AntiGravity Fitness ศาสตร์การออกกำลังกายบนผืนผ้า

AntiGravity Fitness ศาสตร์การออกกำลังกายบนผืนผ้า

24 ก.ย. 2566

SHARE WITH:

24 ก.ย. 2566

24 ก.ย. 2566

SHARE WITH:

SHARE WITH:

AntiGravity Fitness ศาสตร์การออกกำลังกายบนผืนผ้า

“เรามีภาพจำว่าผู้ชายจะออกกำลังกายแบบใช้ผ้าได้เหรอ แต่พอเล่นไปเรื่อยๆ 3-4 คลาส เราก็รู้สึกอยากเอาชนะและเอ็นจอยมากๆ เพราะรู้สึกว่าเราทำอะไรได้เยอะดีกับผ้าผืนเดียว”


เวลาบ่ายแก่ๆ เราเดินทางสู่ย่านสุขุมวิทไปพบกับ พีท-ปณิธิ เลิศดำริห์การ เจ้าของสตูดิโอ Fly High and Kick Ass เพื่อทำความรู้จักกับศาสตร์การออกกำลังกายที่มีชื่อว่า ‘AntiGravity Fitness’ โดยพีทเป็นครูเพียงหนึ่งเดียวในประเทศไทย ณ ขณะนี้ที่ได้รับการรับรองให้สอนอย่างถูกลิขสิทธิ์ 

หากเอ่ยแค่คำว่า AntiGravity Fitness หลายคนคงยังจินตนาการไม่ออก แต่ถ้าเล่าว่าเป็นการออกกำลังกายด้วยการลอยตัวกลางอากาศโดยใช้ผ้า หรือ Hammock ซึ่งแขวนอยู่บนเพดานเป็นตัวประคอง หลายคนก็น่าจะพอเห็นภาพ ศาสตร์นี้ได้รับการคิดค้นโดย Christopher Harrison ชาวอเมริกันที่เป็นทั้งนักกีฬายิมนาสติก นักกายกรรม และนักเต้นบัลเลต์ ผู้ทำงานในวงการละครบรอดเวย์ตั้งแต่ยังเป็นวัยรุ่น

หลังจากโลดแล่นในวงการดังกล่าวมาสักระยะ เขาก็ได้ก่อตั้งคณะ AntiGravity Inc. ออกแบบท่าเต้นและแสดงกายกรรมที่โดดเด่นด้วยการใช้ผ้าห้อยโหนกลางอากาศ โดยในระหว่างนั้นนักแสดงในคณะของเขาได้รับบาดเจ็บจากการแสดง จึงกลายเป็นจุดเริ่มต้นของการใช้ผ้ามารักษาอาการเหล่านั้น และพัฒนาจนเป็นโปรแกรมออกกำลังกายภายใต้ชื่อ AntiGravity Fitness นั่นเอง


ย้อนกลับมาที่เรื่องราวของพีท ก่อนที่จะยึดอาชีพครูผู้สอนศาสตร์การออกกำลังกายนี้อย่างจริงจัง เขาเล่นกีฬามาตั้งแต่เด็กๆ ทั้งว่ายน้ำ ฟุตบอล และเทควันโด ด้วยการสนับสนุนของคุณแม่ แต่กีฬาเหล่านี้ก็ยังไม่ใช่สิ่งที่พีทโปรดปรานมากนัก จนกระทั่งเขาลองมาเอาดีทางด้านการวิ่ง นำไปสู่การเข้าร่วมแข่งขันวิ่ง full marathon ซึ่งทำให้เขาต้องเข้าไปฝึกซ้อมในฟิตเนสบ้างและมีโอกาสได้เล่นคลาสต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Body Combat, Body Pump, โยคะ และพิลาทีส ที่ทำให้เขาสนุกกับการออกกำลังกายมากยิ่งขึ้น

และนั่นก็เป็นครั้งแรกที่ทำให้พีทได้รู้จักกับ AntiGravity Fitness

“รอบแรกที่เล่นตกใจมาก เพราะเขาให้เรากลับหัวตั้งแต่คลาสแรกเลย ร้องลั่นห้อง แต่ผ่านไปสักพัก เราก็มารู้ว่าท่าส่วนใหญ่ของศาสตร์นี้ปรับมาจากกีฬายิมนาสติกหมดเลย เช่น Flip ที่เราชอบที่สุด หรือการฉีกขา และทำให้เราตกตะกอนได้ว่าเราชอบยิมนาสติกทั้งๆ ที่ไม่เคยเล่นมาก่อนและไม่รู้ตัวเลยจนกระทั่งเรามาเล่นคลาสนี้ มันเลยเป็นเหตุผลว่าทำไมเราถึงเอ็นจอยกับศาสตร์นี้มาก”


พีทสั่งสมประสบการณ์การออกกำลังกายแนว AntiGravity ตั้งแต่ระดับพื้นฐานไปถึงขั้นแอดวานซ์  จนความชื่นชอบพัฒนาเป็นความมั่นใจว่าตัวเองทำสิ่งนี้ได้ดี เข้าใจในทุกท่า และน่าจะถ่ายทอดและให้ความรู้แก่บุคคลอื่นได้ เขาจึงเริ่มค้นคว้าหาข้อมูลในอินเทอร์เน็ตเพื่อหาวิธีที่จะทำให้เขาได้ใบรับรองในการสอนศาสตร์นี้ได้อย่างถูกต้อง นำไปสู่การได้รู้จักกับ Tamer Begum ผู้สอนและผู้เทรนศาสตร์และเทคนิค AntiGravity Fitness ระดับ master instructor ซึ่งเป็นหลานของ Christopher Harrison ผู้สร้างสรรค์ศาสตร์การออกกำลังกายนี้นั่นเอง

“มันว้าวมากที่จะได้รับการเทรนจากคนที่อยู่ใกล้ตัวกับคนที่คิดค้นศาสตร์นี้ และนั่นก็กลายเป็นจุดเริ่มต้นของทุกอย่างของเราจนมาถึงตอนนี้”

พีทเดินทางไปยังฮ่องกงเพื่อรับความรู้จาก Tamer รวมทั้งหมด 4 วัน อันเป็นช่วงเวลาที่พีทบรรยายว่า “มหัศจรรย์มาก” โดยโปรแกรมที่พีทไปเรียนนั้นคือ Fundamental หรือท่าพื้นฐานง่ายๆ ที่เสริมสร้างความแข็งแรง (Strength) คาร์ดิโอ ความคล่องตัว (Mobility) และความยืดหยุ่น (Flexibility) ซึ่งโฟกัสไปที่การเทรนวิธีการปรับแก้ท่าทาง วิธีการเซฟตี้ รวมไปถึงจิตวิทยาในการให้คำแนะนำและการแก้ปัญหา ในกรณีที่นำความรู้ที่ได้จากในคลาสนี้ไปสอนคนอื่นๆ ต่อ และผู้ที่มาเรียนเหล่านั้นไม่สามารถทำท่าใดท่าหนึ่งได้ หรือพูดให้กำลังใจพวกเขาในการพัฒนาไปสู่ท่าทางที่ยากและท้าทายยิ่งขึ้น

“Tamer เป็นคนที่มีประสบการณ์เยอะมาก และก็ Inspiring มาก จนทำให้เราอยากเป็นครูที่เผยแพร่ศาสตร์นี้ต่อไป และอยากเทรนต่อไปเรื่อยๆ จนถึงระดับมาสเตอร์”

 

IIIi - AntiGravity กับศักยภาพที่มากกว่าแค่การยืดเหยียดกล้ามเนื้อ

หลังจบการเทรนที่ฮ่องกง พีทได้รับการรับรองและสามารถกลับมาสอนศาสตร์ AntiGravity Fitness ได้อย่างถูกต้องในประเทศไทย เขาสอนและกลับไปเทรนเพิ่มเติมกับ Tamer เรื่อยๆ ทั้งที่ฮ่องกง ไต้หวัน รวมถึงผ่านระบบออนไลน์จาก Headquarters ที่สหรัฐอเมริกาด้วย โดยพีทติดต่อกับ Tamer เพื่ออัปเดตคอร์สต่างๆ เป็นระยะๆ และตามไปเรียนเพิ่มเติมเกือบทุกคลาสที่เปิดสอนในหลายๆ ประเทศ อีกทั้งขอคำแนะนำจาก Master Instructor คนนี้อยู่เสมอเพื่อต่อยอดความชำนาญในศาสตร์นี้ให้มากยิ่งขึ้นเรื่อยๆ  จนทุกวันนี้พีทสามารถสอนได้มากถึง 7 โปรแกรม

ยกตัวอย่างเช่น ‘AntiGravity Aerial Yoga’ โปรแกรมพื้นฐานที่ใช้ผ้าในการยืดเหยียด ‘AntiGravity Suspension Fitness โปรแกรมที่ใช้ผ้าในการออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรง ‘AntiGravity Pilates’ โปรแกรมที่รวมท่าจากอุปกรณ์พิลาทีสทั้ง Mat, Reformer และ Cardillac มาผสมและประยุกต์กับผ้า และ ‘AntiGravity Restorative Yoga’ โปรแกรมที่ใช้ผ้าในเชิงบำบัด เพื่อฟื้นฟูร่างกาย สร้างความผ่อนคลาย และบรรเทาอาการออฟฟิศซินโดรม

จากลิสต์โปรแกรมข้างต้นจะเห็นได้ว่าจริงๆ แล้วศาสตร์ AntiGravity รองรับวัตถุประสงค์และความต้องการที่หลากหลาย แต่จากประสบการณ์ของพีทตั้งแต่เริ่มทำการสอนนั้น ลูกค้ามักเข้ามายังสตูดิโอของเขาเพื่อยืดเหยียดกล้ามเนื้อเป็นส่วนใหญ่

“มันยากที่จะเปลี่ยนภาพจำของคนที่มีต่อการออกกำลังกายโดยใช้ผ้า รวมถึงในฐานะ personal trainer เราต้องถามคนที่มาเทรนกับเราว่าวันนี้เขาอยากทำอะไร ถ้าเขาบอกว่าอยากยืด หรือบ่นกับเราว่ารู้สึกไหล่ตึง ปวดหลัง เราก็รับรู้ได้แล้วว่าเขาต้องการยืด เพราะฉะนั้นมันก็ยากที่เราจะแนะนำอย่างอื่นให้เขา เพราะเป็นสิ่งที่เขาไม่อยากได้ตั้งแต่แรกและไม่ตอบโจทย์ความต้องการของเขา”


แม้จะยาก แต่พีทก็ไม่ย่อท้อที่จะให้ความรู้แก่ลูกค้าที่มาเทรนกับตัวเองอยู่เสมอ รวมถึงสื่อสารผ่านเพจ Fly High and Kick Ass ไปพร้อมๆ กันถึงศักยภาพของศาสตร์ AntiGravity ที่มีมากกว่าการยืดเหยียดกล้ามเนื้อธรรมดา

“ประโยชน์ของศาสตร์นี้จริงๆ เริ่มตั้งแต่ ‘การกลับหัว’ ซึ่งเป็นท่าแรกของศาสตร์นี้เลย โดยช่วยให้เลือดดีไหลเวียนสู่ใบหน้า ทำให้ดูอ่อนเยาว์ยิ่งขึ้น ต่อมาคือช่วยลดการกดทับของกระดูกสันหลัง โดยแรงโน้มถ่วงจะช่วยยืดกระดูกสันหลังให้เข้ารูปตามแนวสรีระธรรมชาติ อีกทั้งยังแก้อาการปวดเมื่อยหลังได้อีกด้วย”

“หรือจะใช้ผ้าในการนวดตามจุดต่างๆ ของร่างกาย เช่น ข้อพับสะโพก ซึ่งดีมากสำหรับผู้ที่เป็นออฟฟิศซินโดรม เพราะเมื่อนั่งทำงานนานๆ หรือนั่งนานเป็นเวลามากกว่า 40 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ บริเวณข้อพับสะโพกจะตึงมาก ผ้าและแรงโน้มถ่วงจะช่วยคลายความตึงบริเวณดังกล่าว”

นอกจากประโยชน์ในเชิงบำบัดแล้ว AntiGravity ยังช่วยสร้างความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อ ฝึกบาลานซ์ของร่างกาย รวมไปถึงเพิ่มความยากและท้าทายให้ท่าการออกกำลังกายที่ทำเป็นกิจวัตรได้ด้วย ซึ่งไม่ได้เหมาะสำหรับผู้หญิงเพียงอย่างเดียวตามภาพจำที่แล้วๆ มาเท่านั้น แต่ผู้ชายเองก็สามารถใช้ผ้าและศาสตร์การออกกำลังกายนี้ในการเพิ่มศักยภาพให้แก่ร่างกายของตัวเองได้เช่นกัน


“ท่าต่างๆ ของโปรแกรม Suspension Fitness ได้รับการออกแบบมาให้ใช้แรงของแขน หน้าท้อง และแกนกลางลำตัว เน้นการใช้ Body Weight และแรงต้านเป็นหลัก และมันก็มีท่าที่เพิ่มความชาเลนจ์ เช่น ท่าแพลงก์สำหรับบางคนที่รู้สึกว่าการแพลงก์บนพื้นอาจจะง่ายเกินไป การแพลงก์บนผ้าทั้งสูงและแกว่ง ทำให้ผู้เล่นต้องเกร็งหนักยิ่งกว่าเดิมเพื่อสร้างบอดี้บาลานซ์ นอกจากนี้ผ้ายังช่วยให้ทำท่าบางท่าที่ยากๆ ได้ง่ายยิ่งขึ้น จากที่เคยทำไม่ได้ ก็สามารถทำได้อย่างไม่น่าเชื่อ เช่น แฮนด์สแตนด์ ผ้าจะช่วยประคองทำให้เกิดการจดจำของกล้ามเนื้อ จนสามารถทำท่านี้ได้ดียิ่งขึ้นเมื่อลองทำอีกครั้งโดยไม่ใช้ผ้า”

เราอยากทำให้ทุกคนเห็นว่าศาสตร์นี้สามารถทำอะไรได้หลายอย่างมากๆ เพราะมันมีหลากหลายโปรแกรมซึ่งทำให้การออกกำลังกายไม่น่าเบื่อ วันนี้คุณเหนื่อย ก็ยืดเหยียด แต่ถ้าวันต่อมาคุณอยากจะสร้างความแข็งแรงให้กล้ามเนื้อ ก็สามารถเปลี่ยนโปรแกรมได้เลย มันครบเครื่องทุกอย่างในตัวของมันเอง และทั้งชายและหญิงที่ตัวใหญ่ น้ำหนักเยอะ ก็ไม่ต้องกังวล เพราะผ้าสามารถรับน้ำหนักได้ถึง 250 กิโล ดังนั้นน้ำหนักตัวจึงไม่ใช่ประเด็น และก็ไม่ต้องกลัวว่าแรงแขนของตัวเองจะมีไม่มากพอ เพราะศาสตร์ AntiGravity แทบจะไม่ได้ใช้แรงแขนเลย แต่เน้นการกลับหัว การยืดเหยียด และความคล่องตัวเป็นส่วนใหญ่ เพราะฉะนั้นไม่ว่าจะเป็นเพศไหน น้ำหนักตัวเท่าไร ก็สามารถเล่นได้ ยกตัวอย่างลูกค้าของเราคนหนึ่ง จากช่วงแรกๆ ทำไม่ได้เลย ตอนนี้สามารถเล่นได้ดีขึ้น แขนก็แข็งแรงขึ้นด้วย”

 

IIIi - ลองทุกอย่างเพื่อค้นหาแนวทางที่ตัวเองชอบและทำต่อไปได้อย่างยั่งยืน

“สิ่งที่ไม่เปลี่ยนเลยคือเทรนด์การออกกำลังกายมันเป็นลูป ทำให้คนมองหาสิ่งใหม่ๆ ที่ท้าทายมากยิ่งขึ้นอยู่ตลอดเวลา”

พีทตั้งข้อสังเกตในฐานะที่เป็นคนออกกำลังกายมานาน และประกอบอาชีพเป็นเทรนเนอร์และผู้สอนศาสตร์ AntiGravity Fitness เข้าปีที่ 4 แล้ว

เขามองว่าการออกกำลังกายตามเทรนด์ไม่ใช่เรื่องผิด หากนั่นเป็นการออกกำลังกายที่คุณชอบ แต่สิ่งที่ต้องตระหนักอย่างหนึ่งก็คือเทรนด์มาแล้วก็ไป ซึ่งอาจส่งผลให้การออกกำลังกายไม่ต่อเนื่อง หากคุณเปลี่ยนตัวเองตามเทรนด์ไปเรื่อยๆ

“การออกกำลังกายควรมีทั้งคาร์ดิโอ สร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ (strength) และยืดเหยียด (stretch) ไปพร้อมๆ กัน เพราะฉะนั้นเราเลยอยากให้ทุกคนออกกำลังกายตามแนวทางของตัวเองดีกว่า โดยเริ่มจากสิ่งที่ตัวเองชอบก่อน หลังจากนั้นก็ค่อยๆ เพิ่มเติมอย่างอื่นที่คุณมองว่าเหมาะสมเข้ามา แบบนี้เรามองว่ามันจะยั่งยืนกับสุขภาพมากกว่า”


สำหรับผู้ที่ยังไม่รู้ว่าควรจะเริ่มต้นอย่างไรดี พีทแนะนำว่า “ ‘การลอง’ คือสิ่งสำคัญ โดยอาจจะเข้าคลาสต่างๆ ที่คิดว่าตรงกับจริตของตัวเองก่อน ไม่ต้องไปเชื่อเทรนด์ต่างๆ เช่น ถ้าอ้วน ต้องไปคาร์ดิโอ หากตัวแข็ง ให้ไปเล่นโยคะ ค่อยๆ ลองไปเรื่อยๆ มันจะต้องมีสักอย่างที่คุณรู้สึกว่าคลิกกับตัวเอง คุณอาจจะไม่เจอสิ่งที่ตอบโจทย์ตัวเองตั้งแต่คลาสแรก แต่มันจะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีว่า ถ้าเราเริ่มจากสิ่งที่ตัวเองชอบแล้ว มันจะเข้าสู่ลูปของการออกกำลังกาย และเริ่มเข้าที่เข้าทางจนกลายเป็นไลฟ์สไตล์ที่เราทำอย่างสม่ำเสมอด้วยความเคยชิน โดยไม่รู้สึกว่ากำลังฝืนหรือบังคับตัวเองว่าต้องทำ”

‘มีความสุขที่ได้ทำ’ คือความยั่งยืนของการออกกำลังกายในแบบของพีท

“เป้าหมายของการออกกำลังกายที่แท้จริงคือเป็นไปเพื่อให้เรามีชีวิตที่มีประสิทธิภาพในอนาคต มีสุขภาพที่ดีเมื่ออายุมากขึ้น เพราะฉะนั้นการออกกำลังกายบนพื้นฐานของความชอบจึงน่าจะดีกว่า”


“เรามีภาพจำว่าผู้ชายจะออกกำลังกายแบบใช้ผ้าได้เหรอ แต่พอเล่นไปเรื่อยๆ 3-4 คลาส เราก็รู้สึกอยากเอาชนะและเอ็นจอยมากๆ เพราะรู้สึกว่าเราทำอะไรได้เยอะดีกับผ้าผืนเดียว”


เวลาบ่ายแก่ๆ เราเดินทางสู่ย่านสุขุมวิทไปพบกับ พีท-ปณิธิ เลิศดำริห์การ เจ้าของสตูดิโอ Fly High and Kick Ass เพื่อทำความรู้จักกับศาสตร์การออกกำลังกายที่มีชื่อว่า ‘AntiGravity Fitness’ โดยพีทเป็นครูเพียงหนึ่งเดียวในประเทศไทย ณ ขณะนี้ที่ได้รับการรับรองให้สอนอย่างถูกลิขสิทธิ์ 

หากเอ่ยแค่คำว่า AntiGravity Fitness หลายคนคงยังจินตนาการไม่ออก แต่ถ้าเล่าว่าเป็นการออกกำลังกายด้วยการลอยตัวกลางอากาศโดยใช้ผ้า หรือ Hammock ซึ่งแขวนอยู่บนเพดานเป็นตัวประคอง หลายคนก็น่าจะพอเห็นภาพ ศาสตร์นี้ได้รับการคิดค้นโดย Christopher Harrison ชาวอเมริกันที่เป็นทั้งนักกีฬายิมนาสติก นักกายกรรม และนักเต้นบัลเลต์ ผู้ทำงานในวงการละครบรอดเวย์ตั้งแต่ยังเป็นวัยรุ่น

หลังจากโลดแล่นในวงการดังกล่าวมาสักระยะ เขาก็ได้ก่อตั้งคณะ AntiGravity Inc. ออกแบบท่าเต้นและแสดงกายกรรมที่โดดเด่นด้วยการใช้ผ้าห้อยโหนกลางอากาศ โดยในระหว่างนั้นนักแสดงในคณะของเขาได้รับบาดเจ็บจากการแสดง จึงกลายเป็นจุดเริ่มต้นของการใช้ผ้ามารักษาอาการเหล่านั้น และพัฒนาจนเป็นโปรแกรมออกกำลังกายภายใต้ชื่อ AntiGravity Fitness นั่นเอง


ย้อนกลับมาที่เรื่องราวของพีท ก่อนที่จะยึดอาชีพครูผู้สอนศาสตร์การออกกำลังกายนี้อย่างจริงจัง เขาเล่นกีฬามาตั้งแต่เด็กๆ ทั้งว่ายน้ำ ฟุตบอล และเทควันโด ด้วยการสนับสนุนของคุณแม่ แต่กีฬาเหล่านี้ก็ยังไม่ใช่สิ่งที่พีทโปรดปรานมากนัก จนกระทั่งเขาลองมาเอาดีทางด้านการวิ่ง นำไปสู่การเข้าร่วมแข่งขันวิ่ง full marathon ซึ่งทำให้เขาต้องเข้าไปฝึกซ้อมในฟิตเนสบ้างและมีโอกาสได้เล่นคลาสต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Body Combat, Body Pump, โยคะ และพิลาทีส ที่ทำให้เขาสนุกกับการออกกำลังกายมากยิ่งขึ้น

และนั่นก็เป็นครั้งแรกที่ทำให้พีทได้รู้จักกับ AntiGravity Fitness

“รอบแรกที่เล่นตกใจมาก เพราะเขาให้เรากลับหัวตั้งแต่คลาสแรกเลย ร้องลั่นห้อง แต่ผ่านไปสักพัก เราก็มารู้ว่าท่าส่วนใหญ่ของศาสตร์นี้ปรับมาจากกีฬายิมนาสติกหมดเลย เช่น Flip ที่เราชอบที่สุด หรือการฉีกขา และทำให้เราตกตะกอนได้ว่าเราชอบยิมนาสติกทั้งๆ ที่ไม่เคยเล่นมาก่อนและไม่รู้ตัวเลยจนกระทั่งเรามาเล่นคลาสนี้ มันเลยเป็นเหตุผลว่าทำไมเราถึงเอ็นจอยกับศาสตร์นี้มาก”


พีทสั่งสมประสบการณ์การออกกำลังกายแนว AntiGravity ตั้งแต่ระดับพื้นฐานไปถึงขั้นแอดวานซ์  จนความชื่นชอบพัฒนาเป็นความมั่นใจว่าตัวเองทำสิ่งนี้ได้ดี เข้าใจในทุกท่า และน่าจะถ่ายทอดและให้ความรู้แก่บุคคลอื่นได้ เขาจึงเริ่มค้นคว้าหาข้อมูลในอินเทอร์เน็ตเพื่อหาวิธีที่จะทำให้เขาได้ใบรับรองในการสอนศาสตร์นี้ได้อย่างถูกต้อง นำไปสู่การได้รู้จักกับ Tamer Begum ผู้สอนและผู้เทรนศาสตร์และเทคนิค AntiGravity Fitness ระดับ master instructor ซึ่งเป็นหลานของ Christopher Harrison ผู้สร้างสรรค์ศาสตร์การออกกำลังกายนี้นั่นเอง

“มันว้าวมากที่จะได้รับการเทรนจากคนที่อยู่ใกล้ตัวกับคนที่คิดค้นศาสตร์นี้ และนั่นก็กลายเป็นจุดเริ่มต้นของทุกอย่างของเราจนมาถึงตอนนี้”

พีทเดินทางไปยังฮ่องกงเพื่อรับความรู้จาก Tamer รวมทั้งหมด 4 วัน อันเป็นช่วงเวลาที่พีทบรรยายว่า “มหัศจรรย์มาก” โดยโปรแกรมที่พีทไปเรียนนั้นคือ Fundamental หรือท่าพื้นฐานง่ายๆ ที่เสริมสร้างความแข็งแรง (Strength) คาร์ดิโอ ความคล่องตัว (Mobility) และความยืดหยุ่น (Flexibility) ซึ่งโฟกัสไปที่การเทรนวิธีการปรับแก้ท่าทาง วิธีการเซฟตี้ รวมไปถึงจิตวิทยาในการให้คำแนะนำและการแก้ปัญหา ในกรณีที่นำความรู้ที่ได้จากในคลาสนี้ไปสอนคนอื่นๆ ต่อ และผู้ที่มาเรียนเหล่านั้นไม่สามารถทำท่าใดท่าหนึ่งได้ หรือพูดให้กำลังใจพวกเขาในการพัฒนาไปสู่ท่าทางที่ยากและท้าทายยิ่งขึ้น

“Tamer เป็นคนที่มีประสบการณ์เยอะมาก และก็ Inspiring มาก จนทำให้เราอยากเป็นครูที่เผยแพร่ศาสตร์นี้ต่อไป และอยากเทรนต่อไปเรื่อยๆ จนถึงระดับมาสเตอร์”

 

IIIi - AntiGravity กับศักยภาพที่มากกว่าแค่การยืดเหยียดกล้ามเนื้อ

หลังจบการเทรนที่ฮ่องกง พีทได้รับการรับรองและสามารถกลับมาสอนศาสตร์ AntiGravity Fitness ได้อย่างถูกต้องในประเทศไทย เขาสอนและกลับไปเทรนเพิ่มเติมกับ Tamer เรื่อยๆ ทั้งที่ฮ่องกง ไต้หวัน รวมถึงผ่านระบบออนไลน์จาก Headquarters ที่สหรัฐอเมริกาด้วย โดยพีทติดต่อกับ Tamer เพื่ออัปเดตคอร์สต่างๆ เป็นระยะๆ และตามไปเรียนเพิ่มเติมเกือบทุกคลาสที่เปิดสอนในหลายๆ ประเทศ อีกทั้งขอคำแนะนำจาก Master Instructor คนนี้อยู่เสมอเพื่อต่อยอดความชำนาญในศาสตร์นี้ให้มากยิ่งขึ้นเรื่อยๆ  จนทุกวันนี้พีทสามารถสอนได้มากถึง 7 โปรแกรม

ยกตัวอย่างเช่น ‘AntiGravity Aerial Yoga’ โปรแกรมพื้นฐานที่ใช้ผ้าในการยืดเหยียด ‘AntiGravity Suspension Fitness โปรแกรมที่ใช้ผ้าในการออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรง ‘AntiGravity Pilates’ โปรแกรมที่รวมท่าจากอุปกรณ์พิลาทีสทั้ง Mat, Reformer และ Cardillac มาผสมและประยุกต์กับผ้า และ ‘AntiGravity Restorative Yoga’ โปรแกรมที่ใช้ผ้าในเชิงบำบัด เพื่อฟื้นฟูร่างกาย สร้างความผ่อนคลาย และบรรเทาอาการออฟฟิศซินโดรม

จากลิสต์โปรแกรมข้างต้นจะเห็นได้ว่าจริงๆ แล้วศาสตร์ AntiGravity รองรับวัตถุประสงค์และความต้องการที่หลากหลาย แต่จากประสบการณ์ของพีทตั้งแต่เริ่มทำการสอนนั้น ลูกค้ามักเข้ามายังสตูดิโอของเขาเพื่อยืดเหยียดกล้ามเนื้อเป็นส่วนใหญ่

“มันยากที่จะเปลี่ยนภาพจำของคนที่มีต่อการออกกำลังกายโดยใช้ผ้า รวมถึงในฐานะ personal trainer เราต้องถามคนที่มาเทรนกับเราว่าวันนี้เขาอยากทำอะไร ถ้าเขาบอกว่าอยากยืด หรือบ่นกับเราว่ารู้สึกไหล่ตึง ปวดหลัง เราก็รับรู้ได้แล้วว่าเขาต้องการยืด เพราะฉะนั้นมันก็ยากที่เราจะแนะนำอย่างอื่นให้เขา เพราะเป็นสิ่งที่เขาไม่อยากได้ตั้งแต่แรกและไม่ตอบโจทย์ความต้องการของเขา”


แม้จะยาก แต่พีทก็ไม่ย่อท้อที่จะให้ความรู้แก่ลูกค้าที่มาเทรนกับตัวเองอยู่เสมอ รวมถึงสื่อสารผ่านเพจ Fly High and Kick Ass ไปพร้อมๆ กันถึงศักยภาพของศาสตร์ AntiGravity ที่มีมากกว่าการยืดเหยียดกล้ามเนื้อธรรมดา

“ประโยชน์ของศาสตร์นี้จริงๆ เริ่มตั้งแต่ ‘การกลับหัว’ ซึ่งเป็นท่าแรกของศาสตร์นี้เลย โดยช่วยให้เลือดดีไหลเวียนสู่ใบหน้า ทำให้ดูอ่อนเยาว์ยิ่งขึ้น ต่อมาคือช่วยลดการกดทับของกระดูกสันหลัง โดยแรงโน้มถ่วงจะช่วยยืดกระดูกสันหลังให้เข้ารูปตามแนวสรีระธรรมชาติ อีกทั้งยังแก้อาการปวดเมื่อยหลังได้อีกด้วย”

“หรือจะใช้ผ้าในการนวดตามจุดต่างๆ ของร่างกาย เช่น ข้อพับสะโพก ซึ่งดีมากสำหรับผู้ที่เป็นออฟฟิศซินโดรม เพราะเมื่อนั่งทำงานนานๆ หรือนั่งนานเป็นเวลามากกว่า 40 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ บริเวณข้อพับสะโพกจะตึงมาก ผ้าและแรงโน้มถ่วงจะช่วยคลายความตึงบริเวณดังกล่าว”

นอกจากประโยชน์ในเชิงบำบัดแล้ว AntiGravity ยังช่วยสร้างความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อ ฝึกบาลานซ์ของร่างกาย รวมไปถึงเพิ่มความยากและท้าทายให้ท่าการออกกำลังกายที่ทำเป็นกิจวัตรได้ด้วย ซึ่งไม่ได้เหมาะสำหรับผู้หญิงเพียงอย่างเดียวตามภาพจำที่แล้วๆ มาเท่านั้น แต่ผู้ชายเองก็สามารถใช้ผ้าและศาสตร์การออกกำลังกายนี้ในการเพิ่มศักยภาพให้แก่ร่างกายของตัวเองได้เช่นกัน


“ท่าต่างๆ ของโปรแกรม Suspension Fitness ได้รับการออกแบบมาให้ใช้แรงของแขน หน้าท้อง และแกนกลางลำตัว เน้นการใช้ Body Weight และแรงต้านเป็นหลัก และมันก็มีท่าที่เพิ่มความชาเลนจ์ เช่น ท่าแพลงก์สำหรับบางคนที่รู้สึกว่าการแพลงก์บนพื้นอาจจะง่ายเกินไป การแพลงก์บนผ้าทั้งสูงและแกว่ง ทำให้ผู้เล่นต้องเกร็งหนักยิ่งกว่าเดิมเพื่อสร้างบอดี้บาลานซ์ นอกจากนี้ผ้ายังช่วยให้ทำท่าบางท่าที่ยากๆ ได้ง่ายยิ่งขึ้น จากที่เคยทำไม่ได้ ก็สามารถทำได้อย่างไม่น่าเชื่อ เช่น แฮนด์สแตนด์ ผ้าจะช่วยประคองทำให้เกิดการจดจำของกล้ามเนื้อ จนสามารถทำท่านี้ได้ดียิ่งขึ้นเมื่อลองทำอีกครั้งโดยไม่ใช้ผ้า”

เราอยากทำให้ทุกคนเห็นว่าศาสตร์นี้สามารถทำอะไรได้หลายอย่างมากๆ เพราะมันมีหลากหลายโปรแกรมซึ่งทำให้การออกกำลังกายไม่น่าเบื่อ วันนี้คุณเหนื่อย ก็ยืดเหยียด แต่ถ้าวันต่อมาคุณอยากจะสร้างความแข็งแรงให้กล้ามเนื้อ ก็สามารถเปลี่ยนโปรแกรมได้เลย มันครบเครื่องทุกอย่างในตัวของมันเอง และทั้งชายและหญิงที่ตัวใหญ่ น้ำหนักเยอะ ก็ไม่ต้องกังวล เพราะผ้าสามารถรับน้ำหนักได้ถึง 250 กิโล ดังนั้นน้ำหนักตัวจึงไม่ใช่ประเด็น และก็ไม่ต้องกลัวว่าแรงแขนของตัวเองจะมีไม่มากพอ เพราะศาสตร์ AntiGravity แทบจะไม่ได้ใช้แรงแขนเลย แต่เน้นการกลับหัว การยืดเหยียด และความคล่องตัวเป็นส่วนใหญ่ เพราะฉะนั้นไม่ว่าจะเป็นเพศไหน น้ำหนักตัวเท่าไร ก็สามารถเล่นได้ ยกตัวอย่างลูกค้าของเราคนหนึ่ง จากช่วงแรกๆ ทำไม่ได้เลย ตอนนี้สามารถเล่นได้ดีขึ้น แขนก็แข็งแรงขึ้นด้วย”

 

IIIi - ลองทุกอย่างเพื่อค้นหาแนวทางที่ตัวเองชอบและทำต่อไปได้อย่างยั่งยืน

“สิ่งที่ไม่เปลี่ยนเลยคือเทรนด์การออกกำลังกายมันเป็นลูป ทำให้คนมองหาสิ่งใหม่ๆ ที่ท้าทายมากยิ่งขึ้นอยู่ตลอดเวลา”

พีทตั้งข้อสังเกตในฐานะที่เป็นคนออกกำลังกายมานาน และประกอบอาชีพเป็นเทรนเนอร์และผู้สอนศาสตร์ AntiGravity Fitness เข้าปีที่ 4 แล้ว

เขามองว่าการออกกำลังกายตามเทรนด์ไม่ใช่เรื่องผิด หากนั่นเป็นการออกกำลังกายที่คุณชอบ แต่สิ่งที่ต้องตระหนักอย่างหนึ่งก็คือเทรนด์มาแล้วก็ไป ซึ่งอาจส่งผลให้การออกกำลังกายไม่ต่อเนื่อง หากคุณเปลี่ยนตัวเองตามเทรนด์ไปเรื่อยๆ

“การออกกำลังกายควรมีทั้งคาร์ดิโอ สร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ (strength) และยืดเหยียด (stretch) ไปพร้อมๆ กัน เพราะฉะนั้นเราเลยอยากให้ทุกคนออกกำลังกายตามแนวทางของตัวเองดีกว่า โดยเริ่มจากสิ่งที่ตัวเองชอบก่อน หลังจากนั้นก็ค่อยๆ เพิ่มเติมอย่างอื่นที่คุณมองว่าเหมาะสมเข้ามา แบบนี้เรามองว่ามันจะยั่งยืนกับสุขภาพมากกว่า”


สำหรับผู้ที่ยังไม่รู้ว่าควรจะเริ่มต้นอย่างไรดี พีทแนะนำว่า “ ‘การลอง’ คือสิ่งสำคัญ โดยอาจจะเข้าคลาสต่างๆ ที่คิดว่าตรงกับจริตของตัวเองก่อน ไม่ต้องไปเชื่อเทรนด์ต่างๆ เช่น ถ้าอ้วน ต้องไปคาร์ดิโอ หากตัวแข็ง ให้ไปเล่นโยคะ ค่อยๆ ลองไปเรื่อยๆ มันจะต้องมีสักอย่างที่คุณรู้สึกว่าคลิกกับตัวเอง คุณอาจจะไม่เจอสิ่งที่ตอบโจทย์ตัวเองตั้งแต่คลาสแรก แต่มันจะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีว่า ถ้าเราเริ่มจากสิ่งที่ตัวเองชอบแล้ว มันจะเข้าสู่ลูปของการออกกำลังกาย และเริ่มเข้าที่เข้าทางจนกลายเป็นไลฟ์สไตล์ที่เราทำอย่างสม่ำเสมอด้วยความเคยชิน โดยไม่รู้สึกว่ากำลังฝืนหรือบังคับตัวเองว่าต้องทำ”

‘มีความสุขที่ได้ทำ’ คือความยั่งยืนของการออกกำลังกายในแบบของพีท

“เป้าหมายของการออกกำลังกายที่แท้จริงคือเป็นไปเพื่อให้เรามีชีวิตที่มีประสิทธิภาพในอนาคต มีสุขภาพที่ดีเมื่ออายุมากขึ้น เพราะฉะนั้นการออกกำลังกายบนพื้นฐานของความชอบจึงน่าจะดีกว่า”


Text:

Witthawat P.

Witthawat P.

PHOTO:

Chanathip K.

Chanathip K.

Related Posts