที่ https://experience.baanhollanda.org/#/

 

IIIi - ล่องสายธารแห่งประวัติศาสตร์ในโลกดิจิทัล

 จากหน้าแรกที่เริ่มต้นด้วยเรื่องราวการค้า จุดเริ่มต้นความสัมพันธ์แน่นแฟ้นระหว่างไทยกับเนเธอร์แลนด์ พาย้อนเวลาผ่านแผนที่ประวัติศาสตร์การเดินเรือแรกเข้าสยาม เมื่อคลิกเข้าไปยังแต่ละจุด นอกจากจะเต็มอิ่มด้วยข้อมูล (ที่ในตอนนี้ยังมีแค่ภาษาอังกฤษ) เรายังได้เห็นภาพทั้งจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ และภาพจากการสันนิษฐานโดยหลักฐานที่มีอยู่ แต่งแต้มเรื่องราวให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น

นอกจากการเดินทางผ่านแผนที่เป็นแกนหลัก มุมขวาล่างของจอยังมีเข็มทิศที่แบ่งหัวเรื่องของเรื่องราวการค้าออกเป็น 4 หมวดใหญ่ ตามรูปแบบการนำเสนอ ความเหมาะสมของเนื้อหา และที่สำคัญคือความสนุกในการโฟกัสแต่ละเรื่องราวให้เชื่อมโยงและเข้าใจง่าย

 

พอพูดถึงพิพิธภัณฑ์ แน่นอนคนจะต้องคิดถึงแกลเลอรี่เป็นอย่างแรก และ People คือพื้นที่ของการนำเสนอเรื่องราวผ่านบุคคล และภาพบันทึกทางประวัติศาสตร์ที่บันทึกเรื่องราวเบื้องหลังเอาไว้อย่างละเอียดถี่ถ้วน และหากมีการค้นพบหรือบูรณะภาพเพิ่มเติม ก็สามารถเพิ่มเข้ามาได้เรื่อยๆ บนพื้นที่แห่งโลกดิจิทัลที่ไร้ขอบเขตจำกัดทางกายภาพ

 Correspondence ทำหน้าที่เหมือนหอจดหมายเหตุที่เก็บบันทึกเรื่องราว เอกสาร จัดเรียงอย่างเป็นระบบให้ง่ายต่อการคลิกอ่านและทำความเข้าใจ โดยเอกสารแต่ละแผ่นสามารถซูมอ่านได้อย่างชัดเจน พร้อมข้อมูลประกอบที่ทำให้มองเห็นที่มาที่ไป และสิ่งที่เกิดขึ้นตามมาจากหลักฐานเหล่านี้ ความน่าสนใจของหมวดหมู่นี้คือ ความท้าทายในการสื่อสารข้อมูลเหล่านี้ให้เข้าใจได้ง่ายในผู้ชมวงกว้าง นักออกแบบจึงใช้การจัดแสดงแผ่ออกให้เห็นถึงทุกบันทึกที่มีอย่างเปิดเผย แล้วค่อยซูมอ่านในส่วนที่สนใจได้ทีละจุด


ข้าวของทางประวัติศาสตร์เป็นหนึ่งในหลักฐานทางกายภาพที่ยังคงหลงเหลือมาจนถึงปัจจุบัน และ Goods คือหัวข้อที่นำเสนอการเดินทางของข้าวของบนแผนที่โลก จากซีกโลกตะวันตกมาสู่ตะวันออกในยุคเดินเรือ หรือการบอกเล่าสถานที่แห่งความสัมพันธ์ การค้าขายและสินค้าคือสื่อกลางที่เชื่อมทั้งโลกเอาไว้ด้วยกันราวกับได้ย้อนเวลาไปยังทั่วโลก

และสุดท้ายที่กลับมาที่บ้านฮอลันดาในยุคปัจจุบัน ที่เป็นเสมือนจุดศูนย์กลางของทั้งร่องรอยทางประวัติศาสตร์ ข้อมูลที่มีการเก็บรักษาและบันทึกไว้ และกลายมาเป็นเรื่องเล่าในยุคดิจิทัลผ่านอุปกรณ์ในมือของทุกคน เพราะต้องการให้ Baan Hollanda เป็นมากกว่าแพลตฟอร์ม แต่ยังเป็นบันทึกมีชีวิตที่พร้อมเติมเรื่องราวหากมีการอัปเดตต่อไปเรื่อยๆ อีก

 

IIIi - ก้าวต่อไปของ Baan Hollanda

Baan Hollanda ตั้งใจเป็นก้าวแรกก้าวสำคัญของเอเชียในการนำพิพิธภัณฑ์และข้อมูลที่เป็นประโยชน์ขึ้นมาอยู่บนโลกออนไลน์ และขยายวงกว้างของการเรียนรู้ให้ไปถึงทุกคน รวมทั้งการเป็นส่วนหนึ่งในเครือข่ายมรดกทางวัฒนธรรมของเนเธอร์แลนด์ที่ขยายใหญ่ขึ้นในเชิงข้อมูล และลึกขึ้นในเชิงประวัติศาสตร์ อีกทั้งยังสามารถต่อยอดไปสร้างแรงกระเพื่อมในพื้นที่ทางกายภาพ อย่างการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม การท่องเที่ยวตามรอยการค้าทางทะเล หรือสุดแล้วแต่ความคิดสร้างสรรค์จะนำพาไป เป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจท้องถิ่นได้อีกทางหนึ่ง

และที่สำคัญคือ เป็นความพยายามของผู้คนในยุคที่โลกกำลังเปลี่ยนผ่านไปสู่โลกดิจิทัลให้สามารถใช้งานพื้นที่แห่งนี้เป็นพื้นที่แห่งการเก็บรักษา แลกเปลี่ยน สร้างสังคมแห่งวัฒนธรรมทางดิจิทัลที่กว้างไกลเพียงปลายนิ้วคลิก

ทีมนักออกแบบได้ฝากถึงโอกาสในการเติบโตทางด้านวัฒนธรรมในโลกดิจิทัลเอาไว้ว่า “วัฒนธรรมเป็นมากกว่าศิลปะหรือศิลปิน แต่วัฒนธรรมคือการเชื่อมโยงผู้คน เรามองว่าการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลเป็นโอกาสที่ทำให้การเชื่อมต่อระหว่างมนุษย์ทำได้สะดวกขึ้น และคงอยู่ต่อไปได้ตราบนาน”

 

Doe maar gewoon, dan doe je gek genoeg

“เป็นตัวของตัวเองก็พอแล้ว” แนวคิดในแบบดัตช์ที่บอกกับเราว่า ไม่จำเป็นต้องพยายามอย่างฟุ่มเฟือยหรือหวือหวามากจนเกินไปเพื่อสร้างความประทับใจให้กับผู้อื่น แค่จริงใจก็เพียงพอแล้ว เพราะนี่แหละคือความรู้สึกแท้จริง เรียบง่าย และดีไซน์ต้องการสิ่งนี้แหละในการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์

 

ขอขอบคุณ The Netherlands Embassy


ชื่อของ บ้านฮอลันดา เป็นที่รู้จักในฐานะสถานที่ท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ของพระนครศรีอยุธยาภายใต้การรับรองมรดกโลกโดย UNESCO อาคารแห่งนี้ควบหน้าที่ของการเป็นศูนย์ข้อมูลประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ไทย-เนเธอร์แลนด์ โดยยังคงคุณค่าของสถาปัตยกรรมที่ได้อ้างอิงจากบันทึกของ Gijsber Heeck พ่อค้าวาณิชย์ที่บันทึกไว้ในช่วงศตวรรษที่ 17 และนำกลับมาชุบชีวิตขึ้นใหม่เพื่อเฉลิมฉลองความสัมพันธ์ครบรอบ 400 ปี

และ Baan Hollanda ชื่อนี้เองกำลังปรับตัวเองเข้าสู่โลกแห่งดิจิทัล ด้วย Digital Design Web-based Project โปรเจกต์พิพิธภัณฑ์ออนไลน์เสมือนจริงที่รวบรวมข้อมูลและจดหมายเหตุระหว่างไทยและเนเธอร์แลนด์ที่เรียกว่าครบครันที่สุด และเปิดเป็นพื้นที่แห่งการเรียนรู้ไม่ว่าคุณจะอยู่ที่ใดก็ตามในโลกใบนี้ พร้อมกันกับเป็นการสำรวจวิธีการปลูกฝังวัฒนธรรมเข้าไว้ในโลกดิจิทัลเพื่อให้ยังดำรงอยู่สืบไป

 

 

IIIi - ประวัติศาสตร์คลิกได้

ผู้ออกแบบประสบการณ์ครั้งนี้เป็นหน้าที่ของ Fabrique บริษัทดีไซน์ดิจิทัลสัญชาติเนเธอร์แลนด์ ผู้ผ่านประสบการณ์เชี่ยวกรำกับพิพิธภัณฑ์เลื่องชื่อทั่วโลก ทั้ง RIJKSMuseum และแบรนด์ชั้นนำทั่วโลก โดยมี Joost de Nooy วิชวลดีไซเนอร์ และ Helen Goossens หัวหน้าโครงการ เป็นผู้นำในการทำงานและบอกเล่าประสบการณ์ทำงานในครั้งนี้

นักออกแบบทั้งสองเริ่มต้นด้วยปรัชญาการออกแบบแบบดัตช์ นั่นคือ การออกแบบที่เน้นผู้ใช้งานเป็นศูนย์กลางโดยกลุ่มคนดิจิทัลโดยกำเนิด (Digital Natives) ซึ่งจะนำมาสู่การสร้างประสบการณ์ทางดิจิทัลผ่านเรื่องเล่า การย่อยเรื่องยากให้กลายเป็นเรื่องง่ายสำหรับผู้ใช้งาน โดยยังคมรักษาคุณค่าในเชิงพื้นที่ของสิ่งนั้นเอาไว้ ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่ทางวัฒนธรรมหรือพื้นที่พาณิชย์

“โปรเจกต์นี้เริ่มจากบทสนทนาที่ว่า มันจะเป็นไปได้ไหม?” ความเป็นไปได้ในที่นี้มีทั้งขอบเขตของความเป็นพิพิธภัณฑ์ที่มีเรื่องราวมากมายเหลือเกินให้เล่า แล้วยิ่งเป็นพิพิธภัณฑ์ทางประวัติศาสตร์ ย่อมต้องอาศัยองค์ความรู้และแมทีเรียลเฉพาะทางหลากหลายรูปแบบทั้งทางหลักฐานเชิงประจักษ์และเรื่องราวเล่าขาน และยังมีเรื่องของงบประมาณที่จะต้องจัดการเพื่อส่งจุดประสงค์ไปให้ถึงปลายทาง

แต่เรื่องราวยิ่งเยอะ ก็ไม่เป็นปัญหาสำหรับโลกดิจิทัลที่มีพื้นที่เสมอสำหรับการนำเสนอเรื่องราว ทีมนักออกแบบจาก Fabrique จึงจับมือกับทีมงานนักประวัติศาสตร์ชาวไทย ผศ.ดร.ธีรวัต ณ ป้อมเพชร, ดร.ระวีดาอร เอสเตรา มณเฑียร และ ผศ.ดร.ภาวรรณ เรืองศิลป์ เป็นทีมงานที่ทำงานร่วมกันจนออกมาเป็น Baan Hollanda ที่ชวนทุกคนเข้าไปคลิกเที่ยวด้วยกันได้เลยตอนนี้ ที่ https://experience.baanhollanda.org/#/

 

IIIi - ล่องสายธารแห่งประวัติศาสตร์ในโลกดิจิทัล

 จากหน้าแรกที่เริ่มต้นด้วยเรื่องราวการค้า จุดเริ่มต้นความสัมพันธ์แน่นแฟ้นระหว่างไทยกับเนเธอร์แลนด์ พาย้อนเวลาผ่านแผนที่ประวัติศาสตร์การเดินเรือแรกเข้าสยาม เมื่อคลิกเข้าไปยังแต่ละจุด นอกจากจะเต็มอิ่มด้วยข้อมูล (ที่ในตอนนี้ยังมีแค่ภาษาอังกฤษ) เรายังได้เห็นภาพทั้งจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ และภาพจากการสันนิษฐานโดยหลักฐานที่มีอยู่ แต่งแต้มเรื่องราวให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น

นอกจากการเดินทางผ่านแผนที่เป็นแกนหลัก มุมขวาล่างของจอยังมีเข็มทิศที่แบ่งหัวเรื่องของเรื่องราวการค้าออกเป็น 4 หมวดใหญ่ ตามรูปแบบการนำเสนอ ความเหมาะสมของเนื้อหา และที่สำคัญคือความสนุกในการโฟกัสแต่ละเรื่องราวให้เชื่อมโยงและเข้าใจง่าย

 

พอพูดถึงพิพิธภัณฑ์ แน่นอนคนจะต้องคิดถึงแกลเลอรี่เป็นอย่างแรก และ People คือพื้นที่ของการนำเสนอเรื่องราวผ่านบุคคล และภาพบันทึกทางประวัติศาสตร์ที่บันทึกเรื่องราวเบื้องหลังเอาไว้อย่างละเอียดถี่ถ้วน และหากมีการค้นพบหรือบูรณะภาพเพิ่มเติม ก็สามารถเพิ่มเข้ามาได้เรื่อยๆ บนพื้นที่แห่งโลกดิจิทัลที่ไร้ขอบเขตจำกัดทางกายภาพ

 Correspondence ทำหน้าที่เหมือนหอจดหมายเหตุที่เก็บบันทึกเรื่องราว เอกสาร จัดเรียงอย่างเป็นระบบให้ง่ายต่อการคลิกอ่านและทำความเข้าใจ โดยเอกสารแต่ละแผ่นสามารถซูมอ่านได้อย่างชัดเจน พร้อมข้อมูลประกอบที่ทำให้มองเห็นที่มาที่ไป และสิ่งที่เกิดขึ้นตามมาจากหลักฐานเหล่านี้ ความน่าสนใจของหมวดหมู่นี้คือ ความท้าทายในการสื่อสารข้อมูลเหล่านี้ให้เข้าใจได้ง่ายในผู้ชมวงกว้าง นักออกแบบจึงใช้การจัดแสดงแผ่ออกให้เห็นถึงทุกบันทึกที่มีอย่างเปิดเผย แล้วค่อยซูมอ่านในส่วนที่สนใจได้ทีละจุด


ข้าวของทางประวัติศาสตร์เป็นหนึ่งในหลักฐานทางกายภาพที่ยังคงหลงเหลือมาจนถึงปัจจุบัน และ Goods คือหัวข้อที่นำเสนอการเดินทางของข้าวของบนแผนที่โลก จากซีกโลกตะวันตกมาสู่ตะวันออกในยุคเดินเรือ หรือการบอกเล่าสถานที่แห่งความสัมพันธ์ การค้าขายและสินค้าคือสื่อกลางที่เชื่อมทั้งโลกเอาไว้ด้วยกันราวกับได้ย้อนเวลาไปยังทั่วโลก

และสุดท้ายที่กลับมาที่บ้านฮอลันดาในยุคปัจจุบัน ที่เป็นเสมือนจุดศูนย์กลางของทั้งร่องรอยทางประวัติศาสตร์ ข้อมูลที่มีการเก็บรักษาและบันทึกไว้ และกลายมาเป็นเรื่องเล่าในยุคดิจิทัลผ่านอุปกรณ์ในมือของทุกคน เพราะต้องการให้ Baan Hollanda เป็นมากกว่าแพลตฟอร์ม แต่ยังเป็นบันทึกมีชีวิตที่พร้อมเติมเรื่องราวหากมีการอัปเดตต่อไปเรื่อยๆ อีก

 

IIIi - ก้าวต่อไปของ Baan Hollanda

Baan Hollanda ตั้งใจเป็นก้าวแรกก้าวสำคัญของเอเชียในการนำพิพิธภัณฑ์และข้อมูลที่เป็นประโยชน์ขึ้นมาอยู่บนโลกออนไลน์ และขยายวงกว้างของการเรียนรู้ให้ไปถึงทุกคน รวมทั้งการเป็นส่วนหนึ่งในเครือข่ายมรดกทางวัฒนธรรมของเนเธอร์แลนด์ที่ขยายใหญ่ขึ้นในเชิงข้อมูล และลึกขึ้นในเชิงประวัติศาสตร์ อีกทั้งยังสามารถต่อยอดไปสร้างแรงกระเพื่อมในพื้นที่ทางกายภาพ อย่างการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม การท่องเที่ยวตามรอยการค้าทางทะเล หรือสุดแล้วแต่ความคิดสร้างสรรค์จะนำพาไป เป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจท้องถิ่นได้อีกทางหนึ่ง

และที่สำคัญคือ เป็นความพยายามของผู้คนในยุคที่โลกกำลังเปลี่ยนผ่านไปสู่โลกดิจิทัลให้สามารถใช้งานพื้นที่แห่งนี้เป็นพื้นที่แห่งการเก็บรักษา แลกเปลี่ยน สร้างสังคมแห่งวัฒนธรรมทางดิจิทัลที่กว้างไกลเพียงปลายนิ้วคลิก

ทีมนักออกแบบได้ฝากถึงโอกาสในการเติบโตทางด้านวัฒนธรรมในโลกดิจิทัลเอาไว้ว่า “วัฒนธรรมเป็นมากกว่าศิลปะหรือศิลปิน แต่วัฒนธรรมคือการเชื่อมโยงผู้คน เรามองว่าการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลเป็นโอกาสที่ทำให้การเชื่อมต่อระหว่างมนุษย์ทำได้สะดวกขึ้น และคงอยู่ต่อไปได้ตราบนาน”

 

Doe maar gewoon, dan doe je gek genoeg

“เป็นตัวของตัวเองก็พอแล้ว” แนวคิดในแบบดัตช์ที่บอกกับเราว่า ไม่จำเป็นต้องพยายามอย่างฟุ่มเฟือยหรือหวือหวามากจนเกินไปเพื่อสร้างความประทับใจให้กับผู้อื่น แค่จริงใจก็เพียงพอแล้ว เพราะนี่แหละคือความรู้สึกแท้จริง เรียบง่าย และดีไซน์ต้องการสิ่งนี้แหละในการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์

 

ขอขอบคุณ The Netherlands Embassy


Text:

Nathanich C.

Nathanich C.

PHOTO:

Related Posts